ข้อดี-ขอ้เสียของการมีinter coolerแตกต่างยังไง
ข้อดี-ขอ้เสียของการมีinter coolerแตกต่างยังไง
Plus มีอินเตอร์นะ ดูดีๆ แต่ใบมันเล็ก
อินเตอร์ของเราจะอยู่ด้านหน้าหลังกันชนเหมือนพวกรถซิ่ง ส่วนห่ายอื่นเค้าไว้ด้านบนเครื่อง ข้อดีข้อเสียต่างกันตรงที่ อยู่ด้านหน้าอินเตอร์รับลมระบายความร้อนไอเสียได้ดีแต่ถ้าเกิดการชนหนักจนยุบมาถึงอินเตอร์รถจะต้องลากไปที่0อย่างเดว
ไทรทันมีทุกรุ่น ยกเว้น ตัว 116 ม้าลงมา ถึงไม่มี
ของเราดีกว่าตรงที่ มีออยคูลเลอร์เกียร์ด้วย
อินเตอร์ หน้าเครื่องดีกว่า ไว้นเครื่องครับ
อันนั้น เท่อย่างเดียว ระบบความร้อนไม่ดีเท่า
ท่านใช้ตัวไหนคับ
ถ้า 116 ไม่มี ถึงไม่มีก้อแรงแล้วคับ
ไม่มีก็หาตัวจับยากแล้ว
ตัว Plus มีครับ อยู่ด้านหน้า
อินเตอร์คูลเลอร์( INTER COOLER ) หรือ อัฟเตอร์คูลเลอร์ ( AFTER COOLER ) หรือตามอย่างช่างแต่งรถเมืองนอกเขาเรียกว่า HEAT EXCHANGER แปลตรงตัวเลยครับว่า ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน หน้าที่ของมันคือ ระบายความร้อนของไอดีที่ถูกอัดมาจาก เทอร์โบชารจ์เจอร์ซึ่งมีความร้อนสูงให้เย็นตัวลง อากาศที่มีความร้อนสูงตามหลักฟิสิกส์ จะมีมวลอากาศน้อยความหนาแน่นต่ำ อากาศเย็นมวลอากาศมากความหนาแน่นสูงกว่า สังเกตุจากเวลาอากาศเย็นๆรถจะวิ่งดีขึ้น เจ้าอินเตอร์คูลเลอร์นี่หละจะคอระบายความร้อน ของไอดีอุณหภูมิสูงให้ลดลงมวลไอดี จะมีความหนาแน่นขึ้น การเผาไหม้ดีขึ้น เครื่องยนต์พลังแรงขึ้น
ทฎษฎี
อากาศที่ถูกอัดจากเทอร์โบจะมีความร้อนสูง เนื่องมาจาก โมเลกุลของอากาศผ่านการเสียดสีีกับกังหันเทอร์โบด้วยความเร็วสูงเมื่ออัดเข้าสู่ท่อไอดีแรงดันของอากาศจะทำให้โมเลกุลเกิดการกระทบกันอีกความร้อนจะเพิ่มสูงมาก จากอุณหภูมิปกติ 35 – 45 องศาจะสูงขึ้นเป็น90 – 120 องศา และทุกๆ 1องศาของอุณหภูมิิที่เพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้อุณหภูมิไอเสียเพิ่มขึ้นอีก 3 องศา ( ลองคำนวณดูครับว่าน่ากลัวขนาดไหน ) ดังนั้นอินเตอร์คูเลอร์จะทำหน้าที่ลดความร้อนไอดีให้กลับมาที่อุณหภูมิปกติ ในอินเตอร์ที่ดีน่าจะลดความร้อนให้กลับมาอยู่ที่ 20- 50 องศาการลดความร้อนที่ดีขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้้อินเตอร์ การติดตั้ง และคุณภาพของอินเตอร์ที่นำมาติดตั้ง
ชนิดของอินเตอร์คูเลอร์
มี 2 แบบคือ
1. แบบถ่ายเทความร้อนด้วยน้ำ จะอาศัยน้ำหล่อเย็นจากตัวหม้อน้ำเครื่องยนต์ หรือมีหม้อน้ำแยกโดยมีปั้มน้ำทำหน้าที่ปั้มน้ำจากหม้อหล่อเย็นมาระบายความร้อนที่อินเตอร์ อินเตอร์แบบนี้เหมาะกับประเทศเมืองหนาวที่ไม่ต้องการให้อุณหภูมิการเผาไหม้เย็นเท่าไหร่ และในรถแข่งขันระยะสั้นที่ใช้วิธีเอาน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเติมลงไปในอินเตอร์คูเลอร์เลย
2. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ คืออาศัยอากาศที่ผ่านมาปะทะตัวอินเตอร์
เพื่อระบายความร้อน เหมาะกับเมืองร้อนที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ
การติดตั้ง
แบบระบายความร้อนด้วยน้ำส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งติดกับตัวเครื่องยนต์ และติดตั้งหม้อหล่อเย็นไว้ด้านหน้ารถเพื่อใช้อากาศระบายความร้อน แบบนี้มีผลดีครับเพราะท่อไอดีมีขนาดสั้น บูชจะมาไวลดอาการเทอร์โบแร็ค แบบระบายความร้อนด้วยอากาศส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งด้านหน้ารถ หรือ ติดกับเครื่องยนต์ แล้วเจาะฝากระโปรงรถให้เกิดช่องรับลม แบบนี้ไม่ต้องดูแลมาก เหมาะกับเมืองร้อน ต้องติดตั้งให้อากาศสามารถมาปะทะได้ง่ายมีสิ่งกีดขวางน้อยที่สุด และต้องไม่ไปกีดขวางการระบายความร้อนของหม้อน้ำและรังผึ้งแอร์ จนทำให้ความร้อนเครื่องยนต์เพิ่มสูงขึ้น และแบบที่ติดตั้งบนฝากระโปรงส่วนใหญ่จะมีช่องดักอากาศ ( SCOOP ) แบบนี้มีผลดีเพราะติดตั้งง่าย ท่อไอดีสั้นบูชมาไว แต่การติดตั้งต้องคำนึงถึงรูปแบบอากาศพลศาสตร์ของรถแต่ละรุ่นด้วยเพราะรถส่วนใหญ่แล้วจะออกแบบให้อากาศที่ชนฝากระโปรงหน้าขึ้นข้ามหลังคาไปเลย เพื่อลดฝุ่น หิน ดิน และแมลงมาชนกระจกหน้ารถ มีโอกาสที่ลมจะไม่เข้าสคูปเลย
การเลือกซื้อ
อินเตอร์ที่ขายๆกันมีให้เลือกอยู่มากมายหลายยี่ห้อ หลายแบบโดยมี 2 แบบใหญ่ๆ คือแบบ ท่อเชื่อม( WELDED OR EXTRUDED TUBE )แบบนี้จะมีโครงสร้างโดยใช้ท่ออลูมเนียมมาเชื่อมต่อกันเลย ไม่มีโครงสร้างเป็นแท่ง อย่างเช่นของ 1G , 7M ,1J , 4D56 จะมีลักษณะเป็นหลอดบางน้ำหนักเบา การระบายความร้อนดี แต่รับเเรงดันได้ไม่สูงมากเกิดการแตกได้ง่าย อินเตอร์แบบโครงสร้าง ( BAR AND PLATE )ทำขึ้นจากการนำหลอดอะลูมิเนียมมาเชื่อมติดกับโครงสร้างโดยใช้แผ่นอลูมิเนียม พวกนี้จะมีขนาดใหญ่น้ำหนักมาก แต่ความแข็งแรงสูง รับแรงบูชได้สูงขึ้น คุณสมบัติการระบายความร้อน ขึ้นอยู่กับการออกแบบและวัสดุที่ใช้ในแต่ละยี่ห้อ เช่น
ARC เป็นอินเตอร์ที่ทำขึ้นโดยใช้แผ่นอลูมิเนียมพับเชื่อมติดกับแท่งอะลูมิเนียมภายในท่อระบายอากาศ
จะมีครีบช่วยระบายอากาศรูปสามเหลี่ยม หลอดอากาศมีขนาดใหญ่ภายนอกทำเป็นมุมสามเหลี่ยม
เพื่อให้อากาศไหลได้เร็วขึ้น
HKS เป็นอินเตอร์ออกแบบเป็นแบบท่อเชื่อมกับท่อด้วยตัวเอง
ไม่มีแผ่นอะลูมิเนียมมาทำหน้าที่ยึด ภายในท่ออากาศเป็นทรงเหลี่ยมตรงๆ ภายนอกหลอดอากาศ
เป็นแบบเหลี่ยมแต่มีเอกลักษณ์ที่ครีบระบายความร้อนมีเยอะมากๆสามารถระบายความร้อนได้ดี
TURST เป็นท่อรับอากาศจะมีขนาดเล็กและแบนแต่จะมีท่อรับอากาศมากกว่า ทำให้ไอดีไหลผ่าน
ได้รวดเร็วกว่า ภายนอกท่อรับอากาศมีลักษณะมนๆ มีขนาดหนากว่าการระบายความร้อนดี
BLITZ เป็นท่อรับอากาศเชื่อมกับแผ่นอะลูมิเนียมภายนอกดูเหมือนทั่วๆไปแต่ภายใน
หลอดอากาศมีครีบ ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ช่วงทางเข้าจะเป็นแบบครีบธรรมดา
พอถึงช่วงกลางจะเป็นครีบซ้อนกันสองชั้น และพอถึงทางออกจะเป็นแบบธรรมดา
ช่วยในการถ่ายเทความร้อนได้ดี
APEX เป็นลักษณะทั่วไปเอกลักษณ์คือภายนอกท่อรับอากาศภายนอกเป็นมุมเฉียง
เป็นลักษณะห่างๆ ช่วยให้อากาศไหลมาระบายความร้อนได้รวดเร็วขึ้น
ข้อดี
ช่วยระบายความร้อนให้กับไอดี ให้มีอุณหภูมิลดลง แรงม้าสูงขึ้นลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์
และไอเสีย เทอร์โบทนทานขึ้น ลดอาการน็อคในการสันดาปเนื่องมาจากการชิงจุดระเบิด
ข้อควรระวัง
การติดตั้งต้องอยู่ในจุดที่รับลมมาระบายความร้อนได้ดีที่สุด ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่ดีจะมีผลกลับกัน
ทำให้ความร้อนไอดีสูงขึ้นกลายเป็นอินเตอร์ฮีทเตอร์ได้ ต้องไม่ไปบังการระบายความร้อน
ของหม้อน้ำอาจทำให้ความร้อนขึ้น ท่อยางและเหล็กรัดควรใช้อย่างดีที่ออกแบบมาเพื่อ
ท่อเทอร์โบ ที่ต้องทนแรงดันและความร้อน เพราะถ้ามีการรั่วอาจทำให้ หรือรถจะวิ่งไม่ออก
เครื่องสะดุด ถ้าแตกอาจทำให้ เครื่องดับ สตาร์ทไม่ติด
credit....www.thaispeedcar.com
ขอบคุณมากๆครับกับคำตอบที่ดีๆๆ
แล้วถ้า 116 อยากติดประมาณเท่าไรคับ แล้วจะวิ่งได้อีกเท่าไรคับ
ถ้าเบิกของพลัสมาใส่ก็เท่าไรไม่เกินหมื่นรวมค่าติดติดตั้ง
อินเตอร์3200บาทยังไม่รวมส่วนลด10เปอร์เซ็นต์
ท่อหน้าทั้งชุดรวมอีกพันกว่าบาท
ส่วนท่อออกจากเทอร์โบและท่อเข้าลิ้นปีกใช้ของพลัสไม่ได้ต้องเสียเงินแล้วแต่ของที่จะมาทำแสตนเลสหรือท่อมิเนียมก็น่าจะราวๆสองถึงสามพันได้มั้ง
อยากติดเหมือนกัน เบ็ดเสร็จเท่าไหร่ครับ
แรงขนาดนี้ก็ไม่ยากจะกดเพิ่มแล้วคร้าบ น้ำมันแพง555
มีออยล์คูลเลอร์ก็ดีนะครับ ตอนผมใช้ Strada ปรากฏว่าหม้อน้ำรั่ว เครื่องความร้อนขึ้นแต่ยังพอขับประคองไปซ่อมได้ครับ ถ้าไม่มีสงสัยจอดสนิทครับ
Oil Cooler มีอยู๋แล้วทุกรุ่นครับ
Oil Cooler ของ เครื่องไทรทัน เป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
เป็นตลับอยู่แถวๆ แถวๆปั๊มน้ำครับ
ถ้าเป็นสมัย Strada หน้าตาจะเหมือนออยเกียร์ ของเกียร์ออโต้ครับ
สรุปว่า ออยมีในไทรทันครับ แต่ออยเกียร์จะมีเฉพาะ ออโต้เท่านั้นครับ
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks