สรุปผลการค้นหา 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

กระทู้: ดูแลรักษา เครื่องยนต์ Common Rail

  1. #1
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jan 2008
    User ID
    241
    Status
    Offline
    โพส
    269

    มาตรฐาน ดูแลรักษา เครื่องยนต์ Common Rail

    หน้า 23
    รถยนต์

    ธเนศร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

    ดูแลรักษา เครื่องยนต์ Common Rail

    ผมเพิ่งกลับจากเขาใหญ่เมื่อบ่ายวันนี้เอง พร้อมกับแว่นตาอันสุดท้ายที่ใช้ได้ แต่ตกแตกเสียที่บ้านเขาใหญ่

    พรุ่งนี้ต้องไปทำแว่นใหม่ที่หอแว่นของเพื่อนสมัยอยู่สวนกุหลาบด้วยกัน

    วันนี้ก็เลยต้องเขียนต้นฉบับไว้ก่อน ใช้แว่นตาเก่าครับ ต้องปรับตัวอักษรขึ้นไปให้ใหญ่กว่าปกติ

    ตอนแรกว่าจะบ่นเรื่องเสาไฟฟ้าที่ตั้งกันใกล้ขอบถนน และตั้งถี่ยิบ โดยมีเสาใหญ่ตั้งห่างกันราวห้าสิบเมตร แล้วมาตั้งเสาเล็กระหว่างเสาใหญ่ ทำให้ระยะห่างของเสาเหลือเพียงยี่สิบห้าเมตรโดยประมาณ

    ลองคิดดู หรือลองสังเกตดูเถิดครับ จะเห็นชัดว่า อันตรายของคนขับรถบนถนนบ้านเรานั้นมีมากอยู่แล้ว หากตกถนนลงไป ยังเกือบไม่แคล้วที่จะเจอเสาไฟ ราคาหลายหมื่นบาทน่ะไม่เท่าไรหรอก แต่แรงปะทะระหว่างรถยนต์กับเสาไฟฟ้าแข็งแกร่งนี่ จะสร้างอันตรายให้กับเราได้มากมายขนาดไหน

    ไม่เห็นใครฟ้องร้องการไฟฟ้าบ้างเลย มีแต่ยอมจ่ายค่าเสาไฟโดยดีเสียทั้งนั้น

    แล้วระหว่างทาง เห็นรถดีเซลรุ่นใหม่หลายคัน หลายยี่ห้อ ขับกันดุเดือดดีเหลือเกิน ก็นึกขึ้นได้ว่า ระบบ Common Rail นี่ทำให้รถเครื่องยนต์ดีเซลกลายเป็นสิ่งที่ผมเริ่มมองบ้างแล้ว

    ด้วยว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และความประหยัดของเครื่องยนต์ดีเซล แม้จะขนาดใหญ่ระดับ 3.0 ลิตร หากขับเรื่อยๆ แล้ว ก็จะมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่าเบนซิน ยิ่งเครื่องยนต์ดีเซลสมัยใหม่เดินเงียบและเรียบกว่าเดิมมาก เร่งออกตัวก็เร็วขึ้น ติดเครื่องยนต์ง่าย ไม่ต้องการการ Tune Up เหมือนเครื่องยนต์เบนซิน ก็ยิ่งน่าสนใจ

    แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ดีเซลก็ยังต้องการการดูแลรักษาระบบเชื้อเพลิง โดยเฉพาะเครื่อง Common Rail



    ระบบเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล Common Rail นั้นคล้ายกับระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงเข้า Port ของเครื่องยนต์เบนซิน โดยจ่ายน้ำมันให้กับหัวฉีดโดยท่อร่วม และหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ความแตกต่างที่โดดเด่นระหว่างดีเซลกับเบนซินก็คือแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้อยู่กับดีเซล Common Rail

    กับเครื่องยนต์เบนซิน เราจะใช้แรงดันเชื้อเพลิงประมาณ 3.5-5.0 บาร์ หรือราว 48-70 PSI ในขณะที่เครื่องยนต์ดีเซลแบบ Common Rail ใช้แรงดันสูงกว่ามาก คือระดับ 1600-2000 บาร์ หรือราว 24500-27000 PSI

    ในขณะที่เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นเก่า จะใช้แรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงระดับหลักร้อยปอนด์ต่อตารางนิ้ว

    ตรงนี้แหละครับ ที่คุณเลจาย วิศวกรเครื่องยนต์เพื่อนรุ่นน้องผม ต้องใช้วิริยะอุตสาหะอย่างมาก ในการออกแบบเพื่อให้หัวฉีดดีเซลมีอายุรอดปลอดภัยยืนนานขึ้น เพราะเท่าที่เล่าเรียนมานั้น คุณเลจายบอกว่าเคยเห็นเครื่องตัดโลหะที่ใช้น้ำภายใต้แรงดัน ฉีดออกมาตัดเหล็กได้ด้วยแรงดันต่ำกว่าที่เขาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล Common Rail

    เมื่อผมเถียงว่า น้ำมันดีเซลที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีคุณสมบัติการหล่อลื่นเพียงพอที่จะไหลผ่านหัวฉีดได้ แบบไม่ทำอันตรายกับโลหะนี่หว่า ไม่เหมือนน้ำนะนายเลจาย

    คุณเลจายก็เถียงว่า แล้วพี่แน่ใจหรือว่า น้ำมันดีเซลทุกปั๊มจะสะอาดอย่างที่พี่คิดและพี่เชื่อพี่บอกออกมานั่นน่ะ

    ฝุ่นผงที่ผสมอยู่ในน้ำมัน สามารถจะตัดโลหะภายในหัวฉีด ทำให้เกิดการรั่วภายในได้ โดยผงนั้นไม่ต้องใหญ่มากหรอกครับ

    กรองเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลบางเครื่องในปัจจุบัน สามารถกรองได้ถึงสามในล้านส่วนของเมตร หรือ 3 ไมครอน แต่หากน้ำมันโซล่าที่ใช้นั้นสกปรก กรองก็จะตันเร็ว และเมื่อตันหรือฉีกขาดแล้ว เศษผงก็จะถูกดูดผ่านกรองเข้าไปได้ หัวฉีดก็มีโอกาสเสียหาย

    วิธีป้องกันดีที่สุด ก็คือเปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงเป็นประจำ และใช้น้ำมันดีเซลที่สะอาด จากสถานีบริการเชื้อเพลิงที่ไม่สกปรกด้วยเท่านั้นครับ

    เท่าที่ผมทราบ จากการสำรวจของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทย พบว่าแม้น้ำมันดีเซลที่สะอาดก็ยังมีส่วนที่เป็นผงอยู่ด้วย เราเรียกกันว่า Asphaltines อันจะไปเกาะ และไปทำให้รูกรองของกรองเชื้อเพลิงกว้างขึ้นได้ และนอกจากนั้น ปัญหาของหัวฉีดในระยะแรกของการใช้เครื่องยนต์คอมมอนเรล ก็มาจากการเติมเชื้อเพลิงจากสถานีบริการที่เก่า ถังเก่า หรือใหม่เอี่ยมที่ไม่ได้เปลี่ยนกรองของปั๊มมานาน กับการเติมจากถังขององค์กรที่มีรถจำนวนมากใช้อยู่ โดยสั่งน้ำมันครั้งละมากมากนำไปเก็บใส่ถังใหญ่เพื่อเติมให้ และถังนั้น ไม่ได้รับการทำความสะอาดมาก่อนเลยก็มีมากเช่นกัน

    ปัจจุบัน ถังเชื้อเพลิงของโซล่าตามสถานีบริการส่วนมาก ได้รับการทำความสะอาดแล้ว และกรองจากตัวปั๊มก็ได้รับการเปลี่ยนเป็นประจำกันเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีเหลือที่เจ้าของปั๊มไม่ยอมเปลี่ยนอยู่บ้าง ก็แล้วแต่โชคละมังครับ

    น้ำที่ผสมในน้ำมันโซล่าก็สามารถกันกร่อนหรือฉีกโลหะให้ทะลุได้ ปกตินั้น น้ำจะถูกกักไว้ในกรองดักน้ำ การถ่ายน้ำทิ้งจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับเครื่องยนต์ Common Rail เพราะเมื่อไรก็ตามที่กรองโซล่าทำท่าใกล้จะตัน น้ำจะมีโอกาสหลุดเข้าไปในระบบหัวฉีดได้เสมอ ถ่ายน้ำจากกรองดักน้ำ และเปลี่ยนกรองโซล่าประจำ เป็นสิ่งเดียวที่ช่วยคุณ และเครื่องยนต์อันทรงพลัง ราคาสูงของคุณได้

    แต่บางท่าน ผู้ใช้รถยนต์เครื่องดีเซล แบบ Common Rail นี่นะครับ กลับเอาน้ำใส่เข้าในน้ำมันสะอาดของรถท่านเอง

    ทำอย่างไร ก็ทำได้ด้วยการเลือกซื้อน้ำยาหรือน้ำมันแบบหัวเชื้อโซล่า ตามปั๊มที่เขาเสนอขายให้กับท่านนั่นแหละครับ หัวเชื้อพวกนี้ จะมีคุณสมบัติป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียในน้ำมันดีเซล และยังได้รับการกล่าวอ้างเสมอว่าช่วยหล่อลื่นให้กับชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในระบบเชื้อเพลิงอีกด้วย

    ซึ่งจะช่วยได้หรือไม่นั้น ผมไม่เกี่ยวหรอก แต่เท่าที่ทราบอีกเหมือนกันนั้นก็คือว่า ในหัวเชื้อน้ำมันหรือตัวปรับสภาพน้ำมันดีเซลส่วนใหญ่ในท้องตลาด ใช้แอลกอฮอล์เป็นพื้นฐาน เมื่อเติมหัวเชื้อลงในถังเชื้อเพลิง แอลกอฮอล์ก็จะผสมกับน้ำในถังเชื้อเพลิงที่ปกติก็นอนก้นอยู่ดีๆ แล้วนำน้ำติดตามแอลกอฮอล์ออกไปสู่ระบบหัวฉีดด้วย

    น้ำที่มากับแอลกอฮอล์นี่ ก็จะช่วยเร่งให้อายุของหัวฉีดสั้นลงครับ



    ดังนั้น หากท่านอยากเติมหัวเชื้อ หรือน้ำยาปรับสภาพน้ำมันเชื้อเพลิงใจจะขาด ก็ขอให้ท่านอ่านข้างกระป๋องดูให้แน่ใจก่อนนะครับ ว่าผสมแอลกอฮอล์หรือมีพื้นฐานจากแอลกอฮอล์หรือไม่

    ดีเซลรุ่นเก่าก่อน ไม่มีปัญหากับน้ำในระบบเชื้อเพลิง ด้วยว่าแรงดันในระบบต่ำเกินกว่าน้ำที่ผสมเข้าไป และฝุ่นผงจะชวนกันทำลายหัวฉีดของเครื่องยนต์ลงได้

    แต่ดีเซลใหม่ๆ พวก Common Rail ไม่ว่าจะ Super หรืออะไรก็แล้วแต่ ถึงจะให้ผลทางด้านมลภาวะต่ำ อัตราสิ้นเปลืองดี หรือต่ำมาก ก็ยังต้องการความสนใจจากท่านผู้ใช้ ในด้านความสะอาดของเชื้อเพลิง และการดูแลรักษาด้วยครับ

    เพื่อให้รถของท่าน รับใช้ท่านได้นาน สมความตั้งใจที่จะซื้อรถมาเป็นกลไกในการดำเนินชีวิต

    http://info.matichon.co.th/weekly/wk...ag=OTEzMDA2NDk=

  2. #2
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: ดูแลรักษา เครื่องยนต์ Common Rail

    refer Market claim

    อินโด เคลมเยอะสุด เพราะที่นั้น น้ำมันห่วยสุดๆ ถ่ายน้ำมันจากถังทิ้งคิดว่าโคลน.....

    ไทยแลน...ค่อนข้างที่จะดีมากๆ...เกี่ยวกับคุณภาพการกลั่น....แต่ที่ปลายหัวจ่ายขึ้นอยู่กับการใส่ใจของปั๊มนั้นๆ คราบ.....

    จากประสบการการกลั้น...ไม่ว่าจะกลั่นจากค่ายไหน เชล ปตท คารเทค ยกเว้นบางจาก....มันจะไหลมาในท่อเดียวกันแล้วมารวมกันในถังที่ ลำลูกกา ครับ

    แล้วค่อยแยกเป็นยี่ห้อใครยี่ห้อมันตามที่เจ้านั้นๆส่งมา......ส่วนแรงไม่แรงขึ้นอยู่ส่วนผสมของแต่ละค่ายครับ.........

ข้อมูลกระทู้

Users Browsing this Thread

ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)

Bookmarks

กฎการโพสข้อความ

  • ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสได้
  •  
  • BB code สถานะ เปิด
  • Smilies สถานะ เปิด
  • [IMG] สถานะ เปิด
  • [VIDEO] code is เปิด
  • HTML สถานะ ปิด