สรุปผลการค้นหา 1 ถึง 14 จากทั้งหมด 14

กระทู้: เรื่องน้ำมันเครื่อง

  1. #1
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Nov 2009
    User ID
    9701
    Status
    Offline
    โพส
    483

    มาตรฐาน เรื่องน้ำมันเครื่อง

    ผมได้เข้าไปเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง 5000 km(เติมน้ำมันเครื่อง ครึ่งสังเคาะห์ มาก่อน) แต่ ช่างที่ ศูนย์ แนะนำว่าให้เปลี่ยนที่ 10000 โล เลย เพราะเครื่อง model 2010 ทาง มิซู Thailand ได้ประกาศ ว่า เปลี่ยน ทุกๆ 10000 โล ไม่ว่า เกรดน้ำมันเครื่อง จะเป็น ครึ่งสังเคาะห์ หรือ สังเคาะห์ 100% ก็ตาม ผมจึง สังสัย เรื่องของน้ำเครื่อง
    สังเคาะห์ และ ครึ่งสังเคาะห์ ว่า เราควรเลือกแบบใหนดีครับ หมายถึง ต้อง พิจรณาอะไรในการเลือก จะใช้น้ำมันเครื่อง...
    และที่ช่างแนะนำนั้น จริงไหมครับ...แต่ที่ผ่านมาผมก็ไม่ได้เปลี่ยนนะครับ(เชื่อช่าง)

  2. #2
    TTC-01004 TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jan 2008
    User ID
    1090
    Status
    Offline
    โพส
    2,326

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    ถ่ายบ่อย ดีกว่าครับ
    เเบบกึ่งสังเคราะห์
    ทุก 5000โล ถ่ายทีดีกว่าครับ

  3. #3
    สมาชิกถาวร: TTC-00434 TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Sep 2008
    User ID
    3623
    Status
    Offline
    โพส
    5,626

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    ผมถ่ายที่0ทุกๆ10,000โลครับ เกรท10W-30 เป็นเซมิครับกึ่งสังเคราะของคลาสตรอน เครื่องยนต์สมัยนี้คอมอลแรล น้ำมันเครื่องไม่ดำมากเหมือนเครื่องรุ่นก่อนๆที่ต้องเปลื่ยนตอน5,000.โล..
    .........
    หรือลองศึกษาตามข้อมูลที่ก็อปมาก็ได้ลองดู


    ---------------------------------------------------------------------------------
    หลายท่าน สงสัยว่า น้ำมันเครื่องเบอร์นั้น เบอร์นี้ มาตรฐานนั้นดี หรือเหมาะสมหรือไม่ มาไขข้อข้องใจกันครับ

    เรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง
    ความหมายของเกรดน้ำมันเครื่องที่อยู่ข้างกระป๋องนั้นมีความสำคัญต่อการใช้ งานของเครื่องยนต์เราสามารถแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องออกได้สองประเภทด้วยกันดัง นี้
    -แบ่งตามความหนืด
    -แบ่งตามสภาพการใช้งาน
    การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด แบบนี้จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย พูดถึง
    มาตรฐาน "SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา (Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่อง
    แบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อ ลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่
    แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น
    น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18องศา
    องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบ
    มาก ๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถ
    คงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)
    ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม (Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิต
    สามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายใน
    การใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40หรือ 15W-50 แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้ สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้นแต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของ
    เครื่องยนต์แต่ละประเภท ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials) ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยก
    น้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่ เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอก
    มาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบ็นซิ นได้เทียบเท่า
    เกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50
    การกำหนดมาตราฐานของน้ำมันเครื่องตามสภาพการใช้งานนั้น

    สามารถแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเครื่องโดยอ้างอิงสถาบันใหญ่ได้หลายสถาบันเช่น
    -สถาบัน "API" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา
    -สถาบัน "ACEA" (เดิมเรียก CCMC) เกิดจากการรวมตัวของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรป
    -สถาบัน "JASO" เกิดจากการรวมตัวของสถาบันกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าแต่เดิมสถาบัน API ซึ่งเคยมีบทบาทมากในอดีต และเป็นสถาบันที่
    กลุมผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกยอมรับ ปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่นก็ได้มีการออกมาตรฐานขึ้นมาเป็นของตน เองเช่นกัน
    คำว่า "API" ย่อมาจาก "American Petroleum Institute" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกาซึ่งจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นตามสภาพการใช้ งานเป็นสองประเภท
    ใหญ่ ๆ ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือ
    -"API"ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงใช้สัญลักษณ์ "S" (Service Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, และ SJ
    -"API"ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF, CF-2, CF-4, และ CG-4
    เรามาดูน้ำมันเครื่งที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงกันก่อนจะใช้ สัญลักษณ์ "S" และตามด้วยสัญลักษณ์แทนน้ำมันเกรดต่าง ๆ ที่แบ่งได้ตามเกรดดังต่อไปนี้
    -SA สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ
    -SB สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย และสารป้องกันการกัดกร่อนไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่
    -SC สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967 โดยมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย เช่น มีสารควบคุมการเกิดคราบเขม่า
    -SD สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 โดยมีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC
    -SE สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC และยังสามารถใช้แทน SD และ SCได้ดีกว่าอีกด้วย
    -SF สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988 มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพสามารถจะทนความร้อนสูงกว่าSEและยังมีสาร ชำระล้างคราบเขม่าได้ดีขึ้น
    -SG เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ.1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน SF โดยเฉพาะมีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม
    สารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน และสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น
    -SH เริ่มประกาศใช้เมื่อปี คศ.1994 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วมี ระบบใหม่ ๆ ในเครื่องยนต์ที่ถูกคิดค้นนำเข้ามาใช้ เช่นระบบ Twin Cam, Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing และยังมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสีย (Catalytic Convertor) เพิ่มขึ้น
    -SJ เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ.1997 ีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SHแต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่ามีค่าการระเหย
    ตัว (Lower Volatility) ต่ำกว่าทำให้ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลงและมีค่าฟอสฟอรัส (Phosphorous) ที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น

    สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifications) และตามสัด้วยสัญลักษณ์ที่แทนด้วยน้ำมันเกรดต่าง ๆ โดยจะแบ่งตามลักษณะเครื่อง
    ยนต์ที่ใช้งานแตกต่างกัน
    -CA สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้งานเบา เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950 มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน
    สารป้องกันคราบเขม่าไปเกาะติดบริเวณลูกสูบผนังลูกสูบและแหวนน้ำมัน
    -CB สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา งานเบาปานกลาง มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 มีคุณภาพสูงกว่า CA โดยสารคุณภาพดีกว่า CA
    -CC สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่า
    มีสารป้องกันสนิมและกัดกร่อน ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม
    -CD สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1955 มีคุณภาพสูงกว่า CC
    -CD-II สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1988 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
    -CE สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1983 มีคุณภาพสูงกว่า CD ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่างดีเยี่ยม
    -CF เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา (Mono Grade) เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิด
    ไม่ว่าจะใช้ งานหนักหรือเบา สามารถใช้แทนในมาตรฐานที่รอง ๆ ลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่าอีกด้วย
    -CF-2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุนใหม่ 2 จังหวะเริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1994 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
    -CF-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1990 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวมสามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม -CG-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เริ่มประกาศใชปี 1996 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม

    มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ACEA ย่อมาจาก The Association des Constructeurs Europeens d'Automobile หรือเป็นทางการว่า European
    Automobile Manufarturer' Association สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH LEYLAND, BMW, DAF,
    DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT, VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO ได้มีการกำหนด
    มาตรฐานโดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน CCMC ไปเนื่องจาก ACEA มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด
    -มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline (Petron) Engines)
    A 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินทั่วไป
    A 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
    A 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินในปัจจุบัน
    -มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (Light Duty Diesel Engines)
    B 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไป
    B 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
    B 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในปัจจุบัน
    -มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (Heavy Duty Diesel Engines)
    E 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ทั่วไป
    E 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
    E 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน

    มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเเป็นกลุ่มที่มีบทบาท
    มากขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาเรียกรวมเป็นมาตรฐาน ISO โดยเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    -เครื่องยนต์เบนซิน
    JSE (ISO-L-EJGE) เทียบพอๆ กับมาตรฐาน API SE หรือ CCMC G1 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้น
    JSG (ISO-L-EJDD) เทียบกับมาตรรฐานสูงกว่า API SG หรือ CCMC G4 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้นไปอีก
    -เครื่องยนต์ดีเซล
    JASO CC (ISO -L-EJDC) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CC เป็นอย่างต่ำ
    JASO CD (ISO -L-EJDD) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 100 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CD เป็นอย่างต่ำ

    มาตรฐานน้ำมันเครื่องแห่งกองทัพสหรัฐ
    มาตรฐาน MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดขึ้นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน มีรายละเอียดดังนี้
    MIL-L-2104 A ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี 1954 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกำมะถันต่ำและเครื่องยนต์เบ็นซินทั่ว ๆ ไปเปรียบได้กับมาตรฐาน API CA/SB ปัจจุบัน
    ยกเลิกไปแล้ว
    MIL-L-2104 B กำหนดใช้เมื่อปี 1964 สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทีมีสารเพิ่มคุณภาพด้านการป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดชั่น และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน
    API CC/SC
    MIL-L-2104 C กำหนดใช้เมื่อปี 1970 สำหรับน้ำมันหล่ดลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมาก ๆ และการใช้งานหนัก มีสารป้องกันคราบเขม่า ป้องกันการสึกหรอ
    และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
    MIL-L-2104 D กำหนดใช้เมื่อปี 1983 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
    MIL-L-2104 E กำหนดใช้เมื่อปี 1988 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CF/SG
    มาตรฐาน MIL-L-46152 เริ่มกำหนดใช้เมื่อปี 1970 เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน
    MIL-L-46152 A เริ่มใช้เมื่อปี 1980 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซินทั่วไป เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CC
    MIL-L-46152 B กำหนดใช้เมื่อปี1981เป็นการรวมมาตรฐาน MIL-L-2104 Bเทียบได้กับมาตรฐาน API SF/CC
    MIL-L-46152 C กำหนดใช้เมื่อปี 1987 โดยปรับปรุงจากมาตรฐาน MIL-L-46152 B เพราะมีการเปลียนแปลงวิธีการวัดจุดไหลเทใหม่
    MIL-L-46152 D เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงมาจาก MIL-L-46152 C เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์ และมีคุณสมบัติป้องกันการเกิด
    อ๊อกซิเดนชั่นดีขึ้นกว่าเดิม เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CD
    MIL-L-46152 E มาตรฐานล่าสุด เทียบได้กับมาตรฐาน API SG/CE
    สำหรับมาตรฐานน้ำมันเครื่องที่รู้จัก ก็คือมาตรฐาน "API" และ "SAE" ซึ่งน้ำมันเครื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะแจ้งมาคู่กันบางยี่ห้อจะบอกค่า ดัชนีความหนืดของ
    "SAE" อย่างเช่น 5W-30, 15W-40 เป็นต้นและจะมีค่ามาตรฐานที่บอกสมรรถนะของน้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นเป็น มาตรฐาน "API" เช่น SE, SF, SG, CC, CD,
    CE เป็นต้น

    ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องก็ไม่ควรฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ เลือกใช้ให้เหมาะกับรถก็พอแต่ควรจะเลือกใช้ค่าความหนืดให้เหมาะสมกับสภาพ อากาศและอาศัยการเปลี่ยน
    ถ่ายที่เหมาะสมแก่เวลา ส่วนการเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์นั้นมันก็ดีที่ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ได้ อีกทางแต่มันไม่ค่อยเหมาะสมกับรถที่ใช้งานธรรมดาจะเหมาะกับพวกชอบใช้
    รอบเครื่องยนต์สูง ๆ ขับซิ่ง ๆยิ่งในเศรษฐกิจแบบนี้ต้องไม่จ่ายแพงกว่า และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งก็ควรที่จะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมัน เครื่องควรคู่กันไปด้วย

    ขอบคุณข้อมูลจาก Article RCWEB

  4. #4
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Sep 2009
    User ID
    8767
    Status
    Offline
    โพส
    6,019

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    ผมก็ 10000 โล up ทุกที ปตท.10w30 กึ่งสังเคราะห์นี่ล่ะครับ บางทีลากไปถึง 12000 ด้วยซ้ำ

  5. #5
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Nov 2009
    User ID
    9701
    Status
    Offline
    โพส
    483

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    รถผมวิ่ง วันล่ะ 40 โล ,บ้างวันไม่ได้ไปใหนเลย ขับรถโดยความเร็วที่ 80-90 คงใช้ 10w-30 กึ่งสังเคาะห์ ได้นะครับ ถูกหน่อย 10000 โล เปลี่ยน ....คงได้นะครับ

  6. #6
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2009
    User ID
    6415
    Status
    Offline
    โพส
    181

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    จากประสบการณ์ที่เคยใช้น้ำมันสังเคาะห์แท้ 100% (PTT SUPER SYNTHETIC 0w-40 )ในรถเก๋งแล้วเปลี่ยนตอน 10,000-12,000 โลนั้นได้ไปปรึกษาทางช่างผู้ชำนาญแล้วบางท่านก็บอกว่าเปลี่ยนบ่อยนะจะดีกว่า(5,000 โล)ใช้กึ่งสังเคาะห์ก็พอ แต่บางทางก็บอกว่าใช้น้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งดีต่อเครื่องยนต์ยิ่งรถใช้งานมากซึ่งในประเด็นนี้ผมยังไม่เคยลองใช้น้ำมันกึ่งสั่งเคาะห์เลยแต่จากการใช้น้ำมันสังเคาะห์แท้ 100%(10,000 โล) ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีปัญหาเดินเรียบ ไม่ช้ำ แต่หลังจากใช้งาน 50,000-100,000 โลขึ้นไปให้เปลี่ยนมาเป็นเบอร์ที่มีความหนืดมากขึ้นจากเดิมเช่น 0w-40 มาเป็น 0w-50 หรือ 10w-40,10w-50 ก็ได้สาเหตุเพราะน้ำมันมันจะหายไปจากการใช้งาน(เกิดจากประสบการณ์รถเก๋งเลยคับหายไปจิงๆ)แต่ไม่รู้ว่าเครื่องยนต์คอมมอนเรลที่เราใหฃช้กันอยู่จะแตกต่างกับเครื่องยนต์เบนซิลประเภทหัวฉีดรึป่าวนะสิคับอยากรู้เหมือนกันรอผู้รู้ตัวจริงมาตอบอีกทีละกัน

  7. #7
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jan 2008
    User ID
    957
    Status
    Offline
    โพส
    3,555

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    ดูดข้อมูล อิอิถ่ายล่าสุดเกือบ 15000 โลเลย 5555+สับสนกับชีวิตตอนช่วงงบน้อย

  8. #8
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2009
    User ID
    7157
    Status
    Offline
    โพส
    45

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    เปลี่ยนถ่ายเร็ว เปลี่ยนถ่ายบ่อย ย่อมดีกว่าอยู่แล้วครับ


    เพราะเครื่องยนต์ จะได้น้ำมันที่สดใหม่ อยู่ตลอดเวลา


    น้ำมันเครื่อง เติมเข้าไป มันมีแต่จะเสื่อมสภาพอย่างเดียวครับ ยิ่งร้อน ยิ่งเสื่อมเร็ว


    แต่เปลี่ยนถ่ายเร็วๆ บ่อยๆ สิ่งที่ต้องแลกมา ก็คือ เรื่องความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุครับ



    ถ้างบมากพอ และรับกับจุดนี้ได้ ก็เปลี่ยนไปเถอะครับ อย่างน้อยๆ ก็เพื่อความสบายใจ


    แต่ตอนนี้เท่าที่ผมลองมา กึ่งสังเคราะห์ คาสตรอล 10w-30 ไม่อุด EGR วิ่งมาจะ 10000 โลแล้วครับ


    ยังปรี๊ดเหมือนเดิม เหมือนตอนที่เปลี่ยนถ่ายใหม่ๆ ตอนนี้เจ้าตั้นของผม วิ่งมาจะ 20000 โล น้ำมันเครื่องยังไม่มีหายครับ แต่ดำสกปรกได้ใจมากๆ ครับ



    ปล. ในรถแข่ง เค้าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องกันเป็นว่าเล่นเลยครับ วันควอลิฟายเปลี่ยนทีนึง วันถัดไป วันแข่ง ก็เปลี่ยนถ่ายก่อนแข่งอีกทีนึงครับ (แต่ในกรณีนี้ เครื่องยนต์ทำงานหนักมากๆ)



    ขอบพระคุณครับ

  9. #9
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Aug 2008
    User ID
    3458
    Status
    Offline
    โพส
    156

    Lightbulb Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    น้ำมันเครื่องปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเกรดสังเคราะห์แท้หรือกึ่งสังเคราะห์ก็สามารถใช้ได้ถึง 1หมื่นโลอยู่แล้วครับ การใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์แล้วถ่ายบ่อยจะได้น้ำมันใหม่กว่าตลอดแต่จะไม่ได้คุณภาพการปกป้องสูงสุด การทนความร้อน ความลื่น การชะล้างชิ้นส่วนให้สะอาดป้องกันการเกิดโคลนตะกอนและการต้านออกซิเดชั่นที่สูงกว่าที่น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ๆมีให้

    น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้จะเสื่อมสภาพช้ากว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์จึงทำให้ใช้ได้ทนทานนานกว่าในขณะที่ยังคงคุณภาพได้ดีอยู่ น้ำมันที่เริ่มดำแล้วก็ใช่ว่าจะหมดสภาพแล้วเสมอไปเพียงแต่เพราะมันชะล้างพวกคาบเขม่า กำมะถันได้ดีตัวน้ำมันถึงดำเร็ว แต่คุณภาพโดยรวมไม่ได้ลดลงไปเร็วตามสีของมัน

    ยังไงใช้สังเคราะห์แท้ก็ย่อมดีกว่าอยู่แล้วแต่จะคุ้มหรือไม่ก็แล้วแต่เจ้าของรถและเงินในกระเป๋าครับ

  10. #10
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Nov 2009
    User ID
    9701
    Status
    Offline
    โพส
    483

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    ผมไปเปลี่ยนมาแล้ว เป็น castal 10w-30 กึ่ง นั้นแหละ ช่างบอก 5000 ให้ไป check แ่่ต่ไม่ต้องเปลี่ยน ให้สมุดประวัติ มีการ ตรวจสอบ การใช้งานนะครับ

  11. #11
    saksit
    ผู้เยี่ยมชม

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    ผมถ่ายๆ ทุกๆ 3 เดือน ครับ ยังดำปี้เลย ช่างยังบอกเลยว่าถ่ายนอก 0 ถ้าไปบอกช่างอื่น ประกันหมด เหอๆ จริงๆ ไม่ได้โม้

  12. #12
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Dec 2009
    User ID
    9987
    Status
    Offline
    โพส
    42

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    เมื่อตอนเด็กๆเคยทำงานที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องของปั้ม เชลล์,คาลเทค มีรถมาขอซื้อน้ำมันเก่าที่เปลี่ยนออกจากรถที่มาใช้บริการ ถามเขาว่าซื้อไปทำอะไรคำตอบที่ได้ "เอาไปกลั่นใหม่" ซะงั้น ตอนนั้นไม่ได้คิดอารัยเพราะเราไม่มีรถจะไปสนอารัย แต่ตอนนี้มีรถเป็นของตัวเอง"แพงด้วย"เสียวเลยครับกลัวได้น้ำมันที่เขาเอาน้ำมันเครื่องเก่าที่เปลี่ยนออกแว้วมากลั่นใหม่ เอามาขายให้ เลือกที่มาตรฐานดีๆหน่อยละกันนะครับ จากประสบการณ์ตรงๆ

  13. #13
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jan 2008
    User ID
    136
    Status
    Offline
    โพส
    842

    มาตรฐาน Re: เรื่องน้ำมันเครื่อง

    หากถ่ายน้ำมันเครื่องก็อย่าลืมเปลี่ยนไส้กรองกันด้วยน่ะครับ เปลี่ยนถ่ายได้บ่อยก็มั่นใจขึ้นได้ในระดับนึง แต่หากไม่ว่างหรือจำเป็นจริงๆที่ต้องยึดระยะเปลี่ยนถ่ายออกไปให้นานกว่าปกติ ในช่วงนั้นก็พยายามขับอย่าใช้รอบสูงมาก เพราะน้ำมันเลยช่วงระยะไปแล้วเราก็ควรใช้รถอย่างถนอมกว่าปกติอย่าใช้รอบสูงก็พอจะปลอดภัยขึ้นบ้าง

ข้อมูลกระทู้

Users Browsing this Thread

ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)

กระทู้ที่คล้ายกัน

  1. สอบถามๆ หน่อยครับ ... เรื่องน้ำมันเครื่อง อิอิ
    โพสโดย KaRn_Triton ในฟอรั่ม ห้องพักผ่อน
    ตอบกลับ: 9
    โพสล่าสุด: 18-01-2010, 10:55

Bookmarks

กฎการโพสข้อความ

  • ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสได้
  •  
  • BB code สถานะ เปิด
  • Smilies สถานะ เปิด
  • [IMG] สถานะ เปิด
  • [VIDEO] code is เปิด
  • HTML สถานะ ปิด