ถึงจะเชื่อมไม่สวยแต่ก็แข็งแรงนะ ส่วนสนิมตรงรอยเชื่อมเป็นกันทุกยี่ห้อ เพราะในลวดเชื่อมมีฟลัคผสมอยู่ และลวดเชื่อมมันได้ได้ปลอดสนิมอยู่แล้ว
ถึงจะเชื่อมไม่สวยแต่ก็แข็งแรงนะ ส่วนสนิมตรงรอยเชื่อมเป็นกันทุกยี่ห้อ เพราะในลวดเชื่อมมีฟลัคผสมอยู่ และลวดเชื่อมมันได้ได้ปลอดสนิมอยู่แล้ว
อ่านแล้วก็น่าเห็นใจครับผมคิดว่าประเด็นของผู้ตั้งกระทู้น่าจะสื่อความหมายไปในเรื่องของคุณภาพของฝีมือช่างมากกว่าแล้วเวลาพวก qc เขามาตรวจสอบงานแบบนี้มันให้ผ่านไปได้ยังงานน่าเกลียดออกขนาดนี้โดยมีคันอื่นๆตามมาโดยที่ไม่คอมเม็นท์ไปยังบริษัทที่รับผิดชอบตรงส่วนนี้ก่อนส่งต่อมาที่มิตซู หรือไม่งั้นเขาก็คิดว่ามันเป็นเรื่องปกติและก็ไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความปลอดภัยถูกเขามันครับ แต่ผมว่าการบริษัทนั้นๆจะผลิตอะไรสักอย่างเพื่ออกมาขายไม่ใช่ว่าเน้นแต่เรื่องของเครื่องยนต์อย่างเดียวฝีมือเรื่องงานช่างก็น่าจะเน้นๆกันบ้างไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าเรื่องแค่นี้ปกติของใครๆก็เป็นเหมือนกันหรือไม่ก็ของเจ้าอื่นมากกว่านี้อีกผมว่าการที่เราจะเปรียบเทียบอะไรสักอย่างเราต้องเอาสิ่งนั้นไปวัดกับกับของคนอื่นที่มันดีกว่านะครับมันถึงจะได้เกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นและคนที่ได้ประโยชน์ก็คือเราทุกท่านทุกคนครับการที่ว่าจะแสดงความคิดเห็นในเชิงที่บอกว่าของเราดีหมดของคนอื่นเป็นมากกว่านี้อีกก็อย่าออกความเห็นดีกว่าครับ
รอบทสรุปของเจ้าของกระทู้ครับ เป็นกำลังใจให้ทุกๆความเห็นนะครับ
ผมอยู่โรงงานเหล็ก เกียวกับเหล็กรถยนต์ ขอเสริมนิดนึงคับ เหล็กที่มาทำโครงสร้างรถยนต์ หรือเอามาทำเป็น safety part มันเป็นเหล็ก รีดร้อน หรือที่เรียกว่า Hot roll ครับ ซึ่งเหล็กประเภทนี้ ไม่มี coating หรือที่เรียกๆง่ายๆ ว่า ไม่มีการเคลือบผิวมา จากกระบวนการผลิตเหล็ก ซึ่งจะมีปฏิกิริยาไวต่อ สภาพอากาศ ถ้าอากาศชื้น หรือโดนน้ำแป๊ปเดียว ก้อจะเกิดสนิมง่ายคับ แค่ สนิมที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ได้กันกินเนื้อเหล็กลึกขนาดนั้น สบายใจเถอะคับ มีมั่ง นิดหน่อย ธรรมชาติของเหล็กคับ....
พอเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นเพื่อจะได้สบายใจว่ามันไม่ได้เป็นแบบนี้แค่ยี่ห้อมิตซูยี่ห้อเดียว ก็มีคนบอกว่าอย่าพูดดีกว่า..
คนในคลับนี้ไม่ได้คิดว่าไทรทันดีที่สุดหรอกครับ แต่มันตอบโจทย์ของเจ้าของรถได้ดีที่สุดเท่านั้นเอง
ถูกต้องแล้วครับ ผมมองว่า qc ควรมีมตราฐานในการตรวจสอบชิ้นงานมากกว่านี้ ไม่ใช่รีบเร่งผลิตส่งรถให้ทันโดยไม่ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อย หรือมองว่าเป็นเรื่องปกติ อย่าลืมนะครับผู้บริโภคทุกคนในโลก ก็อยากได้ชิ้นงานที่ดีและคุ้มค่ากับเงินที่เขาซื้อใช่ไหมครับ คนไทยติดนิสัยอะไรก็ได้ช่างมันเถอะ จุดนี้เองแหละครับเป็นช่องทางให้ผู้ผลิตมองข้ามความสำคัญและผลิตชิ้นงาน อาจจะผลิตชิ้นงานแบบลวกๆ พอผ่านเกณฑ์ก็พอ แต่ไม่ได้คิดว่าจะผลิตชิ้นงานดีและให้สมบูรณ์ เราจึงได้ใช้ของหรือการบริการที่ไม่ค่อยมีคุณภาพไงครับ อย่าลืมนะครับไอ้ที่ว่าเรื่องเล็กๆน้อยๆนี่แหละ บางครั้งก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเรื่องใหญ่ๆได้ ใครจะไปรู้ เราก็เห็นกันทั่วไปละครับ
ในฐานะผู้ใช้ไทรทันคนนึง => ขอแสดงความเห็นใจน้าท่านเจ้าของรถนะครับ
มันก็คงเหมือนกับที่ตอนผมถอยไทรทัน มาใหม่ รู้ทั้งรู้ว่าปัญหามีอะไรบ้าง
เพราะฝังตัวศึกษาข้อด้อยมาพอสมควร จนกระทั่งแหนบเริ่มดัง ก็จิตตกบ้างเล็กน้อย
ส่วนปัญหาที่โพสต์ไว้ เรื่องรอยเชื่อม มันอาจจะไม่ดีซึ่งควรจะต้องปรับปรุงตามที่น้าโพสต์
ก็เป็นได้ครับ ผมสนันสนุน (เพราะผมก็ไม่เคยดูของรถตัวเองเหมือนกัน)
ส่วนเรื่องสนิมผมอยากให้น้าสบายใจไปได้ ครับ ไม่รู้เหมือนกันนะว่าเพราะอะไร
จากการศึกษาและประสบการณ์ผมมองว่าค่อนข้างปกติ ถ้าไม่มีนี่สิแปลก!!!
ขอให้มีความสุขกับการใช้รถใหม่ นะครับ
เพิ่มเติมอีกนิด นะครับ
อาจจะเป็นที่ศูนย์ออกรถด้วยนะ (เรื่องสนิม) เพราะตอนที่รถผมถูกส่งมาที่ศูนย์
ก่อนที่จะตกแต่งของแถมผมแวะ(แอบ)เข้าไปดู สภาพดูแย่นะผมว่า ทั้งฝุ่นทั้งอะไรต่อมิอะไร
พอวันรับรถ ดูดีขึ้นมากเลย มีรอยพ่นกันสนิมด้านล่าง ปัดเช็ดให้จนเงาแว๊บ.. เลย
ผมไปรับรถมาอาทิตย์ที่แล้ว ผมว่าก็เหมือนกันนะครับแต่ เลยนำรูปมาให้ดูครับ
เหล็กเป็นโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากความแข็งแกร่งและมีราคาถูก อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องที่สำคัญที่สุดของก็คือ การเกิดสนิม (rusting) นั้นเอง ประมาณกันว่าปีหนึ่งๆ จะเกิดการสูญเสียเนื้อเหล็กไปในรูปของสนิมเหล็กถึงเกือบ 1 ใน 7 ของปริมาณเหล็กที่ผลิตได้ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสูญเสีย ในเชิงเศรษฐกิจอย่างมหาศาลแล้ว บางครั้งการเกิดสนิมยังอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างประมาณค่ามิได้ ดังนั้น การป้องกันการเกิดสนิมของเหล็กเอาไว้ล่วงหน้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น สนิมเหล็กแท้จริงแล้วคือสารประกอบระหว่างเหล็กกับออกซิเจนนั่นเอง มีชื่อทางเคมีคือ ไฮเดรตเฟอริกออกไซด์ (Fe2O3.XH2O3) ลักษณะเป็นคราบสีแดง ซึ่งไม่สามารถเกาะอยู่บนผิวของเหล็กได้อย่างเหนียวแน่น สามารถหลุดออกไปได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กที่อยู่ชั้นในสามารถเกิดสนิมต่อไปจนกระทั่งหมดทั้งชิ้น กระบวนการเกิดสนิมเหล็กค่อนข้างซับซ้อน โดยมีปัจจัยหลักก็คือ น้ำและออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศโลก เหล็กจะเกิดสนิมได้เร็วขึ้นในบางสภาวะ เช่น สภาพที่เป็นกรด ตามชายทะเลที่มีไอเกลือเข้มข้น เป็นต้น
วิธีการป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิมมีอยู่หลายวิธี เช่น การเคลือบผิวเหล็ก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำและอากาศโดยตรง อาจทำได้หลายวิธี เช่น การทาสี การชุบด้วยโลหะ อาทิ ดีบุก สังกะสี วิธีนี้มักใช้กับชิ้นงานขนาดเล็กหรือกลาง อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของวิธีนี้คือ ผิวเคลือบชนิดนี้ สามารถหลุดออกได้ง่าย ทั้งทางกายภาพและเคมีซึ่งจะทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและเกิดสนิมขึ้น ยิ่งกว่านั้นผิวเคลือบบางชนิด เช่น ดีบุก ยังสามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเกิดสนิมให้เร็วขึ้นอีกด้วย
วิธีต่อมาคือการทำเป็นเหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel) โดยการเติมธาตุอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ ขึ้นบนผิวเหล็ก เช่น โครเมียม นิกเกิล ธาตุเหล่านี้จะสร้างฟิล์มบางๆ ที่ติดแน่นบนผิวเหล็ก ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับบรรยากาศโดยตรง ผิวเคลือบชนิดนี้มีความคงทนทั้งทางกายภาพและเคมี เหล็กกล้าไร้สนิมมีหลายเกรด แต่ละเกรดก็จะมีส่วนผสมที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท
ส่วนวิธีสุดท้ายคือ การใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้เหล็กมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจะทำให้เหล็กไม่เกิดการสูญเสียอิเลกตรอนและกลายเป็นสนิม วิธีนี้สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้ในทุกสภาพแวดล้อม แต่มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องอาศัยแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าซึ่งไม่สะดวกกับการโยกย้ายไปมา จึงเหมาะสมสำหรับโครงสร้างใหญ่ๆ ที่ต้องใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดสนิมอย่างรุนแรง เช่น ท่อที่ฝังอยู่ใต้ดิน ท่อส่งน้ำมันใต้ทะเล เป็นต้น
คราวหน้า ผมจะแจ้งให้ศูนย์มิตซู ออก ไทรทันรุ่นใหม่ เอาเป็น สแตนเลสรอบคัน...
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks