คำศัพท์เกี่ยวกับการบิน
Aileron-(ปีกแก้เอียง) เป็นแผ่นกระดานที่ติดอยู่กับขอบปีกหลัง ทำหน้าที่เลี้ยวและแก้เอียง
Airfoil- เป็นรูปแบบของปีกทำหน้าด้านอากาศพลศาสตร์ของปีก Airfoil แต่ละแบบจะให้ผลทางอากาศพลศาสตร์ไม่เหมือนกัน บางแบบให้แรงยกสูง บางแบบให้แรงต้านต่ำ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบเครื่องบินจะเลือกใช้เพื่อให้ได้ลักษณะเครื่องบินตามที่ต้องการ
ARF-(Almost-Ready-To-Fly หรือ "เกือบสำเร็จรูป")-เป็นเครื่องบินที่ผู้ผลิตสร้างมาเกือบเสร็จแล้ว ผู้ซื้อนำมาประกอบอีกเล็กน้อยก็สามารถนำไปบินได้
Dihedral-เป็นมุมยกของปีกจากกลางปีกขึ้นไป ช่วยทำให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในการม้วน(roll) แต่จะทำให้เครื่องบินม้วนตัวช้าด้วย เครื่องบินประเภทเครื่องฝึกมักจะมีมุมนี้มากเพื่อให้มีเสถียรภาพสูง แต่เครื่องบินผลาดแผงมักจะมีมุมนี้น้อยหรือไม่มีเลยเพื่อการเลี้ยวที่คล่องแคล่ว
Elevator-เป็นแผ่นกระดานควบคุมที่ติดอยู่ที่ขอบหลังของแพนหางระดับ(Horizontal stabilizer) มีหน้าที่ทำให้เครื่องบินเชิดหัวขึ้นหรือปักหัวลง
Engine- (เครื่องยนต์) มักหมายถึงเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำหน้าที่ให้แรงขับ(Thrust) แก่เครื่องบิน ทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
Fin-เป็นชื่อเรียกอีกชื่อของแพนหางแนวดิ่ง(Vertical Stabilizer)
Landing Gear-(ฐานล้อ) หมายถึงลูกล้อและก้านที่ต่อกับลูกล้อของเครื่องบิน
Flap-เป็นแผ่นกระดานควบคุมที่ติดอยู่ที่ขอบปีกด้านหลังและชิดอยู่กับลำตัว ทำหน้าที่เพิ่มแรงยกให้กับเครื่องบินในตอนบินขึ้นหรือร่อนลง เครื่องบินบางลำอาจไม่มี Flap
Four-Stroke (4-stroke) Engine- (เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ )โดยการจุดระเบิดหนึ่งครั้งต้องใช้ 4 จังหวะ ให้กำลังต่ำกว่าแบบ 2 จังหวะในความจุที่เท่ากัน แต่ให้เสียงไพเราะ คล้ายเครื่องบินจริงมาก มักนิยมติดตั้งในเครื่องบินแบบสเกล
Fuel Tank-(ถังน้ำมัน) เป็นที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง
Fuselage-(ลำตัว) เป็นลำตัวของเครื่องบิน
Glow Plug-(ที่จุดหัวเทียน) เป็นแหล่งให้ความร้อนแก่หัวเทียน ซึ่งใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์เครื่องบินเล็ก
Horizontal Stabilizer-(แพนหางระดับ) เป็นแผ่นกระดานที่ต่ออยู่ที่ท้ายเครื่องบินโดยต่ออยู่ในแนวระดับ ทำหน้าที่ให้เสถียรภาพแก่เครื่องบิน และมักจะมี Elevator ติดอยู่ที่ขอบหลัง
Kit-(ชุดคิท) เป็นชิ้นส่วนเครื่องบิน ที่ผู้ผลิตเครื่องบินเล็กผลิตใส่กล่อง โดยผู้ซื้อจะต้องนำไปประกอบเพื่อสร้างเป็นเครื่องบินอีกทีหนึ่ง
Landing Gear-(ฐานล้อ) หมายถึงลูกล้อและก้านที่ต่อกับลูกล้อของเครื่องบิน
Leading Edge- (ชายหน้าปีก) หมายถึงขอบหน้าของปีกเครื่องบิน
Motor-(มอเตอร์) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ในเครื่องบินเล็กแบบไฟฟ้า มอเตอร์จะเป็นตัวให้แรงขับแก่เครื่องบิน
NiCd-(ถ่าน NiCd) เป็นถ่านไฟฉายแบบ NickelCadmium ซึ่งเป็นถ่านที่ชาร์ทไฟกลับเข้าไปใหม่ได้เมื่อถ่านหมด มีความสามารถในการจ่ายกระแสสูงๆ มักนำมาใช้เป็นถ่านจ่ายมอเตอร์ในเครื่องบินไฟฟ้า
NiMH-เป็นถ่านชาร์ทแบบ Nickel Metal-Hydride มีความจุ(capacity) สูงแต่จ่ายกระแสได้ต่ำกว่าถ่าน NiCd
Pitch-มี 2 ความหมาย คือ หนึ่งหมายถึงการเงยหัวขึ้น-ลงของเครื่องบิน สอง(ใช้กับใบพัด)หมายถึง การเคลื่อนที่ของอากาศที่ออกจากใบพัดหลังจาก ใบพัดหมุนไป 1 รอบ เช่นใบพัดขนาด 11x7 ใบพัดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้ว และเมื่อใบพัดหมุนไป 1 รอบ อากาศจะเคลื่อนที่ไปจากใบพัด 7 นิ้ว
Power Plant- (ต้นกำลัง) หมายถึงเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ ที่สร้างแรงขับให้แก่เครื่องบิน
Prop- คำย่อ ของ Propeller หรือใบพัด
Propeller-(ใบพัด) เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานจากเครื่องยนต์ ไปสร้างแรงขับให้เครื่องบิน ทำงานโดยการผลักอากาศไปด้านหลัง ทำให้เกิดแรงขับเครื่องบินไปข้างหน้า
Pushrods-เป็นก้านที่ใช้ต่อระหว่างเซอร์โวและตัวควบคุมเช่น Aileron, Elevator, Rudder เป็นต้น
Radio-(วิทยุ) หมายถึงวิทยุบังคับ
Radio Transmitter -(เครื่องส่ง) หมายถึงวิทยุตัวส่งที่ผู้ควบคุมใช้ควบคุมเครื่องบิน
Receiver Battery -(ถ่าน) สำหรับตัวรับ
Receiver-(เครื่องรับ) หมายถึงวิทยุตัวรับที่แปลงสัญญานจากเครื่องส่งไปยังเซอร์โว
Retractable (landing gear)-เป็นฐานล้อแบบพับเก็บได้ มักใส่ใว้ในเครื่องบินแบบสเกล
Roll-(การม้วน) เป็นการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งของเครื่องบิน โดยปีกจะหมุนรอบลำตัว เกิดจากการควบคุม Aileron และมักจะใช้ในการเลี้ยวเครื่องบิน
RPM- หมายถึงรอบต่อนาที เช่นเครื่องยนต์หมุน 12000 รอบต่อนาที
RTC-(Ready-to-Cover หรือ"พร้อมหุ้ม") หมายถึงเครื่องบินที่ผู้ผลิตประกอบมาเกือบสำเร็จ โดยที่ผู้ซื้อนำมาหุ้มพลาสติกฟิลม์
RTF- (Ready-to-Fly หรือ"พร้อมบิน") หมายถึงเครื่องบินที่ผู้ผลิตประกอบมาสำเร็จ ผู้ซื้อนำมาประกอบอีกเล็กน้อยก็พร้อมบิน
Rudder- หมายถึงแผ่นกระดานควบคุม ที่ติดอยู่ที่ขอบปีกหลังของแพนหางดิ่ง ทำหน้าที่หันซ้าย-ขวา หรือแก้อาการไถลซ้าย-ขวา
Scale-มี 2 ความหมาย คือหนึ่งอัตราส่วน ของเครื่องบินจำลองต่อเครื่องบินจริง เช่น 1/5 หมายถึงเครื่องบินจริงจะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องบินจำลองนี้ 5 เท่า สองหมายถึงเครื่องบินที่ย่อส่วนจากเครื่องบินตามสัดส่วนจริงทุกประการ
Servo-(เซอร์โว) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญานควบคุมจากตัวรับเพื่อไปควบคุมอุปกรณ์บังคับการบิน เช่น บังคับ Aileron เพื่อเลี้ยว เป็นต้น
Span-หมายถึง Wing Span
Stab-คำย่อของ Stabilizer หมายถึงหางเครื่องบิน
Stabilizer-(หาง) หมายถึงหางเครื่องบิน ดู Horizontal Stabilizer, Vertical Stabilizer
Tail-(หาง) หมายถึงหางเครื่องบินเช่นกัน
Taildragger (gear) -(ล้อหาง)เป็นล้อหางของเครื่องบินแบบ 2 ล้อ
Trailing Edge -(ชายขอบปีกหลัง) หมายถึงขอบด้านหลังของปีก
Tricycle (Landing) Gear- หมายถึงเครื่องบินแบบที่มี 3 ล้อใหญ่ โดยล้อหน้าจะอยู่ที่หัวเครื่องบิน และ 2 ล้อหลังจะอยู่ใต้ปีกเครื่องบิน
Trim-(ปรับทริม) หมายถึงการปรับตั้งส่วนควบคุมให้เข้าที่ เช่นเครื่องบินใหม่บินแล้วกินขวา ก็ต้องปรับทริม Aileron ให้ไปทางซ้ายเพื่อให้เครื่องบิน บินตรงทาง
Two-Stroke Engine -(เครื่องยนต์ 2 จังหวะ) เป็นเครื่องยนต์ที่การจุดระเบิดหนึ่งครั้งใช้ 2 จังหวะ ให้กำลังมากกว่าเครื่องแบบ 4 จังหวะในความจุที่เท่ากัน เป็นเครื่องยนต์ที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครื่องบินเล็ก
Vertical Stabilizer -หมายถึงแพนหางแนวดิ่ง มักจะมี Rudder ติดอยู่ที่ขอบหลัง ทำหน้าที่ให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในแนวระดับ คือให้เครื่องบินบินตรง ไปไถลไปทางซ้ายหรือทางขวา
Wing Area -(พื้นที่ปีก) หมายถึงพื้นที่ปีกในแนว 2 มิติ เช่นเครื่องบินมีปีก กว้าง 10 ซม. ยาว 100 ซม. จะมีพื้นที่ปีกเท่ากับ 1000 ซม.^2
Wing Chord -หมายถึงความยาวจากชายหน้าปีกถึงชายหลังปีก
Wing Root -หมายถึงส่วนของปีกที่ติดกับลำตัว
Wingspan-(กางปีก)คือความยาวปีกจากปลายขอบปีกด้านหนึ่งถึงขอบนอกปีกอีกด้านหนึ่ง (Tip-to-Tip)
Wing Tip- (ขอบนอกปีก) คือระยะที่ไกลที่สุดของปีกจากลำตัว
Yaw-(การหัน) คือการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งของเครื่องบิน โดยการหันซ้าย-ขวา ซึ่งสามารถควบคุมได้จาก Rudder (การ YAW จะทำให้เครื่องบินหันข้างไปขางได้ข้างหนึ่ง(Skid หรือ Slip) Rudder จะถูกใช้เพื่อแก้อาการดังกล่าว
ที่มา http://www.geocities.com/thaiflyingm...efinition.html
Bookmarks