ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
12-01-2008, 07:30
หน้าฝน จูนเครื่องอย่างไรดี
อากาศ ชื้น มีละอองฝนบ้าง ควรจะจูนเครื่องอย่างไรดี???
อากาศเย็น มีผลทำให้ อากาศมีความหนาแน่นมาก ต้อง คลายเข็มให้น้ำมันเข้ามากขึ้น
อากาศร้อน มีผลทำให้ อากาศมีความหนาแน่นน้อย ต้อง หรี่เข็มให้น้ำมันเข้าน้อยลง
หลักการนี้ใช้ปรับทั้งเข็มเล็กและเข็มใหญ่ ครับ
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น กาซ(หรืออากาศ) จะขยายตัวมากกว่า ของเหลว(หรือน้ำมัน) หลายเท่าดังนั้น เมื่ออุณหภูมิ"สูงขึ้น" อากาศจะขยายตัวมากกว่าน้ำมัน ทำให้ความหนาแน่นของอากาศลดลงมากกว่าน้ำมัน จึงต้องหรี่เข็ม ให้น้ำมันเข้าน้อยลง ครับ
เรื่องความชื้นในอากาศ ต้อง เปิดดู ตารางคุณสมบัติอากาศ หรือ Psychrometric chart ดูว่าความชื้น มีปริมาณเท่าไร เทียบกับความหน่าแน่นของอากาศ ผมเคยตรวจดูนานแล้วสรุปได้ว่า ผลของอากาศที่ขยายตัวมีมากกว่าความชื้นในอากาศ ครับ (ผมใช้ค่าความชื้นสำพัทธ์ Relative humidity ที่ 100%)
เพิ่มเติม กรณี ความชื้นในอากาศสูงอย่างเดียว (ไม่มีละอองน้ำ หรือ ละอองฝน)
สภาวะ1 อากาศร้อน ความชื้นต่ำ
อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส
ความชื้นสำพัทธ์ 50 %
จาก Psychrometric chart จะได้
ความหนาแน่นอากาศ 31.3 กรัม/ลบ.ฟุต
ความชื้นในอากาศ 8.7 กรัม/ลบ.ฟุต
สภาวะ2 อากาศเย็น ความชื้นสูงสุด(อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ)
อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส
ความชื้นสำพัทธ์ 100 %
จาก Psychrometric chart จะได้
ความหนาแน่นอากาศ 32.7 กรัม/ลบ.ฟุต
ความชื้นในอากาศ 9.6 กรัม/ลบ.ฟุต
ผลต่างระหว่าง 2 สภาวะคือ
ความหนาแน่นอากาศเพิ่มขึ้น 1.4 กรัม/ลบ.ฟุต
ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้น 0.9 กรัม/ลบ.ฟุต
ที่มา : www.rcthai.net
อากาศ ชื้น มีละอองฝนบ้าง ควรจะจูนเครื่องอย่างไรดี???
อากาศเย็น มีผลทำให้ อากาศมีความหนาแน่นมาก ต้อง คลายเข็มให้น้ำมันเข้ามากขึ้น
อากาศร้อน มีผลทำให้ อากาศมีความหนาแน่นน้อย ต้อง หรี่เข็มให้น้ำมันเข้าน้อยลง
หลักการนี้ใช้ปรับทั้งเข็มเล็กและเข็มใหญ่ ครับ
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น กาซ(หรืออากาศ) จะขยายตัวมากกว่า ของเหลว(หรือน้ำมัน) หลายเท่าดังนั้น เมื่ออุณหภูมิ"สูงขึ้น" อากาศจะขยายตัวมากกว่าน้ำมัน ทำให้ความหนาแน่นของอากาศลดลงมากกว่าน้ำมัน จึงต้องหรี่เข็ม ให้น้ำมันเข้าน้อยลง ครับ
เรื่องความชื้นในอากาศ ต้อง เปิดดู ตารางคุณสมบัติอากาศ หรือ Psychrometric chart ดูว่าความชื้น มีปริมาณเท่าไร เทียบกับความหน่าแน่นของอากาศ ผมเคยตรวจดูนานแล้วสรุปได้ว่า ผลของอากาศที่ขยายตัวมีมากกว่าความชื้นในอากาศ ครับ (ผมใช้ค่าความชื้นสำพัทธ์ Relative humidity ที่ 100%)
เพิ่มเติม กรณี ความชื้นในอากาศสูงอย่างเดียว (ไม่มีละอองน้ำ หรือ ละอองฝน)
สภาวะ1 อากาศร้อน ความชื้นต่ำ
อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส
ความชื้นสำพัทธ์ 50 %
จาก Psychrometric chart จะได้
ความหนาแน่นอากาศ 31.3 กรัม/ลบ.ฟุต
ความชื้นในอากาศ 8.7 กรัม/ลบ.ฟุต
สภาวะ2 อากาศเย็น ความชื้นสูงสุด(อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ)
อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส
ความชื้นสำพัทธ์ 100 %
จาก Psychrometric chart จะได้
ความหนาแน่นอากาศ 32.7 กรัม/ลบ.ฟุต
ความชื้นในอากาศ 9.6 กรัม/ลบ.ฟุต
ผลต่างระหว่าง 2 สภาวะคือ
ความหนาแน่นอากาศเพิ่มขึ้น 1.4 กรัม/ลบ.ฟุต
ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้น 0.9 กรัม/ลบ.ฟุต
ที่มา : www.rcthai.net