...........................
...........................
นั่นนะซิจะเชื่อใครดี ส่วนรถผมก็ไม่ได้รันอินครับก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรนะ
ที่ผ่านมา ออกป้ายแดง มากี่คัน ก็ตาม ผมจะขับแบบถนอม วิ่งไม่เกิน 100 - 120
ไม่แช่รอบ คงที่ ตลอด จะวิ่งสลับ 2 พันรอบ มา 1800 บ้าง ไป 2200 รอบบ้าง
ไม่เบรครุนแรง ถ้าไม่จำเป็น ค่อย ๆ ออกตัว ทุกเกียร์ และไม่ลากรอบสูง ...
หลังจากผ่านไปสัก 3 พันโล แล้วค่อยเริ่ม เพิ่มความเร็ว และใช้งานแบบเต็มที่ครับ
อันนี้ เป็นลักษณะ การขับ ของผมทุกคันที่เป็นป้ายแดงครับ
ผมว่ายังไง run in ซักหน่อยจะดีกว่า เครื่องยนต์แต่ละตัวที่ประกอบขึ้นมาอาจจะไม่ 100 % ทุกตัวหรอกครับ ลองสังเกตดูรถใหม่รุ่นเดียวกันบางคันเสียงเครื่องยนต์ทำงานดังกว่าอีกคัน การ run in จะช่วยทำให้หน้าสัมผัสของชิ้นส่วนที่มีการเสียดสีกันค่อยๆสึกปรับเข้าหากันก่อนการใช้งานที่รุนแรงในภายหลัง
การขับรถที่รอบสูงหรือรุนแรงโดยไม่ได้มีการ run in อาจจะไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์เสียหายอะไร แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจจะก่อให้เกิดการขูดขีดหรือเป็นรอยในบริเวณที่มีการเสียดสีกัน อย่างเช่น ผนังกระบอกสูบ ทำให้เครื่องยนต์ สึกหรอ หลวมเร็วขึ้น
การรันอิน ยังต้องมีอยู่ครับ แต่ส่วนมาก มักเข้าใจผิดว่า ห้ามขับเกิน 100 แต่ ในความเป็นจริงคือ ....
1.ขับเร็วได้ แต่อย่าแช่นานๆ พูดง่ายๆ อย่าให้รอบค้างคงที่นานๆ
2.เบรค อย่าเหยียบหนัก ในช่วง 300 โล แรก และทุกๆการเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่
3.อย่าใช้ความเร็วสูงมากๆ เพราะชิ้นส่วนต่างๆ ยังไม่เข้าที่ดี
ถนอมแบบนี้ ในช่วงแรกของชีวิตรถครับ จะอยู๋กับเราได้นานๆ
... ถ้ามันพังผมคงพังไปนานและตั้งแต่ป้ายแดง หุหุ ....
...แต่ก็นะ นานาจิตตัง สมัยนี้มีแต่ผู้รู้กันทั้งนั้น หักล้างกันไปกันมาหาความจริงแทบจะไม่ได้....
... สรุปรถเราเองจะใช้อย่างไรก็อยู่ที่เจ้าของรถดีกว่า เชื่อตัวเอง พลาดพลั้งเอง และเรียนรู้จริงได้เอง .... ^ ^'
ผมเคยมีโอกาสได้ Meeting กับ R&D ของรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งที่ขายดีมากในเมืองไทย ผมสอบถามเกี่ยวกับการ Run In ของเครื่องยนต์ เขาบอกว่ารถยนต์สมัยนี้ไม่จำเป็นต้อง Run In สังเกตุได้จากการรับประกันเครื่องยนต์ที่มากขึ้นกว่าเก่า ชึ่งเมื่อก่อนอาจรับประกันเครื่องยนต์ 50,000 Km.หรือ 1 ปี แต่เดี๋ยวนี้รับประกัน 150,000 Km.หรือ 3 ปี การถ่ายน้ำมันเครื่องทางโรงประกอบรถก็เติมน้ำมันสังเคราะห์ 100 % มาให้ถ่ายที่หมื่นโลชึ่งสมัยก่อนเราต้องถ่ายที่ 1,000 โลก่อนเพื่อถ่ายเทตระกอนในห้องเครื่อง แต่ตอนนี้กรรมวิธีการผลิตทันสมัยกว่าแต่ก่อนจึงมีการรับประกันเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นได้ แต่ตรงกันข้ามเนื่องจากรถสมัยนี้มีกล่อง ECU เป็นสมองกลในการสั่งงานในระบบเครื่องยนต์ 1,000 Km.แรกระหว่างหน้ายางที่ยังไม่ถูกเปิดมากนัก ให้เจ้าของรถเหยียบความเร็วให้เข็มไมล์มากเท่าที่ใจถึง(ต้องระวังอันตรายด้วย)เพื่อให้ ECU บันทึกความจำว่าสามารถวิ่งได้เท่าไหร่ เมื่อถึงเวลาต้องใช้ความเร็วจริงๆ ECU มันจะสั่งการได้โดยฉับพลันเพราะมันจะรู้ได้ทันทีว่ามันเคยทำความเร็วได้เท่าไหร่ ข้อมูลนี้ผมฟังมาจากปากวิศวกรที่วิจัยเกี่ยวกับระบบรถยนต์(รัยผิดชอบด้านท่อไอเสีย)ของบริษัทผลิตรถยนต์จะจริงเท็จแค่ใหนท่านสมาชิกคงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมกันเอาเอง แต่จากที่สังเกตุรถของผมเอง ตอนผมถอยมาใหม่(1,000 Km.แรก)ผมขับรถกลับบัานต่างจังหวััดถนนโล่งและเป็นทางตรง ลองเหยียบดูไตร่ 150 แช่ 2- 3 นาที(ได้แค่นี้ใจไม่ถึง) และไม่ค่อยได้เหยียบแบบนั้นอีกเลยไม่ค่อยได้ออกต่างจังหวัดใช้รถเฉพาะในกรุงเทพ มาช่วงหลังๆไปเที่ยวต่างจังหวัดบ่อยขึ้น ลองเหยียบดู ความเร็ว 0- 150 ความเร็วขึ้นปกติ แต่เลย 150 ไปมีความรู้สึกว่ารถมีอาการสั่นเล็กน้อยและความเร็วหลัง 150 ไปจะขึ้นช้ามาก ไม่รู้ว่าข้อมูลนี้จริงหรือผมคิดไปเองก็ไม่รู้
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks