หน้า 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
สรุปผลการค้นหา 1 ถึง 20 จากทั้งหมด 22

กระทู้: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

  1. #1
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ก่อนตัดสินใจติดตั้ง อยากจะทราบหลักการทำงานของกล่องดันลางครับ

    ว่ามันทำหน้าที่อะไร ทำไมมันถึงแรงขึ้น ตลอดจนผลดี ผลเสียครับ

    เพื่อเป็นประโยชย์กับสมาชิกในคลับ ครับ....

    ท่านที่เคยใช้ก้อมาเชิญร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ....ขอบคุณคราบบบบ.....

  2. #2
    ตุ้ย-Tui TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Feb 2008
    User ID
    1345
    Status
    Offline
    โพส
    3,175

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ผลดี อัตราเร่งแซงทันใจ ขนาดใส่ล้อใหญ่ ยังลากรถวิ่งได้เหมือนล้อเดิม ๆ ส่วนผลเสีย ถ้าจูนพอดี ๆ ทำแบบพอเพียง กดคันเร่งไม่โหดร้าย คงจะเห็นผลเสียกันช้า อาจไม่รู้ว่าเสียเพราะกาลเวลา หรือ กล่องที่เราใส่เพิ่มเข้าไป........ผมคิดเองนะครับไม่มีหลักการเทคนิคอะไรมา support (ก็มันอยากลอง เสียก็ซ่อมกันไป)

  3. #3
    TTC-01959 TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Feb 2010
    User ID
    10745
    Status
    Offline
    โพส
    494

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    อ้างอิง โพสต้นฉบับโดยคุณ Ttriton ดูโพส
    ผลดี อัตราเร่งแซงทันใจ ขนาดใส่ล้อใหญ่ ยังลากรถวิ่งได้เหมือนล้อเดิม ๆ ส่วนผลเสีย ถ้าจูนพอดี ๆ ทำแบบพอเพียง กดคันเร่งไม่โหดร้าย คงจะเห็นผลเสียกันช้า อาจไม่รู้ว่าเสียเพราะกาลเวลา หรือ กล่องที่เราใส่เพิ่มเข้าไป........ผมคิดเองนะครับไม่มีหลักการเทคนิคอะไรมา support (ก็มันอยากลอง เสียก็ซ่อมกันไป)
    ได้มาเหมือนกันครับ ปกติเราก็ไม่ได้ตะบี้ตะบันขับตลอดเวลาหรอก ถ้าใส่กล่องก็อย่าลืมรองชิมที่ท้ายรางด้วยก็ดีครับ ( http://www.thaitritonclub.com/forum/...ad.php?t=18528 ) เหตุผลดีๆที่ต้องทำ
    คันเร่งจะเหลือๆ เอาไว้อุ่นใจ .....อิอิ

  4. #4
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?


  5. #5
    TTC-01018 TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jan 2009
    User ID
    5150
    Status
    Offline
    โพส
    330

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ก้อว่ากันไป ตามนั้นล่ะคับ

  6. #6
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Feb 2008
    User ID
    1802
    Status
    Offline
    โพส
    5,183

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    เคยอธิบายไว้เยอะแล้วครับ ในห้องdiy. หาดูครับ
    ละเอียดๆ ทุกกล่อง

  7. #7
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Oct 2010
    User ID
    14049
    Status
    Offline
    โพส
    73

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    อ้างอิง โพสต้นฉบับโดยคุณ DENSO-Jibun ดูโพส
    ก่อนตัดสินใจติดตั้ง อยากจะทราบหลักการทำงานของกล่องดันลางครับ

    ว่ามันทำหน้าที่อะไร ทำไมมันถึงแรงขึ้น ตลอดจนผลดี ผลเสียครับ

    เพื่อเป็นประโยชย์กับสมาชิกในคลับ ครับ....

    ท่านที่เคยใช้ก้อมาเชิญร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ....ขอบคุณคราบบบบ.....
    ข้อมูลจาก Web BT50 Club นำมาฝากครับ
    เห็นกันมาก็เยอะฟังกันมาก็เเยะเเล้วกล่องแต่ง เพิ่มแรงม้า เพิ่มแรงบิด ...มันคืออะไร

    เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ รถคอมมอลเรลบางคันที่เห็นๆกันโดยเฉพาะของเพื่อนสมาชิกเราบางท่าน ที่ชื่นชอบและนิยมในสมรรถนะความแรงที่เหนือกว่าสมรรถนะของรถเดิมๆโรงงานเขา มีเทคนิคกันอย่างไร นอกจากการเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัวในส่วนของเครื่องยนต์เช่น เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ ฯลฯ ซึ่ง ลำพังการปรับเปลี่ยนแค่อุปกรณ์ดังกล่าวเพียงอย่างเดียวอาจไม่ช่วยในการเพิ่ม สมรรถนะอย่างที่เราอยากได้สักเท่าไหร่นักหนำซ้ำในบางกรณี อาจทำให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะที่แย่ลงกว่าเดิมไม่มีความทนทาน สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น หรือไม่เกิดผลอะไรเลย
    ทั้งนี้ เพราะโดยพื้นฐานของเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลรุ่นใหม่นี้ล้วนแล้วแต่ถูกออก แบบให้ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ECU นั่นเองดังนั้นการที่เราจะทำให้เครื่องยนต์ของเรามีสมรรถนะที่ดีขึ้นนอกจาก การเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัวหรือจะไม่เปลี่ยนก็ตามก็ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ที่เรียก ว่า"กล่องแต่ง" ครับ แล้วมันคืออะไรล่ะ....?

    กล่องแต่ง อย่างที่เราเห็นกันมีหลากหลายประเภท หลายยี่ห้อที่ทำออกมาโดยวัตถุประสงค์คือ เพิ่มกำลังและสมรรถนะของเครื่องยนต์โดยอาศัยการแปลงสัญญาณหรือโปรแกรมทางอิ เลคทรอนิกส์ ให้มีค่าต่างไปจากโปรแกรมเดิมของโรงงานซึ่งมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ของ เครื่องยนต์แล้วแต่ว่าออกแบบมาให้ไปควบคุมส่วนไหน ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้นแรงขึ้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่พ้นการเพิ่มปริมาณแรงดันในระบบการจุดระเบิดของเครื่อง ยนต์ อันได้แก่อากาศและ/หรือน้ำมันเชื้อเพลิง(ถ้าในเครื่องยนต์เบนซินก็จะมีส่วน ที่เกี่ยวกับระบบไฟจุดระเบิดด้วย)

    ส่วนในเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล หลักๆที่นิยมกันก็มี

    - กล่องดันรางคือ การเพิ่มแรงดันในระบบคอมมอนเรล ซึ่งทำได้โดยการแปลงสัญญาณ ECUที่ควบคุมในส่วนของปั๊มเชื้อเพลิงให้ปั๊มสร้างแรงดันในระบบที่สูงขึ้น กว่า เดิม

    - กล่องยกหัวฉีด คือการแปลงสัญญาณขยาย ระยะเวลาในการยกตัวของเข็มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ฉีดได้ในปริมาณที่มาก ขึ้นใน 1 จังหวะการทำงานทำให้สามารถควบคุมปริมาณเชื้อเพลิงตามต้องการได้

    - การปลดบูสท์ คือ การปลดล็อคสัญญาณการตรวจจับแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดี ให้สามารถทำแรงดันได้เกินค่าที่กำหนดโดยที่เครื่องไม่ถูกสั่งตัดเชื้อเพลิง

    - การปลดล็อคความเร็ว คือ การปลดล็อคสัญญาณลิมิตของความเร็วรถให้วิ่งได้เกินค่าที่โรงงานล็อคเอาไว้

    - การปลดล็อคคันเร่งไฟฟ้า คือ การแปลงสัญญาณของตัวคันเร่งไฟฟ้า ให้ตอบสนองได้ไวขึ้น มีการหน่วงน้อยลงหรือไม่มีเลย

    - การสร้างกล่องควบคุมเครื่องยนต์ขึ้นมาใหม่ (StandAlone)วิธีนี้คือการใช้กล่องแต่งแบบที่สามารถควบคุมได้ทุกส่วนของเครื่องยนต์มาควบ คุมแทนกล่องโรงงานล้วนๆ ส่วนมากนิยมใช้ในการแข่งขันครับ

    กล่องแต่งที่เราเห็นกันหลายยี่ห้อ หลายแบบก็มีทั้งทำออกมาแบบกล่องเดียวครบวงจร หรือมีหลายฟังก์ชั่นหรืออย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้และส่วนมากแล้วการออกแบบ โปรแกรมของผู้ผลิตกล่องแต่ละค่ายต่างก็ทำให้สามารถทำการเซ็ทค่าของโปรแกรม ให้แตกต่างกันไปได้ตามแต่ที่ลูกค้า ต้องการครับ ซึ่งทั้งลูกค้าและผู้ติดตั้งกล่องแต่งหรือที่นิยมเรียกกันว่า"มือจูน" ต้องเลือกใช้กล่องแต่งและโปรแกรมการจูนให้เหมาะสมกับการใช้งานและอุปกรณ์ที่ ไปติดตั้งเพิ่ม หรือเปลี่ยนใหม่อย่างที่กล่าวมาข้างต้นครับเพื่อให้การทำงานของเครื่องยนต์ แรง และสเถียร สมบูรณ์ที่สุด

    ส่วนที่หลายๆท่าน สงสัยกันว่า การใช้กล่องแต่งนั้นทำให้รถแรงได้อย่างเดียวหรือ ทำให้รถวิ่งประหยัดขึ้นได้ไหม ขอตอบว่าทำได้ครับผมขึ้นอยู่กับว่า เราศึกษาและเข้าใจการทำงานของกล่องแต่งตัวนั้นว่าทำงานอย่างไร เลือกใช้ชนิดกล่องแต่ง และโปรแกรมให้เหมาะสมว่ามันทำให้รถแรงขึ้นได้อย่างไร เพราะโดยหลักการพื้นฐานเมื่อเครื่องยนต์ปริมาตรเท่าเดิม แต่มีกำลังมากขึ้นในรอบการทำงานที่เท่าๆกัน ความเร็วและภาระโหลดที่เท่าๆกันแล้วเครื่องยนต์ที่มีกำลังมากกว่าย่อมได้ เปรียบก็จะให้ความประหยัดที่ดีกว่าเดิมได้ครับ และที่สำคัญคือ ตัวคนขับเองต้องขับให้ถูกวิธี เมื่อมีความแรงเพิ่มขึ้นแล้ว รู้จักใช้ให้เป็นก็จะเกิดประโยชน์ได้แน่นอนครับผม

    ข้อมูลลึกๆบ้างนะครับ

    การดันราง คือการเพิ่มแรงดันในระบบฉีด จ่ายน้ำมันแบบคอมมอนเรล หรือภาษาไทยๆเรียกว่าแบบรางฉีดร่วม ซึ่งโดยปกติปั๊มคอมมอนเรลจะมีหน้าที่ปั่นและอัดส่งสร้างน้ำมันที่มีแรงดัน สูงมากๆไปยัง รางคอมมอนเรลเพื่อรอจ่ายน้ำมันไปยังหัวฉีด
    ซึ่งเมื่อทำการติดตั้งกล่อง ดันรางเข้าไปกล่องตัวนี้จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ปั๊มสร้างแรงอัดน้ำมันได้ สูงขึ้นกว่า เดิม แรงดันในระบบจึงสูงขึ้น ฉีดน้ำมันได้แรงกว่าเดิม การเผาไหม้จึงดีขึ้นส่งผลให้รถแรงขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้จ่ายน้ำมันมากขึ้นเพราะหัวฉีดก็ยังคงฉีดจ่ายน้ำมันเป็นปริมาณ เท่าเดิม ใน 1 จังหวะรอบการทำงาน
    แต่เมื่อรถมีกำลังมากขึ้น ทั้งแรงม้าและแรงบิดจากการดันรางนี้เมื่อเราขับขี่ในสไตล์เดิม ที่ความเร็วเท่าๆเดิมจะได้ความประหยัดมากกว่าเพราะแรงบิดรถดีขึ้น อัตราเร่งทำได้ดีกว่าเดิมจึงไม่ต้องเค้นคันเร่งมาก

    ประโยชน์ของการดันราง
    1.เพิ่มแรงม้า ขั้นต่ำ30ตัวขึ้นไป และแรงบิด ขั้นต่ำ30%ขึ้นไป(แล้วแต่ระดับการจูน และการเสริมชิมท้ายราง เช่น 2-5มิลหรืออุดท้ายราง(อุดท้ายรางแรงม้าเพิ่มขึ้น60ตัวขึ้นไปแน่นอน))
    2.ประหยัดน้ำมันขึ้น ถ้าผู้ขับขี่ขับขี่ในสไตล์รถเดิม ไม่กระแทกคันเร่งแรงๆและจะประหยัดขึ้นมากถ้าผู้ขับขี่เปลี่ยนเกียร์สัมพันธ์ กับรอบเครื่องยนต์
    3. รถมีกำลังแรงบิดมากขึ้นกว่าเดิม เหมาะสำหรับพวกบรรทุกหนักๆ
    4. ลดการรอรอบอย่างเห็นได้ชัด
    5. เพิ่มความเร็วปลาย เช่น รถเดิมวิ่ง 160กม./ช. หลังจากการปรับจูนแล้ว 180-200กม./ชม หรืออาจมากกว่า (อยู่ที่ระดับการจูน)
    ข้อเสียของการดันราง
    1. การปรับแต่งรถใดๆก็แล้วแต่ย่อมทำให้เกิดการสึกหรอที่มากขึ้น (ขึ้นอยู่ระดับการจูนว่ามากน้อยเพียงใด และระดับการขับขี่)
    2. จะเปลืองน้ำมันขึ้น ถ้าผู้ขับขี่ กระแทกคันเร่งบ่อยๆ และใช้ความเร็วสูง เช่น นำไปแข่งขัน


    การทำท้ายราง หรือเสริมชิมท้ายราง เมื่อเราติดตั้งกล่องดันรางผู้ติดตั้งก็นิยมมีการทำท้ายรางเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้แมตซ์กับแรงดันที่ปรับจูน ทำให้สามารถจูนแรงดันได้มากขึ้นกว่าเดิมป้องกันปัญหาไฟโชว์ ป้องกันเครื่องสะดุดเมื่อรอบสูงๆ ท้ายรางก็คืออุปกรณ์ตัวนึงที่เป็นตัวลิมิตแรงดันในระบบอยู่ตรงด้านท้ายของ รางคอมมอนเรลหลักการทำงานคือสปริงพร้อมลิ้นระบายแรงดัน (Pressure Regulator)ทำหน้าที่คอยระบายแรงดันในรางคอมมอนเรลที่เกินค่าที่กำหนดให้ไหล กลับซึ่งทำได้โดยการใส่ชิมรองเข้าไปที่สปริง ทำให้สปริงมีค่าแข็งขึ้นแรงดันระบายออกได้ช้าลง ทำให้การสร้างแรงดันในรอบสูงๆไม่มีปัญหาเครื่องสะดุดครับ
    ส่วนเรื่องรางแตกนั้น โดยทั่วๆไปเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะรางคอมมอนเรลมีค่า factorเผื่อมาให้รับแรงดันได้สูงกว่าสเปคโรงงานเยอะมากเว้นแต่จะมี การ"อุด"ท้ายรางแบบถาวร ซึ่งนิยมทำกันในรถแข่งสนามโดยเฉพาะประเภท Drag เพราะพวกนี้เขาจะใช้กล่องโมดิฟายใบเดียวคุมแทนกล่องเดิมของเครื่องยนต์ครับ หรือที่เรียกว่า "Stand Alone" สำหรับรถบ้าน สบายใจได้จะมีก็แต่กรณีท้ายรางรั่วซึ่งเกิดจากผู้ติดตั้งในบางรายติดตั้งไม่ ดีเท่า นั้นเอง ซึ่งสามารถแก้ไขได้ไม่ยากครับผม โดยทำการถอดและใส่เข้าไปใหม่โดยช่างที่มีความชำนาญ

    กล่องยกหัวฉีด (Lift Injection)หลักการทำงานของกล่องเพิ่มแรงม้าแบบยกหัวฉีด สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล
    กล่องยกหัวฉีด มีหลักการทำงานโดยการใช้กล่องอิเลคโทรนิครับสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งมาจากกล่องควบ คุมสมองกลของรถ ECUที่ส่งไปยังหัวฉีดจ่ายน้ำมันเข้าแต่ละหัว แล้วแปลงค่าสัญญาณนั้นเพื่อสั่งให้หัวฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมีระยะเวลา จ่ายน้ำมันให้นานขึ้นตามจังหวะเวลาและรอบเครื่องยนต์ที่ต้องการมีทำผลให้ เครื่องยนต์ได้รับเชื้อเพลิงที่เพียงพอสำหรับการทำงานที่รอบสูงๆหรือที่ความ เร็วสูง เครื่องยนต์จึงมีแรงม้าเพิ่มขึ้น มีแรงบิดเพิ่มขึ้นทำให้รถยนต์สามารถมีอัตราเร่งที่ดีขึ้น และมีความเร็วปลายสูงขึ้นด้วย
    หรือถ้าอธิบายกันแบบง่ายๆ คือเพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันแต่ละรอบเครื่องให้นานขึ้น เช่น สมมุติว่า1รอบเครื่อง ฉีดน้ำมัน 1วินาที อาจจะเพิ่มเป็น 1.2 1.5 หรือ 2วินาทีทำให้เพียงพอต่อความต้องการ และถ้ารถยนต์ได้มีการปรับแต่งระบบอัดอากาศหรือเปลี่ยนเทอร์โบ ที่อัดลมเข้าสู่ห้องเครื่องได้มากกว่าเดิม เช่น ของเดิม1บาร์ หรือ14ปอนด์ แต่ได้ทำการเปลี่ยน เทอร์โบ td05hทำลมอัดเข้าห้องเครื่องที่ 25ปอนด์ ทำให้น้ำมันจากกล่อง ecuเดิมจ่ายน้ำมันไม่เพียงพอต่ออากาศเราจึงต้องเสริมกล่องยกหัวฉีดเข้าไป เพื่อเพิ่มน้ำมันให้เพียงพอต่ออากาศที่ เพิ่มขึ้น
    ประโยชน์ของกล่องยกหัวฉีด1. เพิ่มแรงม้า ขั้นต่ำ40ตัวขึ้นไป และแรงบิด ขั้นต่ำ50%ขึ้นไป (แล้วแต่ระดับการจูน )
    2. กล่องยกหัวฉีด จะเห็นผลกว่า กล่องดันราง (แต่ถ้าทำงานร่วมกันระหว่างกล่องดันราง และกล่องยกหัวฉีด ทำให้เห็นผลชัดเจน มากขึ้น)
    3. รถมีกำลังแรงบิดมากขึ้นกว่าเดิม เหมาะสำหรับพวกบรรทุกหนักๆ
    4. ลดการรอรอบอย่างเห็นได้ชัด
    5. เพิ่มความเร็วปลาย เช่น รถเดิมวิ่ง 160กม./ช. หลังจากการปรับจูนแล้ว 180-200กม./ชม หรืออาจมากกว่า (อยู่ที่ระดับการจูน)
    6.ในบรรดาการปรับแต่งให้รถมีพละกำลังที่เพิ่มขึ้นกล่องยกหัวฉีดเป็นตัวเลือก ที่ดี เพราะว่าผลที่ได้ชัดเจนและการสึกหรอของเครื่องยนต์น้อยกว่าการทำอื่นๆ
    7. มีสวิทซ์ ปิด-เปิด(บางยี่ห้อ) ทำให้สามารถปิดการใช้งานได้ ทำให้เป็นรถเดิมๆ และสามารถเปิดใช้งานได้ทันทีขณะขับรถอยู่ก็ตาม (บางยี่ห้อ)
    ข้อเสียของกล่องยกหัวฉีด
    1. กล่องยกหัวฉีดจะมีราคาค้อนข้างสูงถ้าเปรียบเทียบกับกล่องชนิดอื่นๆ
    2.การปรับแต่งรถใดๆก็แล้วแต่ย่อมทำให้เกิดการสึกหรอที่มากขึ้นแต่กล่องยกหัว ฉีดการสึกหรอของเครื่องยนต์จะน้อยกว่ากล่องชนิดอื่นๆ(ขึ้นอยู่ระดับการจู นว่ามากน้อยเพียงใด และระดับการขับขี่)
    ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก
    http://www.boyzathailand.comทีนี้ก้ออยู่ที่การเลือกใช้เลือกตามความเหมาะสมอย่าบ้าเห่อเบอร์ห้าตามเค้าไปกันเดี๋ยวจะเปลืองตังโดยไม่จำเป็นครับ..
    การดันราง แล้ว "ราง"คืออะไรมันคือ รางคอมมอนแรล ครับผม..


    การดันราง คือการเพิ่มแรงดันในระบบฉีดจ่ายน้ำมันแบบคอมมอนเรลหรือภาษาไทยๆเรียกว่า แบบรางฉีดร่วมซึ่งโดยปกติปั๊มคอมมอนเรลจะมีหน้าที่ปั่นและอัดส่งสร้างน้ำมัน ที่มีแรงดัน สูงมากๆไปยัง รางคอมมอนเรลเพื่อรอจ่ายน้ำมันไปยังหัวฉีด

    ซึ่งเมื่อทำการติดตั้ง กล่องดันรางเข้าไปกล่องตัวนี้จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ปั๊มสร้างแรงอัดน้ำมัน ได้สูงขึ้นแรงดันในระบบจึงสูงขึ้น ฉีดน้ำมันได้แรงกว่าเดิมการเผาไหม้จึงดีขึ้นส่งผลให้รถแรงขึ้นแต่ไม่ได้ทำ ให้จ่ายน้ำมันมากขึ้นเพราะหัวฉีดก็ยังคงฉีดจ่ายน้ำมันเป็นปริมาณ เท่าเดิม ใน 1 จังหวะรอบการทำงานงงไหมครับ....

    แต่เมื่อรถมีกำลังมากขึ้นทั้งแรงม้าและแรงบิดจากการดันรางนี้เมื่อเราขับขี่ ในสไตล์เดิมที่ความเร็วเท่าๆเดิมจะได้ความประหยัดมากกว่าเพราะแรงบิดรถดี ขึ้นอัตราเร่งทำได้ดีกว่าเดิมจึงไม่ต้องเค้นคันเร่งมากไงครับ

    โดยทั่วไปเมื่อเราติดตั้งกล่องดันรางผู้ติดตั้งก็นิยมมีการทำท้ายรางเพิ่ม เติมด้วยเพื่อให้แมตซ์กับแรงดันที่ปรับ จูน ป้องกันปัญหาไฟโชว์ เครื่องสะดุดเมื่อรอบสูงๆท้ายรางก็คืออุปกรณ์ตัวนึงที่เป็นตัวลิมิตแรงดันใน ระบบอยู่ตรงด้านท้ายของ รางคอมมอนเรลมีหลักการทำงานคือสปริงพร้อมลิ้นระบายแรงดัน (PressureRegulator)ทำหน้าที่คอยระบายแรงดันในรางคอมมอนเรลที่เกินค่าที่ กำหนดให้ไหล กลับซึ่งทำได้โดยการใส่ชิมรองเข้าไปที่สปริงทำให้สปริงมีค่าแข็งขึ้นแรงดัน ระบายออกได้ช้าลงทำให้การสร้างแรงดันในรอบสูงๆไม่มีปัญหาเครื่องสะดุดครับ

    ส่วนเรื่องรางแตกนั้น โดยทั่วๆไปเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะรางคอมมอนเรลมีค่าfactorเผื่อมาให้รับแรงดันได้สูงกว่าสเปคโรงงานเยอะ มากเว้นแต่จะมี การ"อุด"ท้ายรางแบบถาวร ซึ่งนิยมทำกันในรถแข่งสนามโดยเฉพาะประเภท Dragเพราะพวกนี้เขาจะใช้กล่องโมดิฟายใบเดียวคุมแทนกล่องเดิมของเครื่องยนต์ ครับ หรือที่เรียกว่า "Stand Alone" สำหรับรถบ้านสบายใจได้จะมีก็แต่กรณีท้ายรางรั่วซึ่งเกิดจากผู้ติดตั้งในบาง รายติดตั้งไม่ ดีเท่า นั้นเอง ซึ่งสามารถแก้ไขได้ไม่ยากครับผม

    ข้อมูลเพิ่มเติมจากน้าเม Take off..

    - กล่องดันราง คือการเพิ่มแรงดันในระบบคอมมอนเรล ซึ่งทำได้โดยการแปลงสัญญาณECU ที่ควบคุมในส่วนของปั๊มเชื้อเพลิงให้ปั๊มสร้างแรงดันในระบบที่สูงขึ้น กว่า เดิม

    ..จริงๆ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องคือ การแปลงสัญญาณจากเซ็นเซอร์ ก่อนเข้า ECU ครับ..

    ใน ระบบ ควบคุมต่างๆ (Control Syatem) จะมีสัญญาณสองตัวคือ สัญญาณ เซ็นเซอร์ที่บอกสภาวะของระบบ ที่ส่งเข้า ECU และ สัญญาณควบคุม ที่ส่งออกมาจาก ECUให้ไปปรับแต่งระบบที่เซ็นเซอร์ติดอยู่

    การควบคุมหมายถึง การทำให้ระบบภายใต้การควบคุม อยู่ในสภาวะที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น แรงดันน้ำมันในราง

    ใน แต่ละรอบความเร็วและโหลด วิศวกรได้กำหนดมาแล้วว่า ควรมีแรงดันรางเท่าไหร่ซึ่งหากแรงดันรางไม่ได้ตามกำหนด ก็ต้องสั่งให้ปั๊มเพิ่มน้ำมันเข้าไปจนกว่าเซ็นเซอร์ราง จะสามารถอ่านค่าได้ตามที่กำหนด ECUก็จะลดการสั่งเพิ่มน้ำมัน เป็นวงจรแบบนี้ตลอดเวลา

    ซึ่งการตรวจสอบ (censor) การประมวลผล (ECU Program) และ การออกคำสั่ง (control) ใช้วงรอบการทำงานประมาณ 50-60 ครั้งต่อวินาที

    การ พ่วงกล่องทั้งหลาย ทำการหลอกหรือ โกหก สิ่งที่เซ็นเซอร์อ่านได้ ก่อนส่งให้ECU เช่น ค่าแรงดันในรางมีอยู่ 100 แต่ปรับสัญญาณหลอก ECU ว่า มีแค่ 80 เมื่อ ECU เห็นรอบแค่ 80 (ทั้งๆ ที่ความจริงมันคือ 100) ECUก็จะสั่งเพิ่มน้ำมันเข้าไปในรางอีก 20 ให้ได้ 100 หลอกๆ ซึ่งเท่ากับว่าตอนนี้มีแรงดันจริง 120 แทนที่จะเป็น 100 ตามที่ ECU เห็นก็เท่ากับว่าตอนนี้เรามีแรงดัน 120 มาใช้งานแทนโปรแกรมเดิมที่มีแค่ 100แรงก็ได้มากขึ้น

    การหลอกสัญญาณเซ็นเซอร์แบบนี้ทำกับเซ็นเซอร์ทุกตัวที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับว่าจะหลอกอะไรให้ได้อะไรจาก ECUดังนั้นการหลอกสัญญาณจึงไม่เป็นอันตรายแก่ ECUแต่อาจเป็นอันตรายกับรถเพราะสภาวะจริงกับสภาวะที่ ECUมองเห็นมันไม่เหมือนกัน หากหลอกแต่พอดี ไม่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์ทำงานเกินขีดจำกัด ก็ไม่มีอะไรเสียหาย

    ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า เราแน่ใจได้แค่ไหนว่า เราหลอก ECU ให้สั่งการผิดๆ โดยไม่เกินข้อจำกัดของเครื่องยนต์?????

    ส่วน การยกหัวฉีด จะเป็นการเอาสัญญาณควบคุมจาก ECU ไปปรับแต่งซึ่งทำยากกว่าการหลอกสัญญาณเซ็นเซอร์ขาเข้าเพราะสัญญาณเซ็นเซอร์ มักเป็นค่าไปกระแสตรง ที่มีการแปรผันคงที่มีรูปแบบเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ตัวไหนรุ่น ไหน แต่สัญญาณควบคุมที่ ออกมาจาก ECU มักเป็นสัญญาณที่ซับซ้อน มีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกันเลยระหว่าง ECUแต่ละตัว หรือเครื่องยนต์แต่ละเครื่อง ที่มีอุปกรณ์แตกต่างกันกล่องยกหัวฉีดจึงมีราคาแพงมากๆ และมักทำงานไม่ค่อยคุ้มกับสิ่งที่จ่ายไป

  8. #8
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    Thank you krab.....all....

  9. #9
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ขอข้อมูลผู้ใช้งานจริงหน่อยครับ......

  10. #10
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Oct 2008
    User ID
    3916
    Status
    Offline
    โพส
    3,390

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ปักหมุดไว้เลย!

  11. #11
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ผมว่าเรากำลังเข้าใจผิดอยู่หรือเปล่าครับเรื่องกล่องดันราง...จากข้อความที่ว่า

    - กล่องดันรางคือ การเพิ่มแรงดันในระบบคอมมอนเรล ซึ่งทำได้โดยการแปลงสัญญาณ ECUที่ควบคุมในส่วนของปั๊มเชื้อเพลิงให้ปั๊มสร้างแรง ดันในระบบที่สูงขึ้น กว่า เดิม

    ผมว่า ปั้ม HP3 ไม่สามารถเพิ่มหรือลดแรงดันด้วยตัวมันเองครับ มันจะสร้างความดันคงที่ที่สูงกว่าความดัน ในรางร่วม ครับ ถ้าสูงกว่านั้นปั้มแตกครับ (จากประสบการตรงเห็นมาแล้ว) ปั้มจะสร้างแรงดันอย่างเดียว แล้วจะไปเก็บไว้ที่รางร่วม

    ผมว่ากล่องดันราง น่าจะเป็นตัวที่ไปสั่ง(หลอก) ECU ว่าแรงดันยังไม่ถึงนะอย่าเพิ่งสั่ง Solenoid เปิดเพื่อระบายแรงดันทิ้ง มากกว่า....เพราะท้ายรางจะมีชุด Solenoid ไว้ควบคุมแรงดัน รางร่วมตัวนี้สามารถทนแรงดันได้มากกว่า 200MPa แน่นอนครับ แต่ที่ผู้ผลิตยังแก่ปัญหาไม่ได้คือ หัวฉีด Injection ยังไม่สามารถรับแรงดันได้มากถึงขนาดนั้นครับ....

    Boy-ME04

  12. #12
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ขอเล่าต่อครับเกี่ยวกับ ประวัติของเครื่อยนต์ คอมมอนเรว

    ถ้าให้ทายคงทายกันไม่ถูกหรอกครับว่ารถ คันแรกที่ติดตั้งเครื่องคอมมอนเรวคือรุ่นอะไร......

    ตอบครับ มา..ด้า 3 ถ้าจำไม่ผิด......

    ครับเป็นรถเก๋งครับ....เริ่มแรกเดิมทีแรงดันจะได้แค่ 120เมก ครับ

    ตอนนั้นถือว่าเยอะเป็นประวัติการ จนทำให้คู่แข่งต่างค่าย ต้องหันกลับมามอง

    และแสดงความยินดี อุปศักดิ์ที่ มักเจอคือ แรงดันมากหัวฉีดมักมีปัญหา

    ถ้าคุณเคยแกะหัวฉีดดู จะเห็นโครงสร้างที่สับซ้อนมากๆ งานละเอียดเป็น

    ไมครอน
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย DENSO-Jibun : 11-02-2011 เมื่อ 15:35

  13. #13
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    การทำงานของหัวฉีด.....


    ในรุ่นปัจจุบันเราถึงหัวฉีดยุค G3-Injector แล้วครับ ในอนาคต จะเป็น G4 ครับ

    เป็นการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ ครับ โดย จี1 น่าจะอยู่ใน เครื่องดี4ดี ครับ หลังจากพี่โก้ ออกมา จะเป็น รุ่น จี2 ครับ พอเปลี่ยนเป็น เครื่อองโบแปรผัน ก้อเลยจับ จี3 เข้าไปด้วยครับ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย DENSO-Jibun : 11-02-2011 เมื่อ 14:45

  14. #14
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    จังหวะการทำงานของหัวฉีด

    เดิมทีถ้าจำไม่ผิด เขาจะออกแบบให้ มีการฉีดทั้งหมด 5 สเตป ด้วยกันครับ อธิบายได้ครับแต่ยาว ขอข้ามดีกว่า ผลดีคือเครื่องสารารถเผาไหม้ได้หมดจด เดินเงียบ แรง ผิดหูผิดตาเมื่อเทียบกับเครื่องดีเซล รุ่นเก่าๆ
    แรงบิดสูงที่รอบต่ำ

    ปัจจุบัน จี3 หน้าจะซอยการฉีดเป็น 9 สเตปแล้ว

    ทำไมต้องซอยหลายสเตป .......

  15. #15
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ทำไมต้องซอยหลายสเตป .......

    การเคลื่อนที่ของลูกสูบในแต่ละตำแหน่งต้องการปริมาณน้ำมันแตกต่างกันครับ ที่พูดนะตอนนี้เป็นจังหวะ อัด ตามด้วย จังหวะระเบิด นะครับ
    ทฤษฏีหน่อยนะครับ..จังหวะอัดก่อนลูกสูบจะถึงศูนย์ตายบน ECU จะสั่งให้ Solenoid Injector ทำงานโดยจ่ายกระแสไฟเข้าไปใน Solenoid Injector ทำให้ขดลวดที่พันอยู่ด้านในเกิดการเหนี่ยวนำเป็นสนามแม่เหล็ก ยกตัว Nozzle ขึ้นอย่างรวดเร็ว เสี๋ยวของ วินาที mSec จังหวะนี้เราเรียกว่าจังหวะ พรีฮีท เร่มระเบิด หลังจากนั้น ก็จะทำการฉีดเข้าไปเพ่มอีก 3 จังหวะด้วยกัน พอลูกสูบเริ่มเครื่อนที่ลงแล้ว ก้อจะฉีด เพิ่มอีก 1 ครัง ผลที่ได้คือเครื่องเดินเงียบ แรง เพราะฉีดได้ตรงตามความ
    ต้องการของจังหวะการเผาไหม้จริง แต่ละค่ายจะมีสูตรที่แตกต่างกันไป แล้วแต่การออกแบบห้องเผาไหม้ ด้วยเช่นกัน.

    ในอดีตหัวฉีด ไม่มีการควบคุมด้วย Solenoid Injector จึงมีการฉีดที่จังหวะเดียวรากยาวตามจังหวะของลูกเบี้ยว ทำให้สิ้นเปลือง เครื่องเสียงดังมาก

  16. #16
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    มาถึงตรงนี้ ผู้ที่ออกแบบ หรือผู้ที่ติดกล่องยกหัวฉีด คงจะถึงบางอ้อแล้วครับ ว่าทำไมติดไปแล้วไม่ค่อยได้ผลเท่าไร....

    การยกหัวฉีดเพื่อเพิ่มปริมาณ น้ำมันนั้น จะใช้หลักการยกให้นานได้เพียงเท่านั้น....ส่วนยกให้สูงขึ้นนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย...นอกจากจะขัดผิวที่ Magnet Surface ออก

  17. #17
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jun 2010
    User ID
    12130
    Status
    Offline
    โพส
    928

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    เหลามาซะนาน...ถ้าข้อมูลผม..ผิดพลาด...หรือไม่ถูกต้องประการใดร่วมแชร์..ข้อมูลได้ครับ....เพราะบางข้อมูลมาจากความเข้าใจส่วนตัวของผมเอง....

    เดี๋ยวมาเหลาต่อครับ....ทำงานก่อน....

  18. #18
    ตุ้ย-Tui TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Feb 2008
    User ID
    1345
    Status
    Offline
    โพส
    3,175

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?


  19. #19
    TTC-2028 TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Sep 2010
    User ID
    13783
    Status
    Offline
    โพส
    792

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    ได้รับความรู้เยอะดี ขอบคุณครับ

  20. #20
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Sep 2010
    User ID
    13438
    Status
    Offline
    โพส
    431

    มาตรฐาน Re: หลักการทำงานของกล่องดันราง ?

    Thanks.....

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

ข้อมูลกระทู้

Users Browsing this Thread

ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)

Bookmarks

กฎการโพสข้อความ

  • ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสได้
  •  
  • BB code สถานะ เปิด
  • Smilies สถานะ เปิด
  • [IMG] สถานะ เปิด
  • [VIDEO] code is เปิด
  • HTML สถานะ ปิด