ผมมีเรื่องจะถามครับ
ผมมีเรื่องจะถามครับ
คุณออกรถไทรทันหรือยัง
คุณซื้อสดหรือผ่อนครับ
คุณสะดวกคุยทางโทรศัพป่าว
อยากจะคุยเรื่องเกี่ยวกับไฟแนนซ์ครับ
พอดีว่าผมจะออกรถใหม่
แต่ว่าผมได้คุยกับเซลล์แต่ยังไม่ได้ไปหาที่โชวรูม
ผมขอเบอได้ป่าวครับ
ขอรบกวนเวลานิดนึงครับ
เบอไรครับ
ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณืที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายนะครับอยากขอแชร์บ้าง
ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ควรยอมนะครับเพราะว่าอะไรเหรอ
-เราเป็นฝ่ายถูกโดนไม่ต้องมองตามช่องโหว่ทางกฏหมายใครอ่านก็ต้องบอกว่าเราถูก
-หากเค้ามีสิทธที่ทำอย่างนั้นก็ควรแก้ไขกฏหมายเพราะทำให้คนอื่นเสี่ยงอันตรายไปด้วย
-มันจำเป็นต้องรีบมากจนต้องฝ่าไฟแดงเพื่อเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุด้วยเหรอใครจะไปรู้ว่าจะฝ่า
-ปรึกษาทางสื่อรายการกฏหมายทางทีวีครับทุกคนจะได้รู้ว่าต่อไปไฟเขียวต้องจอดดูก่อนมั๊ย
-หากไม่ทำความเข้าใจทุกฝ่ายไม่นานก็เกิดขึ้นอีกเพราะมีคนให้ท้าย
-กลางวันไม่เห็นไฟหรอกเสียงก็ไม่รู้ดังไกลแค่ไหนเปิดหรือเปล่าก็ไม่รู้
-ติดต่อรายการทีวีด่วนครับเพื่อสังคมจะได้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน
ควรอบรมใหม่ทั้งประเทศบางครั้งไม่มีเหตุด่วน(มูลนิธฺทั้งหลาย)ก็เปิดสัญญาณสิทธที่พวกเค้ามีควรใช้ให้ถูกที่ถูกเวลาไม่ใช่ใหญ่ซะจนทำให้คนอื่นเดือดร้อนโชคดีที่ไม่เสียชีวิตแต่ค่าเสียหายหากไม่มีจ่ายก็ลำบากไปอีกนานนะครับสู้ๆครับอย่ายอมเอาใจช่วย
สู้ครับท่านครับ
จากที่ จขท. เล่ามานี่ ผมให้น้องชายที่เป็นทนายความมานั่งอ่านด้วย เขาบอกว่า มีทางเดียวที่คุณจะแพ้เพราะว่าคุณไม่ยอมสู้เท่านั้น...ขอให้โชคดีนะครับ เอาใจช่วย เอาให้เป็นคดีตัวอย่างไปเลย
ปล. โชคดีแล้วครับที่คุณกับแฟน ไม่ได้เป็นอะไรมาก
<P><STRONG><SPAN style="FONT-SIZE: 9.5pt; COLOR: black; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif','serif'; mso-fareast-font-family: 'Times New Roman'; mso-bidi-font-size: 9.0pt; mso-bidi-font-family: 'Angsana New'"><IMG src="http://http://www.ruamkatanyusakron.is.in.th/?md=content&ma=show&id=16">เอามาฝากครับลองอ่านดูสู้ๆครับ <BR></SPAN></STRONG></P>
รู้สึกว่าบทความนี้จะเคยผ่านตา เลยอยากเอามาให้อ่านกันค่ะ โดย
เฉพาะตัวอักษรสีน้ำเงิน
ติดไฟวับวาบ ชนก็ต้องจ่าย [11 มี.ค. 52 - 20:01]
สนทนาจราจรวันนี้ มีข่าวจากกองบังคับการตำรวจจราจรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบฉุกเฉินครับ
พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผบก.จร. แจ้งว่า เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีการติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบกันจำนวนมากทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง โดยตามกฎหมายและข้อกำหนดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว ได้กำหนดรถที่จะอนุญาตให้ใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นได้ ดังนี้
1. รถในราชการทหารหรือตำรวจ 2. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของทางราชการ 3. รถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
รถของทางราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วให้ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการจำหน่ายรถนั้นหรือมีการเปลี่ยนภารกิจของการใช้รถ สำหรับรถอื่นๆให้มีอายุไม่เกินกว่า 3 ปี นับแต่วันอนุญาต และให้สำเนาหนังสืออนุญาตติดไว้ที่กระจกบังลมด้านหน้าของรถ
ลักษณะแสงไฟสัญญาณจะต้องติดตั้งไว้บนหลังคาให้เห็นเด่นชัดและกำหนดให้ใช้ .....1. แสงแดง สำหรับรถในราชการทหาร หรือ ตำรวจ รถดับเพลิง รถราชการอื่น ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เห็นสมควรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย2. แสงแดงและน้ำเงิน สำหรับรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข 3. แสงน้ำเงิน สำหรับรถพยาบาลประเภทอื่น นอกจากรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ข้อ 2) 4. แสงเหลือง สำหรับรถอื่นๆ
เครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉินให้ใช้1. รถฉุกเฉิน ยกเว้นรถในราชการทหารหรือตำรวจ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ จะต้องมีข้อความ รถฉุกเฉินได้รับอนุญาตแล้ว เป็นตัวอักษรสีแดง พื้นสีขาว สูง 10 ซม. ติดไว้ที่ด้านข้างรถทั้งสองด้าน 2. รถดับเพลิงเอกชน ให้ใช้ข้อความ หน่วยอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย...(ชื่อหน่วยงาน) เป็นตัวอักษรสีขาว 3. รถพยาบาลเอกชน ให้มีข้อความระบุชื่อหน่วยงาน เป็นตัวอักษรสีน้ำเงินสูง 10 ซม.
4. รถอื่นปฏิบัติทำนองเดียวกับข้อ 3 โดยตัวอักษรสีขาว อยู่ภายในกรอบพื้นสีเหลือง 5. เฉพาะรถเอกชน ห้ามมิให้มีข้อความหรือสัญลักษณ์อื่นใด จึงขอแจ้งให้ผู้ที่ติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือที่ได้รับอนุญาตแต่ติดตั้งไม่ถูกต้องให้เลิกติดตั้งหรือแก้ไขปรับปรุง ต่อจากนี้ไปจะมีการกวดขันจับกุม เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
คำเตือน การขับรถฉุกเฉินโดยใช้สัญญาณดังกล่าว มิได้หมายความว่าจะขับได้เร็วเท่าใดก็ได้ไม่เป็นการละเมิด หากเกิดความเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควรกระทำ และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตามสมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510).
หัวปิงปอง
ขอชมใบอนุญาติรถฉุกเฉิน รพ อีกทีก้อดีครับ เพื่อตอกย้ำ ถ้ามันมีก้อไล่กันไปตามเรื่อง ยังไงเราถูกแน่นอน
แต่ถ้าไม่มี หรือหมดอายุ มันซวยอย่างเดียว แหม รพ มีเงินมากมาย แต่ใจปลาซิว คิดว่าเป็นปลาใหญ่กินปลาเล็ก
ผมชอบท่านด้านบนที่บอกว่า oattanagit
"-เราเป็นฝ่ายถูกโดนไม่ต้องมองตามช่องโหว่ทางกฏหมายใคร อ่านก็ต้องบอกว่าเราถูก
-หากเค้ามีสิทธที่ทำอย่างนั้นก็ควรแก้ไขกฏหมายเพราะทำ ให้คนอื่นเสี่ยงอันตรายไปด้วย
-มันจำเป็นต้องรีบมากจนต้องฝ่าไฟแดงเพื่อเสี่ยงเกิดอุ บัติเหตุด้วยเหรอใครจะไปรู้ว่าจะฝ่า
-ปรึกษาทางสื่อรายการกฏหมายทางทีวีครับทุกคนจะได้รู้ว่าต่อไปไฟเขียวต้องจอดดูก่อนมั๊ย
-หากไม่ทำความเข้าใจทุกฝ่ายไม่นานก็เกิดขึ้นอีกเพราะม ีคนให้ท้าย
-กลางวันไม่เห็นไฟหรอกเสียงก็ไม่รู้ดังไกลแค่ไหนเปิดห รือเปล่าก็ไม่รู้
-ติดต่อรายการทีวีด่วนครับเพื่อสังคมจะได้เข้าใจในทิศ ทางเดียวกัน "
เสียดาย ผมไม่ได้เป็นทนายนะ เซ็งกับพวกรถร่วม รถฉุกเฉินมารยาทเลวๆ (ส่วนน้อย) มาหลายครั้งแล้ว
กฏหมายการจราจร (เอามาให้อ่านกันค่ะ )
ลักษณะ 7 รถฉุกเฉิน
มาตรา 75 ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
(1) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้
(2) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด
(3) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
(4) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร
(5) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้
ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
มาตรา 76 เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณ แสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
(2) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายหรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถใน ทางร่วมทางแยก
(3) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก
ในการปฏิบัติตาม (2) และ (3) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks