มาดูกันครับ
1. นี่คือจานกดคลัทช์เต็มๆครับ เป็นของเก่าที่บ้านนะครับ เดิมๆ
2. รูปนี้ คือ หวีคลัทช์ ที่เห็นเป็นฟันซี่ๆแหละครับ
การเสริมหวี 2 ชั้น ก็คือเอาหวีอีกชุด มาซ้อนเข้าไปครับ หวีคลัทช์จะเปรียบได้กับสปริง
มีหน้าที่ไปดันจานกดคลัทช์ให้ผ้าคลัทช์จับกับฟลายวีล (แบบนี้คลัทช์จะแข็งมาก) เพราะว่าเวลาเราเหยียบคลัทช์
ก้ามปูจะดันตัวลูกปืนให้กดที่ปลายหวีโดยตรงครับ
3. รูปนี้คือ อีกด้านของจานกดครับ ที่เห็นเป็นเหล็กหล่อ วงกลมใหญ่
ตรงบริเวณนี้ จะไปกดผ้าคลัทช์ให้แนบกับตัวฟลายวีลตลอดเวลาครับ แต่เมื่อเราเหยียบเป้นคลัทช์ ตัวจานเหล็กหล่อจะยกตัวออกมา เพื่อให้คลัทช์จาก จากตัวฟลายวีลเพื่อตัดต่อกำลังเครื่องยนต์ในขณะเข้าเกียร์ครับ
(ในรูปนี้ที่มาร์คไว้ คือชุดของแผ่นแหนบ มี 3 ชุด)
4.จากรูปคือ แผ่นแหนบ ซึ่งหน้าที่เป็นเหมือนสปริง ไปดันจานกดคลัทช์เหมือนกันครับ แต่จะมีทั้งหมด 3 ชุด โดยแต่ล่ะชุดจะมีแผ่นซ้อนกัน 3 แผ่น ถ้าเราอยากให้ชุดจานกดคลัทช์ รับทอร์คได้มากขึ้นก็สามารถทำได้โดยการเสริมแผ่นแหนบเข้าไปอีกสักชุดล่ะ 3แผ่นก็ได้ครับ
5. รูปสุดท้าย แสดงให้เห็นว่า ตัวจานกดจะมีส่วนประกอบ 2ส่วนใหญ่ๆ คือตัวเรือนยึดและตัวจานเหล็กหล่อ แต่มันจะถูกเชื่อมการ
ทำงานต่อกัน โดยตัวชุดแหนบและชุดหวีกดคลัทช์นั้นเองครับ
หลักการง่ายๆคือ เมื่อเรากดแป้นคลัทช์ ตัวปลายหวีจะยุบตัวลง ทำให้ฐานหวีไปดึงตัวจานกดให้ยุบตัว จากนั้นชุดแหนบจะยุบตัวลงด้วย ทำให้จานกดคลัทช์ไม่จับกับผ้าคลัทช์ เพื่อเป็นการตัดต่อกำลังงานจากเครื่องยนต์ในเวลาเข้าเกียร์ แต่เมื่อเราปล่อยคลัทช์ จานกดจะถูกผลักดันออกมาด้วยค่าความเป็นสปริงของ"ชุดแหนบ"และ"ชุดหวีคลัทช์" ทำให้ผ้าคลัทช์จับกับฟลายวีลเหมือนเดิมครับ
ทั้งนี้คลัทช์จะจับอยู่หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ ค่าสปริงของ "ชุดแหนบ" และ "ชุดหวีคลัทช์" และ พื้นที่หน้าสัมผัส ระหว่างตัว
ผ้าคลัทช์กับฟลายวีล นั้นเองครับ
<<ที่มาบอกกันเพราะไม่อยากให้หลงทางอ่ะครับ รถผมก็โดนมาเยอะครับ จึงมาแนะนำกันไป เพื่อที่จะเลือกทำได้อย่างเหมาะสม..>>
Bookmarks