ขอเริ่มความจากกระทู้นี้ละกันครับ จะได้ไม่ต้องพิมพ์เยอะ
http://www.thaitritonclub.com/forum/showthread.php?t=39425
รางหัวฉีด ช่างศูนย์ก็บอกว่าต้องวางขนานโลก
แต่ร้านแก๊สตั้งมาให้ผมแบบนี้
ม้อต้มเจ้าปัญหา
ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน
จอดรถที่ศูนย์มิสซู
คอมเม้นที่ช่างศูนย์ซุสเขียนให้เมื่อตอนไปเช็คพันโล
วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 55 ผมไปจูนแก๊สตามนัด
ช่างที่ศูนย์ซุสจูนได้สักพักก็มาบอกผมว่า ค่าความร้อนเกิน เนื่องจากใช้หม้อต้มผิดขนาด
(AT09 ALASKA) ซึ่งเป็นหม้อต้มสำหรับรถยนต์ขนาด 1500-2000CC
ขนาดที่เหมาะสมควรจะเป็น (VRL Standard) 2000-3000CC
ช่างบอกว่าถ้าจะจูนก็จูนได้แต่ในระยะยาวจะเป็นผลเสียต่อเครื่องยนต์ เพราะม้อต้มมันโหลด
ก็เลยแนะนำให้ผมติดต่อไปที่ศูนย์มิสซู เพื่อให้ประสานไปร้านที่รับติดแก๊ส
หลังจากผมประสานไป ผมต้องขับรถจากศูนย์ซุสมอเตอร์เวย์ ไปศูนย์มิสซูที่ปทุมฯ
เจ้าหน้าที่มิสซูก็โทรตามช่างร้านแก๊สให้ หลังจากนั่งรอกว่าสอง ชม. ก็มีช่างขับรถมาส่งให้ศูนย์
คงเป็นรถที่รับไปติดแก๊สให้
จากนั้นช่างก็ขอนั่งรถผมกลับพร้อมกับพาไปที่ร้านแก๊ส
เมื่อถึงร้านแก๊ส (แห่งหนึ่งย่านศาลากลางปทุม)
ภาพระหว่างนั่งรอหน้าร้าน
ผมก็เอาเอกสารข้อมูลอุปกรณ์ที่ทางศูนย์ซุสพริ้นให้ ส่งให้ร้านแก๊ส ดู
พร้อมกับบอกเขาว่า คุณติดหม้อต้มให้ผมผิดมาตรฐาน และก็ไม่ได้จูนแก๊สสร้างแมพให้ผมด้วย
เขาบอกว่าหม้อต้มขนาดที่ทางศูนย์แนะนำมาทางร้านไม่มี
เขาให้เหตผลว่า
“รถปีโป้เครื่องสองพันเจ็ด ร้านผมก็ติดตัวนี้ทั้งนั้น ไม่มีปัญหาอะไร รถคุณแค่สองพันสี่ซีซี
ตัวที่คุณจะเอาทางร้านไม่มีหรอก”
เขาบอกมีแต่ตัวหลังทองอะไรซักอย่างนี่แหละ
แต่ตัวหลังทองมันสำหรับรถ 3000CC ขึ้นไปผมเลยบอกไม่เอา
เขาเลยไปเอาตัว Bigas RI21 ขนาด 1800-2500CC มาเปลี่ยนใส่ให้
เขียนแล้วจะเปลี่ยนแต่ไม่ได้เปลี่ยน
โอเคทางศูนย์ซุสก็แนะนำว่านอกจากตัว VRL Standard แล้ว ตัวรองลงมาที่ใส่ได้ คือตัว Bigas RI21 ผมก็เลยยอมให้เปลี่ยน
เปลี่ยนสดๆ ไม่ต้องมีผ้ารองกันถลอกอะไรเล้ยยย
ขณะที่กำลังจะเปลี่ยนเสร็จ เจ้าของร้านหัวเลี่ยมๆ ก็เดินมา บอกว่าใส่ทำไมตัวนี้ ต้องใส่ตัวหลังทอง
ผมก็เลยชี้แจงว่า หลังทองช่างศูนย์ซุสบอกว่ามันใหญ่ไป ผมอยากได้ตัวมาตรฐาน VRL Standard ด้วยซ้ำนะ แต่คุณไม่มี
ถ้าอย่างนั้น ผมไม่เอาหล่ะ ให้ช่างประกอบอันเดิมใส่ให้ผม ผมจะทำเรื่องเครมกับศูนย์ซุสละกัน
จากนั้นผมก็ให้ช่างประกอบตัว AT09 Alaska กลับ
แล้วก็รีบขับรถกลับไปที่ศูนย์ซุสมอเตอร์เวย์ ตอนนั้นก็จะสี่โมงเย็นแล้ว
ไม่รู้ว่าจะทันหรือเปล่า กว่าจะถึงศูนย์ก็หมดเวลา ช่างต้องนัดให้ไปทำใหม่อีกพรุ่งนี้
เช้าวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 55 ผมก็รีบตื่นแต่เช้าเพื่อจะไปทำให้เป็นคิวแรก เพราะวันนั้นผมเองก็ต้องทำงาน (แต่ขอเข้าเที่ยง)
ช่างศูนย์เล่าให้ฟังว่า ได้โทรไปที่ซุส สนง.ใหญ่แล้ว เรื่องนี้ ทาง สนง.บอกว่าเคสนี้เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้เสียมาตรฐานซุสได้
จากนั้นช่างก็เอาเอกสารทำเครมมาให้ผมเซ็นจากนั้นก็บอกให้ผมไปนั่งรถในห้องรับรองลูกค้า
ระหว่างที่นั่งรอกว่าสองชั่วโมงภายในห้องรับรอง ซึ่งจัดได้อย่างสะอาด เรียบร้อย
มีทีวีดาวเทียม เก้าอี้ โซฟา มาม่าก็มีให้กินฟรี โอวัลติน กาแฟ น้ำเย็น น้ำร้อน
อีกทั้งมีพนักงานมาเสริฟน้ำหวานเย็นๆ อีก ฯลฯ
(คิดว่าดีกว่าศูนย์รถอีก ทั้งที่ซื้อรถคันละเกือบล้านยังไม่บริการดีขนาดนี้เลย)
พอเปลี่ยนอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อย ช่างก็แนะนำวิธีดูแล อีกทั้งอื่นๆ ฯลฯ
ความรู้สึกตอนขับ หลังจากเปลี่ยนอุปกรณ์ ยอมรับว่ารถมีกำลังเยอะขึ้น นิ่มขึ้น
การตัดเปลี่ยนระบบน้ำมันไปแก๊สทำให้นิ่มกว่าเดิม เหยียบเป็นมา
ดีกว่าเดิมเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกก
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ต่อให้อุปกรณ์ดีระดับโลก ถ้าเจอคนชุ่ยๆ อุปกรณ์นั้นก็ห่วยไปได้เลย
มันใช่เรื่องหรือเปล่าที่ผมต้องเสียเวลา เสียค่าเติมแก๊สเกินความเป็นจริงแบบเปล่าประโยชน์ ด้วยการขับรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ไม่ตามมาตรฐาน อีกทั้งยังไม่ได้ปรับจูนให้อุปกรณ์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ มาตั้งนาน......
ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์แก่พี่ๆ น้าๆ ที่ใช้รถแบบผมครับ
Bookmarks