ขอนำเสนอการรันอินอย่างถูกวิธี ซึ่งได้แยกออกเป็นข้อๆ ดังนี้
การรันอินระบบเครื่องยนต์
1. ในการสตาร์ทครั้งแรกหลังจากจอดรถมาเกินกว่า 6 ชั่วโมง อย่าเหยียบคันเร่งหลังเครื่องยนต์ติด ไฟสัญญาณเตือนต่างๆ ดับหมด ควรรอต่อสัก 10-15 วินาที ก่อนออกรถเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ทำงาน และไม่เปิดแอร์โดยทันที ควรเคลื่อนรถให้วิ่งก่อนสัก 2-3 นาที จึงเปิดแอร์
2. ไม่ควรเร่งเครื่องอยู่กับที่ และไม่ควรขับโดยใช้รอบเดินเครื่องสูงกว่า 4000 รอบต่อวินาที 3. อย่าออกรถอย่ารุนแรง
4. ในการเดินทางไกล ไม่ควรใช้ความเร็วรอบคงที่ติดต่อกันเกิน 5 นาที ควรเปลี่ยนใช้ความเร็วรอบเครื่องที่ต่างๆ กันแต่อย่าให้เกิน 4000 รอบ
5. หลังจากการเดินทางไกล ก่อนดับเครื่องควรปล่อยให้เครื่องเดินเบาก่อนสัก 10-15 วินาที จึงดับเครื่อง และอย่าเร่งเครื่องก่อนดับ ดังที่คนส่วนใหญ่ทำกัน เพราะจะทำให้น้ำมันเบนซินไปค้าที่หัวลูกกระบอกสูบชะล้างเอาน้ำมันหล่อลื่นที่แหวนลูกสุบออก จะทำให้เกิดความเสียหายได้
6. อย่าเติมหัวเชื้อหรือน้ำมันอื่นๆ ลงในเครื่องยนต์เพราะเครื่องยนต์ช่วงนี้ยังต้องการให้ชิ้นส่วนต่างๆได้เสียดสีกัน เช่น แหวนกับกระบอกสูบ เพื่อการเข้าที่ของชิ้นส่วน การเติมหัวเชื้อ หรือน้ำมันที่ผิดจากโรงงาน จะทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้
7. หมั่นเช็คระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำทุกๆ สัปดาห์
การรันอินระบบครัตช์
1. ให้ยกเท้าจากคันครัตช์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
2. เวลาที่ต้องการจอดรถ ไม่ควรเหยียบครัตช์แช่ไว้ควรเข้าเกียร์ว่าง และยกเท้าออกจากครัตช์
3. อย่าใช้ครัตช์แทนเบรคในการชะลอรถ ยกเว้น ยกเว้นกรณีที่ขับรถลงเนินหรือเขา
4. อย่าลากรถที่หนักกว่ารถท่าน หรือใหญ่กว่า
การรันอินระบบเฟืองท้าย และเกียร์
1. อย่าเพิ่มหัวเชื้อน้ำมันใดๆ ลงในห้องเกียร์จนกว่าจะพ้นระยะรันอิน
2. ในการเปลี่ยนจากเกียร์เดินหน้าเป็นเกียร์ถอยหลัง หรือในทางกลับกัน ต้องให้รถหยุดสนิทเสียก่อน
3. ในการเข้าเกียร์ถอยหลัง หลังจากเหยียบครัตช์จนสุดแล้ว ให้รอถึง 2-3 วินาทีเพื่อให้ราวเกียร์หยุดสนิทจึงค่อยเข้าเกียร์ถอยหลัง
4. ในการขับทางไกลควรพักรถประมาณ 5 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการลดความร้อนห้องเกียร์และเฟืองท้าย
5. สำหรับเกียร์อัตโนมัติ มีข้อแนะนำเพิ่มเติมดังนี้
- ในขณะที่เข้าเกียร์จากเกียร์ว่างเป็นเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง ควรเหยียบเบรคให้รถหยุดสนิท และเร่งเครื่องช้าๆ หลังจากเข้าเกียร์แล้ว
- อย่าเข้าเกียร์ว่างขณะรถเคลื่อนที่ เพราะอาจจะทำให้ระบบเกียร์เสียหายเนื่องจากไม่มีน้ำมันความดันสูง
การรันอินระบบเบรค
1. อย่าใช้เบรคอย่างรุนแรงถ้าไม่จำเป็น
2. อย่าเบรคโดยการปั๊มเบรค
3. ควรพักเบรคเป็นระยะๆ ถ้าใช้งานติดต่อกัน เช่นการลงเขา ควรยกเท้าออกสัก 1 วินาที หลังจากทุก 10 วินาที
ถ้าพบว่ามีเบรคมีประสิทธิภาพต่ำลงมาก ควรจอดรถทันทีห้ามดึงมือเบรค เพราะในขณะนี้จานเบรคจะร้อนและขยายตัว ถ้าดึงมือเบรคค้างไว้เมื่อจานเบรคเย็นจะหดตัวและรัดผ้าเบรคจนปลดเบรคมือไม่ได้ ในการลงเขานั้น ควรใช้การเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ต่ำช่วย
4. ในการใช้งานในการใช้งาน ควรใช้เบรคมืออย่างสม่ำเสมอ เพราะการใช้เบรคมือเป็นการปรับระยะของผ้าเบรค
5. ตรวจดูเบรคมือให้ปลดลงสุดก่อนการออกรถ ในการปลดเบรคหรือดึงเบรคมือควรกดปุ่มที่ปลายเพื่อป้องกันเฟืองสึกหรอ
6. ควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรคทุกๆ สัปดาห์
การรันอินระบบพวงมาลัย และกันสะเทือน
1. อย่าหมุนพวงมาลัยขณะรถอยู่กับที่โดยไม่จำเป็น
2. อย่าขับรถข้ามทางรถไฟ หรือทางที่เป็นหลุม บ่อ เกินความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. อย่าบรรทุกของเกินพิกัดที่กำหนดไว้ในสมุดคู่มือ
4. หมั่นตรวจลมยางทุกๆ 2 สัปดาห์ และก่อนเดินทางไกล
5. จงหลีกเลี่ยงการขับทับเศษแก้ว และโลหะ
6. อย่าออกรถ หรือเบรคอย่างรุนแรงจนยางเสียหาย
การรันอินระบบไฟฟ้า
1. ตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นของแบตตารี่ทุกๆ สัปดาห์ ระวังอย่าเติมน้ำกลั่นจรเกินกำหนด
2. อย่าสตาร์ทเครื่องซ้ำขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน
3. ทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เช่น ไล่ฟ้ากระจกหลัง กระจกไฟฟ้า หรืออื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ
4. หมั่นสังเกตไฟเตือน และเกจ์วัดต่างๆ ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่
การรันอินตัวถังและภายใน
1. อย่าจอดรถใต้ต้นไม่ เพราะนอกจากนกจะถ่ายรดแล้ว ยางของไม้ยังเป็นตัวการทำลายสีรถ
2. อย่าให้ไฟกลางเก๋งทำงานเกิน 5 นาที เพราะความร้อนจะทำความเสียหายได้ ถ้าต้องเปิดประตูทิ้งไว้ควรปิด
สวิทซ์ไฟเก๋ง
3. ในการปิดประตู อย่ากระแทกประตูแรงๆ ควรใช้การดึง หรือดันเข้า
4. ไม่ควรจอดรถทิ้งไว้หลังจากล้างเสร็จใหม่ๆ แต่ควรออกวิ่งเพื่อให้น้าที่ขังตามซอกมุมต่างๆแห้งสนิท
* อื่นๆ ทั่วไป
1. ควรศึกษาการใช้งานรถและอุปกรณ์ต่างๆ จากคู่มือประจำรถ
2. ในกรณีที่ต้องติดอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของศูนย์เสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหาย
3. ควรมีสมุดบันทึกเล็กๆ เก็บไว้ในรถเพื่อใช้บันทึกความผิดปกติที่ท่านสังเกตเห็น เพื่อแจ้งช่างอย่างครบถ้วน
4. จงปิดวิทยุแล้ววิ่งรถ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อฟังเสียงผิดปรกติของเครื่องยนต์
5. เมื่อถึงกำหนดเช็คระยะ อย่าลืมนำรถเข้ารับบริการ
แม้เทคโนโลยีด้านโลหะวิทยาจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องยนต์ในยุคปัจจุบันมีความทนทานมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรละเลยการรัน-อิน อย่างถูกวิธี เพราะมีผลต่ออายุการใช้งานของรถในระยะยาว
รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องมี ระยะ รัน-อิน หมายถึง การใช้งานในระยะแรกอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนมีการปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม การใช้งานแบบเต็มกำลังตั้งแต่แรก ทำให้มีการสึกหรอสูงและรวดเร็วมาก เพราะชิ้นส่วนต่างๆยังไม่เข้าที่ เพียงแต่ในปัจจุบันนี้ได้ลดระยะทางในการรัน-อินจากแต่ก่อนมากแล้ว
++อดใจสักนิด อย่าเพิ่งลากรอบ++
ระยะทาง 0-1,000 กิโลเมตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 2,500 3,000 รอบ/นาที หรือเปลี่ยนความเร็วรอบขึ้น-ลงแบบกระทันหันโดยไม่จำเป็น การเปลี่ยนจากเกียร์ต่ำขึ้นสู่เกียร์สูง ควรทำอย่างนิ่มนวลที่ระดับ 2,500 รอบ/นาที แล้วถอนคลัตช์ช้าๆ ส่วนการเปลี่ยนจากเกียร์สูงลงสู่เกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์สัมพันธ์กับความเร็ว ไม่ควรเปลี่ยนลงเกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์และเครื่องยนต์ช่วยเบรก ถ้าต้องการเบรกให้เหยียบเบรกตามปกติ ในช่วง 0 5,000 กิโลเมตร ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 4,000 รอบ/นาที
เมื่อถึงระยะ 1,000 กิโลเมตร ให้ถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองทิ้งท้าย เพื่อเอาเศษสกปรกที่หลุดจากชิ้นส่วนต่างๆและปะปนอยู่ในน้ำมันออก(แม้บางศูนย์บริการจะไม่ระบุไว้ก็ตาม)
++รถยนต์ป้ายแดงกับการเดินทางไกล++
การเดินทางไกลกับรถยนต์ใหม่ สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังไม่พ้นระยะรัน-อิน การเดินทางไกลกับการใช้รอบเครื่องยนต์ในรถยนต์ใหม่ อาจมีความเข้าใจผิดในหลายกรณี โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว ผู้ใช้ส่วนหนึ่งคิดว่า ในเมื่อเดินทางไกลมักใช้ความเร็วสูง แล้วจะควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้อย่างไร เพราะถ้าขับเร็วก็น่าจะต้องใช้รอบสูงด้วย แต่ความจริงไมได้เป็นเช่นนั้น การขับด้วยรอบเครื่องยนต์ระดับปานกลาง ก็สามารถไต่ขึ้นสู่ความเร็วตามกฎหมายกำหนดได้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในความเร็วระดับ 90 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเกียร์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติมักใช้รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500 3,000 รอบ / นาที เท่านั้น ซึ่งไม่สูงเกินไป การเดินทางไกลมีข้อดี คือ สามารถขับได้อย่างนุ่มนวล และควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ไม่ควรขับแช่ที่ความเร็วเดียวกันต่อเนื่องนานๆ ควรเปลี่ยนแปลงความเร็วบ้าง โดยอาจสลับด้วยกาสรผ่อนความเร็วลงเล็กน้อย
Copied By : www.manuallock.com
Special Thanks: http://www.newdmax-club.com/index.php/topic,26.0.html
Bookmarks