chaitw
02-06-2013, 14:01
เอบีเอส-ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก จำเป็นไหมและใช้อย่างไร?
http://www.siamsport.co.th/_ImagesColumn/130523h2s56220.jpg
ถาม
มีเรื่องถามสั้นๆ แต่อยากได้ความกระจ่าง จึงอาจต้องตอบยาว เกี่ยวกับเอบีเอส-ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก เพราะเห็นว่ามีในรถสารพัดรุ่น ทั้งเล็ก-ใหญ่ และหลายรุ่นก็มีรุ่นย่อยทั้งมีหรือไม่มีเอบีเอสให้เลือก อยากถามว่าเอบีเอส-ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก จำเป็นไหมและใช้อย่างไร?
ตอบ
จริงครับที่ถามสั้นแต่ต้องตอบยาวและครอบคลุม แม้เป็นเหมือนเรื่องเก่า เพราะใครๆ ก็รู้จัก และรถสารพัดรุ่นก็มีเอบีเอสใช้ แต่หลายคนยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้ความปลอดภัยลดลงทั้งที่มีระบบเอบีเอส
เอบีเอส-ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (Anti-Lock Braking System) เป็นระบบที่พัฒนาเพิ่มจากระบบเบรกพื้นฐาน หลังถูกใช้งานคล้ายๆ กันในอากาศยานตั้งแต่ช่วงปี 1930 เริ่มใช้กับรถอย่างจริงจังครั้งแรกช่วงปี 1970 และเริ่มใช้งานจริงกับรถทั่วไปเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เริ่มจากรถระดับหรูหรือราคาแพง จึงแพร่หลายสู่รถราคาถูกหรือระดับรองลงเรื่อยๆ ปัจจุบันแม้อีโคคาร์หรือจักรยานยนต์บางรุ่นก็มีเอบีเอสเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ความแพร่หลายและยาวนานของเอบีเอส ดำเนินควบคู่กับความเข้าใจผิดของหลายคนว่ามีเอบีเอสแล้วจะปลอดภัยขึ้นในการเบรกเสมอ ลดระยะเบรก ช่วยลดโอกาสการชนได้ทุกครั้ง หรือถึงขั้นเข้าใจผิดว่าเมื่อมีเอบีเอสแล้วรถแทบจะไม่เกิดการชน รวมถึงเมื่อชนแล้วหลายคนก็เข้าใจผิดว่า ในเมื่อมีเอบีเอสแล้วทำไมจึงชน ถึงขั้นร้องเรียนหรือฟ้องร้องให้พิสูจน์ก็มี!
เอบีเอสน่าจะเริ่มต้นจากหลายประเทศในโลกมีฝนหรือหิมะตกบ่อยแล้วแห้งยาก เพราะไม่มีแดดแรงแบบไทย การเบรกอย่างแรงหรือกะทันหัน แรงเสียดทานของหน้ายางกับพื้นมีน้อย ล้อจึงหยุดหมุนหรือล็อกง่าย
เมื่อรถยังไม่หยุด แต่ล้อหยุดหมุน รถจะลื่นไถลตามทิศทางของแรงเฉื่อย โดยผู้ขับไม่สามารถบังคับทิศทางด้วยพวงมาลัย เนื่องจากล้อที่ล็อกตายไถลไปตามทิศทางของรถ ไม่ใช่พวงมาลัย
ประเด็นสำคัญคือ ลดการลื่นไถลของรถโดยปราศจากการควบคุมทิศทางเมื่อเบรกแรงๆ หรือกะทันหัน ไม่ใช่ต้องการให้ระยะเบรกสั้นลง!
เอบีเอสมีหลักการทำงานคือ เมื่อเบรกแรงแล้วล้อใดๆ เริ่มล็อก แต่ตัวรถไม่หยุด ระบบจะคลายแรงเบรกเองเพื่อไม่ให้ล้อล็อก แล้วเพิ่มกับลดแรงเบรกถี่ๆ หลายครั้งต่อวินาทีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ล้อหยุดและหมุนต่อถี่ๆ เพื่อให้รถไม่ลื่นไถล และผู้ขับบังคับทิศทางได้เกือบปกติ
หลายคนเข้าใจว่าเอบีเอสทำให้ระยะเบรกสั้น ซึ่งผิดจากแนวคิดและการทำงานจริงของเอบีเอส เพราะบนพื้นแห้ง เอบีเอสอาจทำให้ระยะเบรกยาวขึ้น แต่ผู้ขับสามารถควบคุมทิศทางของรถเมื่อเบรกแรงๆ
การจับ-ปล่อยถี่ๆ ของเอบีเอสโดยอัตโนมัติ ด้วยการทำงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับระบบไฮดรอลิกส์ ถูกพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับอาการล้อล็อก การแยกวงจรแต่ละล้อให้อิสระ ความถี่ในการจับ-ปล่อยของล้อหรือแรงดันน้ำมันเบรก ความทนทาน และลดต้นทุนการผลิต ทำให้เอบีเอสแพร่หลาย พร้อมติดตั้งกับรถราคาถูกหรือรุ่นเล็กลงเรื่อยๆ
เอบีเอสเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเบรกกะทันหันหรือแรง รวมถึงบนพื้นลื่นๆ ช่วยให้รถไม่ลื่นไถล และผู้ขับสามารถเบรกพร้อมควบคุมทิศทางได้เกือบปกติ แต่ไม่ทำให้...ไม่ชน หรือระยะเบรกสั้นลง
หากสภาพพื้นผิวแห้งและไม่มีฝุ่นมาก เมื่อเบรกแรงจนล้อล็อก รถที่มีเอบีเอสอาจมีระยะเบรกยาวกว่า เพราะการจับ-ปล่อยถี่ๆ อาจมีระยะของล้อที่หมุนมากกว่าล้อที่ล็อกตายแล้วครูดกับพื้น แต่การเบรกจนล้อล็อกก็ทำให้ควบคุมทิศทางด้วยพวงมาลัยไม่ได้ และยางที่ครูดกับพื้นก็สึกผิดปกติ และอาจเกิดจุดร้อนจัด (ฮอตสปอต) จนบวมเสีย
ควรแยกให้ออกระหว่างระยะเบรก กับการเบรกพร้อมควบคุมทิศทาง เมื่อรถไม่มีหรือมีเอบีเอส
2 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ทัศนคติต่อเอบีเอสอย่างถูกต้อง 2. เบรกรถที่มีเอบีเอสอย่างไร ให้ถูกต้องและปลอดภัย
1. ทัศนคติต่อเอบีเอสอย่างถูกต้อง!
หลายคนเข้าใจผิดว่ามีเอบีเอสแล้วรถจะไม่ชนหรือมีโอกาสชนน้อยมาก รวมถึงทำให้มีระยะเบรกสั้นลง ทั้งที่จริงๆ แล้วถ้าขับเร็วหรือกระชั้นชิด เบรกจนเอบีเอสทำงานแล้วระยะทางเหลือไม่พอ ก็อาจหักหลบไม่ทันหรือชน
2. เบรกรถที่มีเอบีเอสอย่างไร ให้ถูกต้องและปลอดภัย?
เมื่อสถานการณ์บังคับให้ต้องเบรกเต็มแรง ต้องเหยียบสุดแรงโดยไม่คลายหรือย้ำเองถี่ๆ เมื่อเอบีเอสทำงานอาจมีเสียงดังปังๆๆ ตามความถี่ของการจับ-ปล่อยเบรก และแป้นเบรกจะสะท้านถี่ๆ ตามจังหวะ อย่าตกใจจนคลายแป้นเบรก เพราะเอบีเอสจะตัดการทำงาน
ควรคิดเสมอว่า เอบีเอสแค่ป้องกันล้อล็อก ไม่ใช่ป้องกันการชน และระยะเบรกอาจไม่เพียงพอ จึงต้องกดแป้นเบรกสุดแรง พร้อมหาช่องหักพวงมาลัยหลบ หากระยะเบรกเหลือไม่พอ อาจเลี้ยวหลบได้รอด
ใครขับรถที่มีเอบีเอสแล้วได้ใช้งานบ่อย โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ ก็อย่าดีใจว่าใช้เอบีเอสได้คุ้มค่า แต่ควรวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะความบังเอิญจากรถคันอื่น ทำให้ต้องเบรกแรง ตัวเราขับเร็วหรือกระชั้นชิดเกิน หากเป็นกรณีหลังนับว่าเป็นข้อเสียของคนขับ ควรเปลี่ยนวิธีขับโดยทิ้งระยะหรือลดความเร็วเพื่อให้ปลอดภัย
หลายคนมองว่าเอบีเอสไม่จำเป็น เพราะผู้ขับรถสามารถฝึกเบรกกะทันหันอย่างปลอดภัย เมื่อเบรกเต็มแรงแล้วล้อเริ่มล็อกก็ลดแรงกดและย้ำลงถี่ๆ สลับกันโดยไม่ต้องมีเอบีเอส แต่ความจริงยากจะทำอย่างนั้น เพราะเวลาเพียงเสี้ยววินาที กับเหตุการณ์อันตื่นเต้น คนอาจไม่มีทั้งสติหรือเวลาพอ รวมถึงอาจไม่สามารถหักหลบพร้อมเบรกถี่ๆ เองได้ ดังนั้นเอบีเอสที่เป็นระบบอัตโนมัติ ย่อมทำงานได้แน่นอนและทันท่วงทีกว่า
ปัจจุบันมีรถรุ่นเดียวกันต่างรุ่นย่อยที่ไม่มีหรือมีเอบีเอส ถ้าราคาต่างกันไม่กี่หมื่นบาท หากไม่ขัดสนการเงินควรเลือกซื้อรุ่นที่มีเอบีเอส เพราะไม่สามารถติดตั้งเพิ่มเองในราคานั้นได้ หรือยุ่งยากมากจนไม่น่าติดเพิ่ม และแม้ไทยเป็นเมืองร้อนที่ไม่มีหิมะหรือฝนตกแล้วพื้นแห้งเร็ว มีเอบีเอสย่อมดีกว่าไม่มี ช่วยลดอุบัติเหตุได้ครั้งเดียวก็เกินคุ้ม
ผู้ขับควรเข้าใจว่ามีเอบีเอสแล้วใช่ว่าจะไม่ชน หากขับเร็วหรือกระชั้นชิด ระยะเบรกย่อมไม่พอ และวิธีเบรกกะทันหันก็ง่ายๆ กดเต็มแรง อย่าย้ำหรือคลายเบรก พร้อมควบคุมพวงมาลัยเพื่อหลบหลีก ไม่ใช่เบรกทื่อๆ โดยไม่หาช่องทางหลบ
เครดิตจากเว็บ สยามกีฬามอเตอริ่งครับ
http://www.siamsport.co.th/_ImagesColumn/130523h2s56220.jpg
ถาม
มีเรื่องถามสั้นๆ แต่อยากได้ความกระจ่าง จึงอาจต้องตอบยาว เกี่ยวกับเอบีเอส-ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก เพราะเห็นว่ามีในรถสารพัดรุ่น ทั้งเล็ก-ใหญ่ และหลายรุ่นก็มีรุ่นย่อยทั้งมีหรือไม่มีเอบีเอสให้เลือก อยากถามว่าเอบีเอส-ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก จำเป็นไหมและใช้อย่างไร?
ตอบ
จริงครับที่ถามสั้นแต่ต้องตอบยาวและครอบคลุม แม้เป็นเหมือนเรื่องเก่า เพราะใครๆ ก็รู้จัก และรถสารพัดรุ่นก็มีเอบีเอสใช้ แต่หลายคนยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้ความปลอดภัยลดลงทั้งที่มีระบบเอบีเอส
เอบีเอส-ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (Anti-Lock Braking System) เป็นระบบที่พัฒนาเพิ่มจากระบบเบรกพื้นฐาน หลังถูกใช้งานคล้ายๆ กันในอากาศยานตั้งแต่ช่วงปี 1930 เริ่มใช้กับรถอย่างจริงจังครั้งแรกช่วงปี 1970 และเริ่มใช้งานจริงกับรถทั่วไปเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เริ่มจากรถระดับหรูหรือราคาแพง จึงแพร่หลายสู่รถราคาถูกหรือระดับรองลงเรื่อยๆ ปัจจุบันแม้อีโคคาร์หรือจักรยานยนต์บางรุ่นก็มีเอบีเอสเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ความแพร่หลายและยาวนานของเอบีเอส ดำเนินควบคู่กับความเข้าใจผิดของหลายคนว่ามีเอบีเอสแล้วจะปลอดภัยขึ้นในการเบรกเสมอ ลดระยะเบรก ช่วยลดโอกาสการชนได้ทุกครั้ง หรือถึงขั้นเข้าใจผิดว่าเมื่อมีเอบีเอสแล้วรถแทบจะไม่เกิดการชน รวมถึงเมื่อชนแล้วหลายคนก็เข้าใจผิดว่า ในเมื่อมีเอบีเอสแล้วทำไมจึงชน ถึงขั้นร้องเรียนหรือฟ้องร้องให้พิสูจน์ก็มี!
เอบีเอสน่าจะเริ่มต้นจากหลายประเทศในโลกมีฝนหรือหิมะตกบ่อยแล้วแห้งยาก เพราะไม่มีแดดแรงแบบไทย การเบรกอย่างแรงหรือกะทันหัน แรงเสียดทานของหน้ายางกับพื้นมีน้อย ล้อจึงหยุดหมุนหรือล็อกง่าย
เมื่อรถยังไม่หยุด แต่ล้อหยุดหมุน รถจะลื่นไถลตามทิศทางของแรงเฉื่อย โดยผู้ขับไม่สามารถบังคับทิศทางด้วยพวงมาลัย เนื่องจากล้อที่ล็อกตายไถลไปตามทิศทางของรถ ไม่ใช่พวงมาลัย
ประเด็นสำคัญคือ ลดการลื่นไถลของรถโดยปราศจากการควบคุมทิศทางเมื่อเบรกแรงๆ หรือกะทันหัน ไม่ใช่ต้องการให้ระยะเบรกสั้นลง!
เอบีเอสมีหลักการทำงานคือ เมื่อเบรกแรงแล้วล้อใดๆ เริ่มล็อก แต่ตัวรถไม่หยุด ระบบจะคลายแรงเบรกเองเพื่อไม่ให้ล้อล็อก แล้วเพิ่มกับลดแรงเบรกถี่ๆ หลายครั้งต่อวินาทีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ล้อหยุดและหมุนต่อถี่ๆ เพื่อให้รถไม่ลื่นไถล และผู้ขับบังคับทิศทางได้เกือบปกติ
หลายคนเข้าใจว่าเอบีเอสทำให้ระยะเบรกสั้น ซึ่งผิดจากแนวคิดและการทำงานจริงของเอบีเอส เพราะบนพื้นแห้ง เอบีเอสอาจทำให้ระยะเบรกยาวขึ้น แต่ผู้ขับสามารถควบคุมทิศทางของรถเมื่อเบรกแรงๆ
การจับ-ปล่อยถี่ๆ ของเอบีเอสโดยอัตโนมัติ ด้วยการทำงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับระบบไฮดรอลิกส์ ถูกพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับอาการล้อล็อก การแยกวงจรแต่ละล้อให้อิสระ ความถี่ในการจับ-ปล่อยของล้อหรือแรงดันน้ำมันเบรก ความทนทาน และลดต้นทุนการผลิต ทำให้เอบีเอสแพร่หลาย พร้อมติดตั้งกับรถราคาถูกหรือรุ่นเล็กลงเรื่อยๆ
เอบีเอสเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเบรกกะทันหันหรือแรง รวมถึงบนพื้นลื่นๆ ช่วยให้รถไม่ลื่นไถล และผู้ขับสามารถเบรกพร้อมควบคุมทิศทางได้เกือบปกติ แต่ไม่ทำให้...ไม่ชน หรือระยะเบรกสั้นลง
หากสภาพพื้นผิวแห้งและไม่มีฝุ่นมาก เมื่อเบรกแรงจนล้อล็อก รถที่มีเอบีเอสอาจมีระยะเบรกยาวกว่า เพราะการจับ-ปล่อยถี่ๆ อาจมีระยะของล้อที่หมุนมากกว่าล้อที่ล็อกตายแล้วครูดกับพื้น แต่การเบรกจนล้อล็อกก็ทำให้ควบคุมทิศทางด้วยพวงมาลัยไม่ได้ และยางที่ครูดกับพื้นก็สึกผิดปกติ และอาจเกิดจุดร้อนจัด (ฮอตสปอต) จนบวมเสีย
ควรแยกให้ออกระหว่างระยะเบรก กับการเบรกพร้อมควบคุมทิศทาง เมื่อรถไม่มีหรือมีเอบีเอส
2 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ทัศนคติต่อเอบีเอสอย่างถูกต้อง 2. เบรกรถที่มีเอบีเอสอย่างไร ให้ถูกต้องและปลอดภัย
1. ทัศนคติต่อเอบีเอสอย่างถูกต้อง!
หลายคนเข้าใจผิดว่ามีเอบีเอสแล้วรถจะไม่ชนหรือมีโอกาสชนน้อยมาก รวมถึงทำให้มีระยะเบรกสั้นลง ทั้งที่จริงๆ แล้วถ้าขับเร็วหรือกระชั้นชิด เบรกจนเอบีเอสทำงานแล้วระยะทางเหลือไม่พอ ก็อาจหักหลบไม่ทันหรือชน
2. เบรกรถที่มีเอบีเอสอย่างไร ให้ถูกต้องและปลอดภัย?
เมื่อสถานการณ์บังคับให้ต้องเบรกเต็มแรง ต้องเหยียบสุดแรงโดยไม่คลายหรือย้ำเองถี่ๆ เมื่อเอบีเอสทำงานอาจมีเสียงดังปังๆๆ ตามความถี่ของการจับ-ปล่อยเบรก และแป้นเบรกจะสะท้านถี่ๆ ตามจังหวะ อย่าตกใจจนคลายแป้นเบรก เพราะเอบีเอสจะตัดการทำงาน
ควรคิดเสมอว่า เอบีเอสแค่ป้องกันล้อล็อก ไม่ใช่ป้องกันการชน และระยะเบรกอาจไม่เพียงพอ จึงต้องกดแป้นเบรกสุดแรง พร้อมหาช่องหักพวงมาลัยหลบ หากระยะเบรกเหลือไม่พอ อาจเลี้ยวหลบได้รอด
ใครขับรถที่มีเอบีเอสแล้วได้ใช้งานบ่อย โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ ก็อย่าดีใจว่าใช้เอบีเอสได้คุ้มค่า แต่ควรวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะความบังเอิญจากรถคันอื่น ทำให้ต้องเบรกแรง ตัวเราขับเร็วหรือกระชั้นชิดเกิน หากเป็นกรณีหลังนับว่าเป็นข้อเสียของคนขับ ควรเปลี่ยนวิธีขับโดยทิ้งระยะหรือลดความเร็วเพื่อให้ปลอดภัย
หลายคนมองว่าเอบีเอสไม่จำเป็น เพราะผู้ขับรถสามารถฝึกเบรกกะทันหันอย่างปลอดภัย เมื่อเบรกเต็มแรงแล้วล้อเริ่มล็อกก็ลดแรงกดและย้ำลงถี่ๆ สลับกันโดยไม่ต้องมีเอบีเอส แต่ความจริงยากจะทำอย่างนั้น เพราะเวลาเพียงเสี้ยววินาที กับเหตุการณ์อันตื่นเต้น คนอาจไม่มีทั้งสติหรือเวลาพอ รวมถึงอาจไม่สามารถหักหลบพร้อมเบรกถี่ๆ เองได้ ดังนั้นเอบีเอสที่เป็นระบบอัตโนมัติ ย่อมทำงานได้แน่นอนและทันท่วงทีกว่า
ปัจจุบันมีรถรุ่นเดียวกันต่างรุ่นย่อยที่ไม่มีหรือมีเอบีเอส ถ้าราคาต่างกันไม่กี่หมื่นบาท หากไม่ขัดสนการเงินควรเลือกซื้อรุ่นที่มีเอบีเอส เพราะไม่สามารถติดตั้งเพิ่มเองในราคานั้นได้ หรือยุ่งยากมากจนไม่น่าติดเพิ่ม และแม้ไทยเป็นเมืองร้อนที่ไม่มีหิมะหรือฝนตกแล้วพื้นแห้งเร็ว มีเอบีเอสย่อมดีกว่าไม่มี ช่วยลดอุบัติเหตุได้ครั้งเดียวก็เกินคุ้ม
ผู้ขับควรเข้าใจว่ามีเอบีเอสแล้วใช่ว่าจะไม่ชน หากขับเร็วหรือกระชั้นชิด ระยะเบรกย่อมไม่พอ และวิธีเบรกกะทันหันก็ง่ายๆ กดเต็มแรง อย่าย้ำหรือคลายเบรก พร้อมควบคุมพวงมาลัยเพื่อหลบหลีก ไม่ใช่เบรกทื่อๆ โดยไม่หาช่องทางหลบ
เครดิตจากเว็บ สยามกีฬามอเตอริ่งครับ