ECU หรือที่เราเรียกกันว่า กล่องเครื่อง ย่อมาจาก Electronic Control Unit เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
มีพื้นฐานมาจากคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของ กล่องเครื่อง / ECU คือเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ
เพื่อนำมาประมวลผล และใช้ในการควบคุมการการสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการจุดระเบิดของเครื่องยนต์
ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ตามมาตรฐานทางด้านมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่กำลังของเครื่องยนต์ยังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
รวมทั้งการตรวจ สอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆที่ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ (Diagnostic)
นอกจากนี้ในปัจจุบันค่ายรถยนต์ ต่างๆได้มีการเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะให้กับ ECU และเครื่องยนต์ของตนเอง
ตามเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาของแต่ละค่าย
ในเครื่องยนต์ปัจจุบัน ECU จะไม่ควบคุมเพียงแค่ การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และ การจุดระเบิดเท่านั้น ECU ยังสามารถ
ที่จะควบคุมระบบต่างๆ อาทิเช่นระบบปรับความยาวท่อร่วมไอดีแปรผัน ระบบวาล์วแปรผัน การทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์
พัดลมระบายความร้อน ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น ซึ่งความสามารถเหล่านี้ไม่เป็นเพียงการลดความซ้ำซ้อน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ECU สามารถที่จะจัดการให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กันได้ เพื่อประสิทธิภาพเครื่องยนต์สูงสุด
ลดมลภาวะ และประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ยังผลให้เครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง มีกำลังที่สูงขึ้น ยืดอายุการใช้งาน
มีการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว และลดมลภาวะที่ปล่อยออกมา นอกจากนี้ ECU ยังทำงานร่วมกับระบบกันขโมย (Immobilizer)
โดยระบบจะไม่อนุญาตให้กุญแจที่ไม่ถูกต้องสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ติดได้
กล่องECU ของเครื่องยนต์ ถ้าแบ่งตามการโปรแกรมข้อมูลก็จะแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ
1. กล่องStandard จะติดมากับเครื่องยนต์ ป้อนข้อมูลมาแล้ว ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่ออกมาจากโรงงาน
กล่องพวกนี้ บางรุ่นก็จะเปลี่ยนRom หรือ Eprom ได้ บางรุ่นก็เปลี่ยนไม่ได้
2. กล่องModify กล่องแบบนี้ จะมีการโปรแกรมข้อมูลขึ้นมาใหม่เพื่อให้เหมาะกับHardware
ที่เปลี่ยนเข้าไปในเครื่องยนต์เครื่องนั้น กล่องพวกนี้บางคนเรียกว่ากล่องแต่ง ซึ่งก็มีหลายยี่ห้ออยู่เหมือนกัน
เช่น Mine's , Mugen ,
3. กล่องที่สามารถเขียนโปรแกรมได้ด้วยตัวมันเอง กล่องพวกนี้ตอนซื้อมาจะไม่มีการเขียนโปรแกรมมา มีแต่Softwareมาให้
ซึ่งก็แยกตามประเภทการใช้งานออกเป็น 2 แบบคือ
- แบบต่อพ่วงกล่องเดิม ( Piggyback ) เช่นE-Manage , Unichip , เป็นต้น
- แบบใช้งานเดี่ยวๆ ( Stand Alone ) กล่องพวกนี้จะมีราคาแพง แต่คุณภาพล้นเหลือ
เช่น EMS , F-Con , Motec
ในการจะไปกำหนดว่าจะจ่ายน้ำมันเท่าไร องศาไฟจุดระเบิดแบบใหน ก็ขึ้นอยู่กับHardwareที่ใส่ในเครื่อง
เจ้าHardwareที่ว่า ได้แก่ ขนาดของหัวฉีด , แคมชาร์ฟ , วาล์ว , คอไอดี , เทอร์โบ และอื่นๆ
โดยผู้ที่เขียนโปรแกรมหรือจูนเนอร์ จะปรับโปรแกรมให้สอดคล้องกับHardware ที่อยู่ในเครื่อง
ทำให้เครื่องยนต์ให้กำลังสูงสุด ณ จุดนั้น
บางคนถามหากล่องโมฯ ( กล่องแบบที่ 2 ) โดยต้องการจะเอามาใส่กับรถของตน และถามว่ามันดีใหม
ถ้าเรามองในแง่ของการปรับโปรแกรมในกล่อง จะพบว่าองค์ประกอบหลักก็คือHardwareของตัวเครื่องยนต์
กล่องใบนั้นๆ จะมีการปรับโปรแกรมให้เหมาะกับHaredware ของเครื่องยนต์นั้นๆ ซึ่งรถคันนั้นแรงแน่
แต่ถ้าจะเอามาใส่ในรถเรา มันจะแรงได้อย่างไร ในเมื่อHardwareมันต่างกัน จะให้มันแรงเราต้องเปลี่ยน
Hardwareให้เหมือนกับตัวเครื่องยนต์ที่เคยใช้กล่องนั้น........ ซึ่งถ้าเราไม่มีข้อมูลของเครื่องตัวนั้นมาด้วย
เราไม่มีโอกาสรู้ได้เลย เมื่อปรับเปลี่ยนHardwareให้เหมือนไม่ได้ ใส่กล่องโมฯ ที่ว่าเข้าไป ก็ไม่แรงหรอก
ดังนั้นกล่องโมฯ ที่มาเพียงกล่อง ก็ไม่ต่างอะไรกับกล่องเหล็กที่ไร้ค่า มีประโยชน์แค่วางทับไม่ไห้เศษกระดาษปลิว
( พวกขายกล่องแต่งอย่าด่าผมนะครับ เพราะนี่คือความจริง )
หากคุณต้องการความแรงเพิ่มขึ้น ควรใช้กล่องเดิมแล้วเปลี่ยนRom พร้อมจูนโปรแกรมใหม่ ( หากกล่องรุ่นนั้นทำได้ )
หรือใช้กล่องแบบที่ 3 แล้วหาจูนเนอร์มือดี ปรับโปรแกรมให้เข้ากับHardwareในรถคุณ ความแรงมาเห็นๆ
อ้างอิงจากเวบ
http://www.galantvr4club.com/smfboar...c=1337.msg6571
กล่อง ECU ทั่วๆ ไปสามารถอัพข้อมูลได้โดยที่กล่องไม่พังครับ เพราะตัวกล่องถูกออกแบบมาเป็น ROM ซึ่งสามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้อยู่แล้วครับ ซึ่งจำนวนครั้งที่เขียนซ้ำขึ้นอยู่กับตัวชิปของผู้ผลิตครับ ซึ่งชิปโดยทั่วๆ ไปแล้วสามารถเขียนได้มากกว่า 1000 ครั้ง(บางรุ่นของชิปสามารถเขียนได้ถึง 100000 ครั้ง)ครับ เพราะฉะนั้นเราสามารถเขียนโปรแกรมซ้ำได้ครับ
ส่วนที่ว่ามีปัญหาคือ โปรแกรมที่เขียนลงไป เช่นถ้าอัพโปรแกรมที่ไม่ตรงรุ่นกันบางทีอาจจะหาอุปกรณ์ที่ต่อร่วมด้วยไม่เจอครับ ยกตัวอย่าง รุ่น 116 กับรุ่น 140 นั้นจะแตกต่างกันตรงที่รุ่น 116 ไม่มีลิ้นปีกผีเสื้อพออัพโปรแกรมของรุ่น 140 แล้วจะทำให้ไฟเครื่องโชว์ ซึ่งเป็นปรกติของโปรแกรมเพราะโปรแกรมตรวจสอบไม่พบลิ้นปีกผีเสื้อ ซึ่งการแก้ไขก็สามารถแก้ไขได้โดยซื้อลิ้นปีกผีเสื้อมาใส่หรือสร้างวงจรขึ้นมาหลอกตัวกล่อง ECU และโปรแกรมโดยส่งสัญญาณไปที่กล่องบอกว่ามีลิ้นปีกผีเสื้อแล้วน่ะ มันก็จะไม่มีปัญหาครับ
ส่วนเรื่องกล่องพ่วงต่างๆ นั้นเป็นกล่องที่ใช้หลักการเดียวกันคือกล่องที่ใส่เพิ่มเพื่อหลอกให้ ECU เข้าใจผิดว่าค่าต่างๆ ที่ได้ยังไม่ถึงมาตรฐานที่กำหนดไว้เช่น โปรแกรมกำหนดไว้ 700 รอบให้จ่ายแรงดันน้ำมันที่ 50 Mpa แต่ถ้าพ่วงกล่องมันก็จะหลอกกล่องว่า ตอนนี้ถึง 700 รอบแล้วแต่แรงดันน้ำมันยังไม่ได้ 50 Mpa ให้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีกจนถึง 50 Mpa แต่ในความเป็นจริงแล้วแรงดันน้ำมันอาจจะอยู่ที่ 80 Mpa แล้วซึ่งอันนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตั้งค่าหรือจูนกล่องพ่วงว่าให้มันหลอกอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของผู้ผลิตต้องตั้งค่าให้ครับ
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ น้านุ๊กน่ะครับ ผมมีความรู้แค่นี้ (ตามความเข้าใจของผม ผู้ใดมีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยตอบต่อด้วยน่ะครับ)
Bookmarks