NAMELESS
15-08-2009, 10:24
แนะเลี่ยงเส้นทาง หนีรถติด ซ่อม 13 สะพาน:emoticon-cartoon-00
พล.ต.ต.ภาณุเตือนให้วางแผนและปรับเวลาเดินทางหนีรถติดช่วงปิดซ่อม 5 สะพานข้ามแยกชุดแรกทั่วกทม. "รัชโยธิน-บางพลัด-พงษ์เพชร-พระราม4-คลองตัน" เริ่ม 1 ก.ย.นี้ พร้อมแนะนำเส้นทางหลีกเลี่ยง
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ ต่อเนื่องจนถึงต้นปีหน้า สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) กำหนดจะปรับปรุงสะพานข้ามทางแยกจำนวน 13 แห่งใน กทม. หลังจากใช้งานมานานประมาณ 10-15 ปี จนเสียหายและเสื่อมสภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง
จากข้อมูลของสำนักการโยธา กทม. พบว่า สะพานที่จะปรับปรุงแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มA จำนวน 4 สะพาน ประกอบด้วย
1. สะพานข้ามแยกท่าพระ
2. สะพานข้ามแยกบางพลัด
3. สะพานข้ามแยกประชานุกูล
4. สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง
กลุ่ม B จำนวน 4 สะพาน ประกอบด้วย
1. สะพานข้ามแยกรัชโยธิน
2. สะพามข้ามแยกเกษตร
3. สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร
4. สะพานข้ามแยกดินแดง
กลุ่ม C จำนวน 5 สะพาน ประกอบด้วย
1. สะพานข้ามแยกคลองตัน
2. สะพานข้ามแยกพระรามสี่
3. สะพานข้ามแยก อสมท.
4. สะพานข้ามแยกรามคำแหง
5. สะพานข้ามแยกอโศก
การดำเนินการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. งานตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้าง วัตถุประสงค์เนื่องจากปัจจุบันมีการเพิ่มของปริมาณการจราจร และมีการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกตามกฎหมายใหม่ รวมทั้งข้อกำหนดการต้านทางแผ่นดินไหวจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้าง
2. การปรับปรุงส่วนประกอบของสะพานที่ชำรุดเสียหายหรือเสื่อมสภาพ ได้แก่ ปรับปรุงพื้นผิวจราจรบนสะพาน ปรับปรุงรอยต่อสะพาน ปรับปรุงยางรองคานสะพาน ปรับปรุงทาสีโครงสร้างเหล็ก ปรังปรุงโครงสร้างเชิงลาดสะพาน ปรับปรุงราวสะพานและปรับปรุงงานอื่นๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบระบายน้ำและระบบรั้วตาข่าย
ด้านการจัดการจราจรระหว่างการซ่อมแซมสะพานข้ามแยก พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ในฐานะกำกับดูแลงานด้านจราจร กล่าวว่า ผู้ใช้รถใช้ถนนจะต้องมีแผนทางเลี่ยงและปรับช่วงเวลาเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น เนื่องจากครั้งนี้ จะมีการปรับปรุงพื้นผิวจราจรและบางจุดอาจรื้อสร้างใหม่ต้องใช้เวลามากกว่าการซ่อมบำรุงตามปกติ
รอง ผบช.น. กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ บช.น. กองบังคับการตำรวจจราจรและฝ่ายจราจรของทุก สน.ในสังกัด บช.น. ได้ประชุมร่วมกันและวางแผนแก้ไขปัญหาจราจรเอาไว้แล้ว โดยช่วงแรกของการซ่อมแซมจำนวน 5 สะพาน จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.-ธ.ค.นี้ ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกรัชโยธิน สะพานข้ามแยกบางพลัด สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร สะพานข้ามแยกพระราม 4 และสะพานข้ามแยกคลองตัน ส่วนสะพานที่เหลือจะทยอยดำเนินการต่อเนื่องจนถึงต้นปีหน้า
สำหรับสะพานข้ามแยกรัชโยธิน พล.ต.ต.ภาณุ บอกจะเริ่มปิดการจราจรตั้งแต่วันที่ 1-30 ก.ย.นี้ ใช้เวลา 30 วัน โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้า และเปิดใช้สะพานฝั่งขาออกให้รถขึ้นสวนกันได้ฝั่งละ 1 ช่องจราจรตลอดวัน รวมทั้งปรับจังหวะไฟจราจรสี่แยกใต้สะพานให้ทุกด้านตรงไปและเลี้ยวขวาได้ ส่วนเส้นทางเลี่ยงได้แก่ ถนนวิภาวดี พหลโยธินและลาดพร้าว
ส่วนสะพานข้ามแยกบางพลัด จะปิดการจราจรวันที่ 15 ก.ย.-15 ธ.ค. 2552 รวม 90 วัน เริ่มต้นจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้า และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้าช่วงเช้า 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรแต่ละวัน ส่วนเส้นทางเลี่ยง คือ ถนนบรมราชชนนี
"สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร ปิดวันที่ 1 ต.ค.-30 ธ.ค.นี้ ใช้เวลา 90 วัน จะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้าก่อน และให้เดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้าช่วงเช้า ตั้งแต่ 06.00-10.00 น. ขาออกช่วงเย็นเวลา 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะไฟให้เหมาะกับสภาพจราจรแต่ละวัน สำหรับเส้นทางเลี่ยง ถนนแจ้งวัฒนะ และรัชดาฯ-วงศ์สว่าง" พล.ต.ต.ภาณุ กล่าว
ในส่วนของสะพานข้ามแยกพระราม 4 นั้น รอง ผบช.น. กล่าวว่า ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 ต.ค.-30 ธ.ค. 2552 รวม 90 วัน โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้าก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้า 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรในแต่ละวัน เส้นทางเลี่ยง คือ ถนนนราธิวาสฯ พระราม 3 สาทร ถนนจันทน์ พระราม 1 สุขุมวิท วิทยุ ทางด่วนขึ้นด่านพระราม 4 และด่านสาธุประดิษฐ์
ขณะที่สะพานข้ามแยกคลองตันจะปิดการจราจรระหว่าง 1 ธ.ค. 2552-30 พ.ค. 2553 รวมใช้เวลา 180 วัน ปิดซ่อมสะพานฝั่งขาออกก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้าช่วงเช้า 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรแต่ละวัน ทางเลี่ยง คือ ถนนพระราม 9 สุขุมวิท ทางด่วนพิเศษ ขึ้นด่านพัฒนาการและด่านพระราม 9
นอกจากนี้ ในช่วงที่ 2 ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ค. 2553 พล.ต.ต.ภาณุ เผยว่า จะมีการซ่อมสะพานอีก 5 แห่ง ได้แก่ สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง ปิดการจราจร 1 ม.ค.-30 มี.ค. ใช้เวลา 90 วัน สะพานข้ามแยกเกษตร ปิดการจราจร 1 เม.ย.-30 เม.ย. รวมเวลา 30 วัน สะพานข้ามแยกดินแดงปิดการจราจร 1 เม.ย.-30 เม.ย. ใช้เวลา 30 วัน สะพานข้ามแยกประชานุกูลปิดการจราจรระหว่าง 1 พ.ค.-30 ก.ค. รวม 90 วัน สะพานข้ามแยกท่าพระปิดการจราจร 1 พ.ค.-30 ก.ค. รวมใช้เวลา 90 วัน
"สะพานกลุ่มที่ 3 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สะพานข้ามแยก อสมท. สะพานข้ามแยกรามคำแหง และสะพานข้ามแยกอโศกยังไม่ได้ระยะเวลาดำเนินการ เพราะเกี่ยวข้องและใกล้เคียงกับโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ที่ก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และการซ่อมถนนโรคัลโรดจึงจำเป็นต้องชะลอการซ่อมแซมจึงขอให้ประชาชนศึกษารายละเอียด วางแผนการเดินทาง เตรียมตัวรับปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น" รอง ผบช.น. กล่าว
พล.ต.ต.ภาณุเตือนให้วางแผนและปรับเวลาเดินทางหนีรถติดช่วงปิดซ่อม 5 สะพานข้ามแยกชุดแรกทั่วกทม. "รัชโยธิน-บางพลัด-พงษ์เพชร-พระราม4-คลองตัน" เริ่ม 1 ก.ย.นี้ พร้อมแนะนำเส้นทางหลีกเลี่ยง
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ ต่อเนื่องจนถึงต้นปีหน้า สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) กำหนดจะปรับปรุงสะพานข้ามทางแยกจำนวน 13 แห่งใน กทม. หลังจากใช้งานมานานประมาณ 10-15 ปี จนเสียหายและเสื่อมสภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง
จากข้อมูลของสำนักการโยธา กทม. พบว่า สะพานที่จะปรับปรุงแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มA จำนวน 4 สะพาน ประกอบด้วย
1. สะพานข้ามแยกท่าพระ
2. สะพานข้ามแยกบางพลัด
3. สะพานข้ามแยกประชานุกูล
4. สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง
กลุ่ม B จำนวน 4 สะพาน ประกอบด้วย
1. สะพานข้ามแยกรัชโยธิน
2. สะพามข้ามแยกเกษตร
3. สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร
4. สะพานข้ามแยกดินแดง
กลุ่ม C จำนวน 5 สะพาน ประกอบด้วย
1. สะพานข้ามแยกคลองตัน
2. สะพานข้ามแยกพระรามสี่
3. สะพานข้ามแยก อสมท.
4. สะพานข้ามแยกรามคำแหง
5. สะพานข้ามแยกอโศก
การดำเนินการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. งานตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้าง วัตถุประสงค์เนื่องจากปัจจุบันมีการเพิ่มของปริมาณการจราจร และมีการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกตามกฎหมายใหม่ รวมทั้งข้อกำหนดการต้านทางแผ่นดินไหวจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้าง
2. การปรับปรุงส่วนประกอบของสะพานที่ชำรุดเสียหายหรือเสื่อมสภาพ ได้แก่ ปรับปรุงพื้นผิวจราจรบนสะพาน ปรับปรุงรอยต่อสะพาน ปรับปรุงยางรองคานสะพาน ปรับปรุงทาสีโครงสร้างเหล็ก ปรังปรุงโครงสร้างเชิงลาดสะพาน ปรับปรุงราวสะพานและปรับปรุงงานอื่นๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบระบายน้ำและระบบรั้วตาข่าย
ด้านการจัดการจราจรระหว่างการซ่อมแซมสะพานข้ามแยก พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ในฐานะกำกับดูแลงานด้านจราจร กล่าวว่า ผู้ใช้รถใช้ถนนจะต้องมีแผนทางเลี่ยงและปรับช่วงเวลาเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น เนื่องจากครั้งนี้ จะมีการปรับปรุงพื้นผิวจราจรและบางจุดอาจรื้อสร้างใหม่ต้องใช้เวลามากกว่าการซ่อมบำรุงตามปกติ
รอง ผบช.น. กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ บช.น. กองบังคับการตำรวจจราจรและฝ่ายจราจรของทุก สน.ในสังกัด บช.น. ได้ประชุมร่วมกันและวางแผนแก้ไขปัญหาจราจรเอาไว้แล้ว โดยช่วงแรกของการซ่อมแซมจำนวน 5 สะพาน จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.-ธ.ค.นี้ ประกอบด้วย สะพานข้ามแยกรัชโยธิน สะพานข้ามแยกบางพลัด สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร สะพานข้ามแยกพระราม 4 และสะพานข้ามแยกคลองตัน ส่วนสะพานที่เหลือจะทยอยดำเนินการต่อเนื่องจนถึงต้นปีหน้า
สำหรับสะพานข้ามแยกรัชโยธิน พล.ต.ต.ภาณุ บอกจะเริ่มปิดการจราจรตั้งแต่วันที่ 1-30 ก.ย.นี้ ใช้เวลา 30 วัน โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้า และเปิดใช้สะพานฝั่งขาออกให้รถขึ้นสวนกันได้ฝั่งละ 1 ช่องจราจรตลอดวัน รวมทั้งปรับจังหวะไฟจราจรสี่แยกใต้สะพานให้ทุกด้านตรงไปและเลี้ยวขวาได้ ส่วนเส้นทางเลี่ยงได้แก่ ถนนวิภาวดี พหลโยธินและลาดพร้าว
ส่วนสะพานข้ามแยกบางพลัด จะปิดการจราจรวันที่ 15 ก.ย.-15 ธ.ค. 2552 รวม 90 วัน เริ่มต้นจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้า และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้าช่วงเช้า 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรแต่ละวัน ส่วนเส้นทางเลี่ยง คือ ถนนบรมราชชนนี
"สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร ปิดวันที่ 1 ต.ค.-30 ธ.ค.นี้ ใช้เวลา 90 วัน จะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้าก่อน และให้เดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้าช่วงเช้า ตั้งแต่ 06.00-10.00 น. ขาออกช่วงเย็นเวลา 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะไฟให้เหมาะกับสภาพจราจรแต่ละวัน สำหรับเส้นทางเลี่ยง ถนนแจ้งวัฒนะ และรัชดาฯ-วงศ์สว่าง" พล.ต.ต.ภาณุ กล่าว
ในส่วนของสะพานข้ามแยกพระราม 4 นั้น รอง ผบช.น. กล่าวว่า ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 ต.ค.-30 ธ.ค. 2552 รวม 90 วัน โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้าก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้า 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรในแต่ละวัน เส้นทางเลี่ยง คือ ถนนนราธิวาสฯ พระราม 3 สาทร ถนนจันทน์ พระราม 1 สุขุมวิท วิทยุ ทางด่วนขึ้นด่านพระราม 4 และด่านสาธุประดิษฐ์
ขณะที่สะพานข้ามแยกคลองตันจะปิดการจราจรระหว่าง 1 ธ.ค. 2552-30 พ.ค. 2553 รวมใช้เวลา 180 วัน ปิดซ่อมสะพานฝั่งขาออกก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานชั่วโมงเร่งด่วน ขาเข้าช่วงเช้า 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น 15.00-22.00 น. ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรแต่ละวัน ทางเลี่ยง คือ ถนนพระราม 9 สุขุมวิท ทางด่วนพิเศษ ขึ้นด่านพัฒนาการและด่านพระราม 9
นอกจากนี้ ในช่วงที่ 2 ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ค. 2553 พล.ต.ต.ภาณุ เผยว่า จะมีการซ่อมสะพานอีก 5 แห่ง ได้แก่ สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง ปิดการจราจร 1 ม.ค.-30 มี.ค. ใช้เวลา 90 วัน สะพานข้ามแยกเกษตร ปิดการจราจร 1 เม.ย.-30 เม.ย. รวมเวลา 30 วัน สะพานข้ามแยกดินแดงปิดการจราจร 1 เม.ย.-30 เม.ย. ใช้เวลา 30 วัน สะพานข้ามแยกประชานุกูลปิดการจราจรระหว่าง 1 พ.ค.-30 ก.ค. รวม 90 วัน สะพานข้ามแยกท่าพระปิดการจราจร 1 พ.ค.-30 ก.ค. รวมใช้เวลา 90 วัน
"สะพานกลุ่มที่ 3 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สะพานข้ามแยก อสมท. สะพานข้ามแยกรามคำแหง และสะพานข้ามแยกอโศกยังไม่ได้ระยะเวลาดำเนินการ เพราะเกี่ยวข้องและใกล้เคียงกับโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ที่ก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และการซ่อมถนนโรคัลโรดจึงจำเป็นต้องชะลอการซ่อมแซมจึงขอให้ประชาชนศึกษารายละเอียด วางแผนการเดินทาง เตรียมตัวรับปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น" รอง ผบช.น. กล่าว