จุดเริ่มต้น คือ ตรงนี้ครับ คือการออกกฏหมายเพื่อช่วยเหลือและเอื้อผลประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ โดยในที่ประชุมเลยมีข้อสังเกตุว่า ผู้ออกกฏหมายและปตท มีผลประโยชน์ทับซ้อนกันไหม ถ้าดูจากรายชื่อกรรมการก็เป็นไปตามข้อมูลนี้ครับ
ที่มา : http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=71742
คือการออกมาตรฐานให้ก๊าซ NGV ครับ เดียวจะชี้ให้ดูนะครับ คือ กรมธุรกิจพลังงาน ให้มีCO2 ใน NGV ได้ถึง 18% มากกว่ามาตรฐานสากลถึง 6 เท่า เท่ากับให้ ปตท. เอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการเติม CO2 ลงใน NGV จากแหล่งต่างๆ ทั้งๆ ที่ผู้บริโภคไม่ต้องการที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อขยะนี้เลย ใช่หรือไม่
มาตรฐานสากลให้มี CO2 ได้ไม่เกิน 3% ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 3 เรื่อง การวิเคราะห์ส่วนประกอบที่แปรผันของก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ที่ใช้ในประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาตร์ ม.เทคโนดลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
กรมธุรกิจพลังงาน ให้มีCO2 ใน NGV ได้ถึง 18% มากกว่ามาตรฐานสากลถึง 6 เท่า เท่ากับให้ ปตท. เอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการเติม CO2 ลงใน NGV จากแหล่งต่างๆ ทั้งๆ ที่ผู้บริโภคไม่ต้องการที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อขยะนี้เลย ใช่หรือไม่
ตัวแทนจาก กรมธุรกิจพลังงาน ชี้แจงว่า เนื่องจากได้รับการร้องเรียน(ร้องขอ) จากปตท มา จึงได้ตั้งคณะกรรมการ โดยมีนักวชาการ อาจารย์มหาวิทยาด้านวิศวกรรมยานต์จาก มหาวิทยาลัยเกษตร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาแล้ว เห็นว่าการเพิ่ม co2 เข้าไปอีกจะไม่มีผลกระทบใดๆต่อเครื่องยนต์และอุปกรณ์การติดตั้ง ถึงแม้ทางผู้ร่วมประชุมจะกังวลเรื่องถัง NGV ก็ให้มั่นใจว่าปลอดภัยเครื่องจาก NGV เป็นก๊าซแห้งไม่มีน้ำจึงไม่มีส่วนใดทำปฏิกิริยากับถังเหล็ก ที่จะทำให้ถังผุกร่อนเร็วได้
ส่วนตัวแทนจาก ปตท ผู้จำหน่ายก๊าซ NGV ชี้แจงว่า ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้รถยนต์ติด NGV ว่าเวลาไปเติม NGV ในแต่ละแหล่งที่ได้มาเช่น ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคอีสาน รถยนต์มีการสะดุด เครื่องเดินไม่เรียบ หรือน๊อคได้ จึงคิดว่า ก๊าซแต่ละแห่ง (ดูจาก ตารางด้านบนนะครับ) CH4 คือมีเทน ตัวนี้รถยนต์ต้องการมากในการให้พลังงาน จะเห็นว่า แหล่งน้ำพอง (อีสาน) สิริกิต (เหนือ) ก๊าซจะมีความบริสุทธิ์มากๆ คือ มี CH4 มากและมี CO2น้อย ถ้าเติมจากแหล่งนี้ รถจะวิ่งดี เครื่องเดินเรียบ ไปได้ระยะทางที่ไกลกว่า
วิธีการของ ปตท เสนอ กระทรวงพลังงาน คือ ทำให้มันมี CO2 เท่ากัน เพราะเหตุผลคือก๊าซจากแหล่งอ่าวไทย มีจำนวนมากถึง 70-80% ของทั้งหมดที่ใช้ในปัจจุบัน ดังนั้นการเติม CO2 ลงไปให้ทุกแหล่งเท่ากัน คือทางเลือก เพื่อจะให้ ผู้ติดตั้ง NGV ได้ปรับจูนได้แบบเดียวกันมาตรฐานเดียวกัน
คุณทวีศักดิ์ จากไทยเยอรมัน ผู้ติดตั้ง NGV ยี่ห้อ LOVATO (คนซ้าย คนขวา คุณนินจาฯ เวบมาสเตอร์ GasThai.Com) ให้คำยืนยันถึงกับทดสอบ รถยนต์ฮุนไดโซนาต้าติดตั้ง NGV ที่ต้องขับทดสอบทั่วประเทศเพื่อทดสอบการเติม NGV จากทุกแหล่งเพื่อทำวิจัยการตลาดในการติดตั้ง พบข้อเท็จจริงว่า ความบริสูทธิของก๊าซนั้นมีผลต่อความสิ้นเปลืงก๊าซ ดังนี้คือ ถ้าก๊าซมีค่า มีเทนสูงจะไปได้ระยะไกลกว่า และถ้าแหล่งไหนมี ค่า CO2 สุงจะไปได้ใกล้กว่า นั้นก็หมายถึงการเติม CO2 เข้าไปย่อมทำให้รถยนต์ต้องสิ้นเปลืงมากขึ้น และปล่อยของเสียมากขึ้น
ดังนั้นการที่ กระทรวงพลังงานที่อ้างว่า ลดโลกร้อนก็ไม่เป้นความจริงตามที่อวดอ้างและรณรงค์สิครับ และ NGV จึงไม่ใช่พลังงานที่สะอาดอีกต่อไป และจเพิ่ม CO2 เข้ามาในบรรยากาศด้วยฝีมือคนไทยเอง
บทวิเคราะห์ โดยคุณนินจาฯเวบมาสเตอร์ GasThai.Com
ประเด็นสาเหตุ
1. ปัจจุบันธุรกิจปิโตรเคมี มีการขยายตัวสุงมาก และได้รับความสนใจจากนักลุงทุนจากต่างประเทศมาลงทุนในไทย รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างให้การสนับสนุนทุกทางเช่น ภาษี อำนวยความสะดวกในข้อกฏหมาย ยกเว้นภาษี หรือ ที่เรารู้จักในชื่อ BOI เพราะด้วยภาคปิโตรเคมี สามารถนำ LPG ไปใช้เป็นพลังงานและเป็นวัตถุดิบ สามารถเพิ่มมูลค่าได้ 20-30 เท่า และซื้อในราคาถูกกว่า ราคาตลาดโลก เพราะซื้อในราคา 16 บาทต่อ กก. (อิงราคาตลาดโลกแต่ไม่เสียภาษี) ผู้ขายก๊าซได้ผลประโยชน์เต็มๆ ในขณะที่ครัวเรือน รถยนต์ ซื้อในราคา 18.13 บาทต้องเสียภาษีแล้วทุกอย่าง (ผู้ขายก๊าซได้ 10 บาทเศษๆ) ดังนั้นจึงทำให้ LPG ไม่เพียงพอ
2. การแก้ไขระยะยาวและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือ การบังคับโดยทางตรงและทางอ้อม และบังคับด้วยข้อกฏหมาย ให้ ภาคขนส่งเปลี่ยนไปใช้ NGV แทน เริ่มจากการออกกฏหมายให้รถแท๊กซี่ใหม่ ต้องใช้ NGV เท่านั้นและการส่งเสริมให้แท๊กซี่เก่าที่ใช้ LPG มาใช้ NGV ติดให้ฟรี โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันซึ่งเป็นเงินที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันทุกๆคนมาชดเชย ตรงนี้ ถือว่าผิดมากๆ
3. ส่งเสริมให้รถบ้าน ที่ติด NGV ได้ลดภาษี ประจำปี โดยออกเป็นกฏหมายแล้วและมีผลบังคับใช้
4. ออกกฏหมายให้รถเมล์โดยเฉพาะรถเอกชนร่วมบริการ ต้องเปลี่ยนมาใช้ NGV เท่านั้น และรถเมล์ใหม่ต้องใช้ NGV เท่านั้น โดยมรโครงการรถเมล์ NGV 4000 คันมาเป็นแม่แบบ
5. ออกกฏหมายให้รถตู้ทั่วประเทศ ต้องเปลี่ยนรถใหม่ และรถตู้ต้องหลังคาสูง และต้องติด NGV เท่านั้น และให้ใช้ได้ ไม่เกิน 15 ปี โดยผมตั้งข้อสังเกตุว่า ผู้ได้รับผลประโยชน์มีรถยนต์เพียงยี่ห้อเดียวที่ถูกสเปกครับ บางจังหวัด บางอำเภอนั้นปั้มแก๊สก็ไม่มี ก็บังคับให้เปลี่ยน ไม่เปลี่ยน ตร.ก็เอาช่องว่างตรงนี้ไปจับรถตู้ เดือดร้อน บางจังหวัดมีปั้มเดียวรถตู้จอดรอเติมแถวยาวจนรถติดออกมานอกถนน ไม่นับรวมรถบรรทุกรถบ้าน เพียงเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ล้วนๆ
6. ข้อ 2 ถึง ข้อ 5. เกิดสะดุด อย่างแรง เพราะประชาชนร้องเรียนไปว่ารถใช้ NGV แล้วมีปัญหา โดยเฉพาะการเติมก๊าซในแต่ละท้องที่ รถวิ่งสะดุด กินมากไป โดยมีการร้องเรียนทั้งผู้ใช้อย่างประชาชนและอย่างผู้ประกอบการขายรถใหม่ อย่าง รายใหญ่สองรายที่ทำรถตู้หลังคาสูงขายและค่ายฝรั่งที่ทำปิคอัพและรถยนต์นั่งยี่ห้อมาจากอเมริกาขาย ว่ากระทบและมีปัญหากับลูกค้ามาก เนื่องจาก เทคโนโลยีการติดตั้งมีสองแบบแค่นั้น คือ ระบบดูด ต้องจูนแก๊สให้พอดี ถ้าความบริสุทธแก๊สเปลี่ยนไปก็จะมีปัญหา อีกระบบหนึ่งคือ ระบบหัวฉีดหากกล่อง ECU ไม่สามารถปรับค่าการฉีดก๊าซตามความบริสุทธิของก๊าซได้ก็จะมีปัญหาแบบเดียวกันกันครับ
7. ก๊าซของภาคเหนือ ภาคอีสาน ของเขาบริสุทธิมากๆมี CO2 น้อยมากตามารตฐารสากล และมี มีเทน มาก เพื่อรถจะได้วิ่งได้ไกลๆ ส่วน ภาคตะวันออกจากแหล่งอ่าวไทย และภาคใต้ จากขนอม ภาคตะวันตกจากพม่า ทำไมไม่เข้าโรงแยกก๊าซให้บริสุทธิก่อน หรือ ทำตามมาตรฐานสากล ครับ
8. ผมตอบข้อ 7 ให้ก็ได้ครับ เพราะทุกวันนี้ขาย 8.5 บาทขาดทุน ถ้าไปสร้างโรงแยกก๊าซก็จะขาดทุนเพิ่ม ส่วนโรงแยกก๊าซโรงที่ 6 ที่มาบตาพุด ศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครอง (คือไม่ให้เปิดจนกว่าขบวนการศึกษาด้านต่างๆจะแล้วเสร็จ) จึงไม่มีโรงแยกครับ ดังนั้นวิธีง่ายๆและได้ผล คือ เติม CO2 ลงไปทุกที่ (ปัจจุบันจึงเห็นมีการปิดให้บริการบางปั้มเพื่อจัดการเรื่องเติม CO2) เท่ากับว่าเพิ่มขยะเข้าไปในก๊าซโดยที่รถยนต์ไม่ต้องการ ครับ สิ่งที่ได้มาคือ คาร์บอนไดออกไซค์และความร้อนเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ ในปริมาณเท่าเดิมที่เคยเติมรถจะวิ่งได้ระยะทางที่น้อยลง หรือกินก๊าซมากกว่าเดิมครับ
รายงานข้อเท็จจริงเรื่อง ก๊าซ NGV วันนี้
การกำหนดคุณภาพ NGVและ แหล่งก๊าซ NGV มาจากไหน ?
ที่มาภาพถ่ายและข้อมูลเอกสาร :โดยคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล ร่วมกับ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยอ้างอิงงานวิจัยของอาจารย์ยศพงษ์ ลออนวล,สำเริง จักรใจ,สมชาย จันทร์ชาวนา,นุวงศ์ ชลคุปห้องปฎิบัติการวิจัยเครื่องยนต์และการเผาไหม้ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี
Bookmarks