ผมว่าต้องมีใครแอบแช่งผมแน่ๆเลย....55555555555555
ผมว่าต้องมีใครแอบแช่งผมแน่ๆเลย....55555555555555
โอมมจงดันๆ... 555
มาตามข่าว น้าจีเจาะวาล์วน้ำดีขึ้นมั้ย
คนที่เปลี่ยนวาล์วน้ำ A-31 32 เป็นไงบ้างครับบอกเล่ากันบ้างนะครับ
รถผมเปลี่ยนวาล์ว a31 มา
ผลตอนอัดไม่ยาว ความร้อนจะขึ้นที่ 83-85 c จากนั้นอัดไป 140-160 ความร้อนจะขึ้นมาที่ 95 c จากนั้นพอผ่อนคันเร่งมาอยู่รอบใช้งานปกติความร้อนจะลงมาเหลือ 92 89 88 87 c ตามลำดับ.......
แต่อยากบอกว่า วาล์วน้ำที่เปิดเร็วอาจไม่ส่งผลดี ต่อเมื่อเราใช้ความเร็วสูงต่อเนื่องนานๆ
VV
v
การระบายความร้อน ซึ่ง "น้ำ"แบ่งเป็น 2 ส่วน ในระบบดังนี้
1. น้ำส่วนที่อยู่ในแผงหม้อน้ำ
(น้ำจะเย็นกว่าภายในเสื้อสูบ เพราะถูกดึงความร้อนออก โดยการนำความร้อนโดย ฟีนที่หม้อน้ำ และการพาความร้อนโดยพัดลม)
2. น้ำที่อยู่ในช่องทางตามเสื้อสูบ( น้ำตรงนี้จะร้อนกว่า)
ระหว่าง 2 ส่วนนี้ จะถุกปิดกั้นด้วย "วาล์วน้ำ " ซึ่งมันจะเปิดตามอุณหภูมิที่ถูกดีไซน์ไว้ว่า เปิดที่กี่องศา ผมว่านะเค้าทำไว้เพื่อเพิ่มค่าผลต่างอุณหภูมิ (เพื่ออะไรลองอ่านต่อนะครับ)
สืบเนื่องจากน้าๆใน คลับtriton ได้เปลี่ยนวาล์วน้ำมา ถามว่าทำไม่ความร้อนถึงลงเร็ว
ก็เพราะว่า น้ำร้อนในเสื้อสูบถูกแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำเย็นที่แผงน้ำหม้อเร็วกว่าเดิม
เพราะว่าวาล์วน้ำเปิดเร็วขึ้น แต่เมื่อการที่วาล์วเปิิดเร็วแบบนี้ จะส่งผลเสียได้ครับ เพราะว่า
ในรอบความเร็วสูง ผมว่าความร้อนของ"น้ำ"ภายในเสื้อสูบ คงจะสูงมากกว่า 76.5 c แน่ๆ
จึงทำให้วาล์วน้ำเปิดตลอดเวลาในรอบการทำงา่นที่สูง เหตุนี้เองอาจเป็นผลทำให้หม้อน้ำรับภาระหนักครับ เหมือนกันว่า"น้ำ"ภายในหม้อน้ำยังระบายความร้อนออกยังไม่ทันไรเลย
วาล์วน้ำดันเปิดเร็วมาก"น้ำ"จะภายในเสื้อสูบมาสมทบอีก ทำให้เครื่องยนต์มีอุณภูมิสูงตลอดเวลาเพราะระบายไม่ออก เนืองจาก " ค่าผลต่างอุณหภุมิน้อยครับ "
ตอนแรกเลยด้วยความอยากลองก็เลยลองเปลี่ยนตามๆเค้า แต่ก็ดันลืมนึกถึงความเป็นจริงตามหลักการวิศวกรรมไปเลยครับ
การสูตรอัตราการถ่ายเทความร้อน
Q= UA (ผลต่างอุณหภูมิ t1-t2)
Qคือ อัตราการถ่ายเทความร้อน
U คือ ค่าสัมประสิทธิ์การถ่านเทความร้อน
A พื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อน ( ในเรื่องนี้ จะหมายถึง แผงรังผึ้งหม้อน้ำครับ)
t1-t2 คือ ค่าผลต่างอุณภูมิที่ 1 และ 2 ( ในเรื่องนี้ t1จากเครื่องยนต์, t2 จากแผงหม้อน้ำ)
เพราะฉะนั้นการเพิ่มประสิทธิ์ที่ภาพในการแลกเปลี่ยนที่ถุกต้อง
1.เราจะต้องเพิ่ม A พื้นที่การแลกเปลี่ยนความร้อน โดยการขยายหม้อน้ำครับ
2. จะต้องกำหนดค่า (ผลต่างอุณหภูมิ t1-t2 )ให้เหมาะสมครับโดยการใช้"วาล์วน้ำ"ที่ถูกต้อง ที่กล่าวแบบนี้ผมหมายถึงว่า วาล์วน้ำเดิมกับหม้อน้ำเดิม คงแบบมาดีแล้วครับว่าความจะต้องเปิดที่ อุณหภูมิ 85 c เพราะความร้อนจะถูกแลกเปลี่ยนความร้อนที่แผงหม้อน้ำได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมอยู่แล้ว
3. เพิ่มค่า U สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน โดยในเรื่อง"หม้อน้ำ"
จะมีการนำความร้อนจากฟีนที่หม้อน้ำ และการพาความร้อนจากอากาศโดยพัดลมหน้าเครื่อง โดยจะหมายถึงการอัพเกรดโดยเลือกหม้อน้ำที่ฟีนเยอะๆ และหม้อน้ำจะหนากว่าเดิม และการอัพเกรดพัดลมหน้าเครื่องโดยใช้พัดลมที่มีความความเร็วลมเยอะขึ้น
........ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พี่้น้อง triton club ได้อ่านกันก่อนจะตัดสินใจทำอะไรครับกับรถอันเป็น"ที่รัก"ครับ
เช็คอยู่ครับพี่นพ ก็ยังหนืดๆอยู่นะพี่
แล้วรถพี่เคยเปิดฝามายังครับ มาแชร์กันหน่อย
มารายงานต่อครับว่า....ตอนนี้ ทั้งปะเก็นตัด คาร์บอน, ปะเก็น ร้าน ช., ปะเก็นศูนย์
เอาไม่อยู่ครับพี่น้อง
ณ ตอนนี้รถผมน้ำดันไป"อีกแล้ว"ครับ พอดีเพิ่งเช็คมา พบว่าสตาร์ทติดง่ายครับ แต่พออัดไปแค่แป๊บเดียว ความร้อนวิ่ง 85 86 87 90 103 c เลยจอดเพื่อสังเกตดูครับ เปิดใกระโปรงมา คราวนี้แต่ยินเสียง ลม ฟิ๊ดๆๆ ดังตามจังหวะลูกสูบเลยครับ
สรุปเลยว่า กำลังอัดรั่วออกมา เนื่องจากปะเก็นรั่วครับ......(ปะเก็นคาร์บอนห่วยสุดๆเลย)
ตอนนี้ไม่ต้องสรรหาปะเก็นตัดจากไหนล่ะครับ ปะเก็นเดิมทนกว่าเพื่อนเลย ขนาดน้ำดัน คราวก่อน กำลังยังไม่รั่วขนาดนี้เลย ผมว่าเราไปอัพพวกหม้อน้ำหรือพัดลมดีกว่า แล้วขับคราวต่อไป ถ้าวิ่งไกลๆ เปิดดันรางใบเดียววิ่งพอแล้วครับ เครื่องจะได้ไม่ร้อน วิ่งสบายๆ
..วันศุกร์จะไปเข้าจอดที่อู่ช่างฟอร์ด เพื่อเปลี่ยนไปใช้ปะเก็นเดิมครับ
รถผมโบเดิมบูส 30 อัด7กิโลความร้อนอยู่ที่90องศาคับ ใช้วาวส์เดิมเจาะ3มิล 6รู+ตัดสปริง หม้อน้ำเดิม พัดลมไฟฟ้า2ตัวคับ ประเก็นของ0 3แผ่นอัดกาวทองแดงทุกแผ่นคับ ความร้อนขึ้น90องศาแต่มันก็ลงเร็วนะคับ ยังไม่เกิดอาการน้ำดันคับ หรือว่าบูสผมน้อย หรือว่าอุณภูมิน้ำมันเครื่องผมไม่ค่อยสูงหว่า...... เอาใจช่วยนะคับน้าเล้ง เหนื่อยหลายรอบเลย หายไวๆนะคับ
ครับผม เหนื่อยใจ เห้อ............
พอจะมีงบทั้งอย่างอื่น ดันมาพังทุกทีเลย
ความร้อนตอนอัดขึ้นสุดแค่ 90 เองหรอครับ??
ของผมก่อนน้ำดัน วิ่งๆมาหลายอาทิตย์นะ มันวิ่ง 86 87....90 91 94 95 97 ครับ พอเบาคันเร่งมันจะค่อยๆลงมา รถผมหม้อน้ำเดิม พัดลมเดิมครับ
รถมีกล่อง 2 ใบ โบ td บูส 35 ปอนด์ ทำปั๊มช่างเบริ์ดมาแล้วครับ ( ก่อนทำปั๊ม ไม่เคยเจอปัญหาความร้อนเลย อัดไปเมืองกาญ ยาวๆยังนิ่งครับ)
แล้วน้า ใส่พัดลมไฟฟ้ารุ่นอะไรมาครับ ราคาแพงไหม โปรเจ็คพัดลมไฟฟ้าก็น่าสนครับ
คับน้าเล้งรถผมขึ้นอยู่90คับตอนอัดสุด แต่ว่าตอนเช้าๆอุณภูมิขึ้นช้าหน่อยนะคับ ผมซื้อพัดลมที่เชียงกงมาน่ะคับสองตัว ตัวละ400บาท แล้วก็ไปให้เค้าตีบังลมให้ใหม่คับ บังลมพอดีพี่คนที่รู้จักกันเค้าเอาไปตีให้คับ เค้าคิด600 บาท รวมแล้วก้อ1400คับ พัดลมไฟฟ้าจังหวะเดียวนะคับ ผมว่าน่าจะเหมาะกว่า2จังหวะน่ะคับ ถ้ายังไม่เปลี่ยนหม้อน้ำ พัดลมไฟ้ฟ้าก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าของเดิมนะคับ............อ่อก่อนทำปั้มไม่เป็นแน่นอนคับอาการนี้(ถ้าไม่อัดบูสสูงๆนะคับ)เพราะอุณภูมิน้ำมัน มันไม่สูงเท่าตอนที่ทำปั้มมาแร้วคับ พอทำปั้มมาแล้วมันก็ไปเพิ่มอุณภูมิในห้องเผาไหม้เราอีก มันก็เพิ่มภาระให้กับน้ำหล่อเย็นอีก ทางที่ดีผมว่าน้าใส่ ออยคูเลอร์ซักใบน่าจะดีนะคับ ใส่มันหลังพัดลมไฟฟ้าแหละคับมันจะช่วยลดอุณภูมิให้เราได้อย่างดีเรยแหละคับ
ปล.ไทรตั้นเราบอบบางมากคับเรื่องคูลลิ่งต้องค่อยๆศึกษากันไปนะคับสำหรับระบบคูลลิ่งของน้องตั้นเรา
ครับผม
แล้วถ้าพัดลม volvo น่าใช้ไหมครับเห็นตัวมันใหญ่ดี
แล้ว 2 สเต็ป มันทำงานอย่างไงครับ??? ต้องมีอุปกรณือะไรเสริมหรือป่าว
ราคาค่าตีบังลมถูกดีนะ อย่าไงขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
พัดลมวอลโว่ใช้ได้เลยคับดูว่ามีอุปกรณ์ครบป่าวเท่านั้นก็เอามาแปลงใส่ได้เลยคับ ตัวใหญ่แล้วทำงานสองจังหวะ รอบต่ำก็ทำงานแบบเบาๆ แต่พอรอบสูงๆนี่มันก็เต็มเหนี่ยวเรยคับ ส่วนพัดลมผมนี่มันเป็นของเบ๊นซ์ตัวSUVเครื่องห้าพันกว่าพวกกันเค้าบอกน่ะคับ พอดีผมฟลุคได้มาราคาโครตจะถูกหรือเค้าขายผิดก็ไม่รู้....งิงิ ตอนแรกผมก็ว่าจะใส่ของวอลโว่แหละคับแต่ดันไปเจอไอ้ตัวนี้ซะก่อนพวกเรยบอกให้เอาเรย จิงๆแล้วพัดลมสองจังหวะมันก็ดีกว่าจังหวะเดียวอยู่แล้วคับ แต่วันนั้นผมไปฟลุกเจอของเบ๊นซ์เข้าซึ่งแรงลมมันจะพอๆกับจังหวะที่สองของวอลโว่แหละคับ แต่ผมมีสองตัวแล้วทำงานจังหวะเดียว คือทำงานแบบปั่นแรงตั้งแต่ต้นเรยคับ แต่ถ้าเป็นพัดลมจังหวะเดียวทั่วๆไปผมว่าน้าเล้งใส่ของวอลโว่ดีกว่าคับแรงกว่าเยอะเลย.......
งานเข้าอีกแล้วแล้วเล้ง
ในส่วนรถน้ำแห้งมาแล้วก็เจออาการเดียวกับเล้งเหมือนกันแต่ปะเก็นที่ตัดมาไม่มีปัญหา
ปะเก็นแล๊ปมาแล้ววาวล์น้ำไม่พอแน่คงต้องเพิ่มขนาดหม้อน้ำขึ้นอีกสักหน่อย(เหล็กมันเคยร้อนจัดมาแล้วก็คงไม่สมบูรณ์)
ถ้าเป็นรถดิมๆทำน้อยๆวาวล์น้ำที่เปลี่ยนใหม่คงแก้อาการได้ก่อนที่จะเป็นนะครับลองซัดยาวๆแล้วยังไม่พบปัญหา
ในส่วนเรื่องออยล์น้ำมันดีเชลก็กะลังจะเล่นอยู่ว่าจะเอาแบบดีแม๊กนะครับ
เข้ามาตอบสักกระทู้ละกัน งง เพราะไม่เคยดัน หรือว่าแรงไม่พอก็ไม่รู้
1.ทำไม ไม่เพิ่มจุดเดือดของน้ำหล่อเย็นล่ะครับ เช่นโมถังพักใหม่ เป็นสุญญากาศ
วิธีนี้ จะทำให้จุดเดือดเพิ่มขึ้น อาการน้ำดัน ก็ควรจะลดลง
2.ส่วนตัว ผมเบิ้ล คูลแลนท์เพิ่ม 1 เท่าตัว ทำมานานมากตั้งแต่ 40000 โล
ได้สูตรมาจากนักแข่งชื่อดัง ที่โดนข้อหาลักทรัพย์ล่ะครับ
3.การระบายความร้อนจากหม้อน้ำ ควรทำได้เร็ว และควบคุมอุณหภูมิได้ดี
ทางที่ดี ควรได้แบบ นิ่งๆ ของหาได้ก็คือ พัดลมไฟฟ้า 2 จังหวะ
4.การลดความร้อนในระบบเครื่องยนต์ บางท่านใส่อินเตอร์ บางท่านใส่หม้อ(น้ำ)ใหม่
ควรใส่ใจกับระบบ ออยคูลเลอร์ ด้วยครับ อย่างน้อยผลที่ได้ จัดว่าดีทันตาเห็น
ผมไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้นะครับ แต่ก็เคยใช้ไทรทัน กล่อง 2 ใบ โบเดิม บูสท์ 24
เกียร์ออโต้ อายุการติดกล่องระดับ 70,000 กิโลเมตร ไม่เคยเจอปัญหาเรื่องความร้อนเลย
ทั้งๆที่ผม ก็แค่เพิ่มพัดลมไฟฟ้า 12 นิ้ว ช่วยแอร์ เบิ้ลคูลแลนท์แบบ Long Life
และไม่เคยเติมน้ำหล่อเย็นเพิ่ม แต่อย่างใดครับ
การไล่เปลี่ยนปะเก็น ผมมองว่า เป็นการซ่อมแซม ของที่เสียหายมากกว่าครับ
ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า หลักๆ ให้ปรับปรุง
1.เพิ่มจุดเดือดของน้ำหล่อเย็น
2.ควบคุมอุณหภูมิ ให้นิ่ง สวิงไม่เกิน 5 องศา (85-90 กำลังดีนะ)
3.เพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง
4.ประจุไอดี ให้มีความควบแน่นสูง
ลองเล่นดู
ผลเสีย มันก็มีกับ สิ่งที่ ทำกันอยู่
1.การเจาะวาล์วน้ำ จะทำให้ การควบคุมอุณหภูมิไม่ดี เย็นมั่งร้อนมั่ง
การสึกหรอ จะมากกว่าเดิม ของเย็น ไม่ได้ดีเสมอไป
2.ถอดวาล์วน้ำออกเลย ทำให้ การระบายความร้อนสูบหลังๆ แย่ลง
การสึกหรอแต่ละสูบ ไม่สัมพันธ์กัน สึกหรอมากกว่าเดิม เปลืองน้ำมัน
3.เปลี่ยนวาล์วน้ำ ทำให้เปิดเร็ว ตัวเย็นขึ้น เพราะมันก็แค่เปิดเร็วกว่าเดิม
ทำไม มันควบคุม ความร้อนที่ดีดไปเกือบๆร้อยองศา ไม่ได้ล่ะ ฉะนั้น ไปคิดดู
4.เมื่อตัวเย็น ระบบจะสั่งจ่ายน้ำมันหนาขึ้น เพื่อให้เครื่องถึงอุณหภูมิใช้งานเร็วๆ
แต่ยังไง ก็ไม่ถึงซักที ผลที่ได้ เปลืองน้ำมัน มลพิษสูง ที่สำคัญ สึกหรอมากกว่าเดิม
อาจถูกใจ กับคนชอบความแรง
5.ถ้าเปลียนวาล์วน้ำ ยี่ห้อดัง สมัยก่อน รถเดิม เอาเข้าศูนย์ อาจเลินนิ่งไม่ผ่านนะครับ
เพราะอุณหภูมิ ไม่ถึงจุดใช้งาน คิดดีดี
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks