แสดงเวอร์ชันเต็ม : เมื่อไหร๋จะต้องเติมนำยาแอร์
เมื่อไหร๋จะต้องเติมนำยาแอร์ เเละมีวิธีดูน้ำยาแอร์อย่างไร(ไม่เเน่ใจว่าเคยมีใครถามยัง)
ไม่รู้สิครับ แต่สำหรับผม เมื่อแอร์ไม่เย็นครับ
2ปีควรเข้าร้านแอร์ตรวจเช็ค น้ำยาแอร์ ถ้าปกติคงไม่ได้ตรวจ ดูตอนแอร์ไม่เย็นเสียส่วนใหญ่ โดยปกติจะเป็นกันอย่างนั้น ไม่เสียไม่สนใจ 555
Chatuchak
25-02-2008, 15:54
ถ้ายังเย็นอยู่ ปรกติก็จะไม่ไปยุ่งกับเขา อย่างบางคนเห็นเขาล้างคอยเย็น อยากล้างบ้าง แต่พอล้างปุ๊บ ไอ้ฝุ่ยนที่อุดรูรั่วอยู่ มันหลุดออก น้ำยาแอร์ก็ออกมาด้วย คราวนี้แอร์เลยไม่เย็น
มิตซูไซโคลนของที่บ้าน ใช้มา 15 ปี แล้ว แอร์ยังเย็นเหมือนเดิม ไม่เคยเติมน้ำยาเลย
Full Throttle
25-02-2008, 20:18
แอร์เป็นระบบปิดครับน้ำยาจะไม่สูญหายไปไหน จะหายไปก็ต่อเมื่อระบบมีการรั่วไหล ซึ่งถ้าระบบมีการรั่วไหลก็ต้องแก้ไขจุดที่รั่วให้เรียบร้อยก่อนค่อยเติมน้ำยาแอร์เข้าไปใหม่ ถ้าพบว่าน้ำยาแอร์ขาดแล้วเติมเข้าไปเพียงอย่างเดียวอีกไม่นานแอร์ก็จะไม่เย็นอีกเพราะมันมีที่รั่ว ต้องซ่อมที่รั่วก่อนแล้วค่อยเติมน้ำยาแอร์ครับ
ส่วนการบำรุงรักษาให้แอร์ใช้งานได้นานๆ ก็คือต้องหมั่นทำความสะอาดรังผึ้งแอร์ที่อยู่หน้ารถครับล้างให้สะอาดบ่อยๆ รังผึ้งจะระบายความร้อนได้ดีแอร์จะเย็นและไม่ทำงานหนัก ส่วนรังผึ้งที่อยู่ในรถ ถ้าให้ดีซื้อไส้กรองใส่เพิ่มก็ดีครับช่วยกรองฝุ่นได้เยอะตู้แอร์จะได้ไม่สกปรก ถ้าตู้แอร์ไม่สกปรกแอร์ก็จะเย็นและโอกาสรั่วเนื่องจากการผุกร่อนก็จะน้อยลงครับ อีกอย่างคือไม่ควรใช้น้ำหอมปรับอากาศในรถครับเพราะไอระเหยของน้ำหอมเหล่านั้นจะไปจับตัวกันเป็นเมือกเหนียวๆ ที่ตู้แอร์ที่ให้ตู้แอร์สกปรกเร็วครับ การรักษาความสะอาดของห้องโดยสารก็เช่นกัน ถ้าห้องโดยสารสะอาดไม่ค่อยมีฝุ่นแอร์ก็จะได้ไม่ดูดดเอาฝุ่นเข้าไปสะสมในตู้แอร์ ตู้แอร์จะสะอาดและไม่เหม็นอับด้วยครับ
ส่วนการเช็คน้ำยาแอร์ด้วยตนเองเบื้องต้นให้ดูที่ช่องกระจกด้านบนของ receiver dryer ถ้ามีฟองอากาสมากแสดงว่ามีน้ำยาแอร์น้อย ถ้าเป็นลักษณะน้ำใสๆไหลผ่านมีฟองบ้างแต่ไม่เยอะอย่างนี้คือปกติครับ แต่ถ้าเช็คแบบชัวร์ๆ ต้องใช้เกจวัดแรงดันแบบที่ร้านแอร์ใช้วัดดูครับ
ขอให้โชคดี :m0027:
ไทรทันไม่เห็นมีตาแมวให้ดูเลยครับ
Full Throttle
25-02-2008, 22:28
ไทรทันไม่เห็นมีตาแมวให้ดูเลยครับ
ขออภัยจริงๆ ครับ ไม่เคยเห็นของจริงเหมือนกันเพราะไม่มีไตรตั้นใช้ครับ:i42: ผมกำลังวางแผนซื้อพลัสอยู่ถ้ามีเป็นของตัวเองเมื่อไหร่จะบอกได้ละเอียดกว่านี้ครับ ส่วนที่ว่าไปก่อนหน้านั้นใช้สำหรับรถทั่วไปได้ครับหลักการนี้เหมือนกันทุกคัน:kapook-17342-8336:
มีอยู่ด้านซ้ายมือ แต่มองยากนิดนึง
nact0296
27-02-2008, 03:19
ดูที่ช่องตาแมวครับ ถ้ามีฟองโผ่ลปุดๆ แสดงว่าต้องตรวจดูแล้ว หรือไม่มีของเหลวไหลผ่านเลยแสดงว่ารั่วครับ
nact0296
27-02-2008, 04:14
ดูที่ช่องตาแมวครับ ถ้ามีฟองโผ่ลปุดๆ แสดงว่าต้องตรวจดูแล้ว หรือไม่มีของเหลวไหลผ่านเลยแสดงว่ารั่วครับ
สาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1.ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับอากาศชำรุด และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่าง ๆ ต่อไว้ไม่แน่น
2.สวิตช์ความดันสูง – ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอม – เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3.คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำงาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4.สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5.พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือหมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอน –เดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6.มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้ เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7.ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสียหรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด – ต่อบ่อยเกินไป
8.ตัวรีซีฟเวอร์ - ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9.น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุดต่าง ๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลดโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10. คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ:kapook-17327-8367:
maxoutda
06-03-2008, 15:19
ที่จริงถ้าระบบแอร์ไม่มีรอยรั่วนะครับ น้ำยาแอร์จะคงอยู่เหมือนเดิมแต่อาจจะตรวจเช็คที่ ไดเออร์ได้ว่าระดับน้ำยาแอร์หายหรือเหลือเท่าไรแต่ถ้ามันไม่เย็นบางไม่ได้มาจากน้ำยาแอร์หมดเสมอไปครับแต่อาจจะมาจากสาเหตุอื่นที่ทำให้น้ำยาแอร์รั่วออกไปจนหมด
ขับเคลื่อนระบบโดย vBulletin™ Version 4.2.5 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.