Alongkorn
12-06-2009, 09:12
หน้าฝนนี้มีเพื่อนสมาชิกและผู้คนจำนวนมากที่นิยมเที่ยวธรรมชาติและสำรวจป่าดงพงไพร ในวันที่ 5 ก.ค.52 นี้สมาชิกเราส่วนหนึ่งก็จะไปทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่อ่างเก็บน้ำเขาฤาไน http://www.thaitritonclub.com/forum/showthread.php?t=13836
เพื่อให้เตรียมตัวเตรียมใจได้ถูกต้องและพร้อมให้ทากตัวกระจิริดได้ดูดเลือดอันโอชะ ก็เลยไปสืบค้นข้อมูลของเจ้าทากผู้น่ารักมาให้ทำความรู้จักกัน
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าHaemadipsa sylvestris จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไส้เดือนดินในไฟลัมแอนนีลิดา(Phylum Annelida) จัดอยู่ในคลาสฮิรูดินี(Class Hirudinae) สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า
ลักษณะทั่วไปของทาก
ทากมีลักษณะคล้ายปลิง โดยทั่วไปลำตัวเป็นปล้องมีเมือกเหนียวหุ้มไว้ไม่ให้ตัวแห้งรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านหลังจะโค้งนูนเล็กน้อยส่วนด้านท้องจะเรียบ
อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ใช้ในการเกาะติดกับลำตัวเหยื่อคือ แว่นดูด (Sucker) ซึ่งมีอยู่ทั้งทางด้านหัวและด้านท้าย แต่ทากสามารถดูดเลือดได้จากทางแว่นดูดด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ส่วนแว่นดูดทางด้านท้ายทำหน้าที่ยึดเกาะ
ทากรับรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหนได้อย่างไร
ทากรับรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน จากแรงสั่นสะเทือนจากพื้นดิน เพราะฉะนั้น การชิงเดินเป็นคนแรกๆ อาจจะปลอดภัยกว่าเดินท้ายๆ
ทากเกาะติดไปกับลำตัวหรือขาด้วยแว่นดูด ดังที่กล่าวมาข้างต้น และค่อยๆ รีดตัวเองเข้าไปอยู่ในรูถุงเท้าได้ เนื่องจากลำตัวของมันเหนียว และ ยืดหยุ่นอย่างมาก
ทาก จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยการใช้แว่นดูดด้านท้ายยืดเกาะติดกับพื้น เมื่อกล้ามเนื้อตามเส้นรอบวงหดตัว ทากก็จะยืดไปข้างหน้า ใช้แว่นดูดรอบปากยึดเกาะติดกับพื้น และค่อยๆปล่อยแว่นดูดด้านท้ายออกจากที่เกาะ ตอนนี้กล้ามเนื้อตามยาวจะหดตัว ดึงเอาส่วนท้ายของลำตัวไปเกาะข้างหน้าได้ เป็นวิธีกระดื๊บๆไปตามพื้นดิน หรือตามตัวของเหยื่อจนถึงจุดที่มันพอใจถึงจะหยุด
วิธีการกัด และดูดเลือดของทาก
จะใช้ปากของมันซึ่งอยู่ทางแว่นดูดด้านหน้าเท่านั้น ภายในแว่นดูดด้านหน้าจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็นสามแฉก แต่ละแฉกก็จะมีฟันเล็กๆ อยู่มากมาย
เวลาดูดเลือด ทากปล่อยสาร 2 ชนิดเข้าสู่แผล
1.สารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับฮีสตามีน (Histamine)
ที่จะช่วยกระตุ้นหลอดเลือดของเหยื่อให้ขยายตัว
2. สารฮีรูดีน (Hirudin)
มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดของเหยื่อไหลไม่หยุด ถึงแม้ว่าทากจะปล่อยตัวหลุดไปแล้ว
หน้าแล้งทำไมไม่เห็นทาก
เป็นที่สงสัยกันว่าหน้าแล้งแล้วทากจะไปอยู่ที่ไหน เพราะทากจำเป็นต้องมีผิวหนังที่ชุ่มชื้นตลอดเวลา ทากจึงไม่สามารถทนทานกับสภาพที่แห้งแล้งได้ เมื่อถึงหน้าแล้ง ทากจะค่อยๆ รวมตัวกันไปอยู่ในที่มีความชื้นสูงเช่น ริมลำธาร แต่tะไม่ลงไปแช่ในน้ำโดยตรง ทากจะใช้วิธีมุดลงไปใต้ดินที่มีความชื้นสูงกว่า
ในช่วงระยะเวลานี้ ทากจะอยู่นิ่งๆไม่มีการตอบสนองใดๆ อาจกินเวลาถึง 6 เดือน เพื่อรอให้ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้ง
การขยายพันธุ์ของทาก
ทาก ก็เช่นเดียวกับไส้เดือน คือเป็นกระเทยมีสองเพศในตัวเดียวกัน แต่จะไม่สามารถขยายพันธุ์ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องจับคู่กัน เพื่อแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ ทากที่แสดงเป็นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มเข้าสู่ทากที่แสดงเป็นตัวเมีย และขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานต่อไป [/font]
การดำรงชีวิตของทาก
ทากดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเนื่องจากไม่มีดวงตาจึงอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเดินของเหยื่อ โดยมันจะคอยชูตัวอยู่ตามพื้นดินหรือไต่ขึ้นไปบนกิ่งไม้ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้มันจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด(Sucker) ซึ่งมีทั้งด้านหน้าและด้านท้าย โดยมันจะใช้แว่นท้ายในการยึดเกาะ
เมื่อมันสามารถเกาะผิวเนื้อของเหยื่อแล้วมันจะค่อยๆ ไต่อย่างแผ่วเบาเพื่อหาที่ซ่อนตัว (ในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาที ที่เราจะปัดหรือดึงทากออกโดยไม่ต้องเสียเลือด) หลังจากนั้นมันจะใช้แว่นหน้าลงบนผิวเนื้อของเหยื่อเพื่อดูดเลือด โดยทากจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ทากดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน(Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน(Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด)
เมื่อทากดูดเลือดอิ่มแล้วจะมีลักษณะตัวอ้วนสีดำแล้วจึงจะปล่อยตัวเองร่วงลงสู่พื้นดิน
ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ของทาก
วงการแพทย์สมัยโบราณมีการนำทากมาดูดพิษหรือเลือดเสียออกจากร่างกาย ในปัจจุบันแพทย์นำคุณสมบัติของทากมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจหรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น
วิธีการป้องกันไม่ให้ทากเกาะเมื่อจะเดินป่า
เดี๋ยวนี้ตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ จะเตรียมถุงเท้ากันทากไว้ให้ มีลักษณะเป็นถุงเท้ายาว ทำจากผ้าดิบ มีเชือกรัดอยู่บริเวณหน้าแข้ง วิธีการใส่ ก็คือ สวมทับถุงเท้าที่เราใส่อยู่ ก่อนจะใส่รองเท้า หลังจากนั้น ก็ดึงเชือกบริเวณหน้าแข้งให้แน่น โดยยัดขากางเกงให้ลงไปอยู่ภายในถุงเท้าด้วย จากนั้นก็ฉีดสเปรย์ตะไคร้ บริเวณเชือก และรองเท้า หรือ ควรจะมีกิ่งไม้เล็ก ๆ ไว้สำหรับเขี่ยตัวทากออก หากทากเกาะตัว หรือ เกาะตามเสื้อผ้า
ส่วนวิธีการที่จะทำให้ทากหมดแรง คือ ใช้นิ้วกลิ้งตัวทากไปมา หลังจากที่ทากโดนความร้อนจากการถูไปมาบนมือ แล้วน้ำมันที่ผิวหนังของทากก็จะแห้งลง ทำให้ทากหมดแรงไปเอง
การห้ามเลือดหลังจากโดนทาก
ใช้ใบสาบเสือ ยาเส้นหรือยาฉุนมาขยี้ปิดบาดแผล
ที่มา : คลังปัญญาไทย http://www.panyathai.or.th
เพื่อให้เตรียมตัวเตรียมใจได้ถูกต้องและพร้อมให้ทากตัวกระจิริดได้ดูดเลือดอันโอชะ ก็เลยไปสืบค้นข้อมูลของเจ้าทากผู้น่ารักมาให้ทำความรู้จักกัน
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าHaemadipsa sylvestris จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไส้เดือนดินในไฟลัมแอนนีลิดา(Phylum Annelida) จัดอยู่ในคลาสฮิรูดินี(Class Hirudinae) สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า
ลักษณะทั่วไปของทาก
ทากมีลักษณะคล้ายปลิง โดยทั่วไปลำตัวเป็นปล้องมีเมือกเหนียวหุ้มไว้ไม่ให้ตัวแห้งรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านหลังจะโค้งนูนเล็กน้อยส่วนด้านท้องจะเรียบ
อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ใช้ในการเกาะติดกับลำตัวเหยื่อคือ แว่นดูด (Sucker) ซึ่งมีอยู่ทั้งทางด้านหัวและด้านท้าย แต่ทากสามารถดูดเลือดได้จากทางแว่นดูดด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ส่วนแว่นดูดทางด้านท้ายทำหน้าที่ยึดเกาะ
ทากรับรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหนได้อย่างไร
ทากรับรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน จากแรงสั่นสะเทือนจากพื้นดิน เพราะฉะนั้น การชิงเดินเป็นคนแรกๆ อาจจะปลอดภัยกว่าเดินท้ายๆ
ทากเกาะติดไปกับลำตัวหรือขาด้วยแว่นดูด ดังที่กล่าวมาข้างต้น และค่อยๆ รีดตัวเองเข้าไปอยู่ในรูถุงเท้าได้ เนื่องจากลำตัวของมันเหนียว และ ยืดหยุ่นอย่างมาก
ทาก จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยการใช้แว่นดูดด้านท้ายยืดเกาะติดกับพื้น เมื่อกล้ามเนื้อตามเส้นรอบวงหดตัว ทากก็จะยืดไปข้างหน้า ใช้แว่นดูดรอบปากยึดเกาะติดกับพื้น และค่อยๆปล่อยแว่นดูดด้านท้ายออกจากที่เกาะ ตอนนี้กล้ามเนื้อตามยาวจะหดตัว ดึงเอาส่วนท้ายของลำตัวไปเกาะข้างหน้าได้ เป็นวิธีกระดื๊บๆไปตามพื้นดิน หรือตามตัวของเหยื่อจนถึงจุดที่มันพอใจถึงจะหยุด
วิธีการกัด และดูดเลือดของทาก
จะใช้ปากของมันซึ่งอยู่ทางแว่นดูดด้านหน้าเท่านั้น ภายในแว่นดูดด้านหน้าจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็นสามแฉก แต่ละแฉกก็จะมีฟันเล็กๆ อยู่มากมาย
เวลาดูดเลือด ทากปล่อยสาร 2 ชนิดเข้าสู่แผล
1.สารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับฮีสตามีน (Histamine)
ที่จะช่วยกระตุ้นหลอดเลือดของเหยื่อให้ขยายตัว
2. สารฮีรูดีน (Hirudin)
มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดของเหยื่อไหลไม่หยุด ถึงแม้ว่าทากจะปล่อยตัวหลุดไปแล้ว
หน้าแล้งทำไมไม่เห็นทาก
เป็นที่สงสัยกันว่าหน้าแล้งแล้วทากจะไปอยู่ที่ไหน เพราะทากจำเป็นต้องมีผิวหนังที่ชุ่มชื้นตลอดเวลา ทากจึงไม่สามารถทนทานกับสภาพที่แห้งแล้งได้ เมื่อถึงหน้าแล้ง ทากจะค่อยๆ รวมตัวกันไปอยู่ในที่มีความชื้นสูงเช่น ริมลำธาร แต่tะไม่ลงไปแช่ในน้ำโดยตรง ทากจะใช้วิธีมุดลงไปใต้ดินที่มีความชื้นสูงกว่า
ในช่วงระยะเวลานี้ ทากจะอยู่นิ่งๆไม่มีการตอบสนองใดๆ อาจกินเวลาถึง 6 เดือน เพื่อรอให้ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้ง
การขยายพันธุ์ของทาก
ทาก ก็เช่นเดียวกับไส้เดือน คือเป็นกระเทยมีสองเพศในตัวเดียวกัน แต่จะไม่สามารถขยายพันธุ์ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องจับคู่กัน เพื่อแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ ทากที่แสดงเป็นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มเข้าสู่ทากที่แสดงเป็นตัวเมีย และขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานต่อไป [/font]
การดำรงชีวิตของทาก
ทากดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเนื่องจากไม่มีดวงตาจึงอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเดินของเหยื่อ โดยมันจะคอยชูตัวอยู่ตามพื้นดินหรือไต่ขึ้นไปบนกิ่งไม้ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้มันจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด(Sucker) ซึ่งมีทั้งด้านหน้าและด้านท้าย โดยมันจะใช้แว่นท้ายในการยึดเกาะ
เมื่อมันสามารถเกาะผิวเนื้อของเหยื่อแล้วมันจะค่อยๆ ไต่อย่างแผ่วเบาเพื่อหาที่ซ่อนตัว (ในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาที ที่เราจะปัดหรือดึงทากออกโดยไม่ต้องเสียเลือด) หลังจากนั้นมันจะใช้แว่นหน้าลงบนผิวเนื้อของเหยื่อเพื่อดูดเลือด โดยทากจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ทากดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน(Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน(Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด)
เมื่อทากดูดเลือดอิ่มแล้วจะมีลักษณะตัวอ้วนสีดำแล้วจึงจะปล่อยตัวเองร่วงลงสู่พื้นดิน
ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ของทาก
วงการแพทย์สมัยโบราณมีการนำทากมาดูดพิษหรือเลือดเสียออกจากร่างกาย ในปัจจุบันแพทย์นำคุณสมบัติของทากมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจหรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น
วิธีการป้องกันไม่ให้ทากเกาะเมื่อจะเดินป่า
เดี๋ยวนี้ตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ จะเตรียมถุงเท้ากันทากไว้ให้ มีลักษณะเป็นถุงเท้ายาว ทำจากผ้าดิบ มีเชือกรัดอยู่บริเวณหน้าแข้ง วิธีการใส่ ก็คือ สวมทับถุงเท้าที่เราใส่อยู่ ก่อนจะใส่รองเท้า หลังจากนั้น ก็ดึงเชือกบริเวณหน้าแข้งให้แน่น โดยยัดขากางเกงให้ลงไปอยู่ภายในถุงเท้าด้วย จากนั้นก็ฉีดสเปรย์ตะไคร้ บริเวณเชือก และรองเท้า หรือ ควรจะมีกิ่งไม้เล็ก ๆ ไว้สำหรับเขี่ยตัวทากออก หากทากเกาะตัว หรือ เกาะตามเสื้อผ้า
ส่วนวิธีการที่จะทำให้ทากหมดแรง คือ ใช้นิ้วกลิ้งตัวทากไปมา หลังจากที่ทากโดนความร้อนจากการถูไปมาบนมือ แล้วน้ำมันที่ผิวหนังของทากก็จะแห้งลง ทำให้ทากหมดแรงไปเอง
การห้ามเลือดหลังจากโดนทาก
ใช้ใบสาบเสือ ยาเส้นหรือยาฉุนมาขยี้ปิดบาดแผล
ที่มา : คลังปัญญาไทย http://www.panyathai.or.th