เชื้อเพลิงชีวภาพจำพวกเอทานอล น้ำมันพืช และแหล่งพลังงานทดแทนต่างๆ กำลังได้รับความสนใจจากภาครัฐและนักสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นหนทางในการลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่จากผลการวิจัยของนักชีววิทยาจาก University of Washington แสดงให้เห็นว่า เชื้อเพลิงชีวภาพที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันบางชนิดกลับส่งผลตรงกันข้าม โดยในการศึกษาจะมองถึงปัจจัยบางประการ เช่น พลังงานที่ใช้ในการผลิตแหล่งพลังงานทดแทนเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานนั้นๆ รวมถึงผลกระทบต่อคุณภาพดิน และผลกระทบต่อแหล่งอาหารหากนำเชื้อเพลิงจากพืชอาหาร เช่น ข้าวโพดและถั่วเหลืองมาผสมกับเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจากผลการวิเคราะห์พบว่า เอทานอลจากข้าวโพดเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่แย่ที่สุด เนื่องจากจำเป็นต้องใช้พลังงานปริมาณมากในการปลูกข้าวโพดและเปลี่ยนข้าวโพดเป็นเอทานอล ส่งผลให้พลังงานสุทธิของเชื้อเพลิงที่ได้มีค่าน้อย แต่การใช้พืชบางชนิด เช่น หญ้าสวิตช์ ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปศุสัตว์นั้น ต้องการพลังงานในการผลิตเชื้อเพลิงน้อยกว่ามาก และการใช้สาหร่ายเซลล์เดียวก็ได้ผลเช่นเดียวกัน หากแต่เทคโนโลยีสำหรับผลิตเชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ และจำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายพลังงานเป็นอย่างมาก
ลองเข้าศึกษาใน Link ที่แนบนี้นะครับ ได้ข้อคิดอะไร Share กันได้ครับ
http://www.sciencedaily.com/releases/2008/05/080527130056.htm
Bookmarks