โดนมากครับน้า ใบขับขี่คงซื้อมาอ่ะน้า ไหนๆก็พูดถึงเรื่องไฟฉุกเฉินละ เอาซะหน่อยครับ^^
ไฟฉุกเฉินใช้อย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย
การเปิดไฟฉุกเฉิน
Harzard หรือไฟ กระพริบสี่มุม ควรใช้ให้ถูกต้องทั้งขณะจอดนิ่งหรือเคลื่อนที่
เพราะการเปิดใช้โดยไม่จำเป็นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
การเปิดไฟฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นอาจพบได้ใน 4 ลักษณะ ได้แก่
1.
ข้ามสี่แยกแล้วต้องการตรงไป
ผู้ขับขี่มักเปิดไฟฉุกเฉินโดยคิดว่าการปฏิบัติเช่นนั้นจะเป็นการเตือนรถยนต์คันอื่นที่กำลังร่วมสี่แยกเดียวกันไม่ให้มาชนรถยนต์ของตน
ซึ่งผู้ขับรถยนต์คันที่แล่นมาจากทางซ้ายหรือขวาของคันที่จะตรงไป
อาจเห็นแค่ไฟกระพริบมุมหน้ามุมเดียว
เสมือนว่ารถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉินกำลังเตรียมเลี้ยวไปยังด้านใดด้านหนึ่งทั้งที่จริงกำลังจะตรงไป
ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นติดตั้งเลี้ยวด้านหน้าไว้ในตำแหน่งมุมสุดเลยไฟหน้าออกไป
ซึ่งผู้ขับรถยนต์ที่กำลังแล่นมาจากทั้งซ้ายและขวา อาจมองไม่เห็นไฟกระพริบทั้ง 2
มุมหน้าพร้อมกัน รวมทั้งมุมอื่น
ๆที่ผู้ขับร่วมทางอาจไม่เห็นไฟกระพริบพร้อมกันเป็นคู่ทั้งด้านหน้าหรือด้านหลังก็อาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้
นอกจากนี้ถ้ามีรถยนต์หรือรถจักยานยนต์เหลื่อมบังไฟเลี้ยวด้านใดด้านหนึ่งในขณะที่จะตรงไป
ผู้ร่วมทางคันอื่นอาจเกิดความเข้าใจผิดและไม่ระวังหรือไม่ได้ชะลอความเร็วลงก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้โดยเฉพาะรถยนต์ที่มาจากทางด้านซ้ายของคันที่เปิดไฟฉุกเฉิน
เมื่อผู้ขับรถยนต์เห็นแค่ไฟกระพริบด้านซ้าย ก็นึกว่าจะเลี้ยวซ้าย
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องและปลอดภัยก็คือ ชะลอความเร็วลง มองทางซ้ายและขวาอย่างรอบคอบ
ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะการไม่เปิดไฟเลี้ยวก็แสดงว่าต้องการไปอยู่แล้ว
เมื่อเส้นทางว่างและปลอดภัยจึงค่อยไป
นอกจากนี้ยังสามารถพิสูจน์ได้ในรถยนต์บางรุ่นว่า ไฟฉุกเฉินไม่ได้มีไว้ให้เปิด-ปิด
เวลาจะข้ามสี่แยกแล้วต้องการตรงไป
เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งสวิตช์ไม่ได้สะดวกต่อการใช้งาน
2. ฝนตกหนัก
หมอกลงจัด หรือทัศนวิสัยไม่ดี ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน
ถ้าไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นข้างหน้าแล้วต้องจอดรถ
เพราะในขณะที่เปิดไฟฉุกเฉินจะไม่มีไฟเลี้ยวใช้หากต้องการให้สัญญาณก่อนเปลี่ยนเลน
นอกจากนี้ผู้ขับรถคันที่ตามมาอาจคิดว่าเป็นรถที่จอดนิ่งอยู่
และแสงไฟกระพริบสีเหลืองหลายดวงจากรถยนต์หลายคันอาจแยงตา
รวมถึงถ้ามีรถยนต์คันอื่นบังเหลื่อมอยู่ในบางมุม ไฟกระพริบ 2
ดวงด้านท้ายหรือด้านหน้า อาจมองเห็นไฟกระพริบ แต่เสมือนเป็นไฟเลี้ยวดวงเดียว
และสร้างความเข้าใจผิดได้ แม้ไฟฉุกเฉินจะช่วยให้ผู้ขับคนอื่นมองเห็นได้ชัดเจน
แต่ขณะที่เปิดไฟฉุกเฉินกระพริบทั้ง 4 มุม
แล้วอยากเปลี่ยนเลนจะไม่มีไฟเลี้ยวใช้ซึ่งในสถานการณ์ที่ทัศนวิสัยไม่ดีอย่างนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงเลนบ้าง
ดังนั้นเมื่อทัศนวิสัยไม่ดีควรเปิดไฟหน้า(ไฟต่ำ)พร้อมตัดไฟหมอก(ถ้ามี)
คล้ายกับการเดินทางตอนกลางคืนหรือถ้าทัศนวิสัยไม่ดีมากๆจนแทบมองไม่เห็น
ควรจอดหลบในที่ที่ปลอดภัยและควรเปิดไฟฉุกเฉินไว้ด้วย
อย่างไรก็ดีถ้ายังยืนยันว่าต้องการจะเปิดไฟฉุกเฉินพร้อมกับการขับในกรณีที่ทัศนวิสัยไม่ดีจริง
ๆ ควรใช้ความเร็วต่ำ มาก ๆ ขับชิดซ้ายสุด โดยไม่มีการเปลี่ยนเลน
หากต้องการเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวต้องปิดไฟฉุกเฉินก่อน
และเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้า(หลายสิบเมตร) หากไม่แน่ใจว่าจะทำได้ทัน
ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน และเปิดไฟหน้าแบบต่ำจะดีกว่า
3.
เบรกกะทันหันแล้วต้องจอดเป็นคันท้ายการเบรกกะทันหัน
แล้วต้องจอดเป็นคันสุดท้ายชั่วคราวและเปิดไฟฉุกเฉินเพราะกลัวผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมาเบรกไม่ทัน
ทั้งที่โดยปกติสามารถใช้วิธีเหยียบเบรกสว่างค้างไว้ถ้ามองกระจกหลังแล้วกลัวรถยนต์ที่ตามมาจะชนท้ายให้ถอนแป้นเบรกแล้วเหยียบซ้ำเพื่อให้ไฟเบรกกระพริบ
1 ครั้ง จะได้เป็นที่สังเกตได้ชัดเจน
แล้วค่อยเหยียบแป้นเบรกแช่ไว้เพราะโดยปกติผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมามีหน้าที่เว้นระยะห่างให้เหมาะสมพร้อมสำหรับการเบรกเมื่อรถยนต์คันหน้าจอดหรือชะลอความเร็วลง
ไม่ต้องเปิดไฟฉุกเฉินเตือน เขาก็ควรปฏิบัติเช่นนั้นอยู่แล้ว
หากไม่แน่ใจว่าผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมาจะเบรกทันหรือไม่
อาจเปิดไฟฉุกเฉินในขณะจอดนิ่งต่อท้ายอย่างกะทันหันในช่วงสั้น ๆ
ได้เพราะการจอดลักษณะนี้คล้ายกับการมีรถยนต์เสีย
หรือเกิดอุบัติเหตุอยู่บนถนนด้านหน้าสามารถเปิดไฟฉุกเฉินเตือน
และเมื่อรถยนต์ที่ตามมาเบรกและจอดอย่างปลอดภัยแล้วหรือก่อนเริ่มออกตัวใหม่
ควรปิดไฟฉุกเฉินทันที
4. การลากรถยนต์เสีย ควรทำป้ายใหญ่ ๆ
ติดด้านท้ายรถยนต์เพื่อบอกว่า กำลังลากรถเพราะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มาก
แต่ถ้าต้องการเปิดไฟฉุกเฉินควรใช้ความเร็วต่ำชิดซ้ายเลนสุด
และระลึกไว้ว่าตอนนั้นไม่มีไฟเลี้ยวใช้ หากต้องการเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยว
ต้องปิดไฟฉุกเฉินและเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าเพื่อให้สัญญาณตามปกติ
แล้วค่อยเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวถ้าทำไม่ได้ควรเปิดไฟฉุกเฉิน
การเปิดไฟฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นมักมีสาเหตุมาจากความคิดที่ว่า
ต้องการเตือนไม่ให้รถยนต์คันอื่นมาชนรถของตน
ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา
ฉะนั้นทุกครั้งที่เปิดไฟฉุกเฉินควรเปิดในขณะที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยทั้งรถคันที่เปิดไฟฉุกเฉินและรถที่ร่วมทาง
บทความข้างต้นนี้ คัดลอกมาจากวารสารฮอนด้า เดือน
เมษายน 2550
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=52850
Bookmarks