กติกาการแข่งขันกีฬาเครื่องบินเล็กบินผาดแผลงบังคับวิทยุกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่๒๕ กาญจนบุรีเกมส์
(สำหรับนักกีฬาและผู้ฝึกสอน)
1. ข้อบังคับทางเทคนิคสำหรับการแข่งขันเครื่องบินเล็กบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ
1.1.คำนิยามของเครื่องบินเล็กผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ
คือเครื่องบินเล็กที่ไม่ใช่เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งทำท่าบินในอากาศโดยพื้นที่ (แผ่น) บังคับสำหรับกำหนดการวางตัวของเครื่องบิน ทิศทางและความสูง โดยนักบินซึ่งอยู่บนพื้นดินผ่านทางวิทยุบังคับ
1.2. คุณลักษณะทั่วไปของเครื่องบินเล็กบินผาดแผลง
กางปีก ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 2 เมตร)
ความยาว ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 2 เมตร)
น้ำหนัก ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 5 กิโลกรัม โดยไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิง)
ข้อจำกัดด้านเครื่องยนต์ : ใช้เครื่องยนต์ใดก็ได้ที่เหมาะสม ยกเว้นเครื่องเครื่องที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง ก๊าซ หรือก๊าซเหลว เครื่องที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าจะถูกจำกัดแรงดันไฟฟ้าไม่ให้เกิน 42 โวลต์สำหรับวงจรขับเคลื่อนระดับความดังเสียง ไม่เกิน 94 dB (A) ที่ระยะวัด 3 เมตรจากศูนย์กลางของตัวเครื่องบิน โดยเครื่องบินวางอยู่บนพื้นคอนกรีตหรือพื้นหินอัดในสถานแข่งขัน โดยวัดเมื่อเครื่องทำงานเต็มที่ในแนว 90 องศาด้านขวาใต้ลมของเส้นแนวบิน ไปโครโฟนจะอยู่สูง 30 เซนติเมตรจากพื้น จะต้องไม่มีสิ่งที่สะท้อนเสียงอยู่ในระยะใกล้กว่า 3 เมตรจากเครื่องบินหรือไมโครโฟน การวัดเสียงจะทำก่อนการบินทุกๆเที่ยว ถ้าไม่มีพื้นคอนกรีตหรือพื้นหินอัดก็อาจทำการวัดเสียงบนพื้นดินเปล่าหรือบนพื้นหญ้าสั้นๆ ซึ่งในกรณีนี้ความดังของเสียงต้องไม่เกิน 92 dB (A)
ในกรณีที่เครื่องยินไม่ผ่านการวัดเสียง จะไม่มีการบอกให้นักบินและ/หรือทีมของนักบินหรือกรรมการผู้ตัดสินทราบ แต่เครื่องบินกับเครื่องส่งวิทยุจะถูกยึดเก็บรักษาไว้โดยกรรมการผู้ควบคุมสนามทันทีหลังจบเที่ยวบิน ไม่อนุญาตให้ทำการใดๆเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับเครื่องบิน (ยกเว้นการเติมน้ำมัน) และหากเครื่องบินยังไม่ผ่านการทดสอบใหม่นี้ คะแนนของเที่ยวบินที่จบลงก่อนหน้านี้จะเท่ากับศูนย์การแข่งขันจะถูกหยุดพักเมื่อมีการตรวจวัดเสียง แต่ผู้เข้าแข่งขันจะถูกหยุดพักไม่เกิน 30 วินาทีสำหรับการตรวจวัดอุปกรณ์วิทยุจะต้องเป็นประเภท open-loop (นั่นคือ ต้องไม่มี feedback ทางอีเลคโทรนิคจากเครื่องบินกลับลงมาสู่พื้นดิน) ห้ามใช้ระบบนักบินอัตโนมัติ (auto pilot) ซึ่งใช้แรงเฉื่อย หรือ แรงโน้มถ่วง หรือการใช้พื้นแผ่นดินเป็นตำแหน่งอ้างอิงทุกชนิด ห้ามใช้ระบบการเรียงลำดับการบังคับแบบอัตโนมัติ (แบบฟรีโปรแกรม) หรืออุปกรณ์ตั้งเวลาบังคับอัตโนมัติ
ตัวอย่าง : ที่อนุญาตให้ใช้
1. อุปกรณ์เปลึ่ยนแปลงอัตราการบังคับ ซึ่งปิดเปิดสวิทช์โดยนักบิน
2. ปุ่มหรือคันโยกบังคับใดๆ ซึ่งเริ่มและหยุดโดยนักบิน
3. สวิทช์ที่ปิดเปิดด้วยมือเพื่อเชื่อมโยงหน้าที่การบังคับ
ตัวอย่าง : ที่ไม่อนุญาตให้ใช้
1. ปุ่มสำหรับพลิกตัวโดยฉับพลัน/สแน็ป ซึ่งมีการบังคับช่วงเวลาทำงานอัตโนมัติ
2. อุปกรณ์ซึ่งตั้งโปรแกรมสำหรับการส่งอนุกรมคำสั่งอย่างอัตโนมัติ
3. นักบินอัตโนมัติ (auto pilot) สำหรับการแก้การเอียงของปีก
4. ระบบเปลี่ยนมุม Pitch ของใบพัดซึ่งมีการตั้งเวลาอัตโนมัติ
5. ระบบการรับคำสั่งด้วยเสียงใดๆ
6. ระบบซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดยอัตโนมัติจากการวิเคราะห์ลักษณะการบินแต่ละเที่ยว
1.3. คำนิยามและจำนวนผู้ช่วย
ผู้ช่วยอาจเป็นผู้จัดการทีม ผู้เข้าแข่ง หรือผู้สนับสนุนที่ได้ลงทะเบียนเป็นทางการอนุญาตให้นักบินแต่ละคนมีผู้ช่วยได้ 1 คนในระหว่างเที่ยวบิน อาจมีผู้ช่วยได้ถึง 2 คนในช่วงสตาร์ทเครื่อง ผู้ช่วยคนที่สองอาจช่วยวางเครื่องบินสำหรับการบินขึ้นและเก็บเครื่องบินหลังการบินลง
1.4. จำนวนเที่ยวบิน
ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิทำการบินได้ในจำนวนเที่ยวบินที่เท่ากันทั้งในระหว่างรอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศหรือรอบชิงชนะเลิศ โดยจะนับเฉพาะเที่ยวบินที่บินได้ครบถ้วน
1.5. นิยามของการพยายามบิน
เมื่อนักบินได้รับอนุญาตให้เริ่มต้นจะถือว่าเป็นการพยายามบินหนึ่งครั้ง
หมายเหตุ : ถ้าไม่สามารถติดเครื่องได้ภายในเวลาสามนาที ผู้เข้าแข่งขันผู้นั้นต้องยอมเปลี่ยนที่ให้เป็นผู้แข่งขันถัดไป ถ้าเครื่องหยุดลงหลังเริ่มการบินขึ้น แต่ก่อนที่เครื่องจะพ้นจากพื้น อาจเริ่มทำการสตาร์ทเครื่องได้ใหม่ภายในเวลาสามนาที
1.6. จำนวนการพยายามบิน
ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถทำการพยายามบินได้หนึ่งครั้งสำหรับเที่ยวบินเป็นทางการหนึ่งเที่ยว
หมายเหตุ : ผู้อำนวยการแข่งขันอาจพิจารณาให้ทำการพยายามบินซ้ำได้หากว่าไม่สามารถทำการสตาร์ทเครื่องได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเหตุที่นอกเหนือจากอาณัติของนักบิน (เช่น ในกรณีที่วิทยุถูกรบกวน) ในทำนองเดียวกันหากเที่ยวบินถูกรบกวนโดยนอกเหนือจากอาณัติของนักบิน ผู้เข้าแข่งขันก็อาจได้รับอนุญาตให้บินใหม่ และจะให้คะแนนตั้งแต่ท่าบินที่เริ่มถูกรบกวนเป็นต้นไปเท่านั้น
1.7. นิยามเที่ยวบินเป็นทางการ
ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร การพยายามบินหนึ่งครั้งจะถือเป็นหนึ่งเที่ยวบินเป็นทางการ
1.8. การให้คะแนน
ท่าบินแต่ละท่าจะได้รับคะแนนเป็นจำนวนเต็ม ซึ่งอยู่ระหว่าง 10 และ 0 จากกรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนแต่ละคน คะแนนนี้จะถูกคูณด้วยสัมประสิทธิ์(ค่า k - ผู้แปล) ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายของท่าบิน ท่าบินใดซึ่งบินได้ไม่จบจะได้คะแนน 0 ท่าบินจะต้องบินให้กรรมการเห็นชัดเจน ถ้ากรรมการมีความจำเป็นที่ไม่สามารถติดตามท่าบินได้ตลอดทั้งท่า กรรมการผู้นั้นควรลงคะแนนเป็น Not Observed (N.O.) ในกรณีนี้คะแนนของกรรมการผู้นี้สำหรับท่านี้จะเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของกรรมการคนอื่นๆ ท่าบินตรงกลางควรบินตรงกลางของพื้นที่ทำการบิน ในขณะที่ท่าเลี้ยวกลับทิศทางไม่ควรหลุดเกินเส้นที่ทำมุม 60 องศาทางด้านซ้ายและขวาของจุดกลาง ความสูงต้องไม่เกิน 60 องศา นอกจากนี้ท่าบินควรบินอยู่ในแนวเส้นแนวบินซึ่งอยู่ที่ระยะห่างประมาณ 150 เมตรด้านหน้าของนักบิน การละเมิดกฎนี้จะเป็นสาเหตุให้กรรมการแต่ละคนลดคะแนนที่ให้ลง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการละเมิด พื้นที่ทำการบินจะแสดงอย่างชัดเจนด้วยเสาสีขาว ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร ซึ่งจะถูกปักไว้ตรงกลางเสาควรติดธงหรือริบบิ้นที่สีตัดกันเพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นควรให้มีเส้นสีขาวหรือสีอื่นที่เห็นได้ชัด ยาวอย่างน้อย 50 เมตรลากออกจากตำแหน่งของนักบินออกไปในแนว 60 องศา ทั้งซ้ายและขวาเพื่อแสดงจุดกลางและเส้นแนวขอบของพื้นที่การบิน จะต้องไม่มีเสียงหรือสัญญาณใดๆที่จะแสดงให้รู้ถึงการละเมิดพื้นที่ทำการบิน
กรรมการจะนั่งอยู่ในระยะไม่เกิน 10 เมตรและไม่น้อยกว่า 7 เมตร ด้านหลังของตำแหน่งนักบิน (จุดตัดของเส้น 60 องศา) และอยู่ภายในบริเวณที่อยู่ภายในเส้นมุม 60 องศาที่ต่อออกไปด้านหลังของนักบิน
เมื่อเที่ยวบินแต่ละเที่ยวสิ้นสุดลง กรรมการแต่ละคนจะพิจารณาว่าระดับเสียงของเครื่องบินดังเกินไปหรือไม่ หากกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเสียงดังเกินไป คะแนนของกรรมการแต่ละคนสำหรับเที่ยวบินนั้นจะถูกตัดลง 10 คะแนน
ถ้ากรรมการเห็นว่าการทำการบินเป็นไปในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย กรรมการอาจสั่งให้นักบินนำเครื่องบินลงสู่พื้น คะแนนซึ่งกรรมการแต่ละคนตัดสินให้จะถูกแสดงให้เห็นโดยทั่วกันภายหลังจากที่รอบบินแต่ละรอบสิ้นสุดลง
1.9. การจัดลำดับผู้ชนะ
ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะทำการบินคนละสามเที่ยวบิน โดยจะนับเอาเที่ยวที่ได้คะแนนดีที่สุดสองเที่ยวเพื่อจัดลำดับชนะเลิศ
1.10. การเตรียมการตัดสินให้คะแนน
ก่อนการแข่งขันจะต้องมีการประชุมชี้แจขงให้กับกรรมการ ตามด้วยเที่ยวบินฝึกฝนสำหรับกรรมการ โดยผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันนอกจากนั้นจะต้องมีการบินเที่ยวบิน อุ่นเครื่องสำหรับกรรมการ โดยผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันก่อนที่จะเริ่มเที่ยวบินแข่งขันเที่ยวแรก
Bookmarks