หลายๆท่านได้มีโอกาสไปสักการะบูชาและขอพรจาก พระพิฆเนศวร์
เชื่อว่ามีไม่น้อยที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับ พระพิฆเนศ ว่ามีตำนานเล่าขานกันว่าอย่างไร
จึงได้สืบค้นนำมาให้อ่านเล่น ประกอบภาพถ่ายกันเพลินๆ
ตามมาเลย ... ครับ
หลายๆท่านได้มีโอกาสไปสักการะบูชาและขอพรจาก พระพิฆเนศวร์
เชื่อว่ามีไม่น้อยที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับ พระพิฆเนศ ว่ามีตำนานเล่าขานกันว่าอย่างไร
จึงได้สืบค้นนำมาให้อ่านเล่น ประกอบภาพถ่ายกันเพลินๆ
ตามมาเลย ... ครับ
พระพิฆเนศวร์
เทพเจ้าของฮินดู
เป็นโอรสของพระศิวะ มีกายเป็นมนุษย์ เศียรเป็นช้าง
เป็นเทพที่นิยมบูชากันมากที่สุดในบรรดาเทพฮินดูทั้งหลาย
เนื่องจากพระองค์เป็นเทพผู้ขจัดความขัดข้องและเป็นผู้อำนวยความสำเร็จให้แก่กิจการทั้งปวง
ชาวอินเดียเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนา
หรือศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาจะต้องบูชาพระพิฆเนศวรร์เสียก่อนเพื่อขอความสำเร็จในกิจการนั้น ๆ
การนับถือพระพิฆเนศวร์ ในประเทศอินเดียเริ่มปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัยปุราณะ (ประมาณ พ.ศ. 861-1190)
มีผู้สันนิษฐานว่ามีกำเนิดมาจากการเป็นเทพพื้นเมืองของชาวอินเดีย
ซึ่งมีการบูชาสัตว์เป็นลัทธิพื้นเมืองดั้งเดิม
มีการบูชาเทพที่มีเศียรเป็นสัตว์ต่าง ๆ เป็นเทพประจำเผ่า
และเนื่องจากช้างเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
พระพิฒเนศว์ที่มีเศียรเป็นช้างจึงได้รับยกย่องเป็นหัวหน้าของเทพที่มีเศียรเป็นสัตว์ทั้งหลาย
ประวัติของพระพิฆเนศวร์
ตามเทพนิยายในคัมภีร์ทางศาสนา
มีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ปุราณะซึ่งเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเทพและเทพี
มีทั้งสิ้น 18 เล่ม
โดยกล่าวถึงกำเนิดและประวัติของพระพิฆเนศวร์แตกต่างกันไป
แต่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน คือมีกำเนิดมาในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค
ดังเช่นที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ศิวปุราณะ (Sivapurana) ตอนหนึ่งว่า
“ครั้งหนึ่ง ชยาและวิชยาพระสหายของพระนางปารวาตี
ได้แนะนำพระนางว่าแม้พระนางจะมีนนทิ (Nandi) ภฤิงคิ (Bhringi) และบริวารอื่น ๆ ของศิวะแล้ว
แต่ถ้าพระนางจะมีคนรับใช้ของพระนางเองก็จะดียิ่งขึ้น พระนางก็เห็นด้วย
ครั้งหนึ่ง เมื่อพระนางกำลังสรงน้ำอยู่ก็นึกถึงคำเตือนของพระสหาย
จึงนำเหงื่อไคลจากพระฉวีมาสร้างเป็นบุรุษรูปงาม
และสั่งให้เฝ้าอยู่หน้าประตูห้ามมิให้ใครเข้ามาโดยมิได้รับอนุญาต
วันหนึ่งพระศิวะได้เสด็จมายังที่ประทับของพระนางปารวตี
พระคเณศจึงได้ขัดขวางได้อย่างแข็งขัน
พระศิวะทรงพระพิโรธอย่างหนัก ทรงสั่งให้ ภูต – คณะ ของพระองค์สังหารทวารบาลนั้น
แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ แม้กระทั่งพระวิษณุสุพรหมณยะ
พระนางปารตีทรงส่งเทพยาดา 2 องค์มาช่วย
พระวิษณุจึงใช้อุบาย และสามารถตัดเศียรพระคเณศได้
พระนางปารวดีทรงพระพิโรธมาก
ส่งเทพยดาจำนวนมากไปก่อกวนจนเกิดเรื่องใหญ่
จนฤษีนารทะต้องมาห้ามอ้อนวอนขอให้รพระนางสงบศึก
พระนางสัญญาว่าถ้าพระโอรสของพระนางฟื้นคืนชีพขึ้นมานางจะหยุดทันที
พระศิวะจึงสั่งให้เทวดาเดินทางไปทางทิศเหนือ
ไปนำศรีษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาต่อให้กับพระโอรสของพระนางปารวตี
เทวดาได้นำศรีษะของช้างมาต่อเข้ากับศอของพระคเณศ
ช้างที่นำมานั้นมีงาข้างเดียว พระคเณศจังได้นามว่า คชานนะ แปลว่ามีหน้าเป็นช้าง
และ เอกทันตะ แปลว่ามีงาข้างเดียว
เมื่อฟื้นขึ้นมาพระคเณศได้ขอโทษต่อพระศิวะและเทวดาอื่น ๆ
ทำให้พระศิวะพอใจ ประสาทพรให้พระคเณศมีอำนาจเหนือภูติผีทั้งหลาย แต่งตั้งให้เป็นคณปติ (ผู้มีอำนาจ – ผู้ยิ่งใหญ่)
ด้วยเหตุนี้พระคเณศจึงได้รับนามใหม่อีกหลายนาม
คือ คชานนะ, เอกทันตะ, และคณปติ”
พระพิฆเนศวร์ บรมครูช้างผู้ยิ่งใหญ่
สำหรับในประเทศไทยนั้น
ส่วนใหญ่จะรู้จักพระพิฆเนศวร์ ในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยา
และในฐานะบรมครูช้าง
ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากบนความคิดดั้งเดิม คือ เป็นเทพแห่งอุปสรรค และความสำเร็จทั้งปวงนั่นเอง
ได้ปรากฏหลักฐานทางเอกสารและโบราณคดีเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์
ในฐานะบรมครูช้างมาตั้งแต่สมัยแรกที่ไทยเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้แล้ว
พระพิฆเนศวร์ ในฐานะบรมครูช้าง
หรือที่เรียกว่า พระเทวกรรม นั้นเป็นเทวรูปสำคัญของผู้ที่ศึกษาวิชาคชศาสตร์
หรือที่เรียกว่า “ตำราช้าง”
ซึ่งไทยรับมาจากอินเดียต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต แบ่งได้เป็น 2 คัมภีร์
คือ ตำราคชลักษณ์ กล่าวถึงลักษณะของช้างให้รู้ว่าช้างดี-เลว ต่างกันอย่างไร
อีกคัมภีร์หนึ่ง คือตำราคชกรรม
สอนวิธีหัดช้างเถื่อน และวิธีหัดขี่ช้าง
รวมทั้งมนต์สำหรับบังคับช้าง และระเบียบพิธีต่าง ๆ
ซึ่งทำให้เกิดสิริมงคลและบำบัดเสนียดในการที่เกี่ยวเนื่องกับช้าง
การคชศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในไตรเพท
ซึ่งพระมหากษัตริย์จะต้องทรงศึกษาเรียนรู้โดยมีพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาสู่ราชสำนัก
ซึ่งสันนิษฐานว่าไทยคงได้รับมาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัยแล้ว
แม้จะไม่มีหลักฐานทางเอกสารระบุไว้แน่ชัดก็ตาม
แต่ก็มีหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์
และหลักฐานที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์ทรงรอบรู้ในการคชศาสตร์เป็นอย่างดี
ชมภาพ ... พร้อมกับเก็บเกี่ยวความรู้กันไปน่ะครับ
ภาพประกอบที่นำเสนอทั้งหมดจากอุทยานพระพิฆเนศวร์ จ.นครนายก
ในสมัยอยุธยา
การคชกรรมเฟื่องฟูหลายยุคหลายสมัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)
ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ถึงการที่พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อรูปพระพิฆเนศวร์
และพระเทวกรรมหลายครั้งด้วยกัน เช่น
“……….ในเดือนยี่ ปีวอกนั้น
พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรเจ้าอยู่หัว บำเพ็ญพระราชกุศลนานาประการ
แล้วให้หล่อพระรูปพระอิศวรเป็นเจ้า ยืนสูงศอกคืบมีเศษพระองค์หนึ่ง
รูปพระศิวาทิตย์ ยืนสูงศอกมีเศษ พระองค์หนึ่ง รูปพระมหาวิฆเณศวร พระองค์หนึ่ง
รูปพระจันทราทิศวร พระองค์หนึ่ง
และรูปพระเจ้าทั้ง 4 พระองค์นี้ สวมทองนพคุณและเครื่องอาภรณ์ประดับนั้นถมยาราชาวดี ประดับแหวนทุกพระองค์
ไว้บูชาสำหรับพระราชพิธี”
และ “ ปีวอก อัฐศก นั้น ตรัสให้หล่อรูปพระเทวกรรม สูงประมาณศอกมีเศษ พระองค์หนึ่ง สวมทอง เครื่องประดับถมราชาวดี….”
ครั้นปีระกา นพศก
พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการตรัสสั่งพระยาจักรี
ให้แต่งโรงพิธีบัญชีพรหม กรมพระคชบาลสำหรับพระราชพิธีทั้งปวงในทะเลหญ้า ตำบลเพนียด
และทรงพระกรุณาตรัสให้หล่อพระเทวกรรมทอง ยืน สูงหนึ่งศอก หุ้มด้วยเนื้อเจ็ด แล้ว
และเครื่องอาภรณ์นั้นถมราชาวดีประดับด้วยแหวน ไว้สำหรับการพระราชพิธีคชกรรม
ให้พระมหาราชครู พระราชครู และพฤฒิบาศ
และปลัดพระราชครูประกอบการพระราชพิธีบัญชีพรหม
ในวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7
จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จยังการพระราชพิธีมหาปรายาจิตร
แล้วพระราชพิธีบัญชีพรหมทะเลหญ้า ก็ประพฤติการพระราชพิธีสารตำรับอันมีในคชกรรมนั้นทุกประการ
“แล้วก็ตรัสให้หล่อพระบรมกรรมพระองค์หนึ่งสูง 4 ศอก หลักฐาน
แล้ว อภิเษกเสร็จก็ให้รับไปประดิษฐานไว้ในพระอารามพระศรีรุทรนาถ ตำบลชีกุล
และตรัสให้หล่อพระเทวกรรมองค์หนึ่งสูงประมาณ 4 ศอก ไว้ในหอพระเทวกรรม..”
ปาดๆๆๆๆ
โอม...พระพิฆเนศวร สิทธิ ประสิทธิเม มหาลาโภ ทุติยัมปิ
...พระพิฆเณศวร สิทธิ ประสิทธิเม มหาลาโภตะติยัมปิ
...พระพิฆเณศวร สิทธิ ประสิทธิเม มหาลาโภ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและรูปสวยๆครับ.....เคยไปสักการะสวยงามครับ
หลักฐานทางโบราณคดีสมัยอยุธยาที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง
คือประติมากรรมรูป พระพิฆเนศวร์บนด้ามมีดของหมอช้างที่ใช้ในการประกอบพิธีเกี่ยวกับช้าง
เพราะพระพิฆเนศวร์ (พระเทวกรรม) เป็นเทวรูปสำคัญของผู้มีหน้าที่เป็นคชบาล
เป็น “พระ” ของกรมช้างได้เคารพนับถือกันมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ตามตำนานกล่าวว่า “ ผู้มีตำแหน่งเป็นครู อาจารย์ ในทางคชกรรมต้องมี “พระคเณศ”
ซึ่งแกะด้วยงาช้างตระกูลพิฆเนศวรมหาไพฑูรย์ไว้บูชา (ช้างในตระกูลอัคนิพงศ์)
ขณะใดไปแขกโพนช้างเถื่อนก็นำเอาไปกับตัวอย่างเครื่องรางด้วย
บางคนใช้งาช้างตระกูลนั้นแกะเป็น “พระคเณศ”
ที่ด้ามมีดไว้สำหรับใช้เป็นอาวุธประจำตัวในขณะไปทำการคล้องช้าง”
แต่ ในกรณีนี้ทำด้วยสำริด พบที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แม้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์
และพระเทวกรรมค่อนข้างสับสน
แต่ก็ยังปรากฏหลักฐานการกล่าวถึง พระพิฆเนศวร์และพระเทวกรรมในวรรณกรรมต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมที่เกี่ยวช้าง ได้แก่ฉันท์ ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง
ซึ่งเป็นฉันท์ที่ใช้สวดในงานพิธีสมโภชพระยาช้าง
การกล่อมช้างนี้เข้าใจว่าเป็นพิธีที่เราได้มาจากเขมร
และเขมรได้มาจากพราหมณ์อีกทอดหนึ่ง
คำประพันธ์ประเภทนี้ยังคงใช้กันอยู่แม้กระทั่งในปัจจุบัน
ในสมัยรัชการที่ 6 พระองค์ทรงสนพระทัยในภารตวิทยาเป็นพิเศษ
จึงทรงเข้าพระทัยประวัติความเป็นมาของพระพิฆเนศวร์ได้อย่างถูกต้อง
วรรณกรรมต่าง ๆ ในสมัยนี้มักมีบทบูชาพระพิฆเนศวร์ ในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค และเทพแห่งศิลปวิทยา
แต่ขณะเดียวกันก็มีการกล่าวถึงพระพิฆเนศวร์ในฐานะบรมครูด้วย
เช่น จากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตอนหนึ่ง
ในบทละครเรื่องสามัคคีเสวก ตอนกรีนิรมิต (พระคเณศวรเสียงา)
ทรงกล่าวถึงพระพิฆเนศวรในฐานะบรมครูช้างผู้ใหญ่
ดังนี้……..
“อนึ่งพระพิฆเณศเดชอุดม เป็นบรมครูช้างผู้ใหญ่
เธอสร้างสรรพกะรีที่ในไพร เพื่อให้เป็นสง่าแก่ชาตรี
สร้างสารแปดตระกูลพูนสวัสดิ์ ประจงจัดสรรพางค์ต่างต่างสี
แบ่งปันคณะอัฎฐะกะรี ประจำที่อัฏฐทิสสถาพร”
ในปัจจุบัน
เรารู้จักพระพิฆเนศวร์กันอย่างแพร่หลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะบรมครูช้าง
ทั้งนี้เนื่องจากพระพิฆเนศว์มีบทบาทอย่างสำคัญในกิจพิธีเกี่ยวกับการสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก
เริ่มตั้งแต่ในพิธีจับเชิงจนถึงพระราชพิธีน้อมเกล้า ฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช
ซึ่งพราหมณ์จะอัญเชิญพระเทวกรรมเข้าพิธีด้วย
กล่าวสรุปได้ว่า พระพิฆเนศวร์ ในฐานะบรมครูช้าง
หรือที่รู้จักกันในนามของ
“พระเทวกรรม”
เป็นแนวความคิดที่แพร่หลายในสมัยอยุธยา
เมื่อการคชศาสตร์เป็นที่นิยมในราชสำนัก
ความจริงแล้วเราได้พบหลักฐานเกี่ยวกับการคชศาสตร์ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ดังปรากฏจากหลักฐานทางเอกสาร แม้จะไม่มีการกล่าวถึง “พระเทวกรรม” อย่างเด่นชัด
แต่เมื่อมีการคชศาสตร์เกิดขึ้น ก็ต้องมีการบูชาพระเทว-กรรมควบคู่กันด้วย
การคชศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในไตรเพท
ซึ่งพระมหากษัตริย์ (ผู้เป็นนักรบ - ตามชั้นวรรณะ) จะต้องทรงศึกษาเรียนรู้
โดยมีพราหมณ์เป็นผู้นำเข้าสู่ราชสำนัก
พราหมณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพรหมณ์ที่มาจากเขมรมากกว่าเป็นพราหมณ์ที่มาจากอินเดีย
ในสมัยอยุธยานั้นมีการกล่าวถึงพระเทวกรรมอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาพรหมณ์เฟื่องฟุ
ในพงศาวดารกล่าวถึงการหล่อรูปเคารพพระพิฆเนศวร์ และพระเทวกรรม
แสดงให้เห็นว่าในสมัยนี้พระคเณศวรปรากฏฐานะแยกเป็น 2 รูปแบบอย่างชัดเจน
คือ “พระวิฆเณศวร” เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ผู้ขจัดอุปสรรค และ “พระเทวกรรม” เทพในฐานะครูช้าง
จากหลักฐานทางโบราณคดี
เราได้พบรูปเคารพ “พระเทวกรรม” ปรากฏบนด้ามมีด
ซึ่งเชื่อว่าเป็นมีดสำหรับหมอช้าง
เป็นของในสมัยอยุธยา
นอกจากนี้ยังพบรูปเคารพพระคเณศขนาดเล็ก
ซึ่งได้รับคำบอกเล่าว่าเป็นพระคเณศที่ใช้ในการประกอบอาชีพและประกอบพิธีเกี่ยวกับช้าง
นั้นก็คงหมายถึงพระคเณศวร์ในนามของ “พระเทวกรรม” นั่นเอง
ลักษณะนี้จะปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งในด้านวรรณกรรม
และพิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง
ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจาก
หนังสือที่ระลึก สำหรับแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ จมื่นสิริวังรัต (เฉลิม คชาชีวะ)
10 ตุลาคม 2528 หน้า 1-5
ที่มา : มูลนิธิคชบาล
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ... ครับ ข้อความอาจเยอะไปนิดอยากให้สมาชิก Triton Club รอบรู้มากกว่าใครๆหรือจะเลือกชมแต่ภาพประกอบก็ตามอัธยาศรัยเพื่อการพักผ่อนหลังภารกิจการงานประจำวัน ... ครับ
ปล. ข้อสังเกตุ
พระพิฆเนศวร์ ในตำนานที่ถูกต้อง
เศียรเป็นช้างและต้องมีงาซ้ายข้างเดียว
น่ะ ... จะบอกให้
เหมือนน้าจะหายไปจากห้องภาพนานเหมือนกันครับหรือผมไม่ค่อยได้เข้ามาดูก็ไม่รู้....ผมเคยดูรูปที่น้าถ่ายมาลงสวยงามมากครับ.....ขอบคุณที่แบ่งปันกันชมครับ
wj3932 ... ขอบคุณที่เยี่ยมชม ผมชอบถ่ายภาพ เป็นงานอดิเรก เพื่อการผ่อนคลาย ถ้าไม่ติดภารกิจ ว่างเมื่อไร ก็ชอบที่จะนำภาพถ่ายมาแบ่งปัน ติชมได้ตามสบายน่ะครับ
ภาพสวยครับน้า
แอบมาแปดริ้วก็ไม่บอก
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks