โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท.ลุ้นยอดผู้ทิ้งใบจองรถยนต์คันแรกไม่เกิน 60,000 ราย ยอมรับหากสูงเกินนี้ทั้งค่ายรถยนต์, โชว์รูม และ ไฟแนนซ์หนาวแน่
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ยอดจองรถยนต์ในโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรกที่ยังไม่ได้ส่งมอบลูกค้ามีประมาณ 600,000 คัน (จากยอดตัวเลขยอดผู้ใช้สิทธิ์หลังสิ้นสุดโครงการมีจำนวน 1.2 ล้านคัน) ซึ่งขณะนี้ต้องจับตาดูว่า จะมีลูกค้าทิ้งใบจองมากน้อยเพียงใด หากแค่ระดับ 10% หรือ 60,000 คัน ก็คงไม่มีปัญหามากนัก อย่างไรก็ตาม หากโครงการนี้การยกเลิกใบจองในอัตราที่สูงเกินคาด คงกระทบกับ
ผู้ประกอบการโชว์รูมหรือเอเย่นต์รถยนต์,ค่ายรถยนต์, โชว์รูมหรือเอเย่นต์รถยนต์ และสถาบันการเงินหรือไฟแนนต์แน่
ตอนนี้ต้องดูว่ามีการทิ้งใบจองมากแค่ไหนหากแค่ระดับ 10% หรือ 60,000 คัน ก็คงไม่มีปัญหามากนัก เพราะคาดว่ายอดจองในงานมอเตอร์โชว์ก็จะมีเข้ามาชดเชยในส่วนนี้ได้ แต่หากโครงการรถยนต์คันแรกมีการยกเลิกใบจองในอัตราที่สูงแบบคาดไม่ถึงเชื่อ ว่าค่ายรถยนต์, โชว์รูมหรือเอเย่นต์รถยนต์ และ ไฟแนนซ์คงหนาวแน่
อย่างไรก็ดีหากยอดยกเลิกไม่เกิน 10% ทางค่ายรถยนต์ก็จะสามารถปรับเป้าการผลิตรถยนต์ในปีนี้เป็น 2.7-2.8 ล้านคันได้ เพราะแม้มียอดยกเลิกในโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก แต่ก็มีการสั่งจองรถยนต์ในงานนมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 34 (ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 7 เมษายน 2556 ที่อิมแพค เมืองทองธานี) เพิ่มเข้ามา
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ค่ายรถยนต์เริ่มแสดงความกังวลว่า ลูกค้าที่ได้เลื่อนการรับรถยนต์ ตามโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาลบางรายมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนใจเป็นยกเลิกใบ จองสูงเพราะมีปัญหาเรื่องของการหาเงินดาวน์ รวมถึงไม่มีความพร้อมในการรับภาระค่าใช้จ่ายเรื่องรถยนต์ และพบว่าบางรายจองหลายคัน หากได้คันไหนก่อนก็จะสละสิทธิ์ที่เหลือ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีลูกค้าเลื่อนรับรถนาน 2-3 เดือน จนทำให้รถยนต์ค้างในโชว์รูม แต่ประเด็นใหม่ที่กังวลคือคนที่ขอเลื่อนนานๆ สุดท้ายก็เปลี่ยนเป็นการยกเลิกใบจอง
ขณะที่ นายสุรพงษ์เชื่อว่า แม้ว่าลูกค้าจะยกเลิกยอดจองจำนวนมากก็ไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการผลิตรถยนต์ในปี นี้ที่ค่ายรถยนต์ร่วมกันตั้งเป้าการผลิตไม่ต่ำกว่า 2.55 ล้านคัน เนื่องจากผู้ประกอบการจะหันไปส่งออกแทน โดยความต้องการของผู้บริโภคยังมีเพิ่มต่อเนื่อง ขณะที่ยอดความต้องการรถยนต์ในต่างประเทศก็มีปริมาณสูงเช่นกัน โดยเฉพาะในยุโรปที่กลับมาซื้อรถยนต์กันอย่างคึกคักเหมือนเดิม โดยในช่วง 2 เดือนแรก (มกราคมกุมภาพันธ์ 2556) มียอดส่งออกไปยังยุโรปแล้วกว่า 13,000 คัน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 86%
นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาเงินบาทขณะนี้ถือว่า แข็งค่าสูงสุดในรอบ 16 ปี ทำให้ผู้ประกอบการรถยนต์ประสบปัญหาขาดทุนแน่นอน เพราะกำไรของอุตสาหกรรมยานยนต์มีไม่มาก
ส่วนนโยบายการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล 2 ล้านล้านบาท จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สามารถเพิ่มยอดการผลิตรถยนต์ทั้งทางตรง และทางอ้อมได้เฉลี่ยปีละ 100,000-200,000 คัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะต้องซื้อรถปิกอัพ และรถบรรทุกรองรับในการบรรทุกแรงงานและวัสดุก่อสร้างต่างๆ ในปริมาณมากในช่วงที่มีงานก่อสร้าง
ยอดการผลิตที่เพิ่มขึ้นคงไม่ใช่มาจากโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทโดยตรงทั้งหมด แต่จะได้รับอานิสงส์ทางอ้อมจากโครงการดังกล่าวด้วย คือ โครงการจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วเชื่อมโยงไปยังธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รวมถึงแรงงานที่มีรายได้สูงขึ้นทำให้ส่วนหนึ่งมีกำลังในการซื้อรถยนต์ได้ ส่วนที่ได้รับอานิสงส์ตรงๆ ก็คงจะเป็นกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะซื้อรถยนต์ไปใช้ในงานนายสุรพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้ภาคเอกชนต้องการเห็นโครงการดังกล่าว เพราะจะช่วยพัฒนาประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมได้เป็นอย่างดีในช่วง 7 ปีที่มีการลงทุน เนื่องจากไทยไม่เคยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในระดับที่มีมูลค่าสูงมานานแล้ว โดยเฉพาะในปี 2557-2559 จะมีการใช้เม็ดเงินมากก็จะทำให้หลายๆ อุตสาหกรรมได้รับอานิสงส์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากเหมือนกัน
แม้ว่าประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงและระบบขนส่งที่มากขึ้นในอนาคต แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการผลิตรถยนต์ที่ตั้งเป้าการผลิตในอีก 5 ปีข้างหน้าที่ 3 ล้านคันต่อปี เนื่องจากแต่ละครอบครัวก็ยังมีความจำเป็นต้องมีรถยนต์เพื่อไว้ท่องเที่ยวกับ คนในครอบครัวช่วงวันหยุด แต่วันทำงานก็อาจจะยอดรถยนต์ไว้กับบ้านแล้วนั่งระบบขนส่งมวลชนแทนนายสุ รพงษ์กล่าว
Bookmarks