PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : เวสเกตกับโบวล์ออฟ



photokid
10-06-2011, 12:55
อยากได้ข้อมูลของเวสเกตกับโบวล์ออฟคับ มีประโยชน์อย่างไร รถที่ใช้โบเดิมใส่แล้วให้ผลอย่างไรบ้างครับ :102:

azuma
10-06-2011, 21:11
รู้จักและหน้าที่การทำงาน
โบออฟวาวล์ ( BLOW OFF VALVE ) หรือ บายพาสวาวล์ ( BY PASS VALVE ) หรือจะเรียกให้เต็มยศเข้าไปอีก COMPRESSOR BLOW OFF VALVE มันมีหน้าท ี่ระบายแรงดันในท่อไอดี ที่เกิดจากการอัดอากาศของเทอร์โบในขณะยกคันเร่ง เพื่อไม่ให้แรงดันย้อนกลับไปทำอันตรายต่อกังหันเทอร์โบ ในตอนที่เราเร่งเครื่องยนต์ เทอร์โบจะทำการอัดอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้ แรงดันอากาศจะเกิดขึ้นสูงมาก ( บูชเทอร์โบสูง) พอขณะยกคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อจะเกิดการปิดตัวอย่างรวดเร็วในขณะที่เทอร์โบยังทำหน้าที่อัดอากาศอยู่เนื่องมาจาก แรงเฉื่อยของใบพัดหลัง ทำให้ใบพัดหน้ายังคงหมุนด้วยความเร็วสูง แต่ลิ้นคันเร่งปิด อากาศจะเกิดการอั้นตัวแรงดันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจจะเป็นเท่าตัวแรงดันตัวนี้จะย้อนกลับมายังกังหันเทอร์โบ ซึ่งเป็นผลร้าย ต่อเทอร์โบ คือ แกนเทอร์โบอาจขาดเนื่องจาก เกิดการหมุนย้อนกลับ แกนเทอร์โบ และใบกังหันเทอร์โบสึกหรออย่างรวดเร็ว เนื่องจากการคลอนตัวของบูชแกนเทอร์โบ โบออฟนี่แหละที่จะค่อยระบายแรงดันย้อนกลับส่วนเกินออกเสียเพื่อป้องกันความเสียหายนี้ได้
การทำงาน
โบออฟวาล์โครงสร้างประกอบด้วย ลิ้นปิด – เปิดตัวหนึ่งที่คอยทำหน้าที่ ปิด - เปิด แรงดันไอดีไว้โดยถูกกดทับด้วยแผ่นไดอะแฟรมและสปริงที่ตั้งค่าความเเข็งไว้ให้พอดีกับแรงดันที่ต้องการหัวด้านบนเป็นท่อสุญญากาศ ต่อไปยังคอไอดีหลังลิ้นปีกผีเสื้อประกอบอยู่ในกระเปาะสูญญากาศ ในขณะที่มีการยกคันเร่งสูญญากาศในท่อแมนิโฟลด์หรือท่อไอดีหลังลิ้นจะเกิดเป็นสุญญากาศมีแรงดูดผ่านไปยังไดอะแฟรมในโบออฟ เมื่อแรงดูดมีแรงชนะแรงกดของสปริง ประกอบกับแรงดันหลังลิ้นสูงขึ้นจึงทำให้ลิ้น ปิด - เปิด ยกตัวขึ้นระบายไอดีออกมา
http://www.thaispeedcar.com/Image/Tip/boop/7.gif

เวสเกต ( WASTE GATE ) หรือแบบเต็มยศ คือ WASTE GATE CONTROL BY INTAKE MANIFOLD PRESSURE
ชื่อมันยาวไปหน่อยแต่ความหมายของสั้นๆคือประตูระบายของไอเสีย เจ้าเวสเกตมีหน้าที่ควบคุมบูช ( แรงดันอากาศ )ของเทอร์โบให้คงที่ตามที่เรากำหนด โดยอาศัยการระบายไอเสียที่จะมาปั่นกันหันเทอร์โบด้านฝั่งไอเสีย ให้หมุนคงที่ ถ้ายังไม่เข้าใจจะขออธิบาย การทำงานของเทอร์โบในการสร้างแรงบูช นั้นเกิดจากการนำไอเสียที่ปล่อยทิ้งมาผ่านกังหันเทอร์ไบน์ด้านไอเสียทำให้กังหันด้านไอดีหมุนตามด้วยความเร็วสูงจนเกิดแรงอัดอากาศหรือบูช ( แรงดันอากาศ ) เช่นที่รอบเครื่องยนต์ 4,000 รอบ / นาที เทอร์โบหมุนที่ 60,000 รอบ สามารถสร้างแรงดันอากาศได้ 1.0 bar แล้วถ้าที่รอบเครื่องยนต์ที่ 8,000 รอบ / นาทีล่ะ เทอร์โบก็จะคงหมุนที่ 120,000 รอบที่บูช 2.0 bar ดังนั้นเครื่องยนต์คงทนไม่ไหวพังแน่ เพื่อให้แรงดันอากาศยังคงไว้ที่ 1.0 bar เวสเกตจะต้องทำหน้าที่ระบายไอเสียที่จะมาปั่นกังหันไอเสียทิ้งออกทางประตูระบายเพื่อยังรักษารอบหมุนของเทอร์โบให้คงที่รอบเครื่องยนต์ 8,000 รอบ / นาที และเทอร์โบก็ยังคงหมุนเท่าเดิมที่ 60,000 รอบ บูชก็จะคงที่ 1.0 bar