สรุปผลการค้นหา 1 ถึง 11 จากทั้งหมด 11

กระทู้: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

  1. #1
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Mar 2012
    User ID
    31940
    Status
    Offline
    โพส
    66

    มาตรฐาน เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    เอามาฝากอีกแล้ว

    เขาว่ากันว่า...

    • เสียงเล่าลือบนโปรยข้างต้นเหล่านี้...จริงครับ!
    แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี
    แต่คนที่ ‘เล่าลือ’ และ ‘รับทราบ’ มักไม่คิดคำนวณต่อเนื่อง
    อย่างละเอียดว่า รถแท็กซี่ใช้งานวันละกี่กิโลเมตร? มากกว่ารถบ้าน
    รถส่วนตัวกี่เท่า?
    ผมตอบให้อย่างชัดเจน โดยคุณไม่ต้องไปค้นหา เพราะบังเอิญ
    ว่าผมเคยถูกให้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานในโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ที่มี
    ระบบซ่อมฟรีรวมในเงินผ่อน ดังนั้นระยะทางที่ถูกใช้ต่อวันโดยเฉลี่ย
    จะต้องถูกค้นหาและสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งตัวเลขออกมาที่ประมาณ
    600 กิโลเมตรต่อวัน (อยู่ในช่วง 550-650 กิโลเมตรต่อวัน)
    ถ้าใครไม่เชื่อ เสียเงิน 70 บาทขึ้นแท๊กซี่สักคันสองคันแล้วถาม
    ว่า...กะหนึ่ง (12 ชั่วโมง รถคันหนึ่งต่อวันถูกใช้งาน 2 กะ) ขับได้กี่
    กิโลเมตร ส่วนใหญ่ที่เป็นรถเช่า จะขับกันในระยะทาง 300 กิโลเมตร
    270-330 กิโลเมตร นั่นคือ 2 กะรวมแล้ว 600 กิโลเมตรต่อวัน
    หลายคนขี้เกียจคิดเลขในใจ คิดง่ายๆ ว่า 1 ปีรถถูกใช้ 300
    วัน จะได้คิดสะดวก (เผื่อวันที่ต้องจอดซ่อมบ้าง แต่จริงๆ แล้วมักจะ
    ขาดหายจาก 365 วันไม่มากนัก)
    300 วัน...วันละ 600 กิโลเมตร รวม 1 ปีรถถูกใช้งานไป
    180,000 กิโลเมตร
    ถ้าเครื่องหมดสภาพที่ 3 ปี คือ 180,000 กิโลเมตร x 3 ปี
    เท่ากับ 540,000 กิโลเมตร หรือคิดแบบแย่ๆ แค่ 2.5 ปีเครื่องพัง ก็
    เท่ากับ 450,000 กิโลเมตร
    ใช้แก๊สแล้วเครื่องโทรมหรือพังเร็ว เมื่อพังแล้วก็ซ่อมไม่ได้ ต้องยกทิ้งแล้วเปลี่ยนเครื่อง (เชียงกง)
    ดูอย่างแท๊กซี่สิ 3 ปี...เครื่องพัง !ไม่เห็นมีเกิน 5 ปีสักคัน ก็ต้องเปลี่ยนเครื่อง!
    เรื่องราวเหล่านี้ จริงหรือไม่?...ตอบก่อนเลยว่า...‘จริง!’
    รถแท็กซี่ใช้แก๊ส 3-5 ปีเครื่องต้องพัง! อ้าว...อย่างนี้จะสนับสนุนการใช้แก๊สในรถกันทำไม?
    ทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวี แล้วทำไมหลายประเทศทั่วโลกนิยมใช้แก๊สเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ?
    ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร สำหรับรถบ้าน กี่ปี? ส่วนใหญ่ใช้
    งานปี 30,000-40,000 กิโลเมตร 10 ปีเครื่องหลวม...โอเคไหม?
    รถบ้านทั่วไปที่ใช้น้ำมัน ก็เห็น 300,000-400,000 กิโลเมตรก็
    เครื่องหลวม
    ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร ที่เครื่องของรถแท็กซี่พัง นั้นมา
    จากการใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพกลางๆ หรือต่ำ (ที่เรียกว่าน้ำมันถัง
    200 ลิตร เกรดแค่ เอพีไอ เอสจี หรือ เอสเอช) ไส้กรองอากาศเทียม
    และการขับอย่างไม่ค่อยทนุถนอม
    ลองคิดดูว่า...ถ้าเป็นรถบ้านที่ดูแลดีกว่าทุกด้าน น้ำมันเครื่อง
    ดีๆ ไส้กรองอากาศดีๆ ระยะทางที่ทำได้ก่อนเครื่องจะหมดสภาพ น่า
    จะเกินหรือสั้นกว่า 450,000 กิโลเมตร?
    ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นบทพิสูจน์จากการใช้งานจริงว่า รถที่ใช้
    แก๊สจะใช้งานได้ระยะทางไม่ได้สั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่ไม่
    ได้ลงลึกถึงถึงหลักทางวิศวกรรมว่า แท้จริงแล้วเมื่อใช้แก๊สเป็นเชื้อ
    เพลิงแทนน้ำมันเบนซินแล้ว อายุการใช้งานของเครื่องจะสั้นลงจริง
    หรือไม่ และถึงแม้ว่าจะสั้นลง...ต้องถามต่ออีกว่า นั่นเพราะอะไร ?
    ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
    • อีกประเด็นหลักๆ ที่ร่ำลือกันว่าแก๊สทำร้ายเครื่อง ก็คือ ‘บ่า
    วาล์ว’ หรือว่า ‘ร้อนจนกรอบไปหมด’
    การทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริง ผู้ที่ไม่ใช่ช่างยนต์ ต้องมี
    จินตนาการตามไปด้วย ถ้ามโนภาพได้ จะเข้าใจได้แน่ๆ
    เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ที่เราๆ ใช้กันอยู่นั้น มีชื่อเรียกจริงๆ ว่า
    ‘GASOLINE’ ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกของ ‘น้ำมันเบนซิน’
    ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์หรือหัวฉีด (ไม่นับหัวฉีด
    ตรงเข้าห้องเผาไหม้ จีดีไอ) การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ ‘ต้อง
    ทำจบก่อนวาล์วไอดีปิด’
    ในจังหวะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นในจังหวะอัด เตรียมเจอกับประกาย
    ไฟของหัวเทียนในจังหวะระเบิด รูปทรงของหัวลูกสูบและห้องเผา
    ไหม้ของฝาสูบ รวมทั้งการเคลื่อนตัวของลูกสูบให้เกิดแรงดันสูง ย่อม
    เกิดความปั่นป่วนของอากาศและเชื้อเพลิงที่ ‘ผสม’ กันอยู่ ให้เกิด
    การคลุกเคล้าเป็น ‘ไอดี’
    นั่นคือเป็นไอของอากาศที่ผสมเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ
    ไม่ใช่เป็นอากาศที่มีเม็ดเชื้อเพลิงผสมอยู่เป็นหยดๆ
    ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไรก็ตาม ในจังหวะอัด ผู้ผลิตเครื่องล้วน
    พยายามทำให้เป็น...ไอดี มีสถานะเป็นไอ ที่พร้อมจุดไฟติดจนลุก
    ไหม้ได้รวดเร็ว
    เครื่องยนต์ ‘รังเกียจ’ ไอดีที่ผสมระหว่างอากาศกับเชื้อ
    เพลิงที่มีสภาพเป็นหยดของเหลวผสมอยู่
    ดั้งนั้นแม้การจ่ายเข้าไปจะเป็นของเหลว อย่างน้ำมันเบนซิน
    แต่ในจังหวะอัดที่เตรียมจุดระเบิด ก็จะกลายเป็น...ไอ!
    ไม่ว่าเชื้อเพลิงใด เดิมจะเป็นของเหลวจับต้องได้อย่างเบนซิน
    หรือเป็นไออย่างแก๊ส เมื่อเข้าไปในกระบอกสูบ และในจังหวะอัดก็
    ต้องถูกคลุกเคล้าให้เป็น...ไอดี ที่พร้อมจุดระเบิด
    ดังนั้นเครื่องยนต์และหัวเทียนจึง ‘ไม่รู้สึกถึงความแตก
    ต่างของสถานะเชื้อเพลิงในช่วงจ่ายเข้ามา’ เพราะยังไงก็ต้อง
    คลุกเคล้าจนเป็นไอ
    วาล์วไอดีที่เชื้อเพลิงต้องถูกฉีดหรือไหลผ่าน มีความร้อนต่ำ
    เพราะมีอากาศและเชื้อเพลิงไหลผ่านบ่อยๆ ทุกครั้งที่เป็นจังหวะดูด
    ของเครื่อง ดังจะเห็นได้ว่า...ราคาของวาล์วไอดีที่มีขนาดใหญ่กว่า
    จะถูกกว่าวาล์วไอเสียที่ขนาดเล็กกว่าอยู่เสมอ
    นั่นเพราะไม่ต้องทำให้ทนทานเท่า การที่เชื้อเพลิงจะเป็นไอหรือ
    ละอองของเหลว ไหลผ่านวาล์วและบ่าวาล์วไอดี จึงไม่ได้มีความ
    แตกต่างด้านการสึกหรอของบ่าวาล์วเลย
    ประเด็นที่เข้าใจผิดว่า ‘ใช้แก๊สแล้วแห้ง ส่งผลให้บ่าวาล์วแห้ง
    และสึกหรอเร็วขึ้น’ จึงไม่ใช่ บ่าวาล์วไอดี ที่ภาระน้อย ไม่ต้องการ
    เบาะกันกระแทกระหว่างวาล์วกับบ่า
    บ่าวาล์วไอเสีย เป็นชิ้นส่วนที่ถูกเพ่งเล็งว่า เมื่อใช้แก๊ส
    แล้วบ่าวาล์วจะสึกเร็ว
    ลองคิดดูว่า เมื่อเผาไหม้แล้ว ไม่ว่าเชื้อเพลิงอะไรก็ต้องมีความ
    ร้อนสูงและกลายเป็นไอเสียไหลผ่านบ่าและวาล์วไอเสีย ซึ่งนั่นเป็น
    ที่มาของภาระที่หนักกว่าวาล์วและบ่าวาล์วไอดี หนีไม่พ้นที่จะมี
    ความแห้งในตัวเอง ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงของเหลวหรือแก๊ส
    ถ้าจะมีอะไรที่เปียกหรือสามารถทำตัวเป็นเบาะ นั่นคือ ‘สาร
    ตะกั่ว’ ซึ่งในไทยกับน้ำมันเบนซินไม่มีสารตะกั่วมากว่า 15 ปีแล้ว
    ส่วนพวกที่เข้าใจผิดใส่น้ำมันออโต้ลูปสำหรับเครื่องยนต์ 2
    จังหวะมาใส่ในเครื่องที่ใช้แก๊ส ก็เป็น ‘ความเข้าใจผิด และมีผล
    เสียล้วนๆ’ เพราะห้องเผาไหม้ หัวลูกสูบ และหัวเทียนจะเลอะ
    เปียกไปหมด ในขณะที่ตัวน้ำมันออโตลูป ก็ไม่ได้ทำตัวเป็นเบาะรอง
    บ่าวาล์วได้ดีนัก จึงไม่จำเป็นต้องใส่
    ดังนั้นการที่บอกว่า ‘ใช้แก๊สแล้ว บ่าวาล์วสึก เพราะความ
    แห้ง จึงไม่เป็นจริง’
    และที่เข้าใจผิดกันว่า ‘ใช้แก๊สแล้วเครื่องยนต์ร้อน เพราะ
    แก๊สร้อนกว่า...ก็ไม่จริง’ เพราะถ้าแก๊สให้ความร้อนกว่าจริง การ
    ใช้แก๊สก็ต้องให้พลังงานแรงขึ้น มีแรงม้า-แรงบิด มากว่าตอนใช้
    น้ำมันเบนซิน เพราะความร้อนก็คือพลังงานที่จะดันลูกสูบหลังการ
    เผาไหม้ ถ้าไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น ก็แสดงว่าแก๊สไม่ได้ร้อน
    กว่าน้ำมันเบนซิน
    ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ ‘เป็นจริง’
    • การใช้แก๊สก็มีโอกาสที่เครื่องยนต์จะร้อนกว่าได้ใน 2 กรณี คือ
    มีการปรับจูนให้จ่ายแก๊สบาง โดยเน้นความประหยัด จนค่าไอเสีย
    วัดได้สูงกว่าแลมบ์ดา 1.0 ตามที่ควรจะเป็น และอีกกรณีคือ ค่าออก
    เทนของแก๊สที่มีมากกว่าเบนซิน (แอลพีจี ออกเทน 105-110 และเอ็น
    จีวี 120)
    เมื่อนำมาใช้ โดยไม่มีการปรับไฟจุดระเบิดให้ ‘แก่’ กว่าเดิม
    (จุดล่วงหน้า) ก็จะเป็นการทำงานด้วยไฟจุดระเบิด ‘อ่อน’ (ล่าช้า)
    ทำให้การลามของไฟไม่ได้ถีบลูกสูบเต็มที่ แต่ลามไปสู่ช่วงวาล์วไอ
    เสียเปิดในจังหวะคายด้วย ความร้อนที่ไม่ถูกใช้ถีบลูกสูบเต็มที่
    ถ่ายทอดผ่านวาล์วไอเสีย ต่อไปยังบ่าวาล์วและฝาสูบอย่างต่อเนื่อง
    ในกรณีจูนให้จ่ายแก๊สบางกว่าปกติ มีผลทำให้เครื่องร้อนและ
    แรงตก มากกว่าในกรณีที่แก๊สมีออกเทนสูงกว่าเบนซิน แล้วต้องการ
    ไฟแก่ เพราะอย่างแอลพีจีก็มีออกเทนสูงกว่าเบนซิน 95 อยู่
    ประมาณ 10 เท่านั้น ไฟจุดระเบิดเดิมๆ ก็รองรับได้
    โดยรวมคือ แท็กซี่อายุ 3-5 ปีล้วนเครื่องพัง...จริง แต่
    พวกเขาขับกันวันละ 600 กิโลเมตร...ปีละ 180,000 กิโลเมตร
    รวมแล้วล้วนเกิน 400,000 กิโลเมตรถึงจะพัง ทั้งยังใช้น้ำมัน
    เครื่องและไส้กรองด้อยคุณภาพ ยังทนได้ขนาดนี้ แล้วรถบ้าน
    ใช้งานวันละไม่ถึง 100 กิโลเมตร ปีละ 30,000 กิโลเมตร ถ้า
    เครื่องจะพังที่ 300,000 กิโลเมตร กี่ปีจึงจะพัง? ใช้ไป 7-12 ปี
    ระยะทางและนานขนาดนั้น ไม่ต้องใช้แก๊ส...ก็พังครับ

  2. #2
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Apr 2011
    User ID
    17016
    Status
    Offline
    โพส
    4,974

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    อ้างอิง โพสต้นฉบับโดยคุณ werawat_ton3259 ดูโพส
    เอามาฝากอีกแล้ว

    เขาว่ากันว่า...

    • เสียงเล่าลือบนโปรยข้างต้นเหล่านี้...จริงครับ!
    แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี
    แต่คนที่ ‘เล่าลือ’ และ ‘รับทราบ’ มักไม่คิดคำนวณต่อเนื่อง
    อย่างละเอียดว่า รถแท็กซี่ใช้งานวันละกี่กิโลเมตร? มากกว่ารถบ้าน
    รถส่วนตัวกี่เท่า?
    ผมตอบให้อย่างชัดเจน โดยคุณไม่ต้องไปค้นหา เพราะบังเอิญ
    ว่าผมเคยถูกให้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานในโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ที่มี
    ระบบซ่อมฟรีรวมในเงินผ่อน ดังนั้นระยะทางที่ถูกใช้ต่อวันโดยเฉลี่ย
    จะต้องถูกค้นหาและสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งตัวเลขออกมาที่ประมาณ
    600 กิโลเมตรต่อวัน (อยู่ในช่วง 550-650 กิโลเมตรต่อวัน)
    ถ้าใครไม่เชื่อ เสียเงิน 70 บาทขึ้นแท๊กซี่สักคันสองคันแล้วถาม
    ว่า...กะหนึ่ง (12 ชั่วโมง รถคันหนึ่งต่อวันถูกใช้งาน 2 กะ) ขับได้กี่
    กิโลเมตร ส่วนใหญ่ที่เป็นรถเช่า จะขับกันในระยะทาง 300 กิโลเมตร
    270-330 กิโลเมตร นั่นคือ 2 กะรวมแล้ว 600 กิโลเมตรต่อวัน
    หลายคนขี้เกียจคิดเลขในใจ คิดง่ายๆ ว่า 1 ปีรถถูกใช้ 300
    วัน จะได้คิดสะดวก (เผื่อวันที่ต้องจอดซ่อมบ้าง แต่จริงๆ แล้วมักจะ
    ขาดหายจาก 365 วันไม่มากนัก)
    300 วัน...วันละ 600 กิโลเมตร รวม 1 ปีรถถูกใช้งานไป
    180,000 กิโลเมตร
    ถ้าเครื่องหมดสภาพที่ 3 ปี คือ 180,000 กิโลเมตร x 3 ปี
    เท่ากับ 540,000 กิโลเมตร หรือคิดแบบแย่ๆ แค่ 2.5 ปีเครื่องพัง ก็
    เท่ากับ 450,000 กิโลเมตร
    ใช้แก๊สแล้วเครื่องโทรมหรือพังเร็ว เมื่อพังแล้วก็ซ่อมไม่ได้ ต้องยกทิ้งแล้วเปลี่ยนเครื่อง (เชียงกง)
    ดูอย่างแท๊กซี่สิ 3 ปี...เครื่องพัง !ไม่เห็นมีเกิน 5 ปีสักคัน ก็ต้องเปลี่ยนเครื่อง!
    เรื่องราวเหล่านี้ จริงหรือไม่?...ตอบก่อนเลยว่า...‘จริง!’
    รถแท็กซี่ใช้แก๊ส 3-5 ปีเครื่องต้องพัง! อ้าว...อย่างนี้จะสนับสนุนการใช้แก๊สในรถกันทำไม?
    ทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวี แล้วทำไมหลายประเทศทั่วโลกนิยมใช้แก๊สเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ?
    ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร สำหรับรถบ้าน กี่ปี? ส่วนใหญ่ใช้
    งานปี 30,000-40,000 กิโลเมตร 10 ปีเครื่องหลวม...โอเคไหม?
    รถบ้านทั่วไปที่ใช้น้ำมัน ก็เห็น 300,000-400,000 กิโลเมตรก็
    เครื่องหลวม
    ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร ที่เครื่องของรถแท็กซี่พัง นั้นมา
    จากการใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพกลางๆ หรือต่ำ (ที่เรียกว่าน้ำมันถัง
    200 ลิตร เกรดแค่ เอพีไอ เอสจี หรือ เอสเอช) ไส้กรองอากาศเทียม
    และการขับอย่างไม่ค่อยทนุถนอม
    ลองคิดดูว่า...ถ้าเป็นรถบ้านที่ดูแลดีกว่าทุกด้าน น้ำมันเครื่อง
    ดีๆ ไส้กรองอากาศดีๆ ระยะทางที่ทำได้ก่อนเครื่องจะหมดสภาพ น่า
    จะเกินหรือสั้นกว่า 450,000 กิโลเมตร?
    ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นบทพิสูจน์จากการใช้งานจริงว่า รถที่ใช้
    แก๊สจะใช้งานได้ระยะทางไม่ได้สั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่ไม่
    ได้ลงลึกถึงถึงหลักทางวิศวกรรมว่า แท้จริงแล้วเมื่อใช้แก๊สเป็นเชื้อ
    เพลิงแทนน้ำมันเบนซินแล้ว อายุการใช้งานของเครื่องจะสั้นลงจริง
    หรือไม่ และถึงแม้ว่าจะสั้นลง...ต้องถามต่ออีกว่า นั่นเพราะอะไร ?
    ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
    • อีกประเด็นหลักๆ ที่ร่ำลือกันว่าแก๊สทำร้ายเครื่อง ก็คือ ‘บ่า
    วาล์ว’ หรือว่า ‘ร้อนจนกรอบไปหมด’
    การทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริง ผู้ที่ไม่ใช่ช่างยนต์ ต้องมี
    จินตนาการตามไปด้วย ถ้ามโนภาพได้ จะเข้าใจได้แน่ๆ
    เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ที่เราๆ ใช้กันอยู่นั้น มีชื่อเรียกจริงๆ ว่า
    ‘GASOLINE’ ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกของ ‘น้ำมันเบนซิน’
    ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์หรือหัวฉีด (ไม่นับหัวฉีด
    ตรงเข้าห้องเผาไหม้ จีดีไอ) การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ ‘ต้อง
    ทำจบก่อนวาล์วไอดีปิด’
    ในจังหวะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นในจังหวะอัด เตรียมเจอกับประกาย
    ไฟของหัวเทียนในจังหวะระเบิด รูปทรงของหัวลูกสูบและห้องเผา
    ไหม้ของฝาสูบ รวมทั้งการเคลื่อนตัวของลูกสูบให้เกิดแรงดันสูง ย่อม
    เกิดความปั่นป่วนของอากาศและเชื้อเพลิงที่ ‘ผสม’ กันอยู่ ให้เกิด
    การคลุกเคล้าเป็น ‘ไอดี’
    นั่นคือเป็นไอของอากาศที่ผสมเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ
    ไม่ใช่เป็นอากาศที่มีเม็ดเชื้อเพลิงผสมอยู่เป็นหยดๆ
    ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไรก็ตาม ในจังหวะอัด ผู้ผลิตเครื่องล้วน
    พยายามทำให้เป็น...ไอดี มีสถานะเป็นไอ ที่พร้อมจุดไฟติดจนลุก
    ไหม้ได้รวดเร็ว
    เครื่องยนต์ ‘รังเกียจ’ ไอดีที่ผสมระหว่างอากาศกับเชื้อ
    เพลิงที่มีสภาพเป็นหยดของเหลวผสมอยู่
    ดั้งนั้นแม้การจ่ายเข้าไปจะเป็นของเหลว อย่างน้ำมันเบนซิน
    แต่ในจังหวะอัดที่เตรียมจุดระเบิด ก็จะกลายเป็น...ไอ!
    ไม่ว่าเชื้อเพลิงใด เดิมจะเป็นของเหลวจับต้องได้อย่างเบนซิน
    หรือเป็นไออย่างแก๊ส เมื่อเข้าไปในกระบอกสูบ และในจังหวะอัดก็
    ต้องถูกคลุกเคล้าให้เป็น...ไอดี ที่พร้อมจุดระเบิด
    ดังนั้นเครื่องยนต์และหัวเทียนจึง ‘ไม่รู้สึกถึงความแตก
    ต่างของสถานะเชื้อเพลิงในช่วงจ่ายเข้ามา’ เพราะยังไงก็ต้อง
    คลุกเคล้าจนเป็นไอ
    วาล์วไอดีที่เชื้อเพลิงต้องถูกฉีดหรือไหลผ่าน มีความร้อนต่ำ
    เพราะมีอากาศและเชื้อเพลิงไหลผ่านบ่อยๆ ทุกครั้งที่เป็นจังหวะดูด
    ของเครื่อง ดังจะเห็นได้ว่า...ราคาของวาล์วไอดีที่มีขนาดใหญ่กว่า
    จะถูกกว่าวาล์วไอเสียที่ขนาดเล็กกว่าอยู่เสมอ
    นั่นเพราะไม่ต้องทำให้ทนทานเท่า การที่เชื้อเพลิงจะเป็นไอหรือ
    ละอองของเหลว ไหลผ่านวาล์วและบ่าวาล์วไอดี จึงไม่ได้มีความ
    แตกต่างด้านการสึกหรอของบ่าวาล์วเลย
    ประเด็นที่เข้าใจผิดว่า ‘ใช้แก๊สแล้วแห้ง ส่งผลให้บ่าวาล์วแห้ง
    และสึกหรอเร็วขึ้น’ จึงไม่ใช่ บ่าวาล์วไอดี ที่ภาระน้อย ไม่ต้องการ
    เบาะกันกระแทกระหว่างวาล์วกับบ่า
    บ่าวาล์วไอเสีย เป็นชิ้นส่วนที่ถูกเพ่งเล็งว่า เมื่อใช้แก๊ส
    แล้วบ่าวาล์วจะสึกเร็ว
    ลองคิดดูว่า เมื่อเผาไหม้แล้ว ไม่ว่าเชื้อเพลิงอะไรก็ต้องมีความ
    ร้อนสูงและกลายเป็นไอเสียไหลผ่านบ่าและวาล์วไอเสีย ซึ่งนั่นเป็น
    ที่มาของภาระที่หนักกว่าวาล์วและบ่าวาล์วไอดี หนีไม่พ้นที่จะมี
    ความแห้งในตัวเอง ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงของเหลวหรือแก๊ส
    ถ้าจะมีอะไรที่เปียกหรือสามารถทำตัวเป็นเบาะ นั่นคือ ‘สาร
    ตะกั่ว’ ซึ่งในไทยกับน้ำมันเบนซินไม่มีสารตะกั่วมากว่า 15 ปีแล้ว
    ส่วนพวกที่เข้าใจผิดใส่น้ำมันออโต้ลูปสำหรับเครื่องยนต์ 2
    จังหวะมาใส่ในเครื่องที่ใช้แก๊ส ก็เป็น ‘ความเข้าใจผิด และมีผล
    เสียล้วนๆ’ เพราะห้องเผาไหม้ หัวลูกสูบ และหัวเทียนจะเลอะ
    เปียกไปหมด ในขณะที่ตัวน้ำมันออโตลูป ก็ไม่ได้ทำตัวเป็นเบาะรอง
    บ่าวาล์วได้ดีนัก จึงไม่จำเป็นต้องใส่
    ดังนั้นการที่บอกว่า ‘ใช้แก๊สแล้ว บ่าวาล์วสึก เพราะความ
    แห้ง จึงไม่เป็นจริง’
    และที่เข้าใจผิดกันว่า ‘ใช้แก๊สแล้วเครื่องยนต์ร้อน เพราะ
    แก๊สร้อนกว่า...ก็ไม่จริง’ เพราะถ้าแก๊สให้ความร้อนกว่าจริง การ
    ใช้แก๊สก็ต้องให้พลังงานแรงขึ้น มีแรงม้า-แรงบิด มากว่าตอนใช้
    น้ำมันเบนซิน เพราะความร้อนก็คือพลังงานที่จะดันลูกสูบหลังการ
    เผาไหม้ ถ้าไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น ก็แสดงว่าแก๊สไม่ได้ร้อน
    กว่าน้ำมันเบนซิน
    ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ ‘เป็นจริง’
    • การใช้แก๊สก็มีโอกาสที่เครื่องยนต์จะร้อนกว่าได้ใน 2 กรณี คือ
    มีการปรับจูนให้จ่ายแก๊สบาง โดยเน้นความประหยัด จนค่าไอเสีย
    วัดได้สูงกว่าแลมบ์ดา 1.0 ตามที่ควรจะเป็น และอีกกรณีคือ ค่าออก
    เทนของแก๊สที่มีมากกว่าเบนซิน (แอลพีจี ออกเทน 105-110 และเอ็น
    จีวี 120)
    เมื่อนำมาใช้ โดยไม่มีการปรับไฟจุดระเบิดให้ ‘แก่’ กว่าเดิม
    (จุดล่วงหน้า) ก็จะเป็นการทำงานด้วยไฟจุดระเบิด ‘อ่อน’ (ล่าช้า)
    ทำให้การลามของไฟไม่ได้ถีบลูกสูบเต็มที่ แต่ลามไปสู่ช่วงวาล์วไอ
    เสียเปิดในจังหวะคายด้วย ความร้อนที่ไม่ถูกใช้ถีบลูกสูบเต็มที่
    ถ่ายทอดผ่านวาล์วไอเสีย ต่อไปยังบ่าวาล์วและฝาสูบอย่างต่อเนื่อง
    ในกรณีจูนให้จ่ายแก๊สบางกว่าปกติ มีผลทำให้เครื่องร้อนและ
    แรงตก มากกว่าในกรณีที่แก๊สมีออกเทนสูงกว่าเบนซิน แล้วต้องการ
    ไฟแก่ เพราะอย่างแอลพีจีก็มีออกเทนสูงกว่าเบนซิน 95 อยู่
    ประมาณ 10 เท่านั้น ไฟจุดระเบิดเดิมๆ ก็รองรับได้
    โดยรวมคือ แท็กซี่อายุ 3-5 ปีล้วนเครื่องพัง...จริง แต่
    พวกเขาขับกันวันละ 600 กิโลเมตร...ปีละ 180,000 กิโลเมตร
    รวมแล้วล้วนเกิน 400,000 กิโลเมตรถึงจะพัง ทั้งยังใช้น้ำมัน
    เครื่องและไส้กรองด้อยคุณภาพ ยังทนได้ขนาดนี้ แล้วรถบ้าน
    ใช้งานวันละไม่ถึง 100 กิโลเมตร ปีละ 30,000 กิโลเมตร ถ้า
    เครื่องจะพังที่ 300,000 กิโลเมตร กี่ปีจึงจะพัง? ใช้ไป 7-12 ปี
    ระยะทางและนานขนาดนั้น ไม่ต้องใช้แก๊ส...ก็พังครับ
    ใช้น้ำมันก็พังง่ายครับรถตัวอย่างรถที่ทำงานผม 3 ปีมีอาการทุกคันครับสาเหตุจากหลายคนขับ ไม่ค่อยมีคนใส่ใจดูแล

  3. #3
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Dec 2011
    User ID
    27081
    Status
    Offline
    โพส
    3,110

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    ตัวแปรเยอะครับ
    แก๊สทำให้สึกหรอมากกว่าน้ำมัน เป็นเรื่องจริง เพราะน้ำมันยังมีสารหล่อลื่นอยู่บ้าง
    รถใช้แก๊สก็ตองเลือกน้ำมันเครื่องดีๆ หรือเปลี่ยนถ่ายบ่อยๆ เพื่อชดเชยกัน

    สำหรับผมคิดว่าถ้ารถทำมาดีเครื่องดี
    ต่อให้เติมน้ำมันหล่อลื่นสุดๆในสามโลก
    ถ้าคนขับตะบี้ตะบันเหยียบกระชากลากถู...ระยะการใช้งานย่อมน้อยลงแน่ๆ

    รถคันเก่าที่ผมขายไป ใช้มาเกือบสิบปี แค่สองแสนกว่าโล
    และเครื่องก็ยังไม่ได้พังไม่ได้หลวมอะไร

    นานาจิตตัง ตังค์ไผก็ตังไผครับ อิอิ

  4. #4
    TTC-03408 TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jul 2011
    User ID
    20285
    Status
    Offline
    โพส
    1,731

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    ขอบคุณคร้าบ.....

  5. #5
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Mar 2012
    User ID
    31940
    Status
    Offline
    โพส
    66

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    ลองอ่านนี่เผื่อใครชอบขับรถแบบทำลายเครื่องยนต์
    วาล์วยันเป็นอย่างไร?

    ปฐมบท เริ่มต้นคบหากับ LPG มาเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา จำได้ว่าตอนที่ไปติดตั้ง AVANZA
    อายุประมาณ 1 ปีเศษ ๆ วิ่งมาทั้งสิ้น 25000 กิโลเมตร สภาพเครื่องยนต์ ณ. วันติดตั้ง สมบูรณ์
    มีของเล่นภายในห้องเครื่องที่แปลกปลอมจาก โรงงาน คือ “Ground Wire by Camera” เพียง
    ชิ้นเดียว ระบบที่ติดตั้งให้กับ AVANZA ในตอนแรกนั้นเป็นแบบ Fix Mix ไม่มีกล่องหลอกหัวฉีด
    ไม่มีกล่องหลอก O2 ใด ๆ ทั้งสิ้น และทำการเปลี่ยนท่อไอดี จากของเดิมเป็น ท่อไอดีแสตนเลส
    พร้อมตัวกัน Back Fire ปัญหาที่พบในช่วงแรกได้แก่ ไฟเอนจิ้นโชว์ ทุกครั้งที่มีการลากรอบ และ
    อัตราเร่งตีนปลายหายไปอย่างชัดเจน ต่อมาได้ Upgrade ระบบใหม่เป็น Fix Mix + Lamda Control
    + Auto Switch Change Over แบบมีกล่องหลอกหัวฉีดในตัว ส่วนการหลอก O2 ใช้ Lamda Control
    จัดการให้ พร้อมทั้งเปลี่ยนท่อไอดี กลับมาใช้ของเดิม หลังจากทำการ Upgrade ระบบครั้งนี้ ได้จูน
    Lamda โดย นพดล ด่านสุวรรณ ก็พบว่าอัตราเร่งเทียบเท่ากับน้ำมัน ทั้งช่วงตีนต้น และตีนปลาย
    รวมถึงปัญหา ไฟเอนจิ้น ก็ไม่เคยรังควาญอีกเลย จุดเริ่มต้นแห่งหายนะ หลังจากใช้แก๊สมาระยะเวลา
    1 ปีเต็ม พบว่าเครื่องเริ่มรวนเล็กน้อย เวลาใช้แก๊ส มีอาการวูบทุกครั้งที่เร่ง รอบเดินเบาสะดุดตลอด
    เวลา ตอนนี้ระบบน้ำมันยังสามารถทำงานได้ดีอยู่ จึงตัดสินใจเปลี่ยนกล่อง Lamda Control และ
    เริ่มหัดจูน ด้วยตัวเอง อาการดังกล่าวหายไปพร้อมกับแรงฮึกเหิมที่ได้มาจากประสบการณ์จูนรถด้วย
    ตัวเอง พร้อมกับรู้จักคำว่า “แรงสั่งได้” นั้นเป็นอย่างไร ต่อมาอีกระยะใหญ่ พบปัญหาที่ระบบน้ำมัน
    ไม่สามารถเดินเบาได้ ณ.เวลานั้นยอมรับว่า ประมาท เพราะคิดว่าระบบแก๊สยังทำงานได้เป็นปรกติ
    ดีอยู่ จึงไม่ได้สนใจจะหาข้อมูลเพิ่มเติมเพราะคิดว่ารถใช้แก๊สมานาน พอกลับมาใช้น้ำมัน ก็คงมีอาการ
    ผิดปรกติบ้างรวมถึงได้ทดลอง Reset ECU ก็พบว่าอาการดีขึ้นจึงไม่ได้คิดอะไร (ประมาท) จากเหตุ
    การณ์ดังกล่าว มาประมาณ 3 เดือนพบว่า ระบบแก๊ส เริ่มมีอาการคล้าย ระบบน้ำมัน ไม่สามารถเดิน
    เบาได้ แต่ใช้วิชา จูนนิ่ง Lamda Control ที่มีติดตัวอยู่เข้าช่วย รวมถึงความฉลาดน้อยของตัว Lamda
    ที่คอยปรับอัตราส่วนผสมตลอดเวลา โดยไม่คำนึงว่าระบบเครื่องยนต์ตอนนั้นเป็นอย่างไร (ซึ่งจะต่าง
    จาก ECU ของรถยนต์ ที่สามารถตรวจสอบความผิดปรกติของเครื่องยนต์ได้) ทำให้ดูเหมือนว่าอาการ
    บรรเทาลง และทำให้คนฉลาดน้อยอย่างผม เข้าใจว่าเครื่องยนต์ปรกติดีอยู่ และพาลคิดไปว่าอาการผิด
    ปรกติที่เกิดขึ้นมาจากการปรับตั้งแก๊สที่ไม่ดีเอง จึงเกิดการ ประมาทรอบสอง ลางบอกเหตุ ในช่วงที่
    ระบบน้ำมันมีปัญหานั้น อาการที่สังเกตได้ชัดเจน มีดังนี้

    1. รอบเดินเบา เครื่องยนต์จะสั่นตลอดเวลา และรอบสวิงไปมา ในขณะไม่มีโหลดแอร์

    2. เมื่อคอมแอร์เริ่มทำงาน รอบเครื่องยนต์ จะตกลงไปถึงประมาณ 600 RPM พร้อมอาการเครื่อง
    กระตุก เหมือนจะดับ บางครั้งมีอาการเหมือนเครื่องเขก ร่วมด้วย

    3. ขณะจอดรถติดไฟแดง จะไม่สามารถค้างเกียร์ที่ D ได้ รอบเครื่องจะตกไปที่ 600 RPM พร้อม
    กับอาการเครื่องสั่นตลอดเวลา อาการจะแย่มากขึ้นเมื่อมีโหลดแอร์เข้ามาร่วมด้วย ลักษณะการสั่น
    จะเหมือนยางแท่นเครื่องหมดอายุ แต่ตรวจสอบแล้วไม่ใช่

    4. ในสภาวะการจราจร แบบเคลื่อนตัวได้ สลับหยุดนิ่ง จะไม่สามารถปล่อยให้รถไหลได้ ต้องเหยียบ
    คันเร่งช่วยตลอด

    5. หากสตาร์ทเครื่องยนต์ ขณะเครื่องเย็น จะได้ยินเสียงเหมือนวาล์วดังทำงานอย่างชัดเจน (เสียงดัง
    แกร่ก ๆ ๆ ๆ) และจะหายไปเมื่อเครื่องยนต์เข้าสู่อุณหภูมิทำงานปรกติ

    6. ทดสอบเอามืออังท่อไอเสีย พบว่าการคายไอเสียมีลักษณะผิดปรกติ คือ ไอเสียออกมาเป็นลูก ๆ
    แทนที่จะออกมาแบบเป็นสายต่อเนื่องกัน รวมถึงปลายท่อไอเสีย จะสั่น

    ในช่วงเวลาที่ระบบน้ำมันเริ่มมีปัญหานั้น ระบบแก๊ส ยังทำงานได้เป็นปรกติดีอยู่ เพราะผลสืบเนื่องมา
    จาก การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ของ Lamda Control ที่คอยปรับอัตราส่วนผสมให้พอดีกับความ
    ต้องการของเครื่องยนต์ สังเกตจากการ monitor บนคอมพิวเตอร์เวลาจูน จะพบว่ามีการปรับ Step
    Motor ตลอดเวลา และปรับขึ้น ลง ด้วยลักษณะแปลก ๆ (ผมบอกไม่ได้ว่าแปลกยังไง แต่มันรู้สึกได้
    ด้วยตัวเองหลังจากนั่งจูน Lamda มานาน) อาการของระบบแก๊ส เริ่มมีตามมา และคล้ายคลึงกับระบบ
    น้ำมัน มากขึ้น ทำให้เริ่มใจไม่ดี จากที่เคยวิ่งแก๊สได้ ก็กลับเป็นวิ่งไม่ได้แล้ว ครั้นจะกลับไปใช้น้ำมัน
    ก็ไม่ได้อีก .. ทำไงดีล่ะทีนี้ ช่วงนี้ก็ขับรถแบบประคับ ประคอง และเริ่มศึกษาข้อมูลมากขึ้น เริ่มรู้จักกับ
    “วาล์วยัน” แต่ก็ยังไม่ปักใจเชื่อ เพราะอาการยังไม่ชัดเจน และไม่คล้ายกับใครเลย (คือ คนอื่นจะเป็น
    ลักษณะรอบสวิงขึ้น ลง) แต่ของผม เครื่องจะสั่น ก็เลยเถิดคิดไปถึง “หัวเทียน” เพราะไม่ได้เปลี่ยนมา
    ร่วม 4 หมื่นกิโลแล้ว 2 วันก่อนรู้ความจริง เวลานั้น เริ่มมึน + มืดแปดด้าน และเริ่มโทษนู่น โทษนี่ .
    สุดท้ายตัดสินใจตรวจสอบ “ระบบจุดระเบิด” ก็เลยทำการถอดหัวเทียนออกมาดู ปรากฏว่า สภาพหัว
    เทียนที่ถอดออกมา ดูตามลำดับจากซ้าย ไปขวา สภาพห้องหัวเทียนสูบที่ 1 จากนั้น พบว่าใน “ห้องหัว
    เทียนที่1” มีคราบสีเหลืองๆ กระจายอยู่เต็ม มาถึงตรงนี้เริ่มหนักใจมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทำอะไร
    ได้ เพราะเวลานั้นอยู่ต่างจังหวัด หาอะไหล่ไม่ได้เลยทำได้แค่เพียงทำความสะอาดหัวเทียน ห้องหัว
    เทียน และประกอบกลับเข้าไป หลังจากลองสตาร์ทเครื่องยนต์ อาการสั่นก็กลับมาเหมือนเดิม แต่ที่
    แย่กว่าเดิมคือมีอาการ เร่งแล้ววอดร่วมด้วย และยิ่งไปกว่านั้น ขณะวิ่งฝ่าฝนเครื่องมีอาการสั่นสะท้าน
    ตลอดเวลา เร่งไม่ขึ้น และที่หนักสุดคือ รอบเครื่องยนต์ขณะเดินเบาหล่นไปอยู่ที่ 600 RPM ตลอด
    เวลาไม่ว่าจะมีโหลดแอร์ หรือไม่มี ตอนนี้เป็นทั้งแก๊ส และน้ำมันแล้ว ซึ่งพยายามงัด คอมพิวเตอร์ออก
    มาจูน Lamda Control ช่วยก็ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้นไปได้เลย หัวเทียนหัวที่ 1: มีอาการเ
    หมือนหัวเทียนบอด มีคราบดำติดอยู่ที่เขี้ยว หัวเทียนที่เหลือ : เป็นคราบสีน้ำตาล-แดง ซึ่งเป็นปรกติ
    ของรถใช้แก๊ส แต่ที่ผิดสังเกตคือ มีกลิ่นเหมือนน้ำมันติดอยู่ที่หัวเขี้ยว 1 วันก่อนรู้ความจริง หลังจาก
    กลับมาถึง กทม. หาซื้อหัวเทียนใหม่เพื่อนำมาเปลี่ยน (ก็ยังฝังใจว่า ต้นเหตุของปัญหาคือ “หัวเทียน”)
    ปรากฏว่าหลังจากที่ถอดหัวเทียนออกมา คราบสีเหลืองเจ้ากรรม ที่เช็ดทำความสะอาดไปเมื่อวาน
    กลับมีขึ้นมาใหม่อีก รวมถึงหัวเทียนที่ทำความสะอาดไปเมื่อวานก็กลับเป็นสภาพเดิมอีกครั้ง เลยทำ
    การเปลี่ยนหัวเทียนเข้าไปใหม่ ผลที่ได้ รอบเดินเบายังเป็นเหมือนเดิม แต่อัตราเร่งดีขึ้นนิดนึง รอบ
    เครื่องยนต์ขณะเดินเบา เริ่มสวิง ระหว่าง 600 – 1000 RPM เช้าแห่งความเศร้า ตื่นเช้ามา สตาร์ทรถ
    ตามปรกติ และเป็นธรรมดาว่าจะต้อง อุ่นเครื่องให้ร้อนก่อนค่อยออกวิ่ง เพื่อลดอาการ เครื่องสั่น แต่
    ปรากฏว่าเช้านี้ อาการเครื่องสั่นไม่ยอมหาย และเป็นหนักขึ้น เริ่มมีอาการเบาจะดับ เหยียบเบรกแล้ว
    วูบ เร่งไม่ขึ้น รอบสวิงไปมาตลอดเวลา ทั้งที่คอมแอร์ไม่ได้ทำงาน ที่เด็ดสุดตึกลานจอดรถที่ปีนอยู่
    ทุกวัน วันนี้มันกลายเป็น “ยอดดอยอินทนนท์” ไปซะแล้ว จากที่เคยแตะ ๆ คันเร่งก็พุ่งปรี๊ดขึ้นไปได้
    มาวันนี้เหยียบคันเร่งแทบจะสุด ยังได้แค่คลาน ๆ ขึ้นไป เลยตัดสินใจ “เป็นไงเป็นกัน” โทรไปปรึกษา
    ช่าง (ได้คำแนะนำจาก คุณวสุ ซึ่งเป็นหนูลองยาไปก่อนหน้านี้) เล่าอาการให้ฟัง ก็ได้รับคำยืนยันจาก
    ช่าง “แน่นอนพี่ มันยันแน่ ๆ“ จึงตัดสินใจไปลองดูละกันว่ะว่ามัน “มันจะยัน หรือจะถูกยัน” ตัดสินใจ
    โดดงาน ขับรถแบบช้าที่สุดในชีวิต ไปถึงที่อู่ เมื่อถึงคราวต้องผ่าตัด เมื่อไปถึงอู่ ช่างได้เริ่มทำการรื้อ
    ฝาครอบวาล์ว และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถาดใส่น็อตเต็มไปด้วย น็อต ที่ถอดออกจากเครื่องยนต์
    ของเจ้า AVANZA ซึ่งใช้ทั้งหมดถึง 2 ถาด (เยอะมาก ๆ ) รายละเอียดการถอด เท่าที่จำได้ 1. กล่อง
    กรองอากาศ 2. ชุดประกอบฝาช่องเติมน้ำมันเครื่อง 3. ฝาครอบวาล์ว 4. ชุดวาล์วควบคุมน้ำหนักลูก
    เบี้ยว 5. พูลเลย์ข้อเหวี่ยง 6. พูลเลย์เพลาข้อเหวี่ยง 7. ฯลฯ นอกนั้นจำไม่ได้แล้ว เพราะถอดเยอะ
    มาก ๆ ใช้เวลาถอดประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที (ถ้าเป็น Altis ประมาณ 30 นาที) ภาพประกอบอุปกรณ์
    ภายในเครื่องยนต์ K3-VE ส่วนบน จากนั้น ช่างจะนำอุปกรณ์เฉพาะ มาวัดระยะห่างของ เพลาลูกเบี้ยว
    กับลูกถ้วยวาล์ว ซึ่งต้องแบ่งเป็น 2 จังหวะ คือ จังหวะไอดีเปิด ไอเสียปิด และไอดีปิด ไอเสียเปิด ซึ่ง
    ค่ามาตรฐานควรจะอยู่ที่ เบอร์ 10 (ตามอุปกรณ์ที่ช่างใช้) และเบอร์ยิ่งมากหมายถึง ระยะห่างอยู่ใน
    เกณฑ์ปรกติ ซึ่งปรากฏว่าหลังจากวัดผลที่ได้คือ - วาล์วไอดี ยันทั้งสิ้น 5 ตัว (ตัวที่ยันมากที่สุดวัดได้
    ประมาณ เบอร์ 6) ขณะที่ตัวอื่นๆ อยู่ระหว่าง 8 – 9 - วาล์วไอเสีย ยันครบทุกตัว สรุปคือ เครื่องยนต์
    K3-VE DOHC 16 Valve ของผมมีอาการ วาล์วยันทั้งสิ้น 13 ตัว จากวาล์วทั้งหมด 16 ตัว มาถึงตอน
    นี้ช่างถึงกับมองหน้าแล้วถามว่า “พี่ขับมาถึงนี่ได้ไง” จากนั้น ช่างก็เริ่มทำการ มาร์คตำแหน่ง ลูกถ้วย
    วาล์ว เขียนเบอร์เพื่อทำการถอด ลูกด้วยวาล์ว ออกไปเจียร ให้ได้ระยะตามที่ควรจะเป็น สภาพห้อง
    เครื่องหลังจากเปิดฝาครอบที่เติมน้ำมันเครื่อง (แค่นี้ น๊อต ก็เต็มถาดเก็บน๊อต อันแรกไปแล้วครับ)
    สังเกตตัวหนังสือสีแดง บอกระยะห่างของลูกถ้วยวาล์ว จะไม่เท่ากันในแต่ละถ้วย หลังจากทำการ
    เจียรลูกถ้วยวาล์วจนได้ระยะที่ต้องการแล้ว ก็ทำการตั้งระยะวาล์วใหม่ วัดระยะอีกครั้งก่อนทำการ
    ประกอบกลับ (ของผมต้องมีการลงดาบสอง เพราะยันเยอะมากที่ลูกสูบ 1) ภาพลูกถ้วยวาล์วก่อน
    จะนำไปเจียร ความผิดหวังซ้ำสอง หลังเสร็จสิ้นการผ่าตัด ซึ่งกินเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ทดลอง
    สตาร์ทครั้งแรก ก็ปรากฏว่าเครื่องยนต์ยังมีอาการสั่นอยู่บ้าง ทั้งแก๊ส และน้ำมัน พร้อมกับเสียงวาล์ว
    ที่ดังชัดเจน และจะดังมากขึ้นเมื่อเร่งรอบสูงขึ้น เริ่มมีอาการหนักใจอีกรอบ กับอาการที่เกิดขึ้นใหม่
    คือ เสียงการทำงานของวาล์ว ที่ดัง แกร่ก ๆ ๆ ตลอดเวลาและชัดเจนมาก ซึ่งหลังจากสอบถามกับ
    ทางช่าง ก็ได้ความว่า “เครื่องยนต์ทำงานในสภาวะที่วาล์วยันมานานมาก ระยะการยกวาล์วเลยเพี้ยน
    และจากที่ไปตั้งวาล์วใหม่ เลยทำให้เกิดเสียงดังแบบนี้ ให้ทดลองใช้ไปสักระยะก่อน” ทดสอบขับบน
    ถนน พบอาการ ดังนี้

    1. การทำงานของเกียร์เปลี่ยนไป มีการเปลี่ยนเกียร์ในจังหวะรอบเครื่องแปลก ๆ

    2. ทดสอบกด Kick Down ไม่มีการ Change เกียร์ลง แต่รถยังสามารถไต่ความเร็วได้ (ไม่แน่ใจว่า
    เพราะเครื่องยนต์มีกำลังมากพอ จึงไม่เปลี่ยนเกียร์ลงให้หรือเปล่า)

    3. อัตราเร่งตีนต้นดีขึ้นกว่าเดิม ปีนขึ้นตึกได้สบายขึ้นกว่าเดิม

    4. เข้าเกียร์ D พร้อมเหยียบเบรกได้ โดยเครื่องไม่สั่น และสามารถปล่อยรถไหลโดยไม่ต้องเหยียบ
    คันเร่งได้

    จากอาการที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้ฉุกคิดขึ้นได้ว่า หลังจากผ่าตัดเสร็จยังไม่ได้ทำการ Reset ECU
    พอกลับถึง Office จึงทดลอง Reset ECU แล้วสตาร์ทใหม่อีกรอบ เสียงการทำงานของวาล์ว ยังดัง
    เหมือนเดิม แต่การทำงานของเกียร์ เริ่มนิ่มนวลขึ้น กด Kick Down เริ่มมีการ Change เกียร์ลง
    (ตอบสนองไวขึ้น) สรุป “ของฝากจาก LPG” จนถึงวันนี้ หลังจากนำ AVANZA เข้ารับการผ่าตัด แล้ว
    ผลที่ได้ยังไม่ประทับใจ คือ อาการเครื่องสั่นหายไป แต่อาการเปลี่ยนเกียร์เพี้ยน และเสียงวาล์วดังเข้า
    มาแทน แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น พื้นฐานคงอยู่ที่ผมปล่อยให้อาการดังกล่าว ค้างคามานาน จนทำให้เกิดความผิด
    ปรกติมากกว่าคันอื่น ๆ เพราะเทียบกับรถคุณวสุ ที่หลังจากตั้งวาล์วไป อาการก็ดีขึ้นอย่างผิดหู ผิดตา
    ดังนั้น หากเกิดอาการ ก็ควรจะรีบแก้ไขเสียแต่ต้น ๆ ครับ ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับอาการที่เกิดขึ้นกับ
    AVANZA ของผมในครั้งนี้ คงสรุปได้ว่าเกิดจาก “วาล์วยัน” เนื่องจากผ่านการใช้งาน ด้วย LPG มา
    ด้วยระยะทาง 80000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นอาการปรกติของรถยนต์ที่เปลี่ยนเชื้อเพลิงมาใช้ LPG อ้างอิง
    จากรถของท่านวสุ ซึ่งติดแก๊สมาพร้อม ๆ กันกับผม และระยะทางการวิ่งด้วยแก๊สพอ ๆ กัน ก็เกิดอาการ
    เดียวกันนี้ และนำรถเข้ารับการผ่าตัดจากอู่ เดียวกัน แต่ของท่านวสุ อาการหายเป็นปรกติ ไม่มีภาวะโรค
    แทรกซ้อน อย่างของกระผม อาการ “วาล์วยัน” แท้จริงไม่ใช่ปัญหาน่าหนักใจ แต่เป็นปัญหาพื้นฐาน
    สำหรับ เครื่องยนต์ที่ใช้ LPG ด้วยซ้ำ และช่างที่ชำนาญก็สามารถแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่ยาก
    เย็นนัก ด้วยวิธีพื้นบ้านได้แก่ การถอดลูกด้วยวาล์วออกมาเจียร หรือกลึงให้ได้ระยะ และทำการตั้งวาล์ว
    ใหม่ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ด้วยค่าใช้จ่ายหลักพัน ในขณะที่ ถ้านำรถเข้าศูนย์อาการนี้ ศูนย์จะแก้ปัญหา
    ด้วยการสั่งลูกถ้วยวาล์ว ตามเบอร์ที่ถูกต้อง มาเปลี่ยนให้ใหม่ (ลูกถ้วยวาล์ว จะมีเบอร์ที่แตกต่างกัน เพื่อ
    ให้เหมาะสมกับระยะการยกของวาล์ว ซึ่งจากเดิมมาตรฐานโรงงาน ลูกถ้วยวาล์วก็ไม่ได้ตรงกันหมดทุกคัน
    อยู่ที่การประกอบ และปรับตั้งเครื่องยนต์ตั้งแต่ขั้นตอนการประกอบ) ด้วยสนนราคา ค่าแรง + ค่าอะไหล่
    หลักหมื่น (ในกรณีที่ยันเยอะเหมือนของผม) ส่วนวิธีแบบพื้นบ้าน หรือวิธีซ่อมแบบศูนย์นั้น ตอบตามตรง
    ว่า ซ่อมในศูนย์ ย่อมได้มาตรฐานกว่าแน่นอน ซึ่งตัวผมเองก็ยังไม่อยากสรุปว่า ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
    ในรถผมนั้น เป็นเพราะการซ่อมที่ผิดวิธีหรือเปล่า แต่สังเกตจากคันอื่น ๆ ที่ไปทำมา ก็หายเป็นปรกติ และ
    แต่ละคันนั้นพบอาการวาล์วยัน น้อยกว่าผมมาก ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะซ่อมแบบใด ขอให้ใช้ดุลยพินิจ
    และข้อมูลข้างต้น ประกอบการตัดสินใจครับ ปัจจัยหลัก สาเหตุของการเกิด อาการวาล์วยัน นั้นหลัก ๆ
    มาจากการเปลี่ยนแปลงระบบเชื้อเพลิงไปเป็น LPG ซึ่งมีความร้อนในการเผาไหม้สูงกว่าน้ำมันมาก ทำ
    ให้เครื่องยนต์ซึ่งออกแบบมาให้ใช้น้ำมัน มีคุณภาพของวัสดุภายในไม่ทนทานพอรองรับการทำงานใน
    อุณหภูมิที่สูงขึ้นของ LPG ได้ น้ำมัน จะมีส่วนผสมของ “สารเคลือบบ่าวาล์ว” อยู่ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มี
    การจุดระเบิด สารเหล่านี้จะไปเคลือบบ่าวาล์วตลอดเวลา ทำให้สามารถลดภาวะ บ่าวาล์วทรุด อันเป็นสาเหตุ
    ของ “วาล์วยัน” ได้ แต่ใน LPG ไม่สามารถผสมสารนี้ลงไปใน เชื้อเพลิงได้ทำให้ไม่มีสารดังกล่าวไป
    เคลือบบ่าวาล์ว เหมือนน้ำมัน การเลือกการติดตั้ง LPG แบบ Fix mix หรือ หัวฉีด นั้นไม่มีผลต่อการเกิด
    เหตุนี้นะครับ ทุกระบบสามารถเกิดขึ้นได้หมด เพราะวันที่ผมไปซ่อมนั้น มี taxi เข้ามาด้วยอาการเดียวกัน
    ที่สำคัญเค้าติดตั้ง “หัวฉีด BRC” ที่แพงกว่าระบบที่ผมติดตั้งอยู่เกือบ 3 เท่าได้ ฉะนั้น แกงค์แก๊สหัวฉีด
    ก็อย่าประมาทไปนะครับ นอกจากนั้น ลักษณะการขับขี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการนี้ เร็ว หรือช้า
    ลักษณะการใช้งานของผม 1. วิ่งใน กทม. 5 วัน ต่างจังหวัด 2 วัน 2. Kick Down บ่อยและลากรอบไปถึง
    Red Line (ประมาณ 6500 RPM) ทุกครั้ง 3. ขับทางไกล ไม่พักรถ เหยียบคันเร่งแบบแช่ยาว ๆ ซึ่งปัจจัย
    เหล่านี้ ล้วนเป็นการทำร้ายเครื่องยนต์โดยตรงทั้งสิ้น สรุปปิดท้าย สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดกับ
    AVANZA ของผมในคราวนี้ คงโทษใครไม่ได้นอกจาก “โทษตัวเอง” ที่ขาดการเอาใจใส่เจ้า ZA ทั้งๆ
    ที่รู้อยู่แล้วว่า ระบบเครื่องยนต์ เริ่มมีปัญหา แต่ก็ยัง ประมาท และปล่อยให้เลยเถิดมาถึงขนาดนี้ ผลที่ได้
    รับกลับมานั้น หนักหนาเกินคาด และยังไม่มั่นใจว่า K3-VE ตัวนี้ จะอยู่รับใช้ผมไปได้อีกนานแค่ไหน
    สำหรับคนที่คิดจะติดแก๊ส ก็อย่าเพิ่งกลัวไปนะครับ ว่าติดแล้วจะเป็นแบบนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วการติดแก๊ส
    ไม่ได้เป็นการทำร้ายรถยนต์ “การที่เราไม่ดูแล มันต่างหากที่เป็นการทำร้ายมันอย่างแท้จริง”

  6. #6
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Mar 2012
    User ID
    31248
    Status
    Offline
    โพส
    23

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    ผมใช้สามห่วงติด lpg มาจะ 300,000 โลยังไม่พังเลยครับ
    ถ้าเขาดูแลรถดี ไม่ใช่สักแต่ใช้อย่างเดียวยังไงก็พังยากครับ

  7. #7
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2011
    User ID
    19235
    Status
    Offline
    โพส
    951

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    อย่าลืมนะครับ คนขับแท็กซี่เขาไม่ได้ขับเหมือนรถบ้าน ยิ่งถ้าเป็นรถเช่าอีกคิดดู เขาจะขับกันขนาดไหนเหยียบกันหูดับตับไหม้เลยครับไม่ค่อยดูแลหรอกครับ ถึงเวลาส่งรถก็เข้าล้างอัดฉีดขัดๆถูๆแล้วก็ส่งต่อให้อีกกะหนึ่ง คิดดูแต่ล่ะคนมีวิธีการขับไม่เหมือนกัน ต้องรีบหาตังค์ให้ได้มากที่สุด ....พ่อตาขับแท็กซี่โชคดีที่เป็นรถของตัวเองถึงดูแลดีหน่อย ใช้ได้6-7ปีแล้วครับเห็นทำเครื่องอยู่ครั้งหนึ่ง เอาใจใส่ดีๆก็ใช้ได้นาน เพราะฉะนั้นจะใช้น้ำมันหรือแก๊สอยู่ที่เราดูแลมัน

  8. #8
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Nov 2011
    User ID
    26131
    Status
    Offline
    โพส
    3,912

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    กว่าจะจบอ่านซะตาลายเลย แต่ก็ขอบคูณครับสำหรับข้อมูล

  9. #9
    you will never walk alone TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Mar 2012
    User ID
    31368
    Status
    Offline
    โพส
    198

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เพราะตอนนี้ใช้วีออส lpg กำลังเปลี่ยนเป็น triton plus cng จะได้ดูแลเขาให้ดีๆ ครับ

  10. #10
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jul 2012
    User ID
    35154
    Status
    Offline
    โพส
    242

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    อ้างอิง โพสต้นฉบับโดยคุณ werawat_ton3259 ดูโพส
    เอามาฝากอีกแล้ว

    เขาว่ากันว่า...

    • เสียงเล่าลือบนโปรยข้างต้นเหล่านี้...จริงครับ!
    แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี
    แต่คนที่ ‘เล่าลือ’ และ ‘รับทราบ’ มักไม่คิดคำนวณต่อเนื่อง
    อย่างละเอียดว่า รถแท็กซี่ใช้งานวันละกี่กิโลเมตร? มากกว่ารถบ้าน
    รถส่วนตัวกี่เท่า?
    ผมตอบให้อย่างชัดเจน โดยคุณไม่ต้องไปค้นหา เพราะบังเอิญ
    ว่าผมเคยถูกให้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานในโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ที่มี
    ระบบซ่อมฟรีรวมในเงินผ่อน ดังนั้นระยะทางที่ถูกใช้ต่อวันโดยเฉลี่ย
    จะต้องถูกค้นหาและสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งตัวเลขออกมาที่ประมาณ
    600 กิโลเมตรต่อวัน (อยู่ในช่วง 550-650 กิโลเมตรต่อวัน)
    ถ้าใครไม่เชื่อ เสียเงิน 70 บาทขึ้นแท๊กซี่สักคันสองคันแล้วถาม
    ว่า...กะหนึ่ง (12 ชั่วโมง รถคันหนึ่งต่อวันถูกใช้งาน 2 กะ) ขับได้กี่
    กิโลเมตร ส่วนใหญ่ที่เป็นรถเช่า จะขับกันในระยะทาง 300 กิโลเมตร
    270-330 กิโลเมตร นั่นคือ 2 กะรวมแล้ว 600 กิโลเมตรต่อวัน
    หลายคนขี้เกียจคิดเลขในใจ คิดง่ายๆ ว่า 1 ปีรถถูกใช้ 300
    วัน จะได้คิดสะดวก (เผื่อวันที่ต้องจอดซ่อมบ้าง แต่จริงๆ แล้วมักจะ
    ขาดหายจาก 365 วันไม่มากนัก)
    300 วัน...วันละ 600 กิโลเมตร รวม 1 ปีรถถูกใช้งานไป
    180,000 กิโลเมตร
    ถ้าเครื่องหมดสภาพที่ 3 ปี คือ 180,000 กิโลเมตร x 3 ปี
    เท่ากับ 540,000 กิโลเมตร หรือคิดแบบแย่ๆ แค่ 2.5 ปีเครื่องพัง ก็
    เท่ากับ 450,000 กิโลเมตร
    ใช้แก๊สแล้วเครื่องโทรมหรือพังเร็ว เมื่อพังแล้วก็ซ่อมไม่ได้ ต้องยกทิ้งแล้วเปลี่ยนเครื่อง (เชียงกง)
    ดูอย่างแท๊กซี่สิ 3 ปี...เครื่องพัง !ไม่เห็นมีเกิน 5 ปีสักคัน ก็ต้องเปลี่ยนเครื่อง!
    เรื่องราวเหล่านี้ จริงหรือไม่?...ตอบก่อนเลยว่า...‘จริง!’
    รถแท็กซี่ใช้แก๊ส 3-5 ปีเครื่องต้องพัง! อ้าว...อย่างนี้จะสนับสนุนการใช้แก๊สในรถกันทำไม?
    ทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวี แล้วทำไมหลายประเทศทั่วโลกนิยมใช้แก๊สเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ?
    ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร สำหรับรถบ้าน กี่ปี? ส่วนใหญ่ใช้
    งานปี 30,000-40,000 กิโลเมตร 10 ปีเครื่องหลวม...โอเคไหม?
    รถบ้านทั่วไปที่ใช้น้ำมัน ก็เห็น 300,000-400,000 กิโลเมตรก็
    เครื่องหลวม
    ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร ที่เครื่องของรถแท็กซี่พัง นั้นมา
    จากการใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพกลางๆ หรือต่ำ (ที่เรียกว่าน้ำมันถัง
    200 ลิตร เกรดแค่ เอพีไอ เอสจี หรือ เอสเอช) ไส้กรองอากาศเทียม
    และการขับอย่างไม่ค่อยทนุถนอม
    ลองคิดดูว่า...ถ้าเป็นรถบ้านที่ดูแลดีกว่าทุกด้าน น้ำมันเครื่อง
    ดีๆ ไส้กรองอากาศดีๆ ระยะทางที่ทำได้ก่อนเครื่องจะหมดสภาพ น่า
    จะเกินหรือสั้นกว่า 450,000 กิโลเมตร?
    ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นบทพิสูจน์จากการใช้งานจริงว่า รถที่ใช้
    แก๊สจะใช้งานได้ระยะทางไม่ได้สั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่ไม่
    ได้ลงลึกถึงถึงหลักทางวิศวกรรมว่า แท้จริงแล้วเมื่อใช้แก๊สเป็นเชื้อ
    เพลิงแทนน้ำมันเบนซินแล้ว อายุการใช้งานของเครื่องจะสั้นลงจริง
    หรือไม่ และถึงแม้ว่าจะสั้นลง...ต้องถามต่ออีกว่า นั่นเพราะอะไร ?
    ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
    • อีกประเด็นหลักๆ ที่ร่ำลือกันว่าแก๊สทำร้ายเครื่อง ก็คือ ‘บ่า
    วาล์ว’ หรือว่า ‘ร้อนจนกรอบไปหมด’
    การทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริง ผู้ที่ไม่ใช่ช่างยนต์ ต้องมี
    จินตนาการตามไปด้วย ถ้ามโนภาพได้ จะเข้าใจได้แน่ๆ
    เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ที่เราๆ ใช้กันอยู่นั้น มีชื่อเรียกจริงๆ ว่า
    ‘GASOLINE’ ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกของ ‘น้ำมันเบนซิน’
    ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์หรือหัวฉีด (ไม่นับหัวฉีด
    ตรงเข้าห้องเผาไหม้ จีดีไอ) การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ ‘ต้อง
    ทำจบก่อนวาล์วไอดีปิด’
    ในจังหวะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นในจังหวะอัด เตรียมเจอกับประกาย
    ไฟของหัวเทียนในจังหวะระเบิด รูปทรงของหัวลูกสูบและห้องเผา
    ไหม้ของฝาสูบ รวมทั้งการเคลื่อนตัวของลูกสูบให้เกิดแรงดันสูง ย่อม
    เกิดความปั่นป่วนของอากาศและเชื้อเพลิงที่ ‘ผสม’ กันอยู่ ให้เกิด
    การคลุกเคล้าเป็น ‘ไอดี’
    นั่นคือเป็นไอของอากาศที่ผสมเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ
    ไม่ใช่เป็นอากาศที่มีเม็ดเชื้อเพลิงผสมอยู่เป็นหยดๆ
    ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไรก็ตาม ในจังหวะอัด ผู้ผลิตเครื่องล้วน
    พยายามทำให้เป็น...ไอดี มีสถานะเป็นไอ ที่พร้อมจุดไฟติดจนลุก
    ไหม้ได้รวดเร็ว
    เครื่องยนต์ ‘รังเกียจ’ ไอดีที่ผสมระหว่างอากาศกับเชื้อ
    เพลิงที่มีสภาพเป็นหยดของเหลวผสมอยู่
    ดั้งนั้นแม้การจ่ายเข้าไปจะเป็นของเหลว อย่างน้ำมันเบนซิน
    แต่ในจังหวะอัดที่เตรียมจุดระเบิด ก็จะกลายเป็น...ไอ!
    ไม่ว่าเชื้อเพลิงใด เดิมจะเป็นของเหลวจับต้องได้อย่างเบนซิน
    หรือเป็นไออย่างแก๊ส เมื่อเข้าไปในกระบอกสูบ และในจังหวะอัดก็
    ต้องถูกคลุกเคล้าให้เป็น...ไอดี ที่พร้อมจุดระเบิด
    ดังนั้นเครื่องยนต์และหัวเทียนจึง ‘ไม่รู้สึกถึงความแตก
    ต่างของสถานะเชื้อเพลิงในช่วงจ่ายเข้ามา’ เพราะยังไงก็ต้อง
    คลุกเคล้าจนเป็นไอ
    วาล์วไอดีที่เชื้อเพลิงต้องถูกฉีดหรือไหลผ่าน มีความร้อนต่ำ
    เพราะมีอากาศและเชื้อเพลิงไหลผ่านบ่อยๆ ทุกครั้งที่เป็นจังหวะดูด
    ของเครื่อง ดังจะเห็นได้ว่า...ราคาของวาล์วไอดีที่มีขนาดใหญ่กว่า
    จะถูกกว่าวาล์วไอเสียที่ขนาดเล็กกว่าอยู่เสมอ
    นั่นเพราะไม่ต้องทำให้ทนทานเท่า การที่เชื้อเพลิงจะเป็นไอหรือ
    ละอองของเหลว ไหลผ่านวาล์วและบ่าวาล์วไอดี จึงไม่ได้มีความ
    แตกต่างด้านการสึกหรอของบ่าวาล์วเลย
    ประเด็นที่เข้าใจผิดว่า ‘ใช้แก๊สแล้วแห้ง ส่งผลให้บ่าวาล์วแห้ง
    และสึกหรอเร็วขึ้น’ จึงไม่ใช่ บ่าวาล์วไอดี ที่ภาระน้อย ไม่ต้องการ
    เบาะกันกระแทกระหว่างวาล์วกับบ่า
    บ่าวาล์วไอเสีย เป็นชิ้นส่วนที่ถูกเพ่งเล็งว่า เมื่อใช้แก๊ส
    แล้วบ่าวาล์วจะสึกเร็ว
    ลองคิดดูว่า เมื่อเผาไหม้แล้ว ไม่ว่าเชื้อเพลิงอะไรก็ต้องมีความ
    ร้อนสูงและกลายเป็นไอเสียไหลผ่านบ่าและวาล์วไอเสีย ซึ่งนั่นเป็น
    ที่มาของภาระที่หนักกว่าวาล์วและบ่าวาล์วไอดี หนีไม่พ้นที่จะมี
    ความแห้งในตัวเอง ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงของเหลวหรือแก๊ส
    ถ้าจะมีอะไรที่เปียกหรือสามารถทำตัวเป็นเบาะ นั่นคือ ‘สาร
    ตะกั่ว’ ซึ่งในไทยกับน้ำมันเบนซินไม่มีสารตะกั่วมากว่า 15 ปีแล้ว
    ส่วนพวกที่เข้าใจผิดใส่น้ำมันออโต้ลูปสำหรับเครื่องยนต์ 2
    จังหวะมาใส่ในเครื่องที่ใช้แก๊ส ก็เป็น ‘ความเข้าใจผิด และมีผล
    เสียล้วนๆ’ เพราะห้องเผาไหม้ หัวลูกสูบ และหัวเทียนจะเลอะ
    เปียกไปหมด ในขณะที่ตัวน้ำมันออโตลูป ก็ไม่ได้ทำตัวเป็นเบาะรอง
    บ่าวาล์วได้ดีนัก จึงไม่จำเป็นต้องใส่
    ดังนั้นการที่บอกว่า ‘ใช้แก๊สแล้ว บ่าวาล์วสึก เพราะความ
    แห้ง จึงไม่เป็นจริง’
    และที่เข้าใจผิดกันว่า ‘ใช้แก๊สแล้วเครื่องยนต์ร้อน เพราะ
    แก๊สร้อนกว่า...ก็ไม่จริง’ เพราะถ้าแก๊สให้ความร้อนกว่าจริง การ
    ใช้แก๊สก็ต้องให้พลังงานแรงขึ้น มีแรงม้า-แรงบิด มากว่าตอนใช้
    น้ำมันเบนซิน เพราะความร้อนก็คือพลังงานที่จะดันลูกสูบหลังการ
    เผาไหม้ ถ้าไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น ก็แสดงว่าแก๊สไม่ได้ร้อน
    กว่าน้ำมันเบนซิน
    ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ ‘เป็นจริง’
    • การใช้แก๊สก็มีโอกาสที่เครื่องยนต์จะร้อนกว่าได้ใน 2 กรณี คือ
    มีการปรับจูนให้จ่ายแก๊สบาง โดยเน้นความประหยัด จนค่าไอเสีย
    วัดได้สูงกว่าแลมบ์ดา 1.0 ตามที่ควรจะเป็น และอีกกรณีคือ ค่าออก
    เทนของแก๊สที่มีมากกว่าเบนซิน (แอลพีจี ออกเทน 105-110 และเอ็น
    จีวี 120)
    เมื่อนำมาใช้ โดยไม่มีการปรับไฟจุดระเบิดให้ ‘แก่’ กว่าเดิม
    (จุดล่วงหน้า) ก็จะเป็นการทำงานด้วยไฟจุดระเบิด ‘อ่อน’ (ล่าช้า)
    ทำให้การลามของไฟไม่ได้ถีบลูกสูบเต็มที่ แต่ลามไปสู่ช่วงวาล์วไอ
    เสียเปิดในจังหวะคายด้วย ความร้อนที่ไม่ถูกใช้ถีบลูกสูบเต็มที่
    ถ่ายทอดผ่านวาล์วไอเสีย ต่อไปยังบ่าวาล์วและฝาสูบอย่างต่อเนื่อง
    ในกรณีจูนให้จ่ายแก๊สบางกว่าปกติ มีผลทำให้เครื่องร้อนและ
    แรงตก มากกว่าในกรณีที่แก๊สมีออกเทนสูงกว่าเบนซิน แล้วต้องการ
    ไฟแก่ เพราะอย่างแอลพีจีก็มีออกเทนสูงกว่าเบนซิน 95 อยู่
    ประมาณ 10 เท่านั้น ไฟจุดระเบิดเดิมๆ ก็รองรับได้
    โดยรวมคือ แท็กซี่อายุ 3-5 ปีล้วนเครื่องพัง...จริง แต่
    พวกเขาขับกันวันละ 600 กิโลเมตร...ปีละ 180,000 กิโลเมตร
    รวมแล้วล้วนเกิน 400,000 กิโลเมตรถึงจะพัง ทั้งยังใช้น้ำมัน
    เครื่องและไส้กรองด้อยคุณภาพ ยังทนได้ขนาดนี้ แล้วรถบ้าน
    ใช้งานวันละไม่ถึง 100 กิโลเมตร ปีละ 30,000 กิโลเมตร ถ้า
    เครื่องจะพังที่ 300,000 กิโลเมตร กี่ปีจึงจะพัง? ใช้ไป 7-12 ปี
    ระยะทางและนานขนาดนั้น ไม่ต้องใช้แก๊ส...ก็พังครับ
    ชัดเจนเห็นภาพเลยขอบคุณมากครับ

  11. #11
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2011
    User ID
    19235
    Status
    Offline
    โพส
    951

    มาตรฐาน ตอบ: เอามาฝากอีกแล้ว---แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี

    ผมไม่ต้องคิดไรมาก พ่อตายซื้อแท็กซี่มือสองมาขับมา 4-5 ปีแล้วเดิมที lpgปัจจุบันเปลี่ยนมาngv (รถคันเดิม) ขับไม่หยุดกลางวันพ่อขับเลิกขับ5โมงเย็นล้างรถเข้าบ้านจอด 10 นาทีน้าขับต่อเลิก6โมงเช้า เป็นแบบนี้ตลอด จนปัจจุบันยังขับได้ไม่มีปัญหา คิดดูเดือนหนึ่งใช้งานกี่โล....

ข้อมูลกระทู้

Users Browsing this Thread

ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)

ป้ายกำกับของกระทู้นี้

Bookmarks

กฎการโพสข้อความ

  • ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสได้
  •  
  • BB code สถานะ เปิด
  • Smilies สถานะ เปิด
  • [IMG] สถานะ เปิด
  • [VIDEO] code is เปิด
  • HTML สถานะ ปิด