ak@triton
25-03-2009, 18:38
แถลงการณ์คนงานสยามมิชลิน ถูกปล้นเงินเดือนและสั่งปิดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
คนงานสยามมิชลิน จำกัด ที่ผลิตยางมิชลินส่งขายทั้วโลก ถูกนายจ้างขู่บังคับเซ็นต์ชื่อหักค่าจ้าง 13.04 % และหักค่าจ้าง35% ลดสวัสดิการต่างๆ สำหรับพนักงานที่ยื่นข้อเรียกร้อง และปิดงานเฉพาะส่วนเพื่อต้องการลอยแพพนักงานเพราะเหตุที่พนักงานยื่นข้อเรียกร้องและรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงาน กระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิมนุษชน
บริษัทสยามมิชลิน จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯ แหลมฉบัง เลขที่ 87/11 หมู่ 2 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บริษัทฯตั้งมาเมื่อ ปี 2531 ทุนจดทะเบียน 3,817,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 38,170,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท มีบริษัทแม่อยู่ประเทศฝรั่งเศส บริษัทสยามมิชลินกรู๊ป จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีกรรมการ 7 คนที่มีอำนาจ คือ 1. นายพราชาน พราบู 2.นายคาร์ล ฟริตท์ 3.นายเชน ฦาไชย 4.นายสมชาย สัณห์วิญญู 5.นายอองเดร ดงซาลาซ 6.นายอูเว แจ็คสดัดท์ 7.เฟรดเดอวิด ปาทรคแวงชองท์ บริษัทฯในเครือ 9 บริษัท ประกอบกิจการประเภทผลิตยางรถยนต์ มิชลิน ส่งขายภายในประเทศและ ต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งยางรถยนต์ที่ผลิตมีคุณภาพดี และมีราคาแพงมาก มีพนักงานทั้งหมด 1,200 คน
ตลอดเวลาที่บริษัทฯได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 20 ปี ทำให้บริษัทฯมีผลกำไรอย่างต่อเนื่อง เช่นรายได้รวม ปี 48 เท่ากับ 16,928 ล้านบาท ปี 49เท่ากับ 20,299 ล้านบาท และปี 50เท่ากับ 22,123ล้านบาท กำสุทธิ ปี 48 เท่ากับ 861ล้านบาท ปี 49 เท่ากับ 359 ล้านบาท ปี 50 เท่ากับ 1,114 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น ปี 48 เท่ากับ 77 บาท ปี 49 เท่ากับ 32 บาท ปี 50 เท่ากับ 90 บาท รวมสินทรัพย์ ปี 48เท่ากับ 14,514 ล้านบาท ปี 50 เท่ากับ16,085 ล้านบาท ปี 50 16,755 ล้านบาท เงินสดและเงินฝากธนาคาร ปี 48 เท่ากับ 28 ล้านบาท ปี 49 138 ล้านบาท ปี50 เท่ากับ 134 ล้านบาท ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปี 2551
พนักงานได้ทำงานอย่างหนักเพราะบริษัทฯ ลดจำนวนพนักงานลง แต่กลับเพิ่มเป้าการผลิตมากขึ้น แต่ค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงาน กลับไม่ได้ผลตอบแทนในทางที่ดี ซึ่งบางอย่างบริษัทฯยังละเมิดกฎหมาย เช่น ลาป่วย 1 วันต้องมีใบรับรองแพทย์ การปรับค่าจ้างและเงินโบนัส ก็ไม่ได้รับความเป็นธรรม ส่วนสวัสดิการอื่นๆ ยังได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับบริษัทที่ทำกิจการประเภทเดียวกัน
ตลอดเวลาที่ผ่านมา พนักงานไม่เคยเรียกร้องอะไรจากบริษัทฯ เพราะไม่มีใครกล้าเป็นตัวแทน กลัวถูกเลิกจ้าง บริษัทฯ ยิ่งทำยิ่งมีกำไรแต่พนักงานกลับแย่ลง
จากการทำงานของปี 2551 พนักงานทุกคนหวังว่าจะได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ผลตอบแทนที่ได้รับคือปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯได้เรียกพนักงานทั้งหมดประชุมและขอลดค่าจ้างพนักงาน 13.04 %อ้างเหตุผลว่า บริษัทฯมียอดสั่งซื้อลดลง แล้วให้พนักงานลงลายมือชื่อ ยินยอม หากใครไม่ยอมจะข่มขู่ และให้เขียนใบลาออก ถูกย้ายงาน หรือเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงาน ก็มีพนักงานบางส่วนไม่ยอมให้หักค่าจ้าง เพราะการหักค่าจ้างนั้นทำให้พนักงานมีผลกระทบได้รับความเดือดร้อน และการกระทำดังกล่าวก็ผิดกฎหมาย หากบริษัทฯประสบปัญหาก็ต้องหาวิธีการอื่นที่มีผลกระทบกับพนักงานน้อยที่สุด พนักงานจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานและยื่นข้อเรียกร้องเพื่อไม่ให้บริษัทฯหักค่าจ้างและคงสภาพการจ้างเดิมไว้ แต่บริษัทฯกลับตอบโต้ด้วยวิธีการต่าง ๆและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดดังนี้
1. หลังจากยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 52 เพื่อไม่ให้หักค่าจ้าง 13.04 % แล้ว พนักงานที่เข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้อง ถูกข่มขู่ให้ถอนชื่อออกจากข้อเรียกร้อง เช่น จะถูกหักค่าจ้างเพิ่มเป็น 35 % ไม่จ่ายโบนัสเดือนเม.ย. 52 ซึ่งเป็นผลกำไรของปี 51 หากถอนชื่อจะได้ 2 เดือนทั้งๆ แต่ละปีได้ปรับเงินขึ้นเพียง 200-300 บาทกว่าจะได้ปรับถึง 13.04%ต้องใช้เวลาสะสมหลายปี การ แต่สำหรับผู้บริหารกลับถูกหักค่าจ้างเพียง 5 % ทั้งที่มีเงินเดือนและสวัสดิการมากกว่าพนักงาน
2. บริษัทฯยื่นข้อเรียกร้องสำหรับพนักงานที่เข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้องเช่น หักเงินค่าจ้าง 35 %,หักเงินช่วยเหลือค่าเดินทาง จาก 36 บ.เหลือ 28 บ. ,ลดจำนวนวันพักร้อนเหลือ 6 วันตามกฎหมาย ,ยกเลิกการลากิจทั้งหมด (มีต่อด้านหลัง)
3. พนักงานที่เป็นผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้อง ไม่ให้เข้าทำงาน แต่จ่ายค่าจ้างให้ เพราะต้องการให้พนักงานเกิดการเข้าใจผิดเนื่องจากมีการปล่อยข่าวว่า ตัวแทนถูกจ้างออกแล้ว ทำให้พนักงานที่ลงชื่อเกิดความกลัว และถอนชื่อออกจากข้อเรียกร้อง
4. การเจรจาข้อเรียกร้องบริษัทฯไม่มีความจริงใจ ไม่ส่งคนที่มีอำนาจเข้ามาเจรจา ลูกจ้างจึงแจ้งเป็นข้อพาทแรงงาน
5. ปล่อยข่าวว่า บริษัทยางสยาม ที่อยู่สมุทรปราการ ซึ่งเป็นบริษัทในเดรือเดียวกัน ย่อมตกลงให้หักค่าจ้าง 13.04 % แล้วเพื่อต้องการให้พนักงาน บริษัทสยามมิชลินยอมรับข้อเสนอของบริษัทฯ
6.การไกล่เกลี่ยข้อเรียกร้อง ครั้งที่ 1 ตกลงกันไม่ได้ ครั้งที่ 2 ตัวแทนบริษัทฯ หนีกลับก่อน จึงไม่สามารถตกลงกันได้
7. วันที่ 24 มี.ค. บริษัทฯออกประกาศ ทั้งหมด 3 ฉบับ 1.เรื่องการหยุดการผลิตของบริษัทฯเป็นการชั่วคราว 3 วันคือ 24-26 มี.ค.52 แต่จ่ายค่าจ้างให้ 2.เรื่องใช้สิทธิปิดงานเฉพาะส่วนทั้งหมด 383 คน วันที่ 25 มี.ค. 52 เวลา 12. 00 น.จากพนักงาน 1,200 คน 3. เรื่องขอยกเลิกคำสั่งงดมอบหมายงาน สำหรับผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องทั้งหมดเพราะหลังจากยื่นข้อเรียกร้องแล้วบริษัทฯไม่ให้เข้าทำงานแต่จ่ายค่าจ้างให้
8.พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานนัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งต่อไปวันที่ 26 มี.ค. 52 เวลา 14.00 น. ณ. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.ชลบุรี
9.ยื่นหนังสือร้องเรียน กับหน่วยงานต่างๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎร,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน,อธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน,คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย,สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย,กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก
10. กรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎรนัดพบวันที่ 25 มี.ค. 52 เวลา 10.30 น.ที่อาคารรัฐสภา
จากข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นบริษัทฯไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาแต่เขาทำเพื่อต้องการลดต้นทุนอย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึง ผลกระทบความเป็นอยู่ของลูกจ้าง ไม่คำนึงถึงเรื่องคุณธรรม ,ละเมิดกฎหมาย,ระเมิดสิทธิแรงงาน ,ละเมิดสิทธิมนุษยชน และขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นพนักงานบริษัทสยามมิชลิน จำกัด ที่ถูกนายจ้างปิดงานจึงชุมนุมกันอยู่ที่หน้าบริษัทฯ ที่นิคมฯแหลมฉบัง จ.ชลบุรี จึงยื่นหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้อง เรียกร้องเพื่อสิทธิอันพึ่งมีพึ่งได้ตามกฎหมาย ดังนี้
1.ให้บริษัทฯยุติการหักค่าจ้างของพนักงาน13.04%ให้หาทางออกอย่างอื่นหากบริษัทฯมีผลกระทบกับเศรษฐกิจในขณะนี้
2.ให้ส่งผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายนายจ้างมาเจรจาข้อเรียกร้องกับลูกจ้าง
3.ให้ยุติการแซกแซงดำเนินการการใดๆอันเป็นผลทำให้ลูกจ้างถอนชื่อจากข้อเรียกร้อง
4. ไม่ให้แซกแซงการดำเนินการของพนังกงานในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
5.ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา หาข้อยุติ เพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งกันไป มากกว่านี้
ดังนั้น พวกกระผมพนักงานบริษัทสยามมิชลิน จำกัด จึงขอชี้แจงให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน พ่อค้า ประชาชนและสื่อมวลชนทุกท่านได้ทราบถึงความเดือดร้อนของคนทำงานที่นายทุนเอารัดเอาเปรียบอาศัยสถานการณ์เพื่อต้องการลดต้นทุน โดยการลดเงินเดือนของพนักงานที่มีเงินเดือนน้อยอยู่แล้ว เพื่อให้ตัวเองอยู่ได้ ทั้งที่คนงานเป็นคนสร้างผลกำไรให้บริษัทฯมาตลอด และหวังว่าทุกท่าคงให้การสนับสนุนในการต่อสู้ครั้งนี้ของพวกเราชาวสยามมิชลิน
++++++++++++++++++
อ่านข่าวแล้วน่าเห็นใจแรงงานบริษัทนี้จังครับ เพราะมุขตัดเงินเดือนแบบนี้ มันคุ้นๆ ว่าบริษัทผมก้อกำลังใช้อยู่นา :emo023vv3:
มีพี่น้อง TTC ทำงานอยู่บริษัทนี้บ้างมั้ยครับ เป็นกำลังใจให้ 1 เสียง หรือมีอะไรนอกเหนือจากแถลงการณ์มาเล่าให้ฟังมั่งก้อดีนะครับ
สู้ ๆๆๆ :emoticon-cartoon-02
คนงานสยามมิชลิน จำกัด ที่ผลิตยางมิชลินส่งขายทั้วโลก ถูกนายจ้างขู่บังคับเซ็นต์ชื่อหักค่าจ้าง 13.04 % และหักค่าจ้าง35% ลดสวัสดิการต่างๆ สำหรับพนักงานที่ยื่นข้อเรียกร้อง และปิดงานเฉพาะส่วนเพื่อต้องการลอยแพพนักงานเพราะเหตุที่พนักงานยื่นข้อเรียกร้องและรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงาน กระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิมนุษชน
บริษัทสยามมิชลิน จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯ แหลมฉบัง เลขที่ 87/11 หมู่ 2 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บริษัทฯตั้งมาเมื่อ ปี 2531 ทุนจดทะเบียน 3,817,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 38,170,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท มีบริษัทแม่อยู่ประเทศฝรั่งเศส บริษัทสยามมิชลินกรู๊ป จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีกรรมการ 7 คนที่มีอำนาจ คือ 1. นายพราชาน พราบู 2.นายคาร์ล ฟริตท์ 3.นายเชน ฦาไชย 4.นายสมชาย สัณห์วิญญู 5.นายอองเดร ดงซาลาซ 6.นายอูเว แจ็คสดัดท์ 7.เฟรดเดอวิด ปาทรคแวงชองท์ บริษัทฯในเครือ 9 บริษัท ประกอบกิจการประเภทผลิตยางรถยนต์ มิชลิน ส่งขายภายในประเทศและ ต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งยางรถยนต์ที่ผลิตมีคุณภาพดี และมีราคาแพงมาก มีพนักงานทั้งหมด 1,200 คน
ตลอดเวลาที่บริษัทฯได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 20 ปี ทำให้บริษัทฯมีผลกำไรอย่างต่อเนื่อง เช่นรายได้รวม ปี 48 เท่ากับ 16,928 ล้านบาท ปี 49เท่ากับ 20,299 ล้านบาท และปี 50เท่ากับ 22,123ล้านบาท กำสุทธิ ปี 48 เท่ากับ 861ล้านบาท ปี 49 เท่ากับ 359 ล้านบาท ปี 50 เท่ากับ 1,114 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น ปี 48 เท่ากับ 77 บาท ปี 49 เท่ากับ 32 บาท ปี 50 เท่ากับ 90 บาท รวมสินทรัพย์ ปี 48เท่ากับ 14,514 ล้านบาท ปี 50 เท่ากับ16,085 ล้านบาท ปี 50 16,755 ล้านบาท เงินสดและเงินฝากธนาคาร ปี 48 เท่ากับ 28 ล้านบาท ปี 49 138 ล้านบาท ปี50 เท่ากับ 134 ล้านบาท ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปี 2551
พนักงานได้ทำงานอย่างหนักเพราะบริษัทฯ ลดจำนวนพนักงานลง แต่กลับเพิ่มเป้าการผลิตมากขึ้น แต่ค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงาน กลับไม่ได้ผลตอบแทนในทางที่ดี ซึ่งบางอย่างบริษัทฯยังละเมิดกฎหมาย เช่น ลาป่วย 1 วันต้องมีใบรับรองแพทย์ การปรับค่าจ้างและเงินโบนัส ก็ไม่ได้รับความเป็นธรรม ส่วนสวัสดิการอื่นๆ ยังได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับบริษัทที่ทำกิจการประเภทเดียวกัน
ตลอดเวลาที่ผ่านมา พนักงานไม่เคยเรียกร้องอะไรจากบริษัทฯ เพราะไม่มีใครกล้าเป็นตัวแทน กลัวถูกเลิกจ้าง บริษัทฯ ยิ่งทำยิ่งมีกำไรแต่พนักงานกลับแย่ลง
จากการทำงานของปี 2551 พนักงานทุกคนหวังว่าจะได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ผลตอบแทนที่ได้รับคือปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯได้เรียกพนักงานทั้งหมดประชุมและขอลดค่าจ้างพนักงาน 13.04 %อ้างเหตุผลว่า บริษัทฯมียอดสั่งซื้อลดลง แล้วให้พนักงานลงลายมือชื่อ ยินยอม หากใครไม่ยอมจะข่มขู่ และให้เขียนใบลาออก ถูกย้ายงาน หรือเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงาน ก็มีพนักงานบางส่วนไม่ยอมให้หักค่าจ้าง เพราะการหักค่าจ้างนั้นทำให้พนักงานมีผลกระทบได้รับความเดือดร้อน และการกระทำดังกล่าวก็ผิดกฎหมาย หากบริษัทฯประสบปัญหาก็ต้องหาวิธีการอื่นที่มีผลกระทบกับพนักงานน้อยที่สุด พนักงานจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานและยื่นข้อเรียกร้องเพื่อไม่ให้บริษัทฯหักค่าจ้างและคงสภาพการจ้างเดิมไว้ แต่บริษัทฯกลับตอบโต้ด้วยวิธีการต่าง ๆและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดดังนี้
1. หลังจากยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 52 เพื่อไม่ให้หักค่าจ้าง 13.04 % แล้ว พนักงานที่เข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้อง ถูกข่มขู่ให้ถอนชื่อออกจากข้อเรียกร้อง เช่น จะถูกหักค่าจ้างเพิ่มเป็น 35 % ไม่จ่ายโบนัสเดือนเม.ย. 52 ซึ่งเป็นผลกำไรของปี 51 หากถอนชื่อจะได้ 2 เดือนทั้งๆ แต่ละปีได้ปรับเงินขึ้นเพียง 200-300 บาทกว่าจะได้ปรับถึง 13.04%ต้องใช้เวลาสะสมหลายปี การ แต่สำหรับผู้บริหารกลับถูกหักค่าจ้างเพียง 5 % ทั้งที่มีเงินเดือนและสวัสดิการมากกว่าพนักงาน
2. บริษัทฯยื่นข้อเรียกร้องสำหรับพนักงานที่เข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้องเช่น หักเงินค่าจ้าง 35 %,หักเงินช่วยเหลือค่าเดินทาง จาก 36 บ.เหลือ 28 บ. ,ลดจำนวนวันพักร้อนเหลือ 6 วันตามกฎหมาย ,ยกเลิกการลากิจทั้งหมด (มีต่อด้านหลัง)
3. พนักงานที่เป็นผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้อง ไม่ให้เข้าทำงาน แต่จ่ายค่าจ้างให้ เพราะต้องการให้พนักงานเกิดการเข้าใจผิดเนื่องจากมีการปล่อยข่าวว่า ตัวแทนถูกจ้างออกแล้ว ทำให้พนักงานที่ลงชื่อเกิดความกลัว และถอนชื่อออกจากข้อเรียกร้อง
4. การเจรจาข้อเรียกร้องบริษัทฯไม่มีความจริงใจ ไม่ส่งคนที่มีอำนาจเข้ามาเจรจา ลูกจ้างจึงแจ้งเป็นข้อพาทแรงงาน
5. ปล่อยข่าวว่า บริษัทยางสยาม ที่อยู่สมุทรปราการ ซึ่งเป็นบริษัทในเดรือเดียวกัน ย่อมตกลงให้หักค่าจ้าง 13.04 % แล้วเพื่อต้องการให้พนักงาน บริษัทสยามมิชลินยอมรับข้อเสนอของบริษัทฯ
6.การไกล่เกลี่ยข้อเรียกร้อง ครั้งที่ 1 ตกลงกันไม่ได้ ครั้งที่ 2 ตัวแทนบริษัทฯ หนีกลับก่อน จึงไม่สามารถตกลงกันได้
7. วันที่ 24 มี.ค. บริษัทฯออกประกาศ ทั้งหมด 3 ฉบับ 1.เรื่องการหยุดการผลิตของบริษัทฯเป็นการชั่วคราว 3 วันคือ 24-26 มี.ค.52 แต่จ่ายค่าจ้างให้ 2.เรื่องใช้สิทธิปิดงานเฉพาะส่วนทั้งหมด 383 คน วันที่ 25 มี.ค. 52 เวลา 12. 00 น.จากพนักงาน 1,200 คน 3. เรื่องขอยกเลิกคำสั่งงดมอบหมายงาน สำหรับผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องทั้งหมดเพราะหลังจากยื่นข้อเรียกร้องแล้วบริษัทฯไม่ให้เข้าทำงานแต่จ่ายค่าจ้างให้
8.พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานนัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งต่อไปวันที่ 26 มี.ค. 52 เวลา 14.00 น. ณ. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.ชลบุรี
9.ยื่นหนังสือร้องเรียน กับหน่วยงานต่างๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎร,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน,อธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน,คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย,สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย,กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก
10. กรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎรนัดพบวันที่ 25 มี.ค. 52 เวลา 10.30 น.ที่อาคารรัฐสภา
จากข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นบริษัทฯไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาแต่เขาทำเพื่อต้องการลดต้นทุนอย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึง ผลกระทบความเป็นอยู่ของลูกจ้าง ไม่คำนึงถึงเรื่องคุณธรรม ,ละเมิดกฎหมาย,ระเมิดสิทธิแรงงาน ,ละเมิดสิทธิมนุษยชน และขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นพนักงานบริษัทสยามมิชลิน จำกัด ที่ถูกนายจ้างปิดงานจึงชุมนุมกันอยู่ที่หน้าบริษัทฯ ที่นิคมฯแหลมฉบัง จ.ชลบุรี จึงยื่นหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้อง เรียกร้องเพื่อสิทธิอันพึ่งมีพึ่งได้ตามกฎหมาย ดังนี้
1.ให้บริษัทฯยุติการหักค่าจ้างของพนักงาน13.04%ให้หาทางออกอย่างอื่นหากบริษัทฯมีผลกระทบกับเศรษฐกิจในขณะนี้
2.ให้ส่งผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายนายจ้างมาเจรจาข้อเรียกร้องกับลูกจ้าง
3.ให้ยุติการแซกแซงดำเนินการการใดๆอันเป็นผลทำให้ลูกจ้างถอนชื่อจากข้อเรียกร้อง
4. ไม่ให้แซกแซงการดำเนินการของพนังกงานในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
5.ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา หาข้อยุติ เพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งกันไป มากกว่านี้
ดังนั้น พวกกระผมพนักงานบริษัทสยามมิชลิน จำกัด จึงขอชี้แจงให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน พ่อค้า ประชาชนและสื่อมวลชนทุกท่านได้ทราบถึงความเดือดร้อนของคนทำงานที่นายทุนเอารัดเอาเปรียบอาศัยสถานการณ์เพื่อต้องการลดต้นทุน โดยการลดเงินเดือนของพนักงานที่มีเงินเดือนน้อยอยู่แล้ว เพื่อให้ตัวเองอยู่ได้ ทั้งที่คนงานเป็นคนสร้างผลกำไรให้บริษัทฯมาตลอด และหวังว่าทุกท่าคงให้การสนับสนุนในการต่อสู้ครั้งนี้ของพวกเราชาวสยามมิชลิน
++++++++++++++++++
อ่านข่าวแล้วน่าเห็นใจแรงงานบริษัทนี้จังครับ เพราะมุขตัดเงินเดือนแบบนี้ มันคุ้นๆ ว่าบริษัทผมก้อกำลังใช้อยู่นา :emo023vv3:
มีพี่น้อง TTC ทำงานอยู่บริษัทนี้บ้างมั้ยครับ เป็นกำลังใจให้ 1 เสียง หรือมีอะไรนอกเหนือจากแถลงการณ์มาเล่าให้ฟังมั่งก้อดีนะครับ
สู้ ๆๆๆ :emoticon-cartoon-02