พอดีไปเจออุปกรณ์ตัวนึงคือ turbo timer ใช้สำหรับหน่วงเวลาในการ Cool down อยากทราบว่า VG Turbo 178 จำเป็นต้องใช้ด้วยไม๊ครับ
พอดีไปเจออุปกรณ์ตัวนึงคือ turbo timer ใช้สำหรับหน่วงเวลาในการ Cool down อยากทราบว่า VG Turbo 178 จำเป็นต้องใช้ด้วยไม๊ครับ
ติดก็ดีครับ ฮ่าๆๆ
มาทำความรู้จักกับ อุปกรณ์ Turbo Timer ...
การวอร์มดาวน์ (Warm Down) หรือบางทีก็เรียก (Cool Down) ก็คือ การปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา โดยปราศจากภาระหรืโหลดต่างๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะทำการดับเครื่องยนต์ครับ
ซึ่ง ในเครื่องยนต์ ทั้งเบนซินและดีเซล จะมี ระบบเทอร์โบชาร์จ ซึ่งเจ้าเทอร์โบชาร์จนี้ มันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้อัดอากาศให้มีความดันเข้าห้องเผาไหม้ โดยอาศัยหลักการแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ของกังหันไอดีของเทอร์โบ โดยรับแรงขับมาจากกังหันไอเสียซึ้งมีแกนขับต่อถึงกัน ตั้งแต่เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ จนกระทั่งดับเครื่อง เจ้ากังหันเทอร์โบตัวนี้จะทำงานตลอด ด้วยแรงดันของไอเสียที่คายออกมาขับ และเมื่อรอบสูงขึ้น กังหันก็จะยิ่งหมุนเร็วขึ้น แล้วแต่ว่าเจ้าเทอร์โบตัวนั้นจะถูกออกแบบให้กังหันสามารถปั่นไอดี หรือที่เรียกกันว่า "บูสท์" เจ้าแกนเทอร์โบที่ต่อระหว่างกังหันทั้งสองฝั่งนี้จะหมุนได้เป็นหมื่นๆถึงแสนรอบ/นาที ซึ่งแน่นอนว่ามันจะเกิดความร้อนสะสมเมื่อเราใช้รอบเครื่องเป็นเวลานานๆ อย่างเวลาที่เราวิ่งทางไกล เร่งแซง หรือเครื่องยนต์ใช้รอบรับโหลด เทอร์โบปั่นบูสท์เป้นเวลานานๆ ยิ่งเทอร์โบที่ทำบูสท์สูงมาก ก็ยิ่งหมุนเร็ว และมีความร้อนมาก
ดังนั้น การออกแบบของเทอร์โบ จึงต้องมีการออกแบบระบบระบายความร้อนของเจ้าแกนเทอร์โบนี้ด้วย ซึ้งก็มีทั้งแบบ ที่ใช้น้ำหล่อเย็นซึ่งไหลเวียนในเครื่องยนต์อยู่แล้ว ต่อท่อมาไหลผ่านหล่อเลี้ยงแกนเทอร์บ ซึ่งน้ำหล่อเย็นที่ไหลเวียนอยู่ในระบบของเครื่องยนต์มันมีการหมุนเวียนได้โดยการขับของปั๊มน้ำ
อีกแบบหนึ่งก็คือใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ไหลเวียนในระบบมาหล่อเลี้ยงแกนเทอร์โบ ซึ่งน้ำมันเครื่องนี้ก็มีการหมุนเวียนไดด้ดพราะมีการขับจากปั๊มน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เหมือนกัน ก็แล้วแต่การออกแบบของผู้ผลิตเทอร์โบแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นครับ
หรือเทอร์โบบางรุ่นก็มีการหล่อเลี้ยงแกนทั้งสองระบบก็มีครับ....
ดังนั้น เมื่อเราดับเครื่องยนต์ ปั๊มน้ำ หรือปั๊มน้ำมันเครื่องก็จะหยุดทำงาน ทำให้ไม่มีน้ำ หรือน้ำมันไปหล่อเลี้ยงที่แกนของเทอร์โบ
ซึ่งถ้าเป็นในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานมาอย่างหนัก เช่นเราวิ่งทางไกล ขึ้นเขา ลากจูง ใช้โหลด ใช้รอบในการเร่งแซงมากๆ ในรอบเครื่องยนต์ที่สูงๆเป็นเวลานานๆ เมื่อเราจอดรถแล้วเราดับเครื่องยนต์ทันที
เจ้าปั๊มน้ำมันเครื่อง หรือปั๊มน้ำมันก็จะหยุดทำงาน ทำให้การไหลเวียนในระบบหยุดลง ทีนี้ ในเมื่อเจ้าแกนเทอร์โบ ทำงานมาอย่างหนัก หมุนด้วยรอบสูง เกิดความร้อนสะสม เมื่อไม่มีน้ำหรือน้ำมันไปหล่อเลี้ยง
แกนเทอร์โบมันก็จะสึกหรอไปไวกว่าปกติ
ถ้าสังเกตเวลาขับรถออกต่างจังหวัด เราจะเห็นว่าตามปั๊มน้ำมัน เวลาที่มีรถบรรทุกใหญ่ๆ รถบัส หรือแม้กระทั่งรถตู้ รถกระบะ ที่เขาไม่ค่อยจะดับเครื่องยนต์กัน เมื่อเพิ่งเข้ามาจอดใหม่ๆ ทั้งนี้ เพราะว่า เขากำลังทำการ Cool Down เครื่องยนต์ เพื่อให้น้ำ หรือน้ำมันเครื่องไหลไประบายความร้อนของแกนเทอร์โบ เป็นระยะเวลาสั้นๆก่อนที่จะดับเครื่องหากต้องดับเครื่องยนต์ครับ เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเทอร์โบนั่นเอง
ส่วนเวลาในการ Cool Down นั้นก็ตามความเหมาะสม ซัดมาโหดมาก วิ่งมายาวๆ ก็นานหน่อย ถ้าไม่มากก็พอประมาณ โดยทั่วไปสำหรับผมก็คือ 3-5 นาทีครับ หรือถ้าแค่ขับรถเข้ามาเติมน้ำมัน ซึ่งในต่างจังหวัดเราวิ่งเป็นระบะทางไกลๆมา ผมก็ไม่ดับเครื่องยนต์ครับ เพราะแกนเทอร์โบ มันยังร้อนอยู่.... ถ้าดับเลย พังไวแน่นอนครับ
ดังนั้นในเจ้าโก้เราก็เหมือนกันครับ ควรจะทำการ Cool Down เมื่อมีการใช้งานวิ่งไกลๆ รอบสูงๆเป็นประจำ ยิ่งถ้าใครโมฯมาเต็มๆด้วยแล้ว เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย
ปล.รถที่ไม่มีระบบเทอร์โบชาร์จก็แนะนนำว่าให้ทำการ Cool Down ก่อนก็ดีนะครับ เพราะน้ำมันเครื่อง หรือน้ำหล่อเย็นมันก็มีคุณสมบัติในการหล่อเลี้ยง ระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์อยู่แล้วด้วยครับ
จากที่ได้กล่าวไปในตอนต้น ถึงการ Cool Down ก่อนดับเครื่องยนต์ ดังนั้น มันก็หมายความว่า เมื่อเราจอดรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะต้อง"รอ" อยู่กับรถ เพื่อที่จะบิดสวิตซ์กุญแจดับเครื่องยนต์ แล้วปิดประตูล็อครถ ซึ่งจากที่ได้กล่าวมาในตอนต้น คือ การ Cool Down โดยทั่วไป จะใช้เวลาประมาณ 1-3 นาที หรือบางครั้งก็นานกว่านั้นหน่อย แล้วแต่สภาพการใช้งานก่อนหน้านี้ครับ
เมื่อเกิดสภาวะแห่งการ "รอ" อย่างนี้ บางครั้งอาจมีปัญหาบางอย่างตามมา อย่างเช่น เมื่อเราขับรถทางไกลมาเรื่อยๆ แล้วเกิดปวดท้องแบบว่า อั้นไม่ไหวแล้ว แวะจอดปั๊ม ห้องน้ำอยู่ห่างไปไม่กี่ก้าว ไอ้ครั้นจะดับเครื่องยนต์เลยทันที เพราะต้องปิดล็อครถ เนื่องจากไม่มีคนคอยเฝ้ารถให้ ก็เกรงว่าเทอร์โบจะพังไว แล้วถ้าจะนั่งรอ ก็สงสัยจะได้เสียค่าทำความสะอาดเบาะเพิ่มแหงๆ
หรือจะเป็นอย่างกรณีมีธุระ อย่างขับรถพาแฟนมาทานข้าว วิ่งมาไกลไปหน่อย แบบว่า อยากหาที่โรแมนติก บรรยากาศชายทุ่งตามต่างจังหวัด แล้วซัดรถมาเพลินๆ
เมื่อถึงที่หมายไอ้ครั้นจอดรถแล้ว จะนั่งรอที่รถให้แฟนเดินไปก่อน เพื่อที่จะรอดับเครื่อง ก็คงไม่โดนค้อน ก็คงจะหมดอารมณ์แห่งความสำราญกันก่อนเป็นแน่แท้ (เอ๊ะ.... ตกลงไอ้ที่แวะเนี่ย มันที่ไหนกันหว่า )
ดังนั้น กรณีเช่นนี้จึงได้มีการคิดค้นอุปกรณ์สำหรับ ตั้งหน่วงเวลาในการดับเครื่องยนต์ขึ้นมา ซึ่งก็คือเจ้าเทอร์โบ ทามเมอร์
ดังนั้นมีคนคิดค้นอุปกรณ์ที่เรียกว่า Turbo Timer ขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ซึ่งระบบนี้ก็มีทั้งแบบใช้ระบบรีเลย์ไฟฟ้า ตัด-ต่อ การทำงานของสวิตซ์กุญแจ หรือ กระทั่งแบบที่ใช้อิเลคโทรนิคส์ควบคุม มีระบบ Auto ในการตรวจจับสภาวะการใช้งานของรถก่อนหน้า โดยเอาข้อมูลมาจาก ECU กันเลยก็มีครับ
อย่างที่นิยมใช้กันในรถยนต์ปัจจุบัน รถยนต์หรูๆ บางยี่ห้อ ก็มีมาให้จากโรงงานเป็นอุปกรณ์ติดรถมาเลยก็มีครับ
ส่วนในเจ้าโก้นั้น จริงๆแล้วก็ควรจะมีครับ แต่เป็นเพราะเหตุผลทางต้นทุนในการผลิต จึงยังไม่มีมาให้จากโรงงาน แต่ในอนาคตอันใกล้ เราก็อาจจะได้เห็นกันครับ
(ในรถสิบล้อ หัวลาก รถบัส บางยี่ห้อ บางรุ่น ก้มีทามเมอร์ตั้งเวลาดับเครื่องยนต์ให้ บางรุ่นมีเกจจ์วัดแรงดันในท่อร่วมไอดี หรือบูสท์ มาให้อีกต่างหาก)...
แต่ไม่ว่ามันจะเป้น เทอร์โบทามเมอร์แบบใด หลักการของมันก็คือ การหน่วงเวลาในการดับเครื่องยนต์โดยเริ่มจับเวลานับถอยหลัง เมื่อเราเซ็ตการทำงานของมันแล้วบิดสวิตซ์กุญแจไปที่ตำแหน่งที่เครื่องยนต์ดับ (โดยมากจะเป้นตำแหน่ง Acc ) เจ้าวงจรทามเมอร์ก็จะทำงาน เป็นสะพานตัดต่อทางของวงจรไฟฟ้าของสวิตซ์กุญแจให้เสมือนหนึ่งว่าเรายังไม่ได้บิดสวิตซ์กุญแจดับเครื่องยนต์ เป็นเวลาสั้นๆตามที่ตั้งไว้ เมื่อครบเวลาที่กำหนดไว้ทามเมอร์จะตัดการทำงาน แล้วเครื่องยนต์จึงจะดับจริง
ดังนั้น เมื่อเราเซ็ตการทำงานของเทอร์โบทามเมอร์แล้ว เวลาที่เราจอดรถเป็นที่เรียบร้อย แล้วต้องการจะ Cool Down เครื่องยนต์ เราก็สามารถบิดสวิตซ์กุญแจดับเครื่องยนต์ แล้วดึงกุญแจออก ปิดประตูล็อครถได้ตามปกติเลยครับ โดยปล่อยให้เป้นหน้าที่ของเจ้าเทอร์โบทามเมอร์นี้มันทำการตัด - ต่อวงจรในการจ่ายไฟไปหลอกกล่อง ECU ให้เครื่องยังคงติดอยู่ หรือในรถรุ่นเก่าๆก็จะเป็นการตัดต่อวงจรไฟฟ้าที่สวิตซ์กุญแจโดยใช้วงจรในตัวของทามเมอร์เอง ก็แล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ ของทามเมอร์ครับ ส่วนที่ผมเคยเห็นมาก็ เคยมีคนเอาสวิตซ์มือหมุนทามมเอร์ตั้งเวลาของเครื่องซักผ้า มาดัดแปลงใส่ในรถเก่าๆก็มีครับ
ในตามต่างจังหวัด บางครั้งเราเห็นรถเครื่องยังติดอยู่ แต่ไม่มีใครอยู่ในรถสักคน สักพักเครื่องยนต์ก็ดับของมันเอง ไม่ใช่น้ำมันหมดหรือผีหลอกหรอกครับ เป้นเพราะเจ้า เทอร์โบทามเมอร์นี้เองต่างหาก
คราวนี้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่อง การหมดอารมณ์หลังจอดรถแล้ว ใช่ไหมครับ
ตัวอย่าง Turbo Timer...รถกระบะ
เครดิต http://www.webtheone.com/turbo%20timer.html
Turbo timer จำเป็นไหมสำหรับรถเทอร์โบ
มีก็ดีมาก ไม่มีก็ได้ครับ
ของผมรถปี 2010 ม้า 140 ตัว เพิ่มพัดลมไฟฟ้ามา
ถ้าขับเร็วแล้วมาจอดปิดแอร์ แต่พัดลมไม่ยอมดับครับ
ต้องปล่อยไว้ประมาณ 3 นาที พัดลมก็จะดับเองครับ
แต่ถ้าขับไม่เร็ว ปิดแอร์แล้วพัดลมจะดับทันทีครับ
ขอบคุณมากครับได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วบอร์ดนี้แหล่มจิงๆ
ติดเลยครับ มีประโยชน์และก็เท่ด้วย
ความรู้เพียบเลย...อยากติดตั้งนานแล้วค่ะ..แต่ยังไม่ได้ติดสักที...
ติดก็ดีมีประโยชน์ครับ เวลาเข้าห้องน้ำที่ปั้มถ้าไม่นานเวลาไปคนเดียวตั้งเวลาไม่ต้องดับเครื่อง ถ้าไม่ติดวิ่งไกลๆนั่งเล่นในรถแปบนึงแล้วค่อยดับเครื่อง
ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ ติดที่ไหนได้บ้างที่ช่างเก็บงานดีๆ
รถผมวิ่งทางไกลทุกวัน ขับคนเดียว ครั้นจะลงไปเยี่ยว ก็เกิดปัญหาและเป็นกังวลอย่างที่ว่ามาละครับ กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี
มีท่านใดแนะนำได้บ้างครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
มีงบแล้วครับ แถวเกษตร-นวมินทร์ รามอินทรา ติดได้ที่ไหนบ้างครับ รบกวนแนะนำด้วยครับ
เจ๋งเลยครับ แต่ไม่มีงบอ่ะ
คลองถม 700-900 บ. ไปซื้อเลย ใช้ได้ดี จ้างติด 200 บ.
test1
ผมไม่แน่ใจว่าของ haken จะมีแบบปลั๊กเสียบโดยไม่ตัดสายไฟสำหรับไทรทันหรือเปล่า ผมใช้แบบตัดสายอยู่ 7ปีแล้วไม่มีปัญหาอะไรครับ
แก้ไขครั้งล่าสุดโดย sktriton : 25-07-2012 เมื่อ 21:25
ผมยังไม่รู้ข้อมูลเท่าไรครับแต่รถผมออกมาได้เดือนเดียวก็ติดเลยครับ
ของ hks
เจอกันแน่อนครับ ตลาดพูนทรัพย์ปทุมเสาร์นี้ครับ ร้านไหนช่างเก็บงานดีครับ แนะนำด้วยครับ
พลัส178 at 2012 ผมไปติดมาแล้วมีปัญหา ผมติดแบบออโต้ พอขับไปตัวเลขเพื่มขึ้นเลื่อยไม่ว่าจะขับช้าหรือจอดแล้วมันก็ไม่ยอมลดลงมาเป็น0เลยต้องกลับไปให้ช่างที่ร้านถอดออกเลยไม่ได้ใส่
ติดของอะไรมาครับน้า
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks