ขอเสริมละกันครับ......ทางลง=เปิดแอร์ให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานจะช่วยฉุดกำลังเครื่อง ทำให้รอบไหลขึ้นช้ากว่าเดิม ช่วยเบรคได้อีกทาง
ขอเสริมละกันครับ......ทางลง=เปิดแอร์ให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานจะช่วยฉุดกำลังเครื่อง ทำให้รอบไหลขึ้นช้ากว่าเดิม ช่วยเบรคได้อีกทาง
ขณะที่ใช้เบรคบนเขา ถ้าไม่ได้กลิ่มไหม้ ก็หายห่วงครับ
แต่เช็คซักหน่อยก็ดีครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา
การกดเบรคหนักๆ แบบจึกๆ ดีกว่าแบบแตะค้างนะครับ เพราะจังหวะที่เราปล่อยเบรค ผ้าเบรคจะมีโอกาสคายความร้อน
แต่ถ้าเรากดแช่ ถึงแม้กดไม่หนักก็ตาม ผ้าเบรคจะสัมผัสกับจานตลอดเวลา ทำให้เกิดความร้อนสะสม ตัวการที่ทำให้ไหม้แหละครับ
จังหวะไหลลงเข้าเกียร์ค้างไว้ ไม่ต้องเหยียบคลัชท์ ส่วนเบรคก็ดูจังหวะกดเอาเอง
รอบเครื่องจะกวาดขึ้นไปสูงช่างมัน เสียงมันจะดังอื้อไปหมดปล่อยมัน ไม่พังครับ
รถผมบางจังหวะกวาดขึ้นไป 4-5 พันรอบแน่ะ
ถ้ากังวล (ขณะที่รอบเครื่องกวาดไปเกือบ 5 พัน) ก็แก้โดย
- กดเบรคหนักๆ จนเกือบหยุด
- เหยียบคลัชท์ เพิ่มเกียร์
- ยกคลัชท์ ยกเบรค ไหลลงต่อ
(พอเพิ่มเกียร์ แล้วไหลลงที่ทางลาดเดิม รอบเครื่องจะกวาดน้อยลง ตามอัตราทดเกียร์)
ขอสงสัยนิดหน่อยครับ (เป็นคนชอบสงสัยครับ ไม่ว่ากันนะครับ)
และผมก็เป็นมือใหม่เหมือนกันครับ
- เราๆ ท่านๆ ทราบกันว่าไทรทันเรา แรงบิดจะสูงสุดที่ 2500-3000 รอบ หรือราวๆนี้ สำหรับ vg mt จะได้ถึง 400n-m
หากตอนขึ้นเขา เราไม่สามารถรักษารอบไว้ได้ (มือใหม่)
บังเอิญว่ารอบส่วนใหญ่จะป้วนเปี้ยนแถวๆ 2000-2500 รอบ เกียร์วนไปมาแถวๆ 1-3
ซึ่งเป็นผลให้แรงบิดมาน้อยกว่าที่ควร(< 400n-m)
แต่ว่า แรงบิดเหล่านั้น ก็ยังมากกว่า แรงบิดสูงสุดของรถรุ่นคุณพ่อ หรือมากกว่าของรถรุ่นอื่นๆในวัยเดียวกัน
จะถือว่าเพียงพอต่อการไต่ขึ้นเขาหรือไม่ครับ
เพราะหากดูแรงบิด ยังไงไทรทัน(vg mt) ก็น่าจะเยอะกว่าอยู่แล้ว
ด้วยความสงสัยจริงๆครับ
จริงๆแล้ว เราต้องดูทั้งรอบเครื่องและความเร็วของตัวรถเองด้วยว่ามันช้าลงมากหรือมันเร็วและยังมีแรงอยู่ เวลาขับขึ้นเขา เราวิ่งมาบนพื้นราบ เกียร์อาจจะอยู่ที่ 5 พอรถเริ่มขึ้นทางชัน ความเร็วและรอบจะเริ่มตกลง เราก็เปลี่ยนลง 4 แล้ววิ่งต่อไปตามปรกติ เมื่อรอบและความเร็วเริ่มลดลงอีก ก็เปลี่ยนลง 3 แล้วก็เหยียบคันเร่งวิ่งต่อไป คราวนี้คนทั่วไปมักจะหยุดที่เกียร์3 ถ้ารถยังขึ้นทางชันอยู่ ถ้าเหยียบคันเร่งแล้วรถไม่วิ่งเร็วขึ้น เหลือบมองวัดรอบ ถ้ารอบไม่ขึ้นหรือขึ้นช้าแสดงว่า รถเริ่มหมดแรงที่เกียร์ 3 แล้ว ต้องเปลี่ยนเกียร์ลง 2 แล้วเหยียบคันเร่งรอบจะกลับมาและรถจะมีแรงวิ่งต่อไป ทางขึ้นเขาส่วนใหญ่ถ้ารถไม่ติด เกียร์2 ก็เพียงพอที่จะขึ้นได้แล้วครับ ที่สำคัญอย่าลากเกียร์ขึ้นเขาที่เกียร์เดียวจนรถหมดกำลัง เมื่อท่านเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำแล้วต้องเหยียบคันเร่งเพิ่มนะครับ เหยียบเข้าไป....
ของผมตามสันชาตญาณในการขับรถเลยครับ ตอนขึ้นเข้าก็ 1-2-3 บางจังหวะก็มี 4 บ้าง แต่ส่วนใหญ่ จะใช้ 2-3 เลี้ยงรอบประมาณ 2000 รอบขึ้นไป ส่วนตอนลงเข้า จะใช้แค่เกียร์ 2-3-4 ครับ ขึ้นอยู่กับรอบเครื่องและเส้นทางในขณะนั้น ส่วนการเบรคผมจะใช้การแตะ ๆ เบรค จะไม่เลียเบรค และย้ำอีกนึงครั้ง ก่อนเข้าโค้ง สับเกียร์ลงมา 1 เกียร์ แล้วเหยียบส่งต่อเข้าโค้งในครับ ผมลงจากแม่สอดมา 2 คัน เมื่อวันก่อน ความเร็วประมาณ 80-100 ครับ ในแต่ละโค้ง ที่สำคัญต้องดูโค้งให้ออกด้วยล่ะ
ขอตอบแบบชาวบ้านนะครับ อาจไม่ตรงตามภาษาวิชาการเท่าไหร่
คืองี้ครับ Specification ของเครื่อง ทรอค หรือ แรงบิดจะสูงสุดที่ 2500-3000 รอบ หรือราวๆนี้ สำหรับ vg mt จะได้ถึง 400n-m
นั่นหมายความว่า รีดกำลังฉุดลาก (ไม่ใช่แรงม้านะ) ได้สูงสุด 400 นิวตันเมตร ตามรอบเครื่องนั้นๆ (รอบสูงไป/ต่ำไป ก็ไม่ได้กำลังตามนั้น)
ในความเป็นจริง การลากรถขึ้นเขาไม่จำเป็นต้องใช้กำลังสูงสุดขนาดนั้นครับ อาจใช้เพียง 40-60-80% ของกำลังสูงสุดที่เครื่องปั่นได้
(ถ้าลากที่กำลังสูงสุด 100% แช่ยาวๆ สงสารเครื่องครับ กลัวจะพังเอา ยิ่งขึ้นเขารถเอียงด้วย การดูดน้ำมันเครื่องขึ้นไปเลี้ยงเครื่องอาจไม่ดีพอเหมือนทางราบ)
การลากรถขึ้นเขา ผมสนใจที่รอบเครื่องครับ ไม่ได้สนใจที่ความเร็ว ผมจะเลี้ยงรอบให้ป้วนเปี้ยนแถวๆ กำลังประมาณ 60%
สังเกตุจากรถยังมีแรงฉุดลากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
ถ้าย้ำคันเร่งลงไปอีก ยังมีแรงดึงได้อีก (ใช้กำลังฉุดลากประมาณ 80%) รอบจะสูงขึ้น เครื่องทำงานหนักขึ้น แต่ไม่มีประโยชน์อะไร (เก็บไว้เผื่อแซงดีกว่า)
ถ้าทางชันเพิ่มขึ้น รอบเริ่มตก ความเร็วเริ่มตก (กำลังฉุดลดลงเหลือประมาณ 40%) ผมก็จะลดเกียร์เรียกรอบขึ้นมา เพื่อให้เครื่องปั่นแรงบิดกลับมาอยู่ที่ 50-60% ตามเดิม
ทั้งนี้ % ต่างๆ นั้นอยู่ที่ความรู้สึกนะครับ ขณะลากรถขึ้นเขาคงไม่มีตัววัดแรงบิดที่ชัดเจน
อาศัยความรู้สึกว่ารถยังมีกำลัง มีแรงดึง เราพารถไปนะครับ อย่าให้รถพาเราไป
ไม่แน่ใจว่าตอบตรงคำถามหรือไม่ครับ ถ้าไม่ตรงขออภัย ถามเพิ่มก็ได้ครับ แชร์กัน มีอีกหลายอย่างที่ผมก็ไม่รู้ครับ
ขอบคุณครับ น้า PanYaChon
ผมหมายถึงอย่างนั้นล่ะครับ
คือเราใช้กำลังฉุดลากไม่เต็ม 400n-m
แต่รู้สึกได้ว่า ถ้าเหยียบลงไปอีก มันฉุดอีกแน่นอนครับ
แบบว่าพฤติกรรมการขับรถของผม จะเป็นแบบนี้ครับ (วิ่งบนทางราบ )
- ผมจะเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นเมื่อเครื่องยนต์รู้สึกได้ว่ามีเสียงมากกว่าปกติ และรอบจะแตะ 2000 (บางทีไม่ถึง2000 ก็เปลี่ยนครับ ถ้าลงเนิน)
- ในทางกลับกันครับ ถ้ารถชะลอจนรู้สึกได้ว่าเครื่องเริ่มสั่น ผมจะเหยียบคลัทช์ลดเกียร์เลยครับ
วิ่งกลับบ้าน ตจว. นี่ รอบแทบไม่เคยแตะ 2500 รอบเลยครับ (ยกเว้นตอนแซง)
ผมเองไม่เคยขึ้นเขาลาดชันครับ
เคยผ่านภูเขาก็แต่วิ่งเส้นมิตรภาพ สระบุรี-โคราช เท่านั้นครับ ซึ่งถือว่าไมชัน
ที่ชันๆจริงๆ ก็มีขึ้นห้างครับ วนด้วย แต่ก็ไม่เคยจะถึง 2000 รอบอยู่ดี (เกียร์ 1บางที 2 ขับขึ้นช้าๆ ชัวร์ๆ)
ขอสงสัยเพิ่มเติมนะครับ สำหรับการลงทางชัน (จากห้าง)
- ผมเข้าเกียร์ 1 บางทีก็ 2 ขับลงช้าๆ (เหมือนตอนขึ้น)
- ถ้ารอบมันจะวิ่งสูงขึ้น(ไม่เคยจะถึง 2500 รอบ ด้วยซ้ำ) ผมเหยียบคลัทช์เลยครับ พร้อมแตะเบรค
- ถ้าแตะเบรคแล้ว เหลือความเร็วเท่ากับหรือพอๆกับความเร็วจากการวิ่งในเกียร์ปกติ ผมจะปล่อยเบรคให้วิ่งด้วยเกียร์
- ทำแบบนี้วนไปมาเรื่อยๆ ครับ
(แตะเบรค คือ แตะในลักษณะที่เกือบเรียกว่าเลียเบรคครับ คล้ายๆ ใกล้จะติดไฟแดงอะครับ ถ้าล้อล็อค คงหน้าคะมำ)
ที่ผมทำเช่นนี้ เพราะทางลงห้างเป็นทางวนรัศมีแคบ ลงเร็วไม่ได้อยู่แล้วนะครับ
แต่อยากถามว่า
ผมทำถูกต้องแล้วหรือไม่ อย่างไร ครับ หากจะนำไปประยุกต์ในการขึ้น-ลงเขา ที่ชัน และระยะทางมากกว่านี้
เข้าใจว่าไม่ตรงกับที่ น้าๆหลายท่านแนะนำครับ
ด้วยความเคารพ
น้า mr.noname ท่านทำอย่างนั้น ถูกต้องแล้วครับ
การลงห้างฯ มันชันก็จริง แต่เป็นระยะสั้นๆ เท่านั้น มันไม่ยาวพอให้เบรคสะสมความร้อนครับ อาการเบรคไหม้ไม่เกิดแน่นอน
เวลาผมลงห้าง ก็ขับเหมือนน้าแหละครับ บางทีเหยียบคลัชท์แช่ตลอดด้วย แล้วกดเบรคเพื่อชลอความเร็ว ระยะทางสั้นๆ อนุโลมครับ
ส่วนการไหลลงเขา มันจะต่างกับการไหลลงห้างครับ
การไหลลงเขาระยะมันยาว มันไหลลงด้วยความเร็ว + แรงเฉือยสะสม เมื่อกดเบรคจนรถชลอมากแล้ว เกือบหยุด รอบจะตกตามช้าๆ เหลือประมาณ 1 พัน (แต่ยังไม่ดับ ไม่สะอึก)
ผมจะไม่เหยียบคลัชท์เด็ดขาด แต่ยกเบรคแทน เพื่อให้เบรคคายความร้อน และรถไหลลงต่อ รวมถึงการดึงรอบขึ้นไปอีกครับ ความเร็วก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
ทำอย่างนี้วนไปเรื่อยๆ จนสุดทางลง หรือเจอโค้ง ก็จับจังหวะ สับเกียร์แล้วกดคันเร่งส่งต่อครับ
แต่การไหลลงห้างฯ ระยะมันสั้น ไม่มีช่วงให้เล่นเยอะครับ
จริงๆ แล้วพื้นฐานการขับเดียวกัน แต่ต้องประยุกต์ ตามสถานะการณ์ครับ
ใช้เกียร์ต่ำตามป้ายบอกทาง+อย่าตัดโค้ง อันตรายครับ
เทคนิคอีกเรื่องนึงที่สำคัญนะครับ คือ เราต้องรู้จังหวะ "คลัชท์"
หาจังหวะให้เจอ ว่า จังหวะไหน "จับ" และเริ่มส่งกำลังจากเครื่องไปที่เกียร์
ผมยกตัวอย่าง อย่างนี้ สมมุติว่า เหยียบสุดคือตำแหน่ง 0 , ปล่อยสุดคือตำแหน่ง 9 / ระยะหรือช่วงชักของการเหยียบคลัชท์ คือ 0-1-2-3-4-5-6-7-8-9
เราต้องหาให้เจอว่า ระยะไหนคลัชท์เริ่มจับ คือเมื่อยกคลัชท์ รถเริ่มไหล เพราะรถแต่ละคันตั้งคลัชท์ สูง-ต่ำ ไม่เท่ากัน (อย่านึกถึง Hi-low นะ มันไม่ดี)
เช่น เมื่อเราเหยียบสุดที่ตำแหน่ง 0 , เข้าเกียร์ , ยกเท้าลากยาวมาถึงตำแหน่งที่ 5 รถก็เริ่มไหล เป็นต้น
(ส่วนตัวผมชอบคลัชท์ต่ำๆ รถผมตั้งไว้ที่ตำแหน่งประมาณ 2-3 คือยกนิดเดียวรถก็ไหลแล้ว ระยะเหยียบก็สั้น ไม่เมื่อยดี)
ถ้าเรารู้จังหวะแล้ว กรณีฉุกเฉินต้องจอดนิ่งๆ บนทางลาดเอียงขึ้น เราจะออกตัวได้ไม่ดับ และไม่ต้องเลี้ยงคลัชท์มาก (ใช้เบิ้ลรอบช่วยนิดหน่อย)
เช่น กรณีกำลังลากเกียร์ขึ้นเขาช่วงปีใหม่ รถติดแต่นอน บางทีต้องหยุดนิ่งๆ บนทางชันขาขึ้น ผมจะใช้วิธีคือ
- ดึงเบรคมือ ล็อคล้อไว้ก่อน
- ตอนออกตัวก็เหยียบคลัชท์ เข้าเกียร์ 1 เลี้ยงคันเร่ง หรือเบิ้ลรอบไว้
- ยกคลัชท์ช้าๆ มาที่จังหวะ "จับ" พร้อมกับลดเบรคมือช้าๆ (เบิ้ลรอบช่วยกรณีที่รอบตก)
รถจะค่อยๆ ไหลขึ้นไปเอง ไม่ไหลลงไปแปะไฟหน้าคันหลังหรอกครับ
ขอสงสัยเพิ่มเติมนะครับ สำหรับการลงทางชัน (จากห้าง)
- ผมเข้าเกียร์ 1 บางทีก็ 2 ขับลงช้าๆ (เหมือนตอนขึ้น)
- ถ้ารอบมันจะวิ่งสูงขึ้น(ไม่เคยจะถึง 2500 รอบ ด้วยซ้ำ) ผมเหยียบคลัทช์เลยครับ พร้อมแตะเบรค
- ถ้าแตะเบรคแล้ว เหลือความเร็วเท่ากับหรือพอๆกับความเร็วจากการวิ่งใน เกียร์ปกติ ผมจะปล่อยเบรคให้วิ่งด้วยเกียร์
- ทำแบบนี้วนไปมาเรื่อยๆ ครับ
1 ถูกครับ
2 เหยียบเบรคก่อนเหยียบคลัทครับ ถ้าเหยียบคลัทก่อน ล้อจะหมดแรงดึงการเบรคต้องใช้แรงมากขึ้น เวลาคับขับเดี๋ยวจะเบรคไม่ทันครับ เริ่มเหยียบเบรคลงไปพอเริ่มจับก็เหยียบคลัทตามครับห่างกันแป๊บเดียว
อยากถามน้าๆนะครับว่า รถที่มีแรงบิดมากเวลาลงเขารถจะไหลลงช้ากว่ารถที่มีแร งบิดน้อยใช่ไหมครับ
รถที่มีแรงบิดมากหรือน้อย ไม่มีผลต่อการไหลลงเขาครับ
ถ้าปัจจัยแวดล้อมเดียวกัน คือ รถคันเดิม น้ำหนักบรรทุกเท่าเดิม ล้อเท่าเดิม ทางลาดชันเดิม
การไหลลงช้า-เร็วนั้น ตัวแปลอยู่ที่เกียร์ที่คอยดึง และเบรคครับ
กล่าวคือ รถจะไหลลงตามแรงโน้มถ่วงของโลกแหละ เรามีหน้าที่สร้างแรงเสียดทานระหว่างล้อกับพื้นถนน เพื่อให้อยู่ในความเร็วที่เหมาะสม
การสร้างแรงเสียดทานทำได้ 2 กรณีคือ
- เหยียบเบรค เพื่อพยายามหยุดการหมุนของล้อ
- เข้าเกียร์ไว้ เพื่อสร้างแรงหน่วง ไม่ให้ล้อหมุนลงอย่างอิสระ
(ล้อจะต่อไปที่เพลา เพลาต่อไปที่เกียร์ เกียร์ต่อไปที่เครื่องโดยมีคลัชท์เป็นตัวตัดต่อกำลัง เมื่อล้อหมุนขณะลงเขามันจะสัมพันธ์ต่อเนื่องมาถึงเครื่อง
ทำให้เครื่องปั่นรอบสูงขึ้นไปเอง โดยที่เราไม่ได้เหยียบคันเร่ง จริงๆแล้วตัวสร้างแรงหน่วงคือเครื่องนั่นเอง สังเกตุง่ายๆ ถ้าเหยียบคลัชท์ตัดกำลังซะ
รอบเครื่องจะตก ล้อจะหมุนอิสระขึ้น รถไหลลงเร็วขั้นนั่นเอง จึงเป็นที่มาว่าต้องเข้าเกียร์ปล่อยคลัชท์ เพื่อคอยดึงรถหรือสร้างแรงหน่วง/หนืด/เสียดทาน ไม่ให้รถไหลลงอิสระนั่นเอง)
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks