น่าเห็นใจครับ เจอแต่ปัญหาตังแต่ยังไม่ได้รถ
น่าเห็นใจครับ เจอแต่ปัญหาตังแต่ยังไม่ได้รถ
ผู้บริดภคอย่างเราต้องร้องเรียนสู้ถึงที่สุดเป็นกำลังใจให้ครับเงินไม่ใช่ได้มาง่ายๆต้องได้คำตอบที่ดีและพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย Win Win สู้ต่อไปครับ
ผมก็ใช้ Mitsu เหมือนกัน
จริงๆแล้วการจะผลิตรถมาขายให้เราใช้งานได้ ทางมิตซูคงคิดแล้วคิดอีก ลองแล้วลองอีก ไม่น่าจะมาพลาดไอ้เรื่องแบบนี้ ทำอย่างกับไม่เคยขายรถมาก่อนอย่างนั้นล่ะ ถ้าเป็นแบรนห่วยๆจะไม่ว่าเลย แต่มิตซูเป็นอย่างนี้ทำเอาผมกลัวจริงๆ
เป็นกำลังใจให้อีกแรงครับน้า
ก่อนรับรถก็เจอปัญหา รับมาเจอหนักกว่าเก่าอีกน่าเห็นใจครับ สงสัยเซลล์ แช่งหรือเปล่า? ขอให้จบไวๆนะครับ
ใจเย๊นๆ น้า สู้ๆ ครับ แล้วจะผ่านไปด้วยดี
เป็นกำลังใจให้ครับ
ผมกำลังจะเอาเจ้า "ตั้น" เช็ค1,000โลวันนี้ไม่รู้มีปัญหาหรือเปล่า พาวนาอย่าให้เจอปัญหาครับ (เมียด่าแน่)
ต้องขอความรับผิดชอบนะครับมิตซู งานนี้เต็มๆครับ
...เป็นกำลังใจให้ค๊าบพี่น้อง...
ผมขอเล่าให้ฟังฟังสักเล็กน้อยแล้วกันครับ คร่าวๆนะครับ
โดยปกติ Car Maker (Toyota, Isuzu, Mitsubishi, ฯลฯ) ก่อนที่จะเริ่มมีผลิตรถโมเดล ใหม่ๆ จะต้องมีการวางแผนทำโปรเจคกันอย่างน้อยๆไม่น่าจะต่ำกว่า 1-2 ปี
ในแต่ละช่วงก็จะมีการทดลองประกอบเป็นรถ เพื่อวิ่งจริงโดยอาจจะทดสอบทั้ง Performance และ Endurance
โดยอาจจะมีการทอสอบแยกเป็น ชิ้นๆ ไป เช่น ชิ้นงานหนึ่งควรจะสามารถหมนได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านรอบ ก็เอาไปทดสอบต่างหากด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี โดยปกติในช่วง เริ่มต้นการผลิตจริงๆ ล็อตแรกๆ อาจจะ 1,000 คัย อาจะมีการตรวจโดย QC ที่เข้มข้นมากกว่าปกติ จากนั้นอาจะลดลงเป็นแบบสุ่ม
แต่ยังคงมีการตรวจเป็น 100% บางอย่าง เช่น ระบบเบรค, ระบบ ABS, Appearance ทั่วไป, รถสามารถวิ่งและเลี้ยวได้, ฯลฯ ประมาณนี้ (แบบคราวๆนะครับ ผมไม่สามารถบอกทั้งหมดได้ในรายละเอียด)
ส่วนเรื่องที่ว่า ทำไมเมื่อมีระบบการวางแผนทำโปรเจคอย่างดี มีการทดสอบอย่างดีแล้ว รถก็ยังมีปัญหาได้
เนื่องจากในกระบวนการผลิตจริง อาจจะมีของเสียเกิดขึ้นมา ถ้าผู้ผลิตชิ้นส่วนไม่สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ แต่ลูกค้าที่เป็น Car Maker สามารถตรวจจับได้มันก็แล้วไป
แต่ถ้า Flow Out หลุดมายังลูกค้าที่เป็น End User อย่างเคสนี้ นี่ก็ซวยไป
ผมไม่เชื่อว่าระดับอย่าง Mitsubishi ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อขายส่งออกต่างประเทศเกิน 2 ล้านคัน จะชุ่ยได้ถึงขนาดเอาลูกค้าอย่างเรา เป็นหนูทลองครับ
แต่อย่างไรก็ดี ในเมื่อรถยนต์คันนี้ผลิตออกมาในชื่อของ Mitsubishi ก็ต้องให้เขารับผิดชอบครับ
แก้ไขครั้งล่าสุดโดย boatania : 24-07-2010 เมื่อ 08:48
เป็นกำลังใจให้ครับน้า คืบหน้ายังไงก็ขอให้แจ้งเพิ่มเติมด้วยครับ
ถ้าปัญหานี้แก้ไม่ได้ คนที่คิดจะออกรุ่น cng คงหายไปหลายคน
น่าเห็นใจครับ ตอนจะขายโทรตามเรายังกะเป็นเมียน้อยไม่ได้อยู่ที่คนหรอกครับ รูปแบบบริหารและระบบขององกรณ์เค้าต่างหาก
ความเห็นส่วนตัว.....ผมว่านะครับยิ่งรถคุณขายดี ก็ยิ่งมีการทดสอบให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิมไม่ใช่ขายดีขึ้นแล้ว ยังใช้ระบบในการสุ่มตรวจสอบ มาตราฐานมันต้องเดินตามให้เข้มข้นขึ้นสิครับ ยอดขายพุ่งอย่างเดียวการทดสอบจะทำแบบสุ่มๆไม่ได้หรอกครับ เป็นเงาตามตัวยอดขึ้นการตรวจสอบต้องเข้มข้นตาม ผมไม่อยากได้ยินคำว่า ซวยไป กับลูกค้าหรือผู้บริโภค .....วันนี้ผลการดำเนินการเป็นเช่นไรจะทยอยมาแจ้งครับ แต่ผมให้โอกาสเค้าอีกแค่ 1 ครั้ง ถ้าพังขึ้นมาอีกหลังจากวันนี้ 24/7/53 ผมไม่ยอมแล้วครับ ผมคงไม่เอาแล้วล่ะรถคันนี้
มาต่อ....เรื่องทางบ้านผมครับ ปรี๊ดแตกครับ แม่ผมทำงานอยู่สำนักงานสภาทนายความเค้าประสาน สคบ. และสื่อ (เรื่องเด่น...) ไว้จะลองหาคิวลงให้เป็นอุทาหรณ์ ทำกับผู้บริโภคแบบนี้ยอมไม่ได้ครับ โอกาสผมให้เค้ามามากแล้ว ทั้งๆที่เป็นเรื่องร้ายแรงด้วยซ้ำยังจะมีเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก ....พอครับเครียดแต่เช้า ขอตัวไปทำงาน + ตามเรื่อง แล้วจะมาใหม่ครับ
เยี่ยมเลยครับน้า ถ้าเอา สคบ. มาช่วยได้ น่าจะทำให้เรื่องง่ายขึ้นเยอะ
ผมเข้าใจสิ่งที่น้าบอกครับ และผมก็ไม่ได้แก้ตัวแทนแต่อย่างใด ผมแค่มาเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆในกระบวนการผลิตรถใหม่ๆครับ
มุมมองผู้บริโภค ต้องการให้มีการ 100% Check แน่นอนครับ แต่ในบางกรณีไม่สามารถทำได้ครับ เนื่องจากการทดสอบนอกจาก Performance ยังมีการทดสอบความคงทน (ก็ต้องจำลองการใช้งานจริง) การทดสอบแบบทำลาย (ก็ต้องทำงายชิ้นงานไปเลยเพื่อหาค่าความแข็งแรงอะไรก็ว่าไป)
นั่นคือ คำตอบว่าทำไมการตรวจแบบสุ่มถึงยังมีอยู่ครับ
ด้วยความเคารพ
ปล. มุมมองผม นี่คือสิ่งที่ยังขาดนะครับ
ส่วนใหญ่ Car Maker จะกำหนด Target Defect ให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วน อาจจะต้องน้อยกว่า 5 PPM (ของเสียต้องน้อยกว่า 5 ชิ้นใน 1 ล้านชิ้น)
แต่มักจะลืมกันไปว่า ถ้า Defect แม้แต่ชิ้นเดียว หลุดไปถึงลูกค้าที่เป็น End User นั่นคือ 100% ของเขาครับ เช่นเคสนี้
อธิบายได้สุดยอดเลยครับ ก็เป็นตามที่น้าโบ๊ทกล่าวเลยครับ เพราะผมก็เคยทำอยู่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์พอเข้าใจบ้างครับ ยิ่งช่วง Newmodel ปัญหาเยอะครับ ถ้าเริ่มไม่ดีก็มีปัญหายาวๆ กันในช่วงผลิตจริงล่ะครับ เพราะกว่าจะปรับชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่มาจากหลายๆ Maker ให้เข้ากันได้เหอะๆ แต่กระบวนการทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานสากลครับ ไม่ว่าจะ ISO TS และอื่นๆ อีกมากมาย
โรงงานน้าโบ๊ทเก่งมากเลยอ่ะ คุมได้ zero PPM ตอนผมอยู่แถบกระอักเลือด
แต่ปัญหาหลุดมาถึงลูกค้าแล้วก็คงต้องออกมารับผิดชอบกันละ่ครับ ผู้บริโภคอย่างเราก็คงต้องทำตามสิทธิที่มีอยู่ล่ะครับ เอาใจช่วยนะครับ
..เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ต้องร้องสื่อครับ เดวไอ้พวกตัวใหญ่ก้อร้อนก้นจนอยู่ไม่ติดเอง เหมือนชาลาวันที่ลุ่มร้อนจนอยากออกจากถ้ำ
..แต่ทุกสิ่งทุกอย่างแก้ไขได้ครับ เป็นกำลังใจให้นะครับน้า..ขอแค่..อย่ายอมแพ้ สู้ สู้ครับ
เข้ามาเป็นกำลังใจให้คับ.........
ยังไงก็ต้องเรียกร้องสิทธิ์ที่เราควรได้รับให้ถึงที่สุดคับน้า สู้ๆๆคับ
หวังว่าคงจะจบได้นะครับหรือไม่ก็ขอเปลี่ยนคันใหม่เลยดีกว่า โชคดีนะที่ผมไม่นิยมแก๊สไม่งั้นอาจจะเป็น1ในนั้นก็ได้
ขอเป็นกำลังใจให้กับ จขกท. นะครับ
และขอบคุณน้าโบ๊ทด้วยครับ ที่ได้ให้ความรู้และมุมมองที่เป็นประโยชน์ครับ
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks