แสดงเวอร์ชันเต็ม : การเชื่อมต่อสวิตซ์กล่องดันราง ถึงคุณวัตรและท่านอื่นๆที่สนใจครับ
กระทู้นี้จะขออธิบายถึง การทำสวิตซ์กล่องดันรางเนื่องจากมีสมาชิกถามมา จุดประสงค์เพื่อให้สมาชิกได้ทำสวิตซ์ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละสถานะการณ์
เริ่มต้นเลย ต้องหาสวิตซ์มาก่อนครับ เป็นสวิตซ์ 3 ทาง มีอยู่หลายแบบ แต่ผมขอเลือกเฉพาะที่เหมาะสมกับการใช้งานแล้วกันครับ เพื่อไม่ต้องอธิบายมากและเข้าใจง่ายๆ ตามรูปเลยครับ
1 เป็นสวิตซ์แบบไม่มีไฟ 3 ขา
ทำความเข้าใจสายสัญญานก่อนพวงเชื่อมต่อกล่องดันราง
น้าไปไหนแล้วครับยังไม่เสร็จเลย รอดูอยู่ครับ เอาแบบสายจริงเลยก็ดีครับจะได้มองออก เส้นสีอะไร สีขาวรึเปล่าเข้า ECU ขาอะไรขา 56 รึเปล่าครับ (rail pressure sensor อันเดียวกันกับ sensor ปั้มหัวฉีดมั้ยครับ)
ทำความเข้าใจการเชื่อมต่อกล่องดันรางพร้อมสวิตซ์จากภาพ
เมื่อเห็นภาพแล้วบ้างท่านอาจจะเข้าใจ บ้างท่านอาจไม่เข้าใจ ขออธิบายเพิ่มเติมครับ ในกรอบสี่เหลี่ยมเส้นปะสีฟ้า เป็นรูปสวิต์ และภาพจำจองขาสวิตซ์ 1 และ 2 เป็นสวิตซ์ที่ต่างกัน ขออธิบายรายละเอียดดังนี้
1 สวิตซ์แบบไม่มีไฟ แบบนี้จะต่อง่ายครับ ราคาถูก มีแค่ 3 ขา ไม่มีไฟ นำสายไฟมาต่อเข้ากับขา ตามผังวงจรตามสีให้ถูกต้อง ก็เป็นอันใช้ได้
ข้อเสีย
- สวิตซ์แบบนี้เมื่อนำมาใช้กับรถ triton คาดว่าจะต้องมีการดัดแปลงโคนโซล เพราะเล็กไม่สามารถเข้าได้กับ ช่องสวิตซ์ที่ว่างของรถtriton
- อายุการใช้งานไม่น่าไว้วางใจ เมื่อดูจากวัสดุที่ใช้ในการผลิต
2 สวิตซ์แบบมีไฟ แบบนี้จะยุ่งนิดหน่อย แต่ไม่ยากเกินไป มี 4 ขา มีไฟ สวิตซ์แบบที่ 2 เป็นสวิตซ์แบบมีไฟ แต่เมื่อนำมาใช้งานเป็นสวิตซ์สัญญาญกล่องดันราง ต้องตัดสายหลอดไฟออก ใช้แค่ 3 ขา เนื่องจากว่า สายหลอดไฟนั้น สัญญานสามารถผ่านได้ หากไม่ตัดออกจะไม่สามารถใช้สวิตซ์ได้เลย สวิตซ์แบบนี้สามารถเข้ากันได้กับช่องสวิตซ์ที่ว่างของ triton ได้พอดี ไม่ต้องดัดแปลง ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานน่าไว้วางใจ เมื่อดูวัสดุที่ใช้ในการผลิต
ข้อเสีย
- ราคาแพง (แต่ก็ไม่แพงมาก)
- ต่อยุ่งยาก
หมายเหตุ: ก่อนการเชื่อมต่อสวิตซ์ ควรใช้มิเตอร์วัดไฟ เทสสวิตซ์ เพื่อให้รู้วงจรสวิตซ์ กดสวิตซ์ ขึ้น-ลง ขาไหนของสวิตซ์เชื่อมต่อกัน จะได้ต่อสายสัญญานได้ถูกต้องตามที่ต้องการ
อธิบายไปยาวเดียวจะงง ดูจากรูปกันไปก่อนแล้วกันครับ มีอะไรก็โทรมา 081-0557658 08-25830162 เหน่งครับ
bomgrade
03-11-2009, 17:18
โห สุดๆ ไปเลย
ขอถามเรื่องการใช้งานครับสามารถกดเปลี่ยน ว่าใช้หรือไม่ใช้กล่องขณะขับรถหรือเปิด switch กุญแจได้เลยรึเปล่าครับหรือว่าจะต้องเปลี่ยนตอน off switch กุญแจแล้วเพราะผมกลัวว่าสัญญาณมันจะหายไปเสี่ยววินาทีเดี๋ยว ECU สัญญาณหายไปตอนเปลี่ยนตำแหน่ง switch กลัว Error ขึ้น rail pressure sensor low signal หรือผมคิดมากไปเองถ้าสามารถเปลี่ยนตอนที่รถวิ่งอยู่ได้ก็แหล่มเลยครับ
เยี่ยมเลยครับ สวิทช์แบบที่ 2 หาซื้อได้ที่ไหนครับ ช่วงเปิด-ปิด ต้องจอดรถไหมครับ
ขอถามเรื่องการใช้งานครับสามารถกดเปลี่ยน ว่าใช้หรือไม่ใช้กล่องขณะขับรถหรือเปิด switch กุญแจได้เลยรึเปล่าครับหรือว่าจะต้องเปลี่ยนตอน off switch กุญแจแล้วเพราะผมกลัวว่าสัญญาณมันจะหายไปเสี่ยววินาทีเดี๋ยว ECU สัญญาณหายไปตอนเปลี่ยนตำแหน่ง switch กลัว Error ขึ้น rail pressure sensor low signal หรือผมคิดมากไปเองถ้าสามารถเปลี่ยนตอนที่รถวิ่งอยู่ได้ก็แหล่มเลยครับ
ผมใช้อยู่นานแล้วครับ ระหว่างที่เครื่องทำงาน ไฟไม่โชว์ครับน้า ผมกดด้วยความเร็วไม่พักตรงกลาง(ช่วงที่สวิตซ์ ไม่ต่อกับขั้วใดเลย ) สามารถกดได้เลย ตอนเครื่องยนต์ทำงาน แต่ก็ควรเหยีบคัชให้รอบลงมาต่ำๆก่อนก็จะดี เพราะไม่เคยเปลี่ยนตอนรอบสูงๆครับ อีกนัยหนึ่ง ถ้าเรากดสวิตซ์ไว้ช่องกลาง สายสัญญานจะไม่ต่อกัน ถ้าหากเปิดกุญแจ จะทำให้ไฟเอนกิ๊นโชว์ครับ ส่วนเรื่องของไฟเอนกิ๊นโชว์ เพื่อนสมาชิกก็คงรู้วิธีแก้กันอยู่แล้ว ไฟดับไปก็ไม่มีปัญหาอะไรแล้วครับ เพราะว่าเรารู้สาเหตุที่แท้จริงอยู่แล้ว ถ้ามีเวลาเข้าศูนย์ก็ให้ศูนย์ลบให้สะ
เยี่ยมเลยครับ สวิทช์แบบที่ 2 หาซื้อได้ที่ไหนครับ ช่วงเปิด-ปิด ต้องจอดรถไหมครับ
หาซื้อได้ตามร้านขายสายไฟรถยนต์ครับ สวิตซ์ เป็นแบบที่ผลิตออกมาใช้กับรถยนต์ ส่วนมากน้ำไปใช้กับการสวิตซ์ แก๊สกับน้ำมัน ของรถติดแก๊ส สมารถกดได้ตอนรอบต่ำๆครับ รอบสูงๆยังไม่เคยลอง ส่วนตัวผมเองหากรถวิ่งรอบสูงๆอยู่ ผมจะเหยีบคัชให้รอบต่ำแล้วก็กดผ่านตรงกลางช่วงที่สวิตซ์เป็นoff ไปเลย ไฟไม่โชว์ครับ โทรมาปรึกษาได้ หรือว่าจะให้ติดตั้งให้ก็ขับรถมาแถวลาดกระบัง หรือมีนบุรีครับ บริการให้ฟรี อุปกรณ์พาไปซื้อได้ รู้แหล่งครับ ครับ 081-0557658 082-5830162 งบก็ไม่เกิน 250 สำหรับสวิตซ์แบบที่สอง
เสริมนิดนึงครับ
ถ้ากล่องดันราง เป็นแบบมีไฟเลี้ยง
ให้ทำสวิช ตัดไฟเข้ากล่องดันรางได้เลยครับ
แต่ถ้าเป็นแบบ ไม่มีไฟเลี้ยง ใช้ตัดสัญญาณสายกราว ผ่านสวิชได้เลยครับผม
ขับเคลื่อนระบบโดย vBulletin™ Version 4.2.5 Copyright © 2024 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.