ต่อครับ...
ตอบ #139 ครับ
ไฟรถไม่สว่าง ดูให้ดีๆก่อนนะครับว่า ติดฟิล์มกระจกบานหน้าหรือเปล่า
เพราะถ้าติด ... ฟิล์มหน้ารถ 40% หมายความว่า .. ตัดแสงออก 40% (หรือ ตัดออก 60% เหลือผ่าน 40% กันแน่ ?? ) ... ถ้าเป็นอย่างนั้น ควรต้องเปลี่ยนฟิล์มหน้า ก่อนเปลี่ยนไฟ
โคมแบบโปรเจคเตอร์ ธรรมชาติจะสว่างน้อยกว่ารีเฟลคครัีบ
(ดูจากรูป)
แต่การสะท้อนแสงเพื่อให้ส่องออกไปด้านหน้า มันทำให้แสงบางส่วนฟุ้งกระจาย สาดขึ้นข้างบน ไม่ยอมส่องถนนให้สว่างๆ
แต่แบบโปรเจคเตอร์ มันจะมีการรวมเป็นลำที่ดีกว่า ไม่มีแสงสาดขึ้นข้างบน ไม่สาดออกไปกวนคนที่ขับสวน รวมทั้งไม่สะท้อนกลับมากวนตาเรา .. ลองไปยืนข้างๆรถไฟโปรเจคเตอร์ดูเถอะครับ แทบมองไม่เห็นแสงไฟ แต่ถ้าดูเข้าไปตรงๆ แสบตาพิลึก
(ดูกระทู้ #127 ร่วมด้วย)
ปกติ ถึงโคมแบบรีเฟลค จะมีแสงสาดขึ้นด้านบน แต่แสงจะค่อนข้างน้อย ไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่ ... พอทนไหว
ถึงฝนจะตก ก็พอทนไหวเหมือนกัน
แต่ถ้าสว่างมากๆๆๆขึ้น เม็ดฝนสะท้อนแสงที่สาดขึ้นบน ย้อนกลับมาเข้าตาเรา .. มองถนนไม่เห็นอะดิ
.. เวลาฝนตก ถึงจะไม่ค่อยเห็นพวกอีผุผุรุ่นไฟนรก ออกมาวิ่งเพ่นพ่านครับ
ฉนั้น ถ้าจะเปลี่ยนเป็น xenon ... ดูให้ดีๆก่อนว่า มีไฟสาดขึ้นด้านบนหรือเปล่า
ถ้าโคมปล่อยให้ไฟสาดขึ้นด้านบน .. ต่อให้ปรับไฟกดลงต่ำยังไง แสงก็ยังไปรบกวนรถที่ขับสวนมา และรบกวนตัวเองอย่างหนัก ตอนฝนตก ... ไม่ควรใช้หลอด xenon
ถ้าจะใช้ให้ได้ .. ก็ต้องทนอัปลักษณ์ .. ตอนหน้าฝน หาสติกเกอร์ใสสีเหลือง คาดครึ่งล่างของไฟหน้า (ลดแสงสะท้อนที่จะสาดขึ้นข้างบน)
จากคุณ : แมวเหมียวพุงป่อง
เพิ่มเติม 20 ต.ค. 48
สำหรับท่านที่ใจร้อน อยากได้คำตอบฟันธง
ขอบอกว่า ไม่มีให้ครับ
อาหารจานเดียวกัน สองคนกิน ยังบอกว่ารสชาติต่างกัน
คนหนึ่งบอกกำลังอร่อย อีกคนบอกเผ็ดจนกินไม่ได้
ท่านต้องตัดสินเอาเอง
ผมเสนอให้ได้แต่ข้อมูลทางเทคนิค (ที่มีอคตินิดๆเข้าไปปน)
ลองทำใจเย็นๆ ก่อนไปค้นหาคำว่า xenon, ซีนอน, ซีนอล ในเวบบอร์ดรถยนต์ต่างๆของไทย จะพบว่า ในบรรดาผู้ที่ติดตั้งไปก่อนแล้ว เจอปัญหาเพียบ
นี่คือ ปัญหาที่ผมรวบรวมมาจากเกือบสิบเวบบอร์ด (อคติของผม) ที่เกิดจากไฟซีนอน (อันติดตั้งผิดๆ)
มีไม่กี่ปัญหาหรอกครับ แต่ผลคือ .. ขายทิ้งกันเป็นทิวแถว! หลายๆคน ติดไปได้แค่ 2 อาทิตย์ก็ขายทิ้ง ...
1. ไฟที่ค่า K สูงๆ (เกิน 10,000) สวยมาก แต่มองถนนมืดๆ ไม่เห็น โดยเฉพาะถนนแคบๆ ต่างจังหวัด ที่ข้างทางเป็นหญ้า
แม้ในถนนหลวงสายเมน บางแห่ง แทบมองไม่เห็นเส้นขอบทางด้วยซ้ำไป
2. หนักที่สุดคือ ไฟที่ค่า K เกิน 10,000 ในโคมแบบเก่า จะโดนฝนไม่ได้เลย
หลายๆคน ในหลายๆกระทู้ เข้ามาบอกเพื่อนๆว่า ตอนฝนตก ต้องปิดไฟต่ำ (xenon) แล้วเปิด spot light เอาแทน
หน้าหนาว .. ฝนไม่ตกแล้ว หมอกแถวๆกรุงเทพก็ไม่มี
กว่าจะรู้อีกที ก็ต้องปีหน้า
3. ไฟต่ำ สว่างกว่าไฟสูง เมื่อโดนรถสวนดิ๊ปไฟเตือน ไม่สามารถดิ๊ปไฟตอบได้ว่า ฉันกำลังใช้ไฟต่ำอยู่นะ
เพราะดิ๊ปไป เขาก็ยังมองไม่เห็นอยู่ดี
4. ปัญหาข้อสาม ยิ่งเป็นหนักกับรถที่ใช้หลอด H4 แบบที่แปลงเอาจากหลอด D2 เพื่อไปใส่โคมรุ่นเก่า เพราะตำแหน่งของไส้หลอด (จุดเกิดแสง) ของหลอด ไม่ตรงกัน
การดัดแปลง จะทำโดยเอาหลอดไส้เดี่ยว (H1) มาวางข้างๆหลอดซีนอน โดยภาวนาว่า มันจะตรงตำแหน่ง
ทั้งที่รู้ๆอยู่ว่า ตำแหน่งไส้ไฟสูงไฟต่ำในหลอด H4 มันมีตำแหน่งเป๊ะๆของมัน ผิดไปแค่มิลลิเมตรเดียวก็ก่อปัญหาแล้ว แต่ก็ยังจะทำ
5. การดัดแปลงหลอด D2 ซึ่งเป็นหลอดที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ โคมไฟหลอดซีนอนโดยเฉพาะ เพื่อให้ใส่ลงไปแทนหลอด H1/H4 ได้ มันไม่เห็นผลตอนใช้ปกติ, ในเมืองหลวง, หรือตอนใช้ใหม่ๆ (กำลังเห่อ)
แต่พอยามไม่ปกติ (ฝนตก, รถสวนเขวี้ยงก้อนหินใส่) .. จะทำอย่างไร?
ต้องปรับองศาไฟ ให้ลงต่ำสุดเท่าที่จะต่ำได้
พอปรับองศาไฟลงต่ำ ไฟสูงก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะโคมไฟที่ใช้หลอด H4 มันควบคุมลำแสงทั้งไฟสูงและไฟต่ำ
6. ก้นหลอดมีไส้ (ฮาโลเจน) มันเล็กนิดเดียว (ราวๆ 25 มิล) ในขณะที่ฐานหลอด D2 มันไม่เล็กนา การยัดซีนอนลงไปในโคมฮาโลเจนให้ได้ มันฟิตเปรี๊ยะทีเดียว .. แต่ก็พอยัดไหว??
ดูรูปหลอด D2 ข้างบนให้ดีๆ จะเห็นว่า มันมีลวดตัวนำที่หุ้มด้วยเซรามิคอยู่ .. เห็นไหมครับ
เซรามิคนั่น แสนจะบอบบาง .. แต่ต้องทนความร้อนสูงให้ได้ (สองร้อยกว่าองศา) และทนแรงดันสูงให้ได้ด้วย (สองหมื่นโวลท์)
ถ้ามีรอยแตกนิดเดียว ถ้าเปลี่ยนหลอดไม่ทัน .. เตรียมเปลี่ยนบัลลาสท์ใหม่ได้เลย
เพราะการจะถอดออกมาเอาเทปพัน .. ยังหาเทปที่ทนแรงดันสองหมื่นโวลท์ไม่ได้เลยอ่ะ
7. ฐานหลอด D2 หนะ ร้อนร้อยกว่าองศานะจ๊าาาาาาาาา
จะดัดแปลงให้ใส่แทนหลอด H อะไรก็เหอะ .. เอาอะไรยึดติดกับฐาน H หละ?
อีพ็อกซี่ทั่วๆไป มันทนได้แค่ 80-100 องศาเท่านั้น บางยี่ห้ออาจทนได้ถึง 120 องศา
ใครหาอีพ็อกซี่ ที่ทนได้ 250 องศามั่ง? จะได้เอามาดัดแปลงมั่ง
ใช้ไป ใช้ไป ... อีพ็อกซี่ทนไม่ไหว ก็สะเทือนขยับไปตามเรื่อง
และอีกไม่นาน .. ได้เปลี่ยนหลอด ของมันบอบบางจะตาย
8. พวกแปลงๆหลอดมาใส่ รู้มั่งไหมเอ่ยว่า ทั้ง Phillips และ Osram (ผู้ผลิตหลอดรวมแล้วกว่า 80% ของทั้งหมด) ... พูดถึงเรื่องแนวการวางหลอดไว้ว่าอย่างไร?
หลอดจะต้องอยู่ในแนวราบ เอียงได้ไม่เกิน +/- 10 องศา
ภายในหลอด ตอนทำงานหนะ .. อุณหภูมิหลายพันองศา แรงกดดันสามสิบสี่สิบเท่าบรรยากาศ
ทุกอย่างอยู่ได้ด้วยสมดุลย์
ถ้าวางเอียงเพี้ยนจากแนวระดับ แผ่นโลหะขั้วหลอด (pinch) จะได้รับความร้อนมากกว่าปกติ หรือไหม้ หรือระเหย ทำให้แสงเริ่มออกมาเป็นสีเหลืองๆ ก่อนจะเสียไปในเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงหลังใช้งาน หรือ หลอดร้า่วเสียไปเลย
9. พูดถึงสองยักษ์ใหญ่นั่น ไม่มีเจ้าไหนที่ผลิตหลอด H ออกมาซักเจ้า
ขืนผลิต .. โดนทั้งรัฐบาลอเมริกา และ EU ฟ้องล่มจมเด็ดๆ
EU และ USA ห้ามติดตั้งหลอด xenon (หลอด D) ในโคมไฟที่ออกแบบมาให้ใช้กับหลอด H
10. พูดถึงเรื่องแปลงหลอด ระวังให้ดีนะ .. การตัดยางหุ้มท้ายขั้วหลอด เป็นเรื่องต้องห้าม พอๆกับวางบัลลาสท์ให้โดนน้ำได้
ทั้งบัลลาสท์ และหลอด เป็นโรคกลัวน้ำอย่างรุนแรง
ลำพังความชื้นจากฝน จากหมอก มันไม่เท่าไหร่หรอก
แต่ถ้าโดนน้ำฉีดล้างห้องเครื่องเข้าไป ... ฮิฮิ ... บรึ้ม! สองหมื่นลงถังขยะ!!
11. บริษัทยักษ์ กลัวโดนฟ้อง .. เสปกเลยต้องระบุชัดๆ
หลอดซีนอน เปิดปิดบ่อยไม่ได้
แค่การเปิด-ปิด เกินสามครั้งต่อชั่วโมง จะทำให้อายุหลอดลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
วัยสะรุ่นบ้านเรา ไม่รู้ ... ต๊าดเครื่องบรึ้นไปหน้าปากซอย ดับเครื่อง แล้วบรึ้นใหม่ไปมหา'ลัย ก่อนไปรับสาว ฯลฯ ชั่วโมงนึงเปิดปิดเป็นสิบหน .. พังอะดิ
ม่ายเป็นไร .. ร้านขายหลอด ยังไม่รู้เรื่องนี้ ... ร้านดีๆ ก็รับเคลม
(พวกขายหลอดในเน็ต อย่าเอาปืนมายิงผมหละ)
12. ข้อที่หนึ่งโหลพอดี
คำเตือนอันตรายข้อสูดท้าย (ใครจะโดนก่อน)
หลอดซีนอน เป็นของอันตรายมาก
แรงดันไฟสูงมาก ความร้อนสูงมาก แรงดันภายในหลอดตอนทำงานก็สูงมากๆๆเช่นกัน
การทดลองว่าหลอดใช้ได้หรือไม่ ต้องใช้เวลาในการเปิดหลอด ไม่น้อยกว่า 30 วินาที
ถ้าหลอดมีข้อบกพร่อง เช่นเซรามิคที่หุ้มเส้นลวดข้างหลอดแตก ไฟสูงรั่ว
ถ้าหลอดเปื้อนเหงื่อ หลอดจะรั่ว
ถ้าวางหลอดไม่ได้ระดับ หลอดจะร้าว ขั้วจะไหม้ แรงดันในหลอดจะสูงเกิน ฯลฯ
เมื่อรวมทั้งหมดนี้ หลอดซีนอนที่ทำงานอยู่ และแสงไฟติดเต็มที่ พร้อมที่จะระเบิดใส่คุณ
โปรดใช้ความระมัดระวังในการทดสอบหลอด
ข้อที่สิบสาม โชคร้่าย
จะทำอย่างไร ถ้าหลอด หรือบัลลาสท์ เกิดเสียไปข้างหนึ่ง?
ใช้หลอดเดิม? .. สวย เท่ห์ตายหละ .. ซีนอนสีฟ้าข้าง หลอดมีไส้สีเหลืองซีดๆอีกข้าง
เปลี่ยนหลอด xenon ใหม่? ฮิฮิฮิ .. ไม่รู้หละสิว่า ... ค่า K ของหลอดซีนอน เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน .. หลอดสองข้าง ข้างหละสี ...
ขนาดหลอดยี่ห้อเดียวกัน ผลิตต่างวันเวลา สียังเพี้ยนเลย (ไปถามพวกใจกล้าๆ ใน racingweb ดูดิ .. เปลี่ยนหลอดที น้ำตาตก)
-------------------------------------
จ่ายเงินไปสองหมื่น เพื่อความเท่ห์ปีนึง ... บางคนก็ว่า เป็นฟามสุขส่วนตัว .. เนาะ
-------------------------------------
... กระทู้นี้ จะโดนลบอีกที ก็เพราะเรื่องนี้แหละครับ ...
ขัดผลประโยชน์ของคนหลายคน, ร้านหลายๆร้าน ที่พยายาม(ยัดเยียด)ขายหลอดซีนอนที่มีค่า K สูงๆ (อัพเกรด) โดยเน้นเรื่องความสวยงาม (ที่นอกจากจะใช้ไม่ได้แล้ว ยังอันตรายมหาศาล)
เข้ามา Edit เพื่อเพิ่มเติมข้อที่ 5,6, ...
แก้ไขเมื่อ 21 ต.ค. 48 1830 แก้ไขเมื่อ 21 ต.ค. 48 1842
จากคุณ : แมวเหมียวพุงป่อง
ปิดท้ายจริงๆด้วยสิบข้อ ที่ควรถาม ควรรู้ ควรดู ควรเช็ค เมื่อไปถึงร้าน
หลอด::
1. หลอดดัดแปลง (จาก D2) ใช้อะไรยึดติดกับฐาน
อีพ็อกซี่ถูกๆ หรือ ทนความร้อนสูงของพวก three bond?
2. ช่าง ใช้มือเปล่า(ผิด) หรือใส่ถุงมือสะอาดๆ(ถูก) ในการจับตัวหลอด?
3. ตอนใส่หลอด ใช้แรงจนทำให้เส้นลวดตัวนำไฟกลับของหลอด (ที่มีเซรามิคหุ้ม) เป็นรอยแตกหรือไม่
่4. ถ้าเป็นหลอด H1 เส้นลวดตัวนำไฟกลับของหลอด (ที่มีเซรามิคหุ้ม) ต้องอยู่ด้านล่าง หรือไม่
ถ้าเป็น H4 .. ต้องลองดูก่อนไหม หรือ มีประสบการณ์ฟันธงได้เลยว่า โคมรุ่นนี้ ยี่ห้อนี้ เส้นลวดอยู่บนหรือล่าง ฯลฯ (ขึ้นกับโคม)
5. ถ้าคุณจะเอาซีนอน ใส่โคมเดิม (สะท้อนแสงธรรมดา ไม่ใช่โปรเจคเตอร์) ให้ได้ มีตัวบังแสง (Casper Shield) ให้หรือเปล่า?
บาลลาสท์::
6. การติดตั้งบาลลาสท์ มีป้องกันความร้อน (หุ้มฟอยล์)ไหม? ป้องกันน้ำ (อย่างไร?)
ไฟ::
7. ไฟที่มากล่อง เดินตรงจากแบต (ถูก) หรือใช้ไฟเดิม แต่เปลี่ยนฟิวส์ไฟต่ำแทน(ผิด)
8. ไฟที่เดินมาจากแบต ใส่ฟิวส์เพิ่มเติม (20A) หรือไม่? มีรีเลย์ดีๆ (Bosch แท้) หรือไม่
เช็คงาน
9. มีการป้องกันน้ำซึมเข้าท้ายโคม ที่ถูกเจาะรู อย่างไร? ด้วยอะไร?
10. ใส่เสร็จ มีการปรับไฟให้หรือไม่? (คุณปรับเองไม่ได้หรอก เชื่อผมเหอะ) และเมื่อปรับได้ที่แล้ว ปรับลงต่ำอีก 1-2 องศา และไปซ้าย 1-2 องศา หรือไม่?
อย่าลืม อย่าลืม อย่าลืม
ค่า K ยิ่งสูง ยิ่งสวย และยิ่งไม่เหมาะกับการใช้งาน โดยเฉพาะเจอฝนเจอหมอก
ความรู้อัดแน่นปั๊ก..ขอบคุณครับ แต่ขอแบบกระชับๆก็ดีนะครับ...
ขอบคุณนะครับ
แล้วจะมาอ่านต่อครับผม
โอ็ย..ยาวดีจัง...ว่างๆค่อยมาอ่านต่อครับ ยังงัยก็ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาฝากครับ...
ทุกวันนี้ก็มีปัญหาเรื่องแสงที่มันไปแยงตาบ้างเหมือนกันแต่ก็พอทน
ขอสรุปแบบสั้นๆเลยได้มั๊ยอ่ะคร้าบบบ....ข้อมูลสุดยอดดดดดมาก......ควรใส่รึไม่ควรใส่แล้วถ้าเจอรถที่ใส่วิ่งสวนทางเนี่ยควรหายหนังสติ๊กยิงหลอดเลยดีอ่ะป่าววว..5555++++
อ่านได้ครึ่งเดียว มึนตึบครับ
โหขอบคุณมากมายเลยครับ ความรู้เพียบเลย แหล่มครับสำหรับข้อมูลนี้ ขอบคุณมากๆครับ
แต่อ่านจบแล้ว พอดีผมใช้หลอดไฟแสงสีขาว 4500k มีผลอะไรต่อการมองและต่อรถและโคมรถหรือความร้อนภายในโคม หรือคนที่มองมั้ยครับ อยากทราบข้อมูล พอดีใส่มาตั้งแต่ออกรถมาใหม่ๆเลย ขอบคุณมากมายครับ
ก่อนอื่น ต้องขอโทษ สมาชิกด้วยนะครับ..ข้อมูลค่อนข้างเยอะไปหน่อยอะ..
พอดีเมื่อคืนผมอ่านอยู่ตั้งนาน เลย คิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับสมาชิกเรา อะครับ ก็เลย กอปมาซะหมดเลยอะ..
สรุปเอาง่าย ๆ เท่าที่ผม จับใจความได้ ก็แล้วกันอะ..
1.ถ้า ค่า K ยิ่งมาก ความสว่างก็จะลดลง ครับ อย่างเช่น ค่า 10000K จะมีความสว่างน้อยกว่า ค่า 4000K ครับ..
2.ขนาดของไฟ ซีนอน ที่เหมาะสม สำหรับการใช้ งานน่าจะอยู่ในช่วง ค่า ประมาณ 4000K - 5000K .
3.หลอดไฟ ซีนอน ของจริง นั้น แพงมากครับ หลายหมื่น บาท
(ก็เลยไม่แน่ใจ หลาย เวปที่บอกว่าเป็น ซีนอน ของแท้ ราคา ประมาณ 2-6 พัน จะเป็นของจริงหรือป่าว หรือว่า เอา หลอดไฮโดรเจน ไปชุบสีมา อะครับ)..
ผมว่าของน้า myjoefiend ที่ถามมาไม่น่าจะมีปัญหานะครับ..
ขอบคุณครับผม...
เหอๆๆๆ..............ผมตาลาย
สรุปนะคับ เจ้าของกระทู้กำลังจะบอกว่า
ถ้าหลอดไฟสว่างมากไปก้ไม่ควรติดน่ะคับ ถ้าไม่สว่างมากก้ติดได้ แค่นั้นแหละคับ
โอย วิชาการล้วนๆ
แต่เนื้อหาดีมากครับ ได้ความรู้เยอะเลย
ขอบพระคุณครับ กับความรู้ เฮิ๊กกกกก สุดยอดดดดดดด
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks