PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : จะทำไงดี ขอหนังสือรับรองจากศาล แล้วโดนเรียกใต้โต๊ะ



**ONE-MAN**
20-11-2010, 20:21
พอดีมีญาติ โดนคดีครับ แต่เมื่อขึ้นศาลปรากฏว่าศาลพิพากษาไม่มีความผิด ให้ยกฟ้อง เราจึงจะขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อขอรับเงินชดเชย และขอทรัพย์สินคืน แต่มีทางเจ้าหน้าที่ที่ศาลขอค่าออกหนังสือ 70,000 บาท จะทำไงดีครับ ในความเป็นจริงเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบไม่ถึง 100 ก็ได้แล้ว ใครมีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยแนะนำหน่อยครับ...

AKNet
20-11-2010, 20:26
ฟ้อง ปปช.เลยคับ แจ้งไว้ล่วงหน้าแล้วนัดเจ้าหน้าที่ ปปช. ไปกับเราในวันจ่ายเงินเตรียมเครื่องบันทึกเสียง+กล้องแอบให้เนียนๆ มีนักข่าวแฝงตัวไปด้วยก็ดี รับรองงานนี้โดน ม.159 และมาตราอื่นๆอีกเพียบ เอาให้มันติดคุกไปเลย โดนออกจากราชการมันไม่พอสำหรับคน 1000 นี้

jinny95
20-11-2010, 20:47
คนดีมี คนไม่ดีก็มี
แต่คนดีไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร
ส่วนคนไม่ดีนี่ ไม่ควรส่งเสริม


เป็นกำลังใจให้ครับ

Bangpakong
20-11-2010, 20:53
เตรียมหลักฐานเรื่องคดี เท่าที่มีอยู่ แล้วโทรหาคุณกิตติ สิงหาปัดเลยครับ พวกนี้ต้องเอาให้สนิท

beejle
20-11-2010, 23:47
:yenta4-emoticon-001:yenta4-emoticon-001 :yenta4-emoticon-001

LuftWaffe
20-11-2010, 23:51
อัดคลิปมัน แล้วเรียกเงินมัน สามสี่เท่า หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง ฮ่าๆๆ ผมล้อเล่นนะครับ

mckyparty
21-11-2010, 00:50
ตัดสินใจอะไร คิดดีๆครับ เล่นกับของใหญ่ ความเสี่ยงสูง

ถ้าเลือกทางที่คิดว่าถูกต้องแล้วทำไปเลย แต่ต้องอาศัยกองกำลังร่วมด้วยครับ จะรูปแบบไหนก็ตามแต่
อย่าริเดินคนเดียวเด็ดขาดครับ

วางแผนดีๆ เตรียมหลักฐาน พยานให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ครับ
อย่าลืม เล่นละครทำให้เหมือนไม่มีอะไร ไม่ซีเรียส ขำๆกันไป เพื่อให้เค้าตายใจครับ

เอาใจช่วยนะครับ

tong8201
21-11-2010, 08:21
ศาลที่จังหวัดไหนครับ ญาติผมก็กำลังจะขึ้นศาล วันที่ 29 พศจิกา นี้ ที่ลพบุรี
จะใด้เก็บใว้เป็นความรู้

nampong
21-11-2010, 08:26
แบบนี้ก็มีด้วยเหรอครับเรียกเงินมากมาย เป็นกำลังใจไห้ครับต้องสู้ครับ

กรุงเก่า
21-11-2010, 08:31
ตัดสินใจอะไร คิดดีๆครับ เล่นกับของใหญ่ ความเสี่ยงสูง

ถ้าเลือกทางที่คิดว่าถูกต้องแล้วทำไปเลย แต่ต้องอาศัยกองกำลังร่วมด้วยครับ จะรูปแบบไหนก็ตามแต่
อย่าริเดินคนเดียวเด็ดขาดครับ

วางแผนดีๆ เตรียมหลักฐาน พยานให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ครับ
อย่าลืม เล่นละครทำให้เหมือนไม่มีอะไร ไม่ซีเรียส ขำๆกันไป เพื่อให้เค้าตายใจครับ

เอาใจช่วยนะครับ
:emo021vj6:เห็นด้วยกับน้าแม็คเลยครับ ความเสี่ยงสูงครับ:kapook-17351-2909:
ด้วยความเคารพครับ...:yenta4-emoticon-002

Modelist
21-11-2010, 08:33
พอดีมีญาติ โดนคดีครับ แต่เมื่อขึ้นศาลปรากฏว่าศาลพิพากษาไม่มีความผิด ให้ยกฟ้อง เราจึงจะขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อขอรับเงินชดเชย และขอทรัพย์สินคืน แต่มีทางเจ้าหน้าที่ที่ศาลขอค่าออกหนังสือ 70,000 บาท จะทำไงดีครับ ในความเป็นจริงเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบไม่ถึง 100 ก็ได้แล้ว ใครมีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยแนะนำหน่อยครับ...

ไม่รู้เรื่องพวกนี้ครับ
แต่เป็นกำลังใจให้ครับ วันเหลิม:21-7:

chicken
21-11-2010, 09:53
ฟ้อง ปปช.เลยคับ แจ้งไว้ล่วงหน้าแล้วนัดเจ้าหน้าที่ ปปช. ไปกับเราในวันจ่ายเงินเตรียมเครื่องบันทึกเสียง+กล้องแอบให้เนียนๆ มีนักข่าวแฝงตัวไปด้วยก็ดี รับรองงานนี้โดน ม.159 และมาตราอื่นๆอีกเพียบ เอาให้มันติดคุกไปเลย โดนออกจากราชการมันไม่พอสำหรับคน 1000 นี้อย่าลืมต่อรองราคาด้วยนะครับเพื่อความเนียน
แต่ก็ต้องดูผลถึงอนาคตด้วยนะครับ ว่ามันจะจบแบบไหน ผลมันจะย้อนมาหาเราทีหลังรึเปล่า
เป็นกำลังใจให้ครับ:smiley-transport012

Shark Triton
21-11-2010, 10:13
ถ้าเกี่ยวกับหน่วยงานราชการต้องร้องต่อศาลปกครองครับ หาหลักฐานไว้ให้เรียบร้อย หรือร้องต่อศาลปกครองว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ดำเนินการตามที่เราร้องขอมีโทษผิดทางวินัยครับ

AKNet
21-11-2010, 10:51
ถ้าเกี่ยวกับหน่วยงานราชการต้องร้องต่อศาลปกครองครับ หาหลักฐานไว้ให้เรียบร้อย หรือร้องต่อศาลปกครองว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ดำเนินการตามที่เราร้องขอมีโทษผิดทางวินัยครับ
ศาลปกครองมีหน้าที่พิพากษาคดีเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองเป็นส่วนใหญ่ กรณีนี้เป็นการกระทำผิดทางวินัยด้วยว่าด้วยเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกร้องอามิจสินจ้างหรือรับสินบน ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ โทษสถานหนักคือให้ออกจากราชการ ครับ กรณีนี้เจ้าหน้าที่ศาลไม่ได้ใช้คำสั่งทางปกครองกับผู้ถูกกล่าวหา แต่เป็นเจ้าพนักงานเรียกสินบนจึงไม่สามารถร้องไปยังศาลปกครองได้ ดังข้างล่างนี้
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ให้คำนิยามว่า คำสั่งทางปกครอง หมายถึง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสภาพของสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว ที่มีผลบังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย การรับรองและการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ และการอื่นที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง
การพิจารณาว่ากรณีใดเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ กล่าวคือ หากคำสั่งของเจ้าหน้าที่ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง เช่น การออกกฎ การแจ้งข่าวสาร หรือ การแถลงการณ์ คำสั่งนั้นจะมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป มิได้กระทบสิทธิของผู้รับคำสั่งเป็นการเฉพาะ แต่ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครองแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลทางกฎหมายต่อผู้ที่ได้รับคำสั่งหลายประการ กล่าวคือ เมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองถูกกระทบสิทธิโดยผลของคำสั่งทางปกครองบุคคลนั้นก็จะต้องเข้ามาเป็นคู่กรณี ซึ่งคู่กรณีนั้นมีสิทธิ ที่ได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย สิทธิแต่งตั้งผู้ทำการแทน สิทธิได้รับคำแนะนำและได้รับแจ้งสิทธิหน้าที่ในกระบวนการพิจารณา สิทธิตรวจดูเอกสารของเจ้าหน้าที่ สิทธิได้รับพิจารณาโดยรวดเร็ว สิทธิได้รับรู้เหตุผลของฝ่ายปกครองในการออกคำสั่ง สิทธิได้รับทราบแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคำสั่งทางปกครองต่อไป
ดังนั้น ความสำคัญในเบื้องต้นเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งและคำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อผู้รับคำสั่ง จะต้องพิจารณาก่อนว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ ซึ่งหากเป็นคำสั่งทางปกครองแล้ว ผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่เห็นด้วยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนด หากผู้ได้รับคำสั่งนิ่งเฉยอาจจะเสียสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่ากรณีใดเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่นั้น มีข้อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
เมื่อพิจารณาจากคำนิยามของคำว่า คำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ สามารถจำแนกองค์ประกอบอันเป็นสาระสำคัญของคำสั่งทางปกครองได้ ๕ ประการ ดังนี้ คือ ๑. เป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ ๒. เป็นการใช้อำนาจรัฐ ๓. เป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมาย ๔. เกิดผลเฉพาะกรณี และ ๕. มีผลภายนอกโดยตรง
๑. เป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ คำสั่งทางปกครองเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้ที่ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการปกครองฯ ได้ให้นิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม ต้องเป็นการใช้ “อำนาจทางปกครองของรัฐ” คือส่วนหนึ่งของอำนาจบริหาร รวมถึงอำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจตุลาการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ได้ คือ ผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย ให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐนั้น อาจจะเป็นบุคลากรในภาครัฐหรือบุคลากรในภาคเอกชนก็ได้
๒. เป็นการใช้อำนาจรัฐ การออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าว จะต้องใช้อำนาจทางปกครอง ไม่ใช่การใช้อำนาจทางนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ หรืออำนาจตามกฎหมายอื่น เช่น รัฐธรรมนูญ เป็นต้น
๓. เป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมาย คำสั่งทางปกครองจะต้องมุ่งประสงค์เพื่อให้เกิดผลทางกฎหมายอันเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล การกระทำที่มิได้เป็นการก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นใหม่ เช่น การให้ข้อมูลข่าวสาร คำแนะนำ หรือการอธิบายความเข้าใจ ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง เพราะไม่มีผลทางกฎหมายที่เกิดขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับ คำสั่งทางปกครองเดิมเท่านั้น
๔. เกิดผลเฉพาะกรณี คำสั่งทางปกครองนั้นจะต้องกระทำโดยมุ่งกำหนดสภาพทางกฎหมายที่เป็นอยู่ในกรณีหนึ่งโดยเฉพาะ โดยสภาพจะต้องมุ่งใช้บังคับกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยตรง แม้ในตัวคำสั่งจะไม่ระบุคชื่อบุคคลไว้ก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นคำสั่งรวมหรือคำสั่งทั่วไปใช้บังคับกับกลุ่มบุคคลก็ได้
๕. มีผลภายนอกโดยตรง หากการทำคำสั่งทางปกครองนั้นอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการหรือพิจารณาเพื่อออกคำสั่งทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาจะเปลี่ยนแปลงเช่นใดก็ได้ กรณีดังกล่าวนี้ถือว่าอยู่ในขั้นตอนที่มีผลภายใน ทั้งนี้ คำสั่งทางปกครองที่สมบูรณ์จะต้องมีการแสดงออกให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองทราบคำสั่งนั้น การพิจารณาคำสั่งว่าจะมีผลภายในหรือภายนอกนั้นต้องพิจารณาเนื้อหาของคำสั่งเป็นสำคัญ
เพื่อเป็นการป้องกันกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน ในการพิจารณาเพื่อออกคำสั่งทางปกครอง หรือ ขั้นตอนการเตรียมการออกคำสั่งทางปกครอง หรือการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ คือ ๑. เป็นคู่กรณีเสียเอง ๒. เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี ๓. เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติที่เกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น ๔. เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี ๕. เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ เป็นนายจ้างของคู่กรณี ๖. กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/pakam/2009/03/12/entry-1

mckyparty
21-11-2010, 10:53
ถ้าเกี่ยวกับหน่วยงานราชการต้องร้องต่อศาลปกครองครับ หาหลักฐานไว้ให้เรียบร้อย หรือร้องต่อศาลปกครองว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ดำเนินการตามที่เราร้องขอมีโทษผิดทางวินัยครับ

โทษทางวินัย ผมได้ยินคำนี้แล้วรู้สึกสงสารประชาชนจริงๆ
น่ากลัวมากครับ ถ้าประชาชนยอม = จนท ได้เงินไปอ้วนๆ

แต่ถ้าประชาชนไม่ยอม ตัวผู้ปฎิบัติหน้าที่ ได้รับแค่โทษทางวินัย
แต่ตัวประชาชน อาจจะมีเรื่องกันยาว จากภัยที่มองไม่เห็น

ไม่รู้มาถึงตรงนี้ ท่านที่มีคดี จะไปขำกับ จนท ออกรึเปล่า แต่พยายามไว้ครับ เนียนๆ

AKNet
21-11-2010, 11:14
เสริมอีกนิด ถ้าเรายอมให้เงินเจ้าพนักงานไป เรามีความผิดเกี่ยวการให้เงินเจ้าพนักงานนะครับ แต่ถ้าเจ้าพนักงานเรียกสินบนจากเราแล้วเรายังไม่จ่ายเราไม่ผิดแต่เจ้าพนักงานจะผิด ใน ม.148-149

AKNet
21-11-2010, 11:19
มาตรา ๑๔๙ อยู่ในส่วนที่เจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นบทลงโทษต้วเจ้าพนักงานที่ปฎิบัติงานตามหน้าที่ และในส่วนการที่เมื่อตัวเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนไปแล้วนั้น ถึงแม้ว่าตัวเจ้าพนักงานจะยังคงปฎิบัติหน้าที่นั้นโดยชอบ ก็ตาม ดัวของเจ้าพนักงานที่เรียกรับสินบน ก็ยังคงต้องรับผิดตาม ม.149 นี้อยู่ดีครับ (เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เมื่อเรียกรับสินบน ก็ผิดตามมาตรา ๑๔๙ นี้ทันที )

พ่อทองคำ
21-11-2010, 12:56
เรื่องคดีน่าจะมีส่วนได้ส่วนเสียหลายล้านนะคับ ถึงได้เรียกสินบนเยอะ แต่พนักงานก็ไม่น่าเรียกสินบนนะคับเพราะเป็นคนของประชาชน ขอเป็นกำลังใจให้คับ

**ONE-MAN**
21-11-2010, 14:10
เรื่องคดีน่าจะมีส่วนได้ส่วนเสียหลายล้านนะคับ ถึงได้เรียกสินบนเยอะ แต่พนักงานก็ไม่น่าเรียกสินบนนะคับเพราะเป็นคนของประชาชน ขอเป็นกำลังใจให้คับ

ไม่มีส่วนได้เสียอะไรเลยครับ คดีตกกระไดพลอยโจร ดันนั่งรถไปกับเพื่อน(ที่แอบขนยาบ้า) โดนตำรวจจับ ก็เลยหาหลักฐานมายืนยัน และทางเพื่อนก็ยอมรับและไม่สัดทอดมาทางเรา ศาลเลยยกฟ้องก็แค่นั้น แต่เรียกซะเกินไป ผมว่าแค่ออกหนังสือรับรองเพื่อให้ผู้เป็นแพะในคดี ได้รับการยืนยันความบริสุทธิ์น่าจะเป็นผลบุญแก่ตัวเจ้าพนักงานเองเสียอีก แต่นี้เล่นเอามาหากินกันอย่างนี้รับไม่ได้ อาจจะขอเป็นค่าน้ำร้อน น้ำชา นิดๆหน่อยไม่ว่ากันหรอกครับ แต่เรียก 70,000 มันเกินไป

ball-TriTon
21-11-2010, 14:16
ร้องเรียนไปเลยครับ หรือไม่ขึ้นไปพบผอ. หรือไม่ก็ร้องเรียนไปยังสำนักงานศาล ได้เลยครับ อย่าไปกลัวพวกนี้ครับ เพราะคดีพิพากษาแล้ว เป็นกำลังใจให้ครับ

KHEAWDEE
21-11-2010, 14:54
1หมื่นผมยังคิดหนักเลยนะ นี่พี่ขอ 7
มันเกินไปจริงๆ สมมุติถ้าพี่เขาเล่นขอทุกคดี รวย รวย
ปรึกษาผู้รู้ก่อนนะครับ เรื่องแบบนี้ตัวคนเดียวจะลำบาก

MEAW_SAN
21-11-2010, 19:41
รองเท้าเหอะใต้โต๊ะ