แสดงเวอร์ชันเต็ม : เทคนิคการถ่ายภาพ
Alongkorn
01-02-2008, 07:36
ก่อนที่เราจะเริ่มฝึกการถ่ายภาพ เราควรมารู้จักกับองค์ประกอบต่างๆ ของกล้อง ซึ่งท่านสามารถนำมาปรับแต่งภาพให้ตรงกับประเภทและ concep ของภาพ อุณหภูมิของภาพ และองค์ประกอบของภาพ
วันนี้ก็เลยไปค้นคว้าในเว็บ http://www.krootechno.com
วันนี้เรามาเริ่มเรียนรู้กันในเรื่องค่าของรูรับแสงกันก่อน
เทคนิคการถ่ายภาพ
DEPTH OF FIELD
การถ่ายภาพลักษณะนี้เพื่อเน้นระยะชัด ผู้ถ่ายภาพควรต้องทำความเข้าใจในการกำหนดค่าของรูรับแสงของเลนส์ เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ
ค่าของรูรับแสง จะมีตั้งแต่กว้างสุด คือ 1.2 4 5.6 8 11 16 22 ค่าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับแสงยิ่งกว้าง ระยะชัด ของภาพจะสั้นลง หรือที่เรียกว่า ชัดตื้น ค่าของตัวเลขยิ่งมาก รูรับแสงจะแคบลง ยิ่งแคบมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพ เกิด ระยะชัดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
Alongkorn
01-02-2008, 07:39
ภาพแสดงการกำหนดขนาดรูรับแสงของเลนส์
ในขั้นต่อไปมาดูภาพตัวอย่างในการถ่ายภาพจากจุดเดียวกัน แต่เปิดรูรับแสงขนาดแตกต่างกัน
ภาพที่ 1 เปิดรูรับแสง F 1.2 ความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 วินาที
ภาพที่ 2 เปิดรูรับแสง F 5.6 ความเร็วชัตเตอร์ 1/250 วินาที
ภาพที่ 3 เปิดรูรับแสง F 22 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที
จะสังเกตเห็นว่า ภาพที่ 1 จะมีระยะชัดที่สั้นมาก เพราะเปิดรูรับแสงที่กว้างสุด ดังนั้นการปรับโฟกัสต้องแม่นยำ ระยะที่อยู่ห่างจากจุดโฟกัสจะพร่ามัว ส่วนภาพที่ 2 เปิดรูรับแสงขนาดปานกลาง ระยะชัดจะเพิ่มมากขึ้น ฉากหน้าและฉากหลัง จะพร่ามัวเล็กน้อย ส่วนภาพที่ 3 เปิดรูรับแสงแคบที่สุด คือ F 22 ทำให้ภาพมีความชัดทั้งฉากหน้า ฉากหลัง
แต่ข้อควรระวัง คือ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบลงเท่าใด จะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง อาจทำให้กล้องสั่นไหวได้ง่าย ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย ให้กล้องนิ่งยิ่งขึ้น
Alongkorn
01-02-2008, 07:47
ท่าในการถ่ายภาพซึ่งถือว่ามีความสำคัญ หากถือกล้องไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้วางภาพได้ไม่สมบูรณ์ ภาพอาจสั่นไหว เอียงได้
1. ท่าถ่ายภาพท่าปกติ ใช้มือซ้ายประคองกล้องให้นิ่ง พร้อมปรับระยะชัด และปรับรูรับแสง มือขวา จับตัวกล้องให้แน่น พร้อมทั้งลั่นชัตเตอร์ ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น
2. ท่าถ่ายภาพท่าปกติ ในแนวตั้ง ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น
3. ท่าถ่ายภาพในท่านั่ง ข้อศอกซ้ายตั้งบนหัวเข่าช่วยให้กล้องนิ่งยิ่งขึ้น
4. ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน ข้อศอกทั้งสองข้างตั้งพื้น ใช้ในกรณีถ่ายภาพที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โดยไม่มีขาตั้งกล้อง หรือถ่ายภาพ วัตถุในที่ต่ำ
5. ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน วางกล้องกับพื้น ใช้ในกรณีที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ มาก เพื่อให้กล้องนิ่งที่สุด ( ถ้ามีขาตั้งกล้องให้ใช้แทน) หรือตั้งเวลาในการถ่ายภาพตัวเอง
6. ท่าถ่ายภาพท่าเหนือศรีษะ ใช้สำหรับถ่ายภาพผ่านสิ่งกีดขวาง แต่ถ่ายภาพในลักษณะนี้ ผู้ถ่ายต้องมั่นใจว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ไม่หลุด กรอบ หรือกะระยะโฟกัสได้แม่นยำ
Alongkorn
01-02-2008, 07:52
LAND SCAPE
การถ่ายภาพภูมิทัศน์ นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เพื่อให้เห็นพื้นที่ในบริเวณกว้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยปกติใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน การถ่ายภาพลักษณะนี้ ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด ควรคำนึงถึง ฉากหน้า และฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ (ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ) หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์ เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ
1. ภาพสายรุ้งที่เมืองเชียงใหม่ วัดแสงที่ท้องฟ้า แล้วลด 1 Stop เพื่อให้เห็นสีของเส้นรุ้ง
2. อีกมุมหนึ่งของใต้สะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเรือจะเป็นจุดเด่นของภาพ มีฉากหน้าคือ ดอกไม้สีต่าง ๆ ทำให้ภาพดูมีระยะ
3. มุมมองของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีท่อทรงกลม ทำให้ภาพไม่จืดเกินไป
4. หอประชุมกาญจนภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีเสาธงป็นเส้นนำสายตา ใช้ฟิลเตอร์โพราไรซ์ ท้องฟ้า
Alongkorn
01-02-2008, 08:04
เดี๋ยวตอนบ่ายมาคุยกันต่อในเรื่องอุปกรณ์การถ่ายภาพ เรียกว่าถ้าหาซื้อมาใช้ให้ครบคงต้องใช้งบประมาณเป็นแสน :d
Alongkorn
01-02-2008, 12:50
อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ
ตัวกล้อง (Camera body)
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการถ่ายภาพ ตัวกล้องจะมีลักษณะเป็นกล่องภายในมีสีดำ ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันแสงกระทบกับฟิล์ม ตัวกล้องอาจทำด้วยโลหะ หรือพลาสติกแข็ง ซึ่งแต่ละบริษัทใช้ผลิตออกมาจำหน่าย ภายในตัวกล้องจะมีกลไกต่าง ๆ หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ที่ทำงานร่วมกันในการบันทึกภาพ กล้องบางรุ่นอาจเป็นระบบกลไก บางรุ่นอาจเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ หรือบางรุ่นอาจเป็นระบบดิจิตอล เพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพ ภายในตัวกล้อง จะมีส่วนประกอบ ที่สำคัญ ดังนี้
ภาพที่ 3 -1 ภาพแสดงกล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว
ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ได้มีการนำเอาระบบดิจิตอล (Digital)ที่มีความสะดวก รวดเร็วและมีความแม่นยำในการถ่ายภาพ ทำให้รูปแบบของกล้องถ่ายภาพได้เปลี่ยนไป จากการบันทึกภาพด้วยฟิล์มมาเป็น การบันทึกภาพด้วยระบบหน่วยความจำ (Memory) และสามารถแสดงผลได้ทั้งทางจอภาพคอมพิวเตอร์ (Monitor) และแสดงผลหรือพิมพ์ภาพผ่านเครื่องพิมพ์ (Printer)
Alongkorn
01-02-2008, 12:52
เลนส์ (Lens)
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพ โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ถ่ายทอดแสงสะท้อนภาพให้ผ่านเข้าไปในกล้อง รวมแสงให้เป็นภาพที่มีความคมชัดบันทึกลงแผ่นฟิล์ม เลนส์สำหรับกล้องถ่ายภาพ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวนั้น จะทำจากแก้วเลนส์ จำนวนหลายชิ้น เลนส์แต่ละชิ้นจะเคลือบด้วยสารไวแสง เพื่อให้การรับภาพมีความคมชัด และภายในกระบอกเลนส์จะมีแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) สำหรับเพิ่มหรือลดขนาดรูรับแสงเพื่อควบคุมปริมาณแสงเข้าไปในตัวกล้อง
Alongkorn
01-02-2008, 13:05
2.1 ชนิดของเลนส์
นักประดิษฐ์เลนส์ถ่ายภาพ ได้พยายามพัฒนา ออกแบบ เลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท โดยจำแนกประเภทของเลนส์ตามความยาวโฟกัส (Focal length) เลนส์ที่มีความยาว โฟกัสแตกต่างกัน จะให้ผลในการถ่ายภาพแตกต่างกันออกไป โดยมีเลนส์ขนาดหนึ่งใช้เป็นเลนส์ประจำกล้องเพื่อถ่ายภาพธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีองศาในการรับภาพใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์ในการมองทั่วไป และมีเลนส์ขนาด อื่นแตกต่างกันออกไปอีกทั้งชนิด ที่มีองศารับภาพกว้างเหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape) และเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแคบ แต่สามารถถ่ายภาพในระยะไกลได้ นอกจากนี้ยงมีเลนส์ชนิดพิเศษที่สามารถอำนวยความสะดวก ในการถ่ายภาพได้ลักษณะตามต้องการ โดยจำแนกชนิดของเลนส์ ดังนี้
1.เลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens) เป็นเลนส์ประจำกล้อง ซึ่งเมื่อซื้อกล้องถ่ายภาพจะมี เลนส์ชนิดนี้ ติดมาด้วยเป็นเลนส์ที่ใช้ง่าย มีความยาวโฟกัส ระหว่าง 40-58 มม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 50 มม. (โดยวัดจากกึ่งกลางเลนส์ถึงฟิล์ม) เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ เป็นเลนส์ที่มีองศาในการรับภาพ กว้างประมาณ 47 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์
ภาพที่3-4 เลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens) มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ 40 - 58 มม. องศาในการรับภาพประมาณ 47 องศา เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วไป
Alongkorn
01-02-2008, 13:09
2.เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lens) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน และรับภาพได้มุมกว้างกว่า เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสถานที่แคบหรือระยะห่างระหว่างกล้องถ่ายภาพ กับวัตถุที่จะถ่ายอยู่ใกล้กันแต่ต้องการเก็บภาพเป็น บริเวณกว้าง ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นเก็บภาพได้ไม่หมด เหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์(Land scape) หรือภาพในลักษณะอื่น ๆ เลนส์ชนิดนี้มีความชัดลึกสูงมาก คือแสดงให้เห็นระยะชัดตั้งแต่ใกล้สุดถึงไกลสุดได้ดี แต่ต้องระวังในเรื่องของสัดส่วนระยะ (Perspective) ต่าง ๆ จะเกิดการผิดเพี้ยน (Distortion) ถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมากยิ่งผิดเพี้ยนมากขึ้น คือ ภาพจะมีความโค้งเป็นรัศมีวงกลมเลนส์มุมกว้าง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
2.1 เลนส์มุมกว้างธรรมดา (Moderate Wide-angle lens) มีความยาวโฟกัสระหว่าง28-35 มม. มีมุมองศาในการรับภาพระหว่าง 74-62 องศา
2.2 เลนส์มุมกว้างมาก (Ultra Wide-angle lens) มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 13 -24 มม. มีมุมองศาในการรับภาพ 118-84 องศา
2.3 เลนส์มุมกว้างพิเศษ หรือเลนส์ตาปลา (Fisheye lens) มีความยาวโฟกัสน้อยมาก คืออยู่ระหว่าง 6 - 16 มม. มีมุมองศาในการรับภาพ 180-360 องศา ภาพที่ได้จะมีลักษณะโค้งกลม นิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพในลักษณะสร้างสรรค์ และแปลกตา
ภาพเลนส์มุมกว้างชนิดต่าง
ภาพที่ 1 เลนส์มุมกว้างมาก ขนาด 24 มม. (Ultra Wide-angle lens)
ภาพที่ 2 เลนส์มุมกว้างพิเศษ หรือเลนส์ตาปลา(Fisheye lens)
Alongkorn
01-02-2008, 13:28
เลนส์ถ่ายภาพไกล (Telephoto lens) เลนส์ชนิดนี้มีคุณสมบัติตรงข้ามกับเลนส์มุมกว้าง คือ มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐานและเลนส์มุมกว้าง มีมุมรับภาพแคบเฉพาะส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อรับภาพในระยะและตำแหน่งเดียวกันจะทำให้ภาพที่บันทึกได้มีขนาดใหญ่กว่าการใช้เลนส์ธรรมดาและเลนส์มุมกว้าง
เลนส์ถ่ายภาพไกล มีขนาดความยาวโฟกัสตกต่างกันหลายขนาด จาก 70 มม. ถึง 2,000 มม. มีมุมองศาการรับภาพตั้งแต่ 34-3 องศา เพื่อใช้ประโยชน์ต่างกัน ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความยาวโฟกัสได้ดังนี้
3.1 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น (Short Telephoto lens) มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 70-135มม. มีมุมองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 34-18 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพบุคคล ภาพภูมิทัศน์ ภาพถ่ายระยะใกล้ เป็นต้น
3.2 เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง (Medium Telephoto lens) มีขนาดความยางโฟกัสอยู่ระหว่าง 150-300 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 18-8 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ไม่สามารถเข้าใกล้วัตถุที่จะถ่ายได้ เช่น สัตว์ในกรง วัตถุที่อยู่ที่สูงพอสมควร เป็นต้น
3.3 เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล (Long Telephoto lens) มีความยางโฟกัสระหว่าง 400-600 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 6-4 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่อยู่ไกล เช่น นกบนต้นไม้ การแข่งขันกีฬา เป็นต้น
3.4 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ (Super Long Telephoto lens) มีความยางโฟกัสระหว่าง 800-2,000 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 3-1 องศา เท่านั้น สำหรับภาพที่ต้องการกำลังขยายมาก เช่น ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ภาพถ่ายบนตึกสูง เป็นต้น เลนส์พวกนี้จะน้ำหนักมากเป็นพิเศษ ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ
รูปที่ 1 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น (Short Telephoto lens) ขนาด 135 มม.
รูปที่ 2 เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง (Medium Telephoto lens) ขนาด 300 มม.
รูปที่ 3 เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล (Long Telephoto lens) ขนาด 600 มม.
รูปที่ 4 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ (Super Long Telephoto lens) ขนาด 1,000 มม
ภาพที่ 3-6 ภาพเลนส์ถ่ายภาพไกลประเภทต่าง
Alongkorn
01-02-2008, 13:33
[SIZE="5"][COLOR="Blue"]
[B]จากภาพ1. ภาพเลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง (Wide angle Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 20-35 มม
2. เลนส์ซูมช่วงสั้น (Short Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 35-70 มม.
3. เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 80-200 มม.
4. เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ (Super Telephoto Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 80-400 มม
Alongkorn
01-02-2008, 13:35
เลนส์ภาพถ่ายใกล้ (Macro lens) เลนส์ถ่ายภาพใกล้หรือที่เรียกว่ามาโครเลนส์ เป็นเลนส์ชนิดที่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ ๆ ได้มากเป็นพิเศษ ให้อัตราขยายของภาพได้ดีกว่าเลนส์ชนิดอื่น ๆ เหมาะสำหรับถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น แมลง ดอกไม้ เครื่องประดับ หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ต้องการความคมชัดและให้เห็นรายละเอียดมาก ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นทำไม่ได้ และยังสามารถใช้ถ่ายภาพทั่ว ๆ ไปได้เช่นเดียวกับเลนส์ชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดความยาวโฟกัสเท่ากัน
เลนส์มาโคร มีขนาดความ ยาวโฟกัสหลายขนาด ที่ใช้ทั่วไปมีตั้งแต่ 50 มม.55 มม.85 มม.105 มม.โดยมีอัตราขยายของภาพมีอัตราส่วน คือ 1:2 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดครึ่งเท่าของวัตถุ)หรือ 1:1 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดกันกับวัตถุ) เมื่อเทียบขนาดของวัตถุและภาพที่ปรากฏบนฟิล์ม
ภาพ เลนส์มาโคร ขนาด 55 มม. (ขวา) ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร
Alongkorn
01-02-2008, 13:49
มาถึงตอนนี้หลายคนอาจท้อเพราะค่าอุปกรณ์ของกล้องมันมีมากมาย ถ้าซื้อให้ครบก็คงต้องเตรียมเงินไว้หลายแสนถึงจะพอเพียง
จริงแล้วไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะเราเป็นช่างภาพสมัครเล่น ขอเพียงกล้องไว้ใช้ถ่ายภาพก่อน เป็นกล้อง SLR DLR DSLR ก็สามารถนำมาใช้ถ่ายภาพตามที่เราต้องการได้ ไว้พัฒนาฝีมือให้เข้าขั้น จึงค่อยจัดซื้อ SLR มาใช้ก็ไม่สายเกินไป
ตัวอย่างเช่น ท่านอาจารย์ ดร.วสันต์ ตอนนี้ท่านก็ใช้เพียง Canon EOS400 D ที่ใช้เพียงเลนซ์ 50 มม. ก็สามารถสร้างสรรค์ภาพได้เทียบชั้นมืออาชีพแล้ว เสียดายคนข้างกาย(ยัยหมูปิ้ง)ไม่ยอมอนุมัติให้ซื้อมาเพิ่ม บอกให้หาคนข้างกายใหม่ขาวสวยหมวยอึ๋มมาแทนที่ก็ไม่ยอม ทนไปก่อนแล้วกันนะอาจารย์วสันต์
โหวตให้ครับ
ชอบครับ สาระดี
ขอบคุณครับ
เยี่ยม....ข้อมูลเยอะดีครับ
วันที่ 16 ที่จะถึงป๋าจะซื้อเป็นของขวัญให้ผมใช่ใหมครับ อิๆๆ..........
ขอไวด์ 10-22 1ตัว
เทเล 70-200 1ตัว
ราคาไม่แพงหรอก2ชิ้นนี่ก็ได้Honda Sonic 1คันเองครับป๊ะป๋า!!!!!
bird3255
24-10-2008, 19:31
ช่วยแนะนำให้มือใหม่ได้มัยครับ กล้องควรมีราคาเท่าไรครับแนะนำรุ่นด้วยครับ
Alongkorn
24-10-2008, 21:15
ถ้ามีงบประมาณเพียงพอก็ซื้อกล้องประเภท DSLR ดีกว่า Cannon Pentek Nikon เอาราคาอยู่ในช่วง 25,000 - 35,000 บาท ซึ่งมีเลนซ์ขนาด 50 มม. ติดมากับกล้องอยู่แล้ว เมื่อเริ่มรู้เทคนิคเพิ่มมากขึ้น คุณก็จะรู้ว่าต้องการใช้เลนซ์แบบไหนเพิ่ม เช่น เลนซ์วายแองค์เจิ้ล เลนซ์ซูมขนาดต่างๆ เลนซ์เทเล เป็นต้น
เมื่อซื้อมาแล้วให้ศึกษาศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพตามตำรา ซึ่งหาได้ทั้งอินเตอร์เน็ท หนังสือเทคนิคการถ่ายภาพ
แล้วถ่ายภาพทุกอย่างที่เราเห็น ถ่ายตามจินตนาการ
แล้วเราก็จะค้นพบตัวเองว่าชอบถ่ายภาพแนวไหน
ความสำคัญการถ่ายภาพนั้นต้องมีจินตนาการก่อน
bird3255
05-11-2008, 22:09
ผมได้กล้อง DSLR CANON EOS 400D เลนส์kits ติดมากลับกล้องครับไม่ทราบว่าตัวนี้เป็นอย่างไงบ้างครับข้อดีและข้อเสีย และอะไหล่ซ่อมแพงมัยครับ
wong2737
05-11-2008, 23:28
ของผม 450D หรือ Kiss X2 ตอนนี้ก็กำลังฝึกปรือผีมือ หาประสบการณ์อยู่ครับ:i40:
ลองฝีมือกับดอกชวนชมหน้าบริษัทค่ะ:kapook-17195-8823:
ขาดตกบกพร่องหรือพี่ๆมีเทคนิคอะไรดีๆแนะนำได้ค่ะ:kapook-17194-2887:
sjball007
18-12-2008, 05:33
มือใหม่ใช้ 400d เลนส์ 18-55 จ้า27600
เจ้าเข้ม
25-12-2008, 12:16
5555 วันนี้ลบ่ะครับพี่น้อง
ผมจะไปถอย 450d มาเป็นของตัวเอง
ส่วนหนึ่งเป็นของขวัญแต่งงาน ที่จะมีในวันที่ 3 / 01 / 52 นี้
และอีกส่วนจะเป็นของขวัญปีใหม่ ที่ว่าที่ศรีภรรยาจะซื้อให้ครับพี่น้อง
แล้วจะถ่ายมาให้ยลโฉมกันนนนน......
Bangpakong
25-12-2008, 13:17
:i40:ป๋า จะทำวิทยานิพนธ์ สาขานิเทศาสตร์อีกแขนงแน่ๆเลย เที่ยวนี้เอา 2 ใบเลยน๊ะครับป๋า
เจ้าเข้ม
26-12-2008, 08:58
ได้มาแล้ววววววว
450d ป้ายแดง+เลน70-300 มาอีกตัว เบ็ดเสร็จก็30,000 กว่าบาท กล้อง+เลนคิดท์24,900+เลน70-300 ซิกม่า8,400 + ฟิลเตอร์หน้าเลนซ์700 พี่น้องว่าราคาเป็นงัยบ้าง
Kamo_007
26-12-2008, 09:13
ได้มาแล้ววววววว
450d ป้ายแดง+เลน70-300 มาอีกตัว เบ็ดเสร็จก็30,000 กว่าบาท กล้อง+เลนคิดท์24,900+เลน70-300 ซิกม่า8,400 + ฟิลเตอร์หน้าเลนซ์700 พี่น้องว่าราคาเป็นงัยบ้าง
*ราคาประกันศูนย์ทั้งหมด...ไม่แพงและก็ไม่ถูกครับ..
เลนส์ 70-300 ถ้าเป็นริมแดง..ตัวนี้มาพร้อมกับมาโครด้วย ใช้ดีครับ สีสดใส แต่ตัวนี้ถ้าได้ประกัน 5 ปีด้วยยิ่งดีใหญ่ ...ถ่ายภาพมาแบ่งกันชมบ้างนะครับ..
เจ้าเข้ม
27-12-2008, 11:43
แน่นอนครับ เดี๋ยวจะถ่ายมาให้ดู
ส่วนเลนซ์ ประกัน 5 ปีครับ
rewjiken
30-12-2008, 08:06
มีใครใช้ Panasonic Lumix DMC F18 บ้างครับ พอดีผมซื้อมาตัวหนึ่ง ผมไม่มีความรู้เรื่องถ่ายภาพมากเท่าไร เห็นระบบมันฉลาดดี แบบว่า มันเลือกให้เราเลยว่ากะลังจะถ่ายภาพอะไร มันรู้ด้วยตัวเอง และไวพอประมาณ ภาพที่ออกมาชัดเจนแจ๋วแหว๋ว ไม่ทราบว่าท่านใดใช้แล้ว คิดว่าดีใหมครับ หรือมีข้อเสีย หรือข้อควรระวังอย่างไร รบกวนบอกด้วยครับ ขอบคุณครับ (มือใหม่)
joetriton
14-12-2009, 21:51
ป๋าครับ ขอบพระคุณครับ:1182440014:
bomgrade
15-12-2009, 08:32
ป๋าอลงกรณ์ จัดทริปสอนการถ่ายภาพเลยครับ จะได้รวมตัวคนที่ต้องการและผู้ที่เริ่มกล้องมือใหม่มาจัดทีเดียวเลยครับ อิ อิ ชอบๆ
NAMELESS
07-02-2010, 09:03
http://upic.me/i/8w/83544d7fa9.gifhttp://upic.me/i/8w/83544d7fa9.gifhttp://upic.me/i/8w/83544d7fa9.gif
ข้อมูลพร้อรอทริปถ่ายรูปครับ
ป๋าจัดเลยครับ
กิกิ
อันนี้ของดีๆ ของห้องการถ่ายภาพ ต้องงัดออกจากกรุ :emoticon-cartoon-00
กล้องและการถ่ายภาพ (http://www.thaitritonclub.com/forum/forumdisplay.php?f=16)
เทคนิคในการถ่ายภาพ (http://www.thaitritonclub.com/forum/forumdisplay.php?f=62)
เทคนิคการถ่ายภาพ
นายหนึ่ง
02-01-2012, 20:15
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดีดี
somchart
02-01-2012, 20:28
ลองถ่ายดูบ้าง กำลังลองผิดลองมั่วอยู่ครับ140127
supahroek
02-01-2012, 20:46
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้เรื่องการถ่ายภาพ...
:34 3:
ขับเคลื่อนระบบโดย vBulletin™ Version 4.2.5 Copyright © 2024 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.