อยากถามผู้รู้ครับว่า นำมันเครื่องของเหมียวน้อยของพวกเรา เติมนำมันเครื่องเบอร์ 10W30 ใช่ไหมครับ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนมาเป็น 10W40 จะได้ไหมครับเพราะบ้านเราเริ่มเข้าน่าร้อนแล้ว
ปล.ของผม PLUS 4D Manual
อยากถามผู้รู้ครับว่า นำมันเครื่องของเหมียวน้อยของพวกเรา เติมนำมันเครื่องเบอร์ 10W30 ใช่ไหมครับ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนมาเป็น 10W40 จะได้ไหมครับเพราะบ้านเราเริ่มเข้าน่าร้อนแล้ว
ปล.ของผม PLUS 4D Manual
มารอเก็บข้อมูลด้วยคน
10 w30ดีกว่าคับ มันใส กว่าคับ
เลขข้างหลัง ไม่น่าสนเท่าข้างหน้าครับ
0w40 , 5w40 , 10w40 , 20w40
เลขหน้ายิ่งมากยิ่งหนืด เหมาะกะเครื่องที่เริ่มเก่า
เลขยิ่งน้อยยิ่งใส ยิ่งเข้าใกล้เกรดสังเคราะห์ครับ
ใช้เลขตัวหน้าตามคู่มือ ไม่แน่ใจว่า 15 รึเปล่า พอแล้วครับ ใสเกินไปหมดเร็วอีก เปลือง
ส่วนตัวหลังที่ถามตามชอบใจเลย
เลขหน้า...จะหมายถึงค่าของอุณหภูมิ..ของแต่ละพื้นที่มากกว่าครับ
สำหรับบ้านเราไม่ต้องสนใจ..เพราะไม่มีถึงจุดเยือกเข็ง...หรือติดลบ
อยู่แล้ว...ใช้เลขหน้าอะไรก็ได้...เลขหลังคือค่าความหนืด..ถ้ารถใหม่เครื่องยังฟิตอยู่..ใช้
เบอร์ 30 ดีกว่า..ใสไปได้ทุกชิ้นส่วนของเคื่องยนต์..เบอร์ 40 ใช้กับ
รถที่ใช้มาพอสมควร ... เบอร์ 50 ใช้กับรถเครื่องหลวมครับ..เพราะมีความ
หนึดสูง ... อ้อ..ถ้าให้ดีดูมาตรฐานด้วย ... คือ Cf4 , Ch4 , Ci4 พยายาม
เลือกตัวที่เป็นค่าใหม่สุด...คือ Ci4 จะเป็นมาครฐานที่ใหม่สุดครับ
credit club4g ครับ
การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด แบบนี้จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย พูดถึง
มาตรฐาน "SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา (Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่อง
แบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่
แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น
น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18
องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบ
มากๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถ
คงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)
ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม (Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิต
สามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้นๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายใน
การใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40
หรือ 15W-50 แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้น แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของ
เครื่องยนต์แต่ละประเภท ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials) ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยก
น้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอก
มาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบ็นซินได้เทียบเท่า
เกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50
การกำหนดมาตราฐานของน้ำมันเครื่องตามสภาพการใช้งานนั้น สามารถแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเครื่องโดยอ้างอิงสถาบันใหญ่ได้หลายสถาบันเช่น
-สถาบัน "API" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา
-สถาบัน "ACEA" (เดิมเรียก CCMC) เกิดจากการรวมตัวของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรป
-สถาบัน "JASO" เกิดจากการรวมตัวของสถาบันกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าแต่เดิมสถาบัน API ซึ่งเคยมีบทบาทมากในอดีต และเป็นสถาบันที่
กลุมผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกยอมรับ ปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่นก็ได้มีการออกมาตรฐานขึ้นมาเป็นของตนเองเช่นกัน
คำว่า "API" ย่อมาจาก "American Petroleum Institute" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกาซึ่งจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นตามสภาพการใช้งานเป็นสองประเภท
ใหญ่ ๆ ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือ
-"API"ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงใช้สัญลักษณ์ "S" (Service Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, และ SJ
-"API"ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF, CF-2, CF-4, และ CG-4
เรามาดูน้ำมันเครื่งที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงกันก่อนจะใช้สัญลักษณ์ "S" และตามด้วยสัญลักษณ์แทนน้ำมันเกรดต่าง ๆ ที่แบ่งได้ตามเกรดดังต่อไปนี้
-SA สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ
-SB สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย และสารป้องกันการกัดกร่อนไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่
-SC สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967 โดยมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย เช่น มีสารควบคุมการเกิดคราบเขม่า
-SD สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 โดยมีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC
-SE สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC และยังสามารถใช้แทน SD และ SC
ได้ดีกว่าอีกด้วย
-SF สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988 มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพสามารถจะทนความร้อนสูงกว่า SE และยังมีสารชำระล้างคราบ
เขม่าได้ดีขึ้น
-SG เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ.1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน SF โดยเฉพาะมีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม
สารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน และสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น
-SH เริ่มประกาศใช้เมื่อปี คศ.1994 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วมีระบบใหม่ ๆ ในเครื่องยนต์ที่ถูกคิดค้นนำเข้ามาใช้ เช่น
ระบบ Twin Cam, Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing และยังมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสีย (Catalytic Convertor) เพิ่มขึ้น
-SJ เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ.1997 มีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SH แต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่ามีค่าการระเหย
ตัว (Lower Volatility) ต่ำกว่าทำให้ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลงและมีค่าฟอสฟอรัส (Phosphorous) ที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifications) และตามสัด้วยสัญลักษณ์ที่แทนด้วยน้ำมันเกรดต่าง ๆ โดยจะแบ่งตามลักษณะเครื่อง
ยนต์ที่ใช้งานแตกต่างกัน
-CA สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้งานเบา เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950 มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน
สารป้องกันคราบเขม่าไปเกาะติดบริเวณลูกสูบผนังลูกสูบและแหวนน้ำมัน
-CB สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา งานเบาปานกลาง มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 มีคุณภาพสูงกว่า CA โดยสารคุณภาพดีกว่า CA
-CC สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่า
มีสารป้องกันสนิมและกัดกร่อน ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม
-CD สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1955 มีคุณภาพสูงกว่า CC
-CD-II สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1988 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
-CE สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1983 มีคุณภาพสูงกว่า CD ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่าง
ดีเยี่ยม
-CF เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา (Mono Grade) เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิด
ไม่ว่าจะใช้ งานหนักหรือเบา สามารถใช้แทนในมาตรฐานที่รอง ๆ ลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่าอีกด้วย
-CF-2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุนใหม่ 2 จังหวะเริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1994 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
-CF-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1990 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม
สามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม -CG-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เริ่มประกาศใชปี 1996 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม
มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ACEA ย่อมาจาก The Association des Constructeurs Europeens d'Automobile หรือเป็นทางการว่า European
Automobile Manufarturer' Association สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH LEYLAND, BMW, DAF,
DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT, VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO ได้มีการกำหนด
มาตรฐานโดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน CCMC ไปเนื่องจาก ACEA มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด
-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline (Petron) Engines)
A 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินทั่วไป
A 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
A 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินในปัจจุบัน
-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (Light Duty Diesel Engines)
B 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไป
B 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
B 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในปัจจุบัน
-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (Heavy Duty Diesel Engines)
E 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ทั่วไป
E 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
E 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน
มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเเป็นกลุ่มที่มีบทบาท
มากขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาเรียกรวมเป็นมาตรฐาน ISO โดยเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
-เครื่องยนต์เบนซิน
JSE (ISO-L-EJGE) เทียบพอๆ กับมาตรฐาน API SE หรือ CCMC G1 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้น
JSG (ISO-L-EJDD) เทียบกับมาตรรฐานสูงกว่า API SG หรือ CCMC G4 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้นไปอีก
-เครื่องยนต์ดีเซล
JASO CC (ISO -L-EJDC) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CC เป็นอย่างต่ำ
JASO CD (ISO -L-EJDD) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 100 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CD เป็นอย่างต่ำ
มาตรฐานน้ำมันเครื่องแห่งกองทัพสหรัฐ
มาตรฐาน MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดขึ้นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน มีรายละเอียดดังนี้
MIL-L-2104 A ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี 1954 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกำมะถันต่ำและเครื่องยนต์เบ็นซินทั่ว ๆ ไปเปรียบได้กับมาตรฐาน API CA/SB ปัจจุบัน
ยกเลิกไปแล้ว
MIL-L-2104 B กำหนดใช้เมื่อปี 1964 สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทีมีสารเพิ่มคุณภาพด้านการป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดชั่น และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน
API CC/SC
MIL-L-2104 C กำหนดใช้เมื่อปี 1970 สำหรับน้ำมันหล่ดลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมาก ๆ และการใช้งานหนัก มีสารป้องกันคราบเขม่า ป้องกันการสึกหรอ
และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 D กำหนดใช้เมื่อปี 1983 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 E กำหนดใช้เมื่อปี 1988 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CF/SG
มาตรฐาน MIL-L-46152 เริ่มกำหนดใช้เมื่อปี 1970 เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน
MIL-L-46152 A เริ่มใช้เมื่อปี 1980 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซินทั่วไป เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CC
MIL-L-46152 B กำหนดใช้เมื่อปี1981เป็นการรวมมาตรฐาน MIL-L-2104 Bเทียบได้กับมาตรฐาน API SF/CC
MIL-L-46152 C กำหนดใช้เมื่อปี 1987 โดยปรับปรุงจากมาตรฐาน MIL-L-46152 B เพราะมีการเปลียนแปลงวิธีการวัดจุดไหลเทใหม่
MIL-L-46152 D เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงมาจาก MIL-L-46152 C เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์ และมีคุณสมบัติป้องกันการเกิด
อ๊อกซิเดนชั่นดีขึ้นกว่าเดิม เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CD
MIL-L-46152 E มาตรฐานล่าสุด เทียบได้กับมาตรฐาน API SG/CE
สำหรับมาตรฐานน้ำมันเครื่องที่รู้จัก ก็คือมาตรฐาน "API" และ "SAE" ซึ่งน้ำมันเครื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะแจ้งมาคู่กันบางยี่ห้อ จะบอกค่าดัชนีความหนืดของ
"SAE" อย่างเช่น 5W-30, 15W-40 เป็นต้นและจะมีค่ามาตรฐานที่บอกสมรรถนะของน้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นเป็น มาตรฐาน "API" เช่น SE, SF, SG, CC, CD,
CE เป็นต้น
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีๆคร้าบ พร้อมนำไปปฏิบัติครับ
ขอบคุณนะครับงั้นก็สรุปได้จากตัวหน้าใช่ไหมครับ
10W30
10Wเลขหน้าคือความหนืดที่สามารถทำการหล่อลื่นได้รวดเร็วในขณะเรื่องเย็นก่อนการสตาร์เครื่อง เลขยิ่งน้อยยิ่งป้องกันการสึกหลอที่ไวขึ้นในเลข10wนี้ไม่ใช่เลขค่าของอุณหภูมิ เพราะเลขนี้ อุณหภูมิอยู่ที่-20องศา แต่โดยมากคนเข้าใจผิดกันมากเพราะเจ้า15W มันดันไปอยู่ที่-15องศาพอดีนี่นะซิเลยนึกว่าเป็นค่าของอุณภูมิครับเลขหลังมันเป็นค่าความหนืดที่เหมาะสมหลังจากเครื่องทำงานที่มีความร้อนคงที่ครับเลขยิ่งมากการหล่อลื่นในช่วงเวลานี้ยิ่งดี เคยสังเกตุกันหรือเปล่า เวลาเราเอาน้ำมันมาทอดปลาตอนเท่ลงกระทะมันมีความหนืดไหม แต่พอโดยความร้อนเข้าไปเป็นไงครับมันใสยังกับน้ำเลย
ดังนั้นน้ำมันเครื่องก็เช่นกันครับสุปเลยละกัน 10W40ดีกว่าครับ
เก็บข้อมูล อิอิ ขอบคุณครับ
เท่าที่ดู สังเกตง่ายๆนะครับ
พวกสังเคราะห์ตัวหน้าเป็น 0w
กึ่งสังเคราะห์จะประมาณ 5-10w
ธรรมดาประมาณ 10-20w
เวลาไปห้างลองเดินดูที่ชั้นวางครับ สรุปคือยิ่งเลขต่ำยิ่งใส เลขมากยิ่งข้นหนืด ง่ายๆครับ
ก็ใช้ตามคู่มือที่ให้มาสิครับ ไม่ต้องไปเผื่อมาก เพราะวิศวกรเค้าคำนวณมาให้แล้ว
น้ำมันแบ่งได้3จำพวก
1.น้ำมันจากพืชและสัตว์ แต่ใช้กับเครื่องยนต์ไม่ได้ พูดถึงในส่วนน้ำมันเครื่องนะครับ
2.น้ำมันแร่
3.น้ำมันสังเคราะห์
75%ใช้น้ำมันแร่ในการหล่อลื่นเครื่องยนต์
25%ใช้น้ำมันสังเคราะห์ ที่ต้องการการดูแลเครื่องยนต์สูง
พวกสังเคราะห์ตัวหน้าเป็น 0w,5w
กึ่งสังเคราะห์จะประมาณ 10-15w
ธรรมดาประมาณ 15-20w
กึ่งสังเคราะห์จะประมาณ 10-15wหรือน้ำมันแร่ ซึ่งคุณสมบัติด่อยกว่าพวกน้ำมันสังเคราะห์5เท่ารวมทั้งราคาต่างกัน5เท่าด้วยเช่นกัน
ข้างหน้าเป็นค่าที่ทนได้ นั่นหมายถึง อุณหภูมิของเครื่องยนต์ครับ
ส่วน ข้างหลังคือความใส หรือ หนืดนั่นเอง
ผมไม่แน่ใจนะครับ กับคุณWinmark ว่าข้างหน้ามันคือ ความหนึด แล้วข้างหลังมันคืออะไรละครับ
เครื่องคอมมอลเรลต้องการน้ำมันเครื่องที่มี ฟีล์มน้ำมันเครื่องบางมากและน้ำมันต้องใสมากๆ อย่าง 10w30 เป็นอย่างน้อยนะครับ 10w40 ฟีล์มน้ำมัน มันจะหนาไปหน่อย (หมายถึงความหนืดน่ะครับ) ไม่ดีต่อเครื่องยนต์คอมมอลเรล มีโอกาศชารปละลายง่ายๆครับ
คุณ Winmark[/COLOR][/COLOR] ครับ..ตัวเลขหน้าผมไม่ได้หมายถึง..ค่าของอุณหภูมิครับ ... จากข้อมูลที่คุณ mckyparty ให้มา ... เลขหน้าก่อน W คือ..ค่าคงความข้นใสที่อุณหภูมิ...ติดลบครับตัวเลขหลัง...ต่อท้าย...W คือค่าความหนืดที่ใช้ครับ10
ดังนั้นบ้านเราไม่มีอุณหภูมิ..ติดลบ..อยู่แล้วเลขหน้าจะใช้อะไรก็ได้อยู่แล้วครับ...จะเลือกที่ด้านหลังมากกว่า
น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบ
มากๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น มาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)
คุณ Winmark ครับ..ตัวเลขหน้าผมไม่ได้หมายถึง..ค่าของอุณหภูมิครั บ ... จากข้อมูลที่คุณ mckyparty ให้มา ... เลขหน้าก่อน W คือ..ค่าคงความข้นใสที่อุณหภูมิ...ติดลบครับตัวเลขหล ัง...ต่อท้าย...W คือค่าความหนืดที่ใช้ครับอ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Feel Good
เลขหน้า...จะหมายถึงค่าของอุณหภูมิ..ของแต่ละพื้นที่ มากกว่าครับ
สำหรับบ้านเราไม่ต้องสนใจ..เพราะไม่มีถึงจุดเยือกเข็ ง...หรือติดลบ
อยู่แล้ว...ใช้เลขหน้าอะไรก็ได้...เลขหลังคือค่าความ หนืด..ถ้ารถใหม่เครื่องยังฟิตอยู่..ใช้
เบอร์ 30 ดีกว่า..ใสไปได้ทุกชิ้นส่วนของเคื่องยนต์..เบอร์ 40 ใช้กับ
รถที่ใช้มาพอสมควร ... เบอร์ 50 ใช้กับรถเครื่องหลวมครับ..เพราะมีความ
หนึดสูง ... อ้อ..ถ้าให้ดีดูมาตรฐานด้วย ... คือ Cf4 , Ch4 , Ci4 พยายาม
เลือกตัวที่เป็นค่าใหม่สุด...คือ Ci4 จะเป็นมาครฐานที่ใหม่สุดครับ
10W30
10Wเลขหน้าคือความหนืดที่สามารถทำการหล่อลื่นได้รวดเ ร็วในขณะเรื่องเย็นก่อนการสตาร์เครื่อง เลขยิ่งน้อยยิ่งป้องกันการสึกหลอที่ไวขึ้นในเลข10wนี ้ไม่ใช่เลขค่าของอุณหภูมิ เพราะเลขนี้ อุณหภูมิอยู่ที่-20องศา แต่โดยมากคนเข้าใจผิดกันมากเพราะเจ้า15W มันดันไปอยู่ที่-15องศาพอดีนี่นะซิเลยนึกว่าเป็นค่าของอุณภูมิครับเลข หลังมันเป็นค่าความหนืดที่เหมาะสมหลังจากเครื่องทำงา นที่มีความร้อนคงที่ครับเลขยิ่งมากการหล่อลื่นในช่วง เวลานี้ยิ่งดี เคยสังเกตุกันหรือเปล่า เวลาเราเอาน้ำมันมาทอดปลาตอนเท่ลงกระทะมันมีความหนืด ไหม แต่พอโดยความร้อนเข้าไปเป็นไงครับมันใสยังกับน้ำเลย
ดังนั้นน้ำมันเครื่องก็เช่นกันครับสุปเลยละกัน 10W40ดีกว่าครับ
ดังนั้นบ้านเราไม่มีอุณหภูมิ..ติดลบ..อยู่แล้วเลขหน้ าจะใช้อะไรก็ได้อยู่แล้วครับ...จะเลือกที่ด้านหลังมา กกว่า
credit club4g คุณ mckyparty ครับ
การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด แบบนี้จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้ง ขึ้นมาทีหลังอีกด้วย พูดถึง
มาตรฐาน "SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา (Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่อง
แบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่า ความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่
แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น
น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18
องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบ
มากๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น มาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถ
คงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)
น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบ
มากๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น มาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)
อ่านแล้วเวียนหัวเอง
ผมถามเพื่อนที่ทำบริษัทน้ำมัน เขาบอกว่า ถ้ารถยังใหม่ใช้งานประมาณ ไม่เกิน 150,000 กม.ใช้ 10w 30 ได้ เหมาะสมกับเครื่อง แต่ถ้ารถใช้เกิน 150,000 กม.แล้ว ควรเพิ่มเบอร์จาก 30 เป็น เบอร์ 40 ส่วนตัวหน้า ขึ้นอยู่กับประเภทน้ำมัน เช่น กึ่งสังเคราะห์หรือธรรมดา
ให้ดูตัวหลังไว้ เนื่องจากอิงกับอุณหภูมิบ้านเรา เมืองร้อนครับ ผิดถูกอย่างไร รบกวนผู้รู้จริงช่วยตอบด้วย
ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)
Bookmarks