ลองมาแชร์กันดูนะครับว่าพังกันบ่อยมั๊ย
แก้ไขอย่างไร
อาการเริ่มต้นเป็นยังไง
บู๊ทขึ้นเท่าไหร่
ความร้อนมาเยอะมั๊ย
น้ำดันหรือไม่
......แชร์ประสบการณ์กันนะครับเพื่อพี่น้องเราครับ.....
Printable View
ลองมาแชร์กันดูนะครับว่าพังกันบ่อยมั๊ย
แก้ไขอย่างไร
อาการเริ่มต้นเป็นยังไง
บู๊ทขึ้นเท่าไหร่
ความร้อนมาเยอะมั๊ย
น้ำดันหรือไม่
......แชร์ประสบการณ์กันนะครับเพื่อพี่น้องเราครับ.....
รู้กันอยู่ว่าประเก็น 4D56 เป็นแบบ 3 ชั้น ไม่ขลิปขอบ
จะสามารถทนแรงดันเครื่องเดิมๆสบายๆครับ
แต่ในกรณี ที่โมเครื่องมา แรงดันต่างๆภายในเครื่องมากขึ้น การเสื่อมสภาพเลยไวกว่ากำหนดครับ
...อาการที่พบ(ของตัวเอง)น้ำหายครับ เลยเปิดเปลี่ยน พบว่าปะเก็นแตก แต่เราสังเกตุก่อนที่งานหนักจะเข้าครับ ราคารวมหมด 4พันกว่าบาทจร้า
เหมือนเดิมแล้วจร้า
พี่น้องท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมรบกวนด้วยค๊าบ:1182440014:
น้ำหาย หมายถึง น้ำหล่อเย็นสีเขียวในถังพักหายใช่ไหมครับ น้าโจ้
ถ้าใช่ ... ที่ว่ามันหาย ของน้ามันหายเยอะไหมครับ
เห็นน้าเปิดปะเด็นเรื่องนี้มาก็ดีครับ ผมอยากแสดงความคิดเห็นพอดี
คือ รถผมก็ปะเก็นแตกมาหลายรอบแล้วครับกับปะเก็นศูนย์
ทีแรกเลยทดสอบใส่ปะเก็นเดิมไปก่อน แล้วแก้เบื้องต้นโดยการแกะแล้วใช้สเปร์ทองแดงพ่นทุกชั้น เพื่อเพิ่มการยึดเกาะหรือซิลรั่วได้ดียิ่งขึ้น ก่อนใส่ปะเก็นก็ได้อัดปอนด์ฝาสูบเพิ่มเป็น 120 lb (เดิมๆแรงขันมันประมาณ 110 lb) ทีแรกนึกว่าจะหายเพราะใช้งานในกรุงเทพตั้งหลายอาทิตย์ อาการน้ำดันเครื่องฮีทก็ไม่มี แต่พอมีวันนึงออกต่างจังหวัด แล้วผมแช่ความเร็วสูงๆด้วยแหละมั้ง ผลก็คือน้ำดันเหมือนเดิมครับ ความร้อนขึ้นเกือบฮีท พอจอดพักที่ปั๊ม
ได้ยินเสียงน้ำหล่อเย็นเดือดที่ถังพักชัดเจน....งานเข้าอีกแล้ว เป็นแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนอยากจะทำกลับมาเดิมๆ เพราะหมดตั้งค่าซ่อมไปเยอะ
ตอนนี้ ล่าสุดก็ได้ทอลองแก้อาการน้ำดันและปะเก็นแตกโดยการ
ใช้ปะเก็นเนื้อคาร์บอนครับ ซื้อเป็นปะเก็นสั่งตัด แต่ว่า(งานมันจะไม่เนียนเหมือนปะเก็นเดิมนะ) ตัวนี้มันมีทีเด็ดที่ว่า มีสามารถยุบตัวได้สูงจึงทำให้หน้าสัมผัสมันกดชิดกับฝาสูบและเสื้อสูบได้มาก และตรงขอบเสื้อสูบเค้าจะย้ำโลหะไว้ เพื่อกันไม่ให้แรงอัดรั่วครับ (ซึ่งปะเก็นเดิมๆจะเป็นเหล็กนะครับ มี 3 ชั้นบาง แต่ว่าตรงขอบเสื้อสูบเค้าไม่ได้ย้ำขอบมาครับ) การประกอบก็เงื่อนไขเดิม อัดปอนด์ฝาสูบไป 120 lb ครับ ก็รอใช้วอร์มไปซะ 1000โลก่อนอ่ะครับ เพือรอปะเก็นมันเข้าที่เข้าทางก่อน จากนั้นจึงจะไปย้ำฝาสูบอีกรอบครับ คราวนี้จะได้รู้ไปว่าจะอยู่ไหม
จริงแล้วนะถ้าปะเก็นไทรทันมันออกแบบมาให้เหมือนเครื่อง 4d56 โอกาสปะเก็นแตก น้ำดันน่าจะไม่มีครับ เพราะว่าของสตาด้าออกแบบปะเก็นมาแข็งแรงกว่า แถมปะเก็นย้ำขอบมาให้ด้วย..........
หรือมีอีกทางเลือกนึงครับ มีร้านตัดปะเก็นอีกร้านนึง เค้ามีของไทรทัน
ชื่อร้าน ช.ปะเก็น อยู่แถวๆ ปทุมวันมั้งครับ ผมโทรไปเค้าบอกว่า ปะเก็นเดิมๆเหมาะกับรถเดิมครับ แต่ถ้ารถทำเพิ่มต้องใช้ปะเก็นที่ร้านเค้าครับ เค้าบอกว่าเป็นปะเก็นเนื้อสปริงครับ มันจะยืดหยุ่นได้ดีกว่าปะเก็นศูนย์ และยังบอกอีกว่าเนี่ยนะ รถแข่งเอาไปใช้หลายคันแล้ว ยังไม่มีปัญหาเลย รับบูสได้สบายๆ ส่วนราคาก็เอาเรื่องนะครับ 3400 บาทครับ มีความหนาให้เลือก
3 ไซค์ คือ 1.2 1.4 1.6 มิล ซึ่งต้องเลือกเอาให้เหมาะสมครับ ว่าเราปาดฝาไปอีกมิล ก็ควรจะใช้ปะเก็นหนาขึ้นเพิ่อไปชดเชยระยะเดิมครับ ก็ลองดูแล้วกันครับถ้าใครงบเหลือๆ...
น้าโจ้ สำหรับรถผมที่ว่าน้ำดัน นั่นหมายถึง กำลังมันรั่วออกมาเข้าตาน้ำนะครับ
พอรั่วมาเยอะๆมันจะเกิดแรงดันไปดันฝาหม้อน้ำให้สปริงมันยกระบายน้ำออกไปล้นทะลัก
ที่หม้อพักน้ำนะครับ ทำให้น้ำในระบบน้อยจึงเป็นเหตุให้ความร้อนขึ้น เครื่องฮีทครับ....
สำหรับของน้า ที่บอกว่าน้ำในหม้อพักหาย อืมมม ไม่เหมือนกันครับ ของผมนี่น้ำล้นเต็มหม้อพักตลอดเวลาเลย...
เนี่ย ถ่านตอนมันเริ่มลงมาแล้วครับ ที่จริง มันขึ้นยัน H:emo020hu8:
สภาพปะเก็นข้ามครับ มันข้ามทุกสูบเลย แทรกออกตามรอยต่อของแผ่นปะเก็นที่ ซ้อนๆกันนั้นแหละครับ... ลองดูภาพนึงซิครับ หัวลูกสูบ ทั้งน้ำและน้ำเครื่องขังเติมเลย ถึงว่าล่ะไมมันสตาร์ทยากจัง....:emo020hu8:
...เปิดกระทู้ได้ดีเยี่ยมเลยตาโจ้ พวกรถทำแรงๆ คิดเอาแต่แรงๆ แต่ลืมคิดตรงนี้ไปเลย เรื่องเย็นๆ ยังไงก็อย่าลืมกันนะครับถ้าไม่อยากเข้าศูนย์เข้าอู่เพื่อเปิดฝา เสียทั้งเงินเสียทั้งเวลา อ้ออุปกรณ์พวกสมาร์ทเกจ์ ผมเพิ่งเห็นประโยชน์ของมันก็ตรงเนี๊ย มันเตือนเราได้แยะเรื่องภายในเครื่องยนต์ทั้งหลาย... :kapook-17319-2781:
นี่ ตอนประกอบครับ ช่างร้านผม ล้างเครื่องได้ใจมากๆ กริ๊บๆเลยนะ
ตอนแรกคิดว่าเห็นช่างแต่งตัวเลอะๆ ร้านเลอะๆ นึกว่างานจะเลือนๆ ฮ่าๆๆๆ
แต่ไม่เลยครับ งานเนียนๆ สะอาดมากครับ ฝาสูบอย่างกะเบิกของใหม่เลยครับ
ล่าสุด ผมลองเจาะวาล์วเดิมครับ เจาะมา 4 รู
ข้อดี
ความร้อนลงไปเยอะมากๆครับ
ก่อนเจาะ ขึ้นความร้อนประมาณ 2.5 ขีด แต่พอเจาะแล้วมันขึ้นยังไม่เต็ม 2 ดีเลครับ ครับ
แต่ถ้าซัดหนักๆก็ 2.5 ขีดครับ พอแป๊บเดียวก็ลงมา 2 ขีด 5555+
ข้อเสียนิดนึงครับ
คือเวลาตอนเช้าๆมันจะใช้เวลาวอร์มอัพนานมากครับ ถึงอุณหภมูจะขึ้นในระดับที่ใช้งาน และเข็มความร้อนเราจะไม่นิ่ง จะขึ้นๆลงๆ ตามการกดคันเร่งครับ ( แต่ก็ไม่เกิน 2.5 ขีด)
เนี่ยถ้าเราทำให้ความร้อนระดับนี้ได้คงที่ โอกาสฝาโก่งปะเก็นแล็บคงน้อยลงไปมากครับ
พรุ่งนี้จะลองอีกแบบครับ จะใช้วาล์วน้ำของ สตาด้า 2.8 มาแทนของเดิมครับ
(ข้อมูลนี้ได้จากน้าเต้ย ต้องขอบคุณมากนะครับ)
เพราะมันเปิดเร็วกว่าเดิมๆครับ ของเดิมเปิด 82 c ของสตาด้าเปิด 76.5 c ครับ
มันก็น่าจะให้ผลได้ดีกว่าอยู่นะครับ สำหรับรถที่โมเครื่องมา เพราะความร้อนจะถูกระบายออกจากน้ำได้เร็วขึ้น
ไม่เจาะดีกว่าครับ เพราะเจาะน้ำจะเข้าไปได้ ตั้งแต่ตอนสตาร์ทใหม่ ซึ่งมันไม่ดีต่อเครื่องครับ กว่าอุณหภูมิมันจะได้ ต้องใช้เวลานาน ซึ่งนั่นหมายถึง การสึกหรอ ที่มากขึ้น เปลี่ยนไปใช้ วาล์วน้ำ ที่เปิดเร็วขึ้นดีกว่าครับ ตามที่น้าเล้ง ได้บอกไว้อ่ะครับ