- 2 ตัวนี้ ต่างกันยังไง
- มันเริ่มทำงานที่ความเร็วเท่าไร
- 2 ตัวนี้ ต่างกันยังไง
- มันเริ่มทำงานที่ความเร็วเท่าไร
ดันครับ รอน้าๆมาตอบ ส่วนผมนอนก่อนล่ะครับตีสามแล้วววว
เทอร์โบแบบแปรผัน
เทอร์โบก็เปรียบเสมือนเครื่องอัดลมแบบธรรมดา โดยท่อไอเสียที่ถูกขับออกจากห้องเผาไหม้ แทนที่จะถูกปล่อยออกทางท่อไอเสีย
ก็จะถูกนำไปขับใบพัดไอเสียให้หมุน ใบพัดไอเสียนี้จะเชื่อมติดกับเพลาซึ่งมีใบพัดไอดีอยู่อีกข้างหนึ่ง เมื่อใบพัดไอเสียหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆ
ก็จะยังผลให้ใบพัดไอดีหมุนตามเร็วขึ้นเท่านั้น การหมุนของใบพัดไอดีจะดูดอากาศผ่านไส้กรองอากาศและอัดอากาศให้หนาแน่นขึ้น
ก่อนอัดเข้าห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ในเครื่องยนต์เบนซินอากาศที่ถูกอัดจากเทอร์โบก่อนเข้าเครื่องยนต์ จึงจำเป็นต้องทำให้อากาศ
เย็นตัวลงก่อน เพื่อป้องกันการจุดระเบิดก่อนเข้าห้องเผาไหม้ ดังนั้นอินเตอร์คูลเล่อร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในเครื่องยนต์ โดยอินเตอร์คูลเล่อร์
จะมีลักษณะเหมือนรังผึ้งหม้อน้ำ แต่ใช้อากาศภายนอกเป็นตัวช่วยถ่ายเทความร้อนของอากาศภายในหลอดที่ออกจากเทอร์โบ
เทอร์โบแบบแปรผัน ซึ่งผู้ผลิตมีการเรียกชื่อต่างกันออกไป อาทิ เช่น Garrett จะเรียก Variable Nozzle Turbine (VNT)
Holset จะเรียก Variable Geometry Turbo (VGT) และ BorgWarner จะเรียก Variable Turbine Geometry (VTG)
ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันคือเนื้อที่ ในโข่งไอเสีย สามารถควบคุมให้มีเนื้อที่มาก หรือน้อยตามรอบเครื่องยนต์ โดยแต่ละผู้ผลิตมีวิธีการออกแบบ
ที่แตกต่างกัน โดย Garrett BorgWarner และMitsubishi จะใช้การเปิด-ปิด ครีบในแนวนอนซึ่งมีความทนทานกว่าและเหมาะสมกับ
เครื่องดีเซลขนาดใหญ่ในรถบรรทุก ในขณะ ที่ครีบ เปิด-ปิด ในแนวตั้งจะเหมาะสำหรับเครื่องดีเซล ขนาดเล็กที่ใช้ในรถยนต์นั่ง
ในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซล จะมีทั้งระบบเทอร์โบ และเทอร์โบอินเตอร์คูลเล่อร์ ทั้งนี้เนื่องจากชิ้นส่วนเครื่องยนต์ดีเซลมีความทนทาน
และแข็งแรงกว่าเครื่องยนต์เบนซินมาก และเครื่องยนต์ดีเซลใช้ระบบการเผาไหม้ด้วยช่วงจังหวะการอัดของลูกสูบ ซึ่งต่างจากการใช้หัวเทียน
เป็นตัวจุดระเบิดในเครื่องยนต์เบนซิน ดังนั้นเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่จำเป็นต้องใช้อินเตอร์คูลเล่อร์ ยกเว้นผู้ผลิตเครื่องยนต์ต้องการเพิ่มกำลัง
และแรงบิดเครื่องยนต์ให้มากกว่าเดิม ก็สามารถติดตั้งระบบอินเตอร์คูลเล่อร์เข้าไปเพิ่ม ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องเพิ่มบูสต์ หรือแรงอัดของ
เทอร์โบให้สูงขึ้นพร้อมกับเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น ก็จะได้การจุดระเบิดที่รุนแรงขึ้น เป็นการเพิ่มแรงม้าและแรงบิด ทั้งนี้ชิ้นส่วนภายใน
จะต้องมีความแข็งแรงตามไปด้วย นอกจากนี้ผู้ผลิตเครื่องยนต์ก็จะลดกำลังอัดของลูกสูบตามไปด้วย เมื่อมีการเพิ่มกำลังอัดจากเทอร์โบ
เข้าเครื่องยนต์ ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเครื่องยนต์จะมีเครื่องยนต์ให้เลือก ทั้งแบบเทอร์โบธรรมดาและเทอร์โบอินเตอร์คูลเล่อร์ซึ่งมีกำลังสูงกว่า
ในปัจจุบันเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเกิน 85 kw ขึ้นไปจำเป็นต้องมีอินเตอร์คูลเล่อร์ตามมาตรฐาน euro
ตามนี้เลยครับน้า ก๊อปเค้ามาอธิบายไม่ถูก
จอดดูครับ
รู้แต่ vg มันแรงกว่าจริงๆ
สำหรับผมง่าย ๆ
178 VG Turbo คือ รุ่นปัจจุบัน เป็นเทอร์โบแปรผัน แบบครีบหลังที่โข่งไอเสีย ปรับองศาได้
Turbo Intercooler คือ รุ่น 140 แรงม้า เป็นเทอร์โบธรรมดา มีอินเตอร์เพื่อลดความร้อนก่อนเข้าท่อร่วมไอดี
ถ้าเริ่มทำงานก็ทำงานอยู่ตลอดล่ะครับ แต่ถ้าบูสท์ติด บูสท์มา แปรผันมา 1800 รอบ ธรรมดามา 2000 รอบ
วีจี ก็ต้องมีอินเตอร์ฯ เหมือนกันแค่แปรผันตามรอบเครื่อง มังครับ
- 2 ตัวนี้แตกต่างกันยังไง
>ไม่แตกต่างกัน เพราะมีการลดอุณหภูมิของไอดี(อากาศที่อัดมาจากเทอร์โบ)ก่อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ด้วย (Intercooler) (จะติดตั้งที่หน้าเครื่อง หรือ บนฝาเครื่อง) แล้วแต่การออกแบบให้ปะทะกับอากาศในลักษณะใดๆ
- มันเริ่มทำงานที่ความเร็วเท่าไร่
> ทันทีที่รถวิ่งให้อากาศภายนอกไหลผ่านปะทะกับ แผงรังผึ้ง (Intercooler)
ขอบคุณครับ
เข้ามาจดความรู้เลยครับ
Turbo = ระบบอัดอากาศ
Turbo intercooler = ระบบอัดอากาศ+อินเตอร์คูลเลอร์(ทำความเย็นให้อากาศก่อนอัดจะได้หนาแน่นขึ้น)
VG Turbo = ชื่อที่มิตซูตั้งขึ้น เป็นระบบ Turbo intercooler แหละ แต่เพิ่มเทอร์โบแปรผัน คือช่วงรอบต่ำก็มีอาการปรับองศาลิ้่นอะไรซักอย่างให้มันแปรผันตามรอบเครื่องจะได้แรงบิดรอบต่ำเพิ่มขึ้น
thank you มากๆครับ
ขอขอบคุณทุกท่าน ที่เข้ามาให้ความรู้
เยี่ยมเลยความรู้ทั้งนั้น แอบมาอ่านเหมือนกัน ขอบคุณครับ
รอบต่ำๆ จะได้ยินเสียง โบวื วี๊ดดดดด ชื่นใจมาก ... 178VG Turbo 4D A/T 2014
จอดเก็บข้อมูล
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks