สำนักงาน คปภ.มีคำสั่งนายทะเบียนปรับปรุงเงื่อนไขความคุ้มครองความเสียหายของ ตัวรถยนต์ที่ทำประกันภัย ให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก(Deductible) ลดลงจากเดิมที่กำหนดไว้ 2,000 บาท เป็น 1,000 บาทของการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง เมื่อรถยนต์ที่ทำประกันภัยได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ และในกรณีเกิดความเสียหายจากการชนแต่ไม่สามารถระบุคู่กรณีให้บริษัททราบได้ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป
การ ปรับปรุงเงื่อนไขความคุ้มครองดังกล่าว นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กล่าวว่า รถยนต์ที่ทำประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่นได้รับความเสียหาย โดยผู้เอาประกันภัยไม่ทราบคู่กรณีหรือไม่สามารถแจ้งรายละเอียดของรถคู่กรณี ได้ ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าซ่อมรถเองจำนวน 1,000 บาท และกรณีรอยขีดข่วนต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดความเสียหายจากการชนหรือคว่ำ ก็มีการเพิ่มเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเอง 1,000 บาทด้วยเช่นกัน
“สำหรับความเสียหายจากการชนเสา รั้วบ้าน สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ที่สามารถระบุได้ชัดเจน ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเองแต่อย่างใด”
นอก จากนั้น นางจันทราฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนเงินค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองนั้น เงื่อนไขกรมธรรม์ฯกำหนดไว้อย่างชัดเจนให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบต่อ อุบัติเหตุที่ เกิดขึ้นแต่ละครั้ง ฉะนั้น หากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นครั้งเดียวแต่มีอุปกรณ์หลายชิ้นได้รับความเสียหาย ผู้เอาประกันภัยก็รับผิดชอบค่าซ่อมเพียง 1,000 บาทเท่านั้น และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และสามารถลดข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้น สำนักงาน คปภ.ได้เร่งรัดให้มีการออกคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยเร็วต่อไป
อ้างถึง ประกาศคำสั่ง คปภ.ที่ 22/2551
เรื่อง การปรับปรุงเงื่อนไขกรมธรรม์รถยนต์ที่เริ่มมีผลคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
ข้อ 4. ความเสียหายส่วนแรก ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งดังนี้
(ก) 1,000 บาทแรกของความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึง คู่กรณีอีก
ฝ่ายหนึ่งได้
(ข) ……………….
ในกรณีที่ผู้เอา ประกันภัยต้องรับผิดชอบตามข้อต่างๆดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งข้อ ให้ถือว่าความรับผิดชอบแต่ละข้อเป็นความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น.
การชน หมายถึง การที่รถยนต์ได้ปะทะ กระแทก โดนกันโดยแรง กับวัสดุอื่น ถึงขนาด บุบยุบ ยับย่น แยก แตกหัก ซึ่งจะมีร่องรอยความเสียหายอย่างชัดเจน.
การคว่ำ หมายถึง การที่รถยนต์ได้แฉลบเสียการทรงตัวถึงขนาดพลิกตะแคงหรือพลิกคว่ำกระแทกกับพื้นดิน.
ทั้งนี้การชนหรือคว่ำนั้นจะต้องมีความเสียหายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการแจ้งลักษณะก
ารเกิดเหตุดังกล่าว
ตัวอย่างการเกิดเหตุที่เรียกเก็บและไม่เรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรก
กรณีไม่เก็บค่าเสียหายส่วนแรก
1. รถชนกับพาหนะอื่นและแจ้งรายละเอียดคู่กรณีได้
2. รถชนเสา/ชนประตู
3. รถชนต้นไม้ยืนต้น /ชนเสาไฟฟ้า
4. รถชนกำแพง
5. ชนคน
6. ชนสุนัข/ชนสัตว์
7. ชนฟุตบาธ
8. รถพลิกคว่ำ
9. รถชนราวสะพาน
10. รถชนกองดิน หรือชนหน้าผา
11. รถชนป้ายจราจร
12. รถชนทรัพย์สินอื่นใดที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
กรณีเรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรก
1. รถถูกขีดข่วน/กลั่นแกล้ง
2. หินหรือวัสดุใดกระเด็นใส่
3. เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม
4. รถตกหลุม / ครูดพื้นถนน
5. เหยียบตะปู / วัสดุมีคม /ยางฉีก
6. รถถูกละอองสี / หรือวัสดุใดหล่นมาโดน
7. กระจกรถแตก
8. ไถลตกข้างทางไม่พลิกคว่ำ
9. ถูกวัสดุในตัวรถกระแทกหรือกรีดโดน
10. ภัยธรรมชาติ / น้ำท่วม
11. รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน
12. กรณีอื่นๆ แจ้งเหตุไม่ชัดเจน
หมายเหตุ - ตามแนวทางปฎิบัตินี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีความชัดเจนจากคู่มือตีความของ คปภ.
-กรณีกรมธรรม์ของลูกค้ายังเป็นฉบับเดิม ให้ใช้เงื่อนไขการเก็บส่วนร่วมเหมือนเดิม
Bookmarks