คนนอกโรงเรียน
09-06-2008, 13:11
คำแนะนำผู้บริโภค
น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล
ผู้บริโภคที่ไปเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถมีส่วนร่วมปกป้องผลประโยชน์ของตนเองได้ ดังนี้
ก่อนที่จะเติมน้ำมันต้องสังเกตตัวเลขในช่องจำนวน ลิตร และจำนวน เงิน ของตู้จ่ายจะต้องเป็นเลขในช่องเลขศูนย์ทุกช่อง ผู้บริโภคมีสิทธิร้องขอให้ สถานีบริการตรวจสอบความถูกต้องของมาตรวัด โดยการใช้เครื่องตวงสำหรับทดสอบปริมาตรน้ำมัน ขนาดความจุ 5 ลิตร (ซึ่งต้องมีประจำอยู่ทุกสถานีบริการ) โดยกฎหมายกำหนดให้มีค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ไม่เกิน 30 ซีซี สังเกตสีของน้ำมันเชื้อเพลิง ว่ามีสีแตกต่างไปจาก ที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ โดยการดูจากลูกลอยที่อยู่ข้างบนตู้จ่ายหรือใส่น้ำมันในขวดใสที่สะอาด ทั้งนี้ กรม ได้จัดหน่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเคลื่อนที่ ออกตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานีบริการทั่วประเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิิให้ผู้ประกอบการที่ทุจริตเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
น้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันหล่อลื่นที่จำหน่ายภายในประเทศ จะต้องได้รับเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ จากกรมและผู้ประกอบการต้องแสดงลงบนฉลาก ภาชนะบรรจุเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ จะเป็นอักษร ทค ตามด้วยตัวอักษร ตัวเลข และปี พ.ศ.
นอกจากเลขทะเบียนแล้ว ผู้บริโภคควรสังเกตดูรายละเอียดบนฉลากสินค้า และตรวจดูภาชนะทีใช้บรรจุน้ำมันให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่เสียรูปทรงฝาไม่มีรอยฉีกขาด ฟอยล์ที่หุ้มแนบสนิทและไม่เสียรูปทรงอีกทั้งให้พิจารณาเรื่องราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของน้ำมันด้วย
ผู้บริโภคควรเลือกซื้อสินค้าที่มีการระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. เลขทะเบียนที่ออกให้โดยกรมทะเบียนการค้า
2. ผู้ผลิต
3. ผู้จำหน่ายหรือเครื่องหมายการค้า
4. สถานที่ผลิต
5. วัน เดือน ปี ที่ผลิต
6. มาตรฐานการใช้งาน (API)
7. เกรดความหนืด (SAE)
8. คำแนะนำในการใช้งาน
ข้อควรระวัง การเลือกซื้อสารเคมีที่เรียกว่า หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง มาใช้ร่วมกับน้ำมันเครื่อง ควรพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากน้ำมันเครื่องที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกำหนดไว้ ถือว่ามีคุณสมบัติและประสิทธิภาพเพียงพอต่อการทำงานของเครื่องยนต์ ในสภาวะปกติอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพิ่มเติมอีก หรือการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องจากผู้จำหน่ายที่มีการแสดงวิธีการทดสอบในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีคุณภาพดีกว่ายี่ห้ออื่น มาก ๆ เนื่องจากวิธีการทดสอบเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการทดสอบที่ถูกต้องตามมาตรฐานการทดสอบน้ำมันเครื่องจริง
สารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่อง
จากข้อความโฆษณาคุณสมบัติน้ำมันเครื่องบนฉลากสินค้าที่พบทั่วไป เช่น ป้องกันการสึกหรอดีเยี่ยม, ปกป้องการเกิดโคลนหรือตะกอน, รักษาเครื่องยนต์ให้สะอาดฯลฯ คุณสมบัติเหล่านี้เกิดจากสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องในที่นี้จึงอยากจะขอนำเสนอเกี่ยวกับหน้าที่ของสารเพิ่มคุณภาพที่น่าสนใจ ดังนี้
สารป้องกันการสึกหรอ ( Anti-Wear) ช่วยในการทำหน้าที่หล่อลื่นเครื่องยนต์ของน้ำมันเครื่อง ในสภาวะฟิล์มของน้ำมันที่เคลือบอยู่บนชิ้นส่วน ของเครื่องยนต์เกิดการขาดกันเป็นบางช่วง สารเพิ่มคุณภาพประเภทนี้จะทำหน้าที่เข้าไปแทรกระหว่างผิวหน้าสัมผัสของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เพื่อลดการเสียดสีกัน ที่ผิวของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ สารป้องการสึกหรอที่ใช้แบ่งออกเป็นสองประเภทตามความต้องการใช้งาน ประเภทแรกเป็นสารป้องกันการสึกหรอสำหรับสภาวะ การทำงานเบาอาจเรียกว่า สารเพิ่มคุณภาพสำหรับการหล่อลื่นแบบเบาน์ดารี ได้แก่ กรดไขมัน ประเภทที่สองเป็นสารป้องกันการสึกหรอภายใต้สภาวะ ความดันสูงมาก เรียกว่า Extreme Pressure ได้แก่สารประกอบซัลเฟอร์, คลอรีน, Zinc, dialkyl dithiophosphate (ZDDP)
สารต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจน (Anti-Oxidant) เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประกอบ ด้วยสารไฮโดรคาร์บอนประเภทพาราฟิน, แนฟธีน, และอะโรมาติก สารไฮโดรคาร์บอนแต่ละชนิดสามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศได้ บางชนิดเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้เกิดโคลน หรือตะกอนน้ำมันซึ่งมีลักษณะคล้ายยางเหนียว ทำให้ขัดขวางระบบการไหลเวียนของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ซึ่งส่งผลให้อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องสั้นลง ดังนั้นวิธีแก้ไขคือการเติมสารต้านการรวมตัวกับออกซิเจนเพื่อไปหน่วงให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นให้ช้าลง จึงเป็นการยืดอายุการใช้งานน้ำมันเครื่อง สารที่ใช้ได้แก่ ZDDP
สารชะล้างและกระจายสิ่งสกปรก (Detergent and Dispersants) ในการทำงานของเครื่องยนต์ เชื้อเพลิงบางส่วนจะเกิดการเผาไหม้ ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดคราบเขม่า, เถ้า, และยางเหนียวเกาะอยู่ในส่วนต่างๆของห้องเผาไหม้ สารเพิ่มคุณภาพประเภทนี้จะช่วยทำความสะอาดเครื่องยนต์ และช่วยกระจายสิ่งสกปรกไม่ให้เกาะกันเป็นก้อน ซึ่งสิ่งสกปรกเหล่านี้ถูกกำจัดออกโดยการถ่ายทิ้งเมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง สารชะล้างได้แก่ แคลเซียมและแมกนีเซียมซัลโฟเนต นอกจากนี้ยังมีสารเพิ่มคุณภาพชนิดอื่นเช่น สารลดจุดไหลเท, สารเพิ่มค่าดัชนีความหนืดฯลฯ ซึ่งการ จะเติมสาร เพิ่มคุณภาพชนิดใดและจำนวนเท่าใดลงในน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำไปใช้งานโดยต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามน้ำมันเครื่องที่จะจำหน่ายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการเติมสารเพิ่มคุณภาพใดๆ ลงไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมก่อน ดังนั้นในการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพเป็นไปตามที่กรมกำหนด ผู้บริโภคควรดูบนฉลากสินค้าน้ำมันเครื่องว่ามีเลขทะเบียนที่ออกให้โดยกรมฯ, สถานที่, วันเดือนปีที่ผลิตกำกับอยู่ด้วย ลักษณะของภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ไม่มีรอยฉีกขาด
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัย ติดต่อได้โดยตรงที่สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมฯ โทร. 0 2547 4319-20, บริการสายด่วนโทร. 1570 โทรสาร 0 2547 4320
ที่มาของข้อมูล http://www.eng.pyo.nu.ac.th/ATDC/data_3.asp:kapook-17198-9597:
น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล
ผู้บริโภคที่ไปเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถมีส่วนร่วมปกป้องผลประโยชน์ของตนเองได้ ดังนี้
ก่อนที่จะเติมน้ำมันต้องสังเกตตัวเลขในช่องจำนวน ลิตร และจำนวน เงิน ของตู้จ่ายจะต้องเป็นเลขในช่องเลขศูนย์ทุกช่อง ผู้บริโภคมีสิทธิร้องขอให้ สถานีบริการตรวจสอบความถูกต้องของมาตรวัด โดยการใช้เครื่องตวงสำหรับทดสอบปริมาตรน้ำมัน ขนาดความจุ 5 ลิตร (ซึ่งต้องมีประจำอยู่ทุกสถานีบริการ) โดยกฎหมายกำหนดให้มีค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ไม่เกิน 30 ซีซี สังเกตสีของน้ำมันเชื้อเพลิง ว่ามีสีแตกต่างไปจาก ที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ โดยการดูจากลูกลอยที่อยู่ข้างบนตู้จ่ายหรือใส่น้ำมันในขวดใสที่สะอาด ทั้งนี้ กรม ได้จัดหน่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเคลื่อนที่ ออกตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานีบริการทั่วประเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิิให้ผู้ประกอบการที่ทุจริตเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
น้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันหล่อลื่นที่จำหน่ายภายในประเทศ จะต้องได้รับเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ จากกรมและผู้ประกอบการต้องแสดงลงบนฉลาก ภาชนะบรรจุเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ จะเป็นอักษร ทค ตามด้วยตัวอักษร ตัวเลข และปี พ.ศ.
นอกจากเลขทะเบียนแล้ว ผู้บริโภคควรสังเกตดูรายละเอียดบนฉลากสินค้า และตรวจดูภาชนะทีใช้บรรจุน้ำมันให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่เสียรูปทรงฝาไม่มีรอยฉีกขาด ฟอยล์ที่หุ้มแนบสนิทและไม่เสียรูปทรงอีกทั้งให้พิจารณาเรื่องราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของน้ำมันด้วย
ผู้บริโภคควรเลือกซื้อสินค้าที่มีการระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. เลขทะเบียนที่ออกให้โดยกรมทะเบียนการค้า
2. ผู้ผลิต
3. ผู้จำหน่ายหรือเครื่องหมายการค้า
4. สถานที่ผลิต
5. วัน เดือน ปี ที่ผลิต
6. มาตรฐานการใช้งาน (API)
7. เกรดความหนืด (SAE)
8. คำแนะนำในการใช้งาน
ข้อควรระวัง การเลือกซื้อสารเคมีที่เรียกว่า หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง มาใช้ร่วมกับน้ำมันเครื่อง ควรพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากน้ำมันเครื่องที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกำหนดไว้ ถือว่ามีคุณสมบัติและประสิทธิภาพเพียงพอต่อการทำงานของเครื่องยนต์ ในสภาวะปกติอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพิ่มเติมอีก หรือการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องจากผู้จำหน่ายที่มีการแสดงวิธีการทดสอบในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีคุณภาพดีกว่ายี่ห้ออื่น มาก ๆ เนื่องจากวิธีการทดสอบเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการทดสอบที่ถูกต้องตามมาตรฐานการทดสอบน้ำมันเครื่องจริง
สารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่อง
จากข้อความโฆษณาคุณสมบัติน้ำมันเครื่องบนฉลากสินค้าที่พบทั่วไป เช่น ป้องกันการสึกหรอดีเยี่ยม, ปกป้องการเกิดโคลนหรือตะกอน, รักษาเครื่องยนต์ให้สะอาดฯลฯ คุณสมบัติเหล่านี้เกิดจากสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องในที่นี้จึงอยากจะขอนำเสนอเกี่ยวกับหน้าที่ของสารเพิ่มคุณภาพที่น่าสนใจ ดังนี้
สารป้องกันการสึกหรอ ( Anti-Wear) ช่วยในการทำหน้าที่หล่อลื่นเครื่องยนต์ของน้ำมันเครื่อง ในสภาวะฟิล์มของน้ำมันที่เคลือบอยู่บนชิ้นส่วน ของเครื่องยนต์เกิดการขาดกันเป็นบางช่วง สารเพิ่มคุณภาพประเภทนี้จะทำหน้าที่เข้าไปแทรกระหว่างผิวหน้าสัมผัสของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เพื่อลดการเสียดสีกัน ที่ผิวของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ สารป้องการสึกหรอที่ใช้แบ่งออกเป็นสองประเภทตามความต้องการใช้งาน ประเภทแรกเป็นสารป้องกันการสึกหรอสำหรับสภาวะ การทำงานเบาอาจเรียกว่า สารเพิ่มคุณภาพสำหรับการหล่อลื่นแบบเบาน์ดารี ได้แก่ กรดไขมัน ประเภทที่สองเป็นสารป้องกันการสึกหรอภายใต้สภาวะ ความดันสูงมาก เรียกว่า Extreme Pressure ได้แก่สารประกอบซัลเฟอร์, คลอรีน, Zinc, dialkyl dithiophosphate (ZDDP)
สารต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจน (Anti-Oxidant) เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประกอบ ด้วยสารไฮโดรคาร์บอนประเภทพาราฟิน, แนฟธีน, และอะโรมาติก สารไฮโดรคาร์บอนแต่ละชนิดสามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศได้ บางชนิดเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้เกิดโคลน หรือตะกอนน้ำมันซึ่งมีลักษณะคล้ายยางเหนียว ทำให้ขัดขวางระบบการไหลเวียนของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ซึ่งส่งผลให้อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องสั้นลง ดังนั้นวิธีแก้ไขคือการเติมสารต้านการรวมตัวกับออกซิเจนเพื่อไปหน่วงให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นให้ช้าลง จึงเป็นการยืดอายุการใช้งานน้ำมันเครื่อง สารที่ใช้ได้แก่ ZDDP
สารชะล้างและกระจายสิ่งสกปรก (Detergent and Dispersants) ในการทำงานของเครื่องยนต์ เชื้อเพลิงบางส่วนจะเกิดการเผาไหม้ ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดคราบเขม่า, เถ้า, และยางเหนียวเกาะอยู่ในส่วนต่างๆของห้องเผาไหม้ สารเพิ่มคุณภาพประเภทนี้จะช่วยทำความสะอาดเครื่องยนต์ และช่วยกระจายสิ่งสกปรกไม่ให้เกาะกันเป็นก้อน ซึ่งสิ่งสกปรกเหล่านี้ถูกกำจัดออกโดยการถ่ายทิ้งเมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง สารชะล้างได้แก่ แคลเซียมและแมกนีเซียมซัลโฟเนต นอกจากนี้ยังมีสารเพิ่มคุณภาพชนิดอื่นเช่น สารลดจุดไหลเท, สารเพิ่มค่าดัชนีความหนืดฯลฯ ซึ่งการ จะเติมสาร เพิ่มคุณภาพชนิดใดและจำนวนเท่าใดลงในน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำไปใช้งานโดยต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามน้ำมันเครื่องที่จะจำหน่ายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการเติมสารเพิ่มคุณภาพใดๆ ลงไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมก่อน ดังนั้นในการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพเป็นไปตามที่กรมกำหนด ผู้บริโภคควรดูบนฉลากสินค้าน้ำมันเครื่องว่ามีเลขทะเบียนที่ออกให้โดยกรมฯ, สถานที่, วันเดือนปีที่ผลิตกำกับอยู่ด้วย ลักษณะของภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ไม่มีรอยฉีกขาด
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัย ติดต่อได้โดยตรงที่สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมฯ โทร. 0 2547 4319-20, บริการสายด่วนโทร. 1570 โทรสาร 0 2547 4320
ที่มาของข้อมูล http://www.eng.pyo.nu.ac.th/ATDC/data_3.asp:kapook-17198-9597: