มีพี่ๆหลายท่านสงสัยกติกาการแข่งรถเลยหามาให้ลองศึกษาครับกันดูครับจะได้ดูรถแข่งได้สนุกยิ่งขึ้น
กติกาเทคนิค รุ่นซุปเปอร์ คอมมอนเรล
SUPER COMMONRAIL
กติกาเทคนิค รุ่น ซุปเปอร์ COMMONRAIL
1. คุณสมบัติรถแข่ง
1.1 ต้องเป็นรถกระบะที่ประกอบในประเทศไทย และเป็นรุ่นที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน หรืออนุญาตให้ตกรุ่นได้ 1 รุ่น สามารถระบุได้ว่าเป็นยี่ห้อใด รุ่นใด
1.2 ต้องเป็นรถกระบะที่สามารถจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย และต้องแสดงสมุดทะเบียนประจำรถในการตรวจสภาพ (ใช้สำเนาได้)
1.3 ต้องเป็นเครื่องยนต์ดีเซล COMMONRAIL เท่านั้น
1.4 เป็นรถกระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ ขึ้นไป
1.5 ในความหมายของรถกระบะ จะต้องมีตัวถัง แซสซีส์ และกระบะท้าย
1.6 ต้องเป็นรถกระบะแบบ 2 ประตูมีแค็ป หรือ 4 ประตูก็ได้
2. การปรับแต่งรถ
2.1 นโยบายการปรับแต่งรถกระบะรุ่นนี้ เพื่อให้สมรรถนะสูงกว่ารถที่ใช้งานปกติ และต้องพร้อมด้วยความปลอดภัย และ ควบคุมมลพิษ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
2.2 การปรับแต่งใด ๆ ที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยกติกาปัจจุบันให้ถือว่าสามารถทำได้
2.3 คณะกรรมการจัดการแข่งขัน มีสิทธิปฎิเสธหรือห้ามรถแข่งรายใดๆ ที่ขาดคุณสมบัติหรือไม่ถูกต้องตามกติกาเทคนิค และกติกาเพื่อความปลอดภัยที่กำหนดไว้ ลงทำการซ้อม และ/หรือทำการแข่งขัน
3. น้ำหนัก
3.1 น้ำหนักรถ รวมน้ำหนักของคนขับ และอุปกรณ์การแข่งขันตลอดการแข่งขันหรือการจับเวลารอบคัดเลือก จะต้องไม่ต่ำกว่า 1,620 กิโลกรัม
3.2 อนุญาตให้ถ่วงน้ำหนักเพิ่ม เพื่อให้มีน้ำหนักต่ำสุดตามที่กำหนดไว้ แต่วัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุรูปบล็อค โดยต้องยึดตัวน๊อตกับพื้นส่วนห้องโดยสารเป็นอย่างดี (แน่นหนาและมั่นคง)
4. เครื่องยนต์
4.1 ต้องเป็นยี่ห้อ และรุ่นเดียวกันกับตัวถังที่แสดงในสมุดคู่มือหรือสมุดจดทะเบียนใช้งานถูกต้องตามกฎหมาย
4.2 ต้องเป็นเครื่องยนต์ดีเซลระบบ COMMONRAIL เท่านั้น และต้องมีปริมาตรความจุเครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 2,550 ซีซี
4.3 สามารถเปลี่ยนเทอร์โบได้ แต่ขนาดของรูอากาศเข้าเทอร์โบต้องมีขนาดไม่เกิน 44 มม. (ช่องของรูอากาศเข้าเทอร์โบจะต้องมีรูเดียวเท่านั้น) ตามรูป 4.3.2
4.4ไม่อนุญาตให้ใช้เทอร์โบ 2 ชั้น หรือที่มีรูสล๊อตและรูผ่านด้านข้างของเทอร์โบ ตามรูป 4.4.1 และ 4.4.2
4.5 สามารถเพิ่มกล่องอิเลคโทรนิค เพื่อเพิ่มอัตราการฉีดน้ำมันเพิ่มได้
4.6 ห้ามระบบ DRY SUMP
4.7 สามารถติดตั้ง INTER COOLER ได้ หากรุ่นนั้นๆไม่ได้ติดตั้งมาให้หรือหากติดตั้งมาแล้วสามารถเลือกตำแหน่งติดตั้ง INTER COOLER ได้โดยจะอยู่ที่ใต้ฝากระโปรงหน้าหรือด้านหน้าหม้อน้ำหน้ารถก็ได้ และสามารถเปลี่ยนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ ห้ามเพิ่มจำนวน
4.8 สามารถเปลี่ยนขนาดของหม้อน้ำได้ แต่จุดยึดของหม้อน้ำต้องเป็นจุดยึดเดิม และต้องอยู่ในตำแหน่งติดตั้งเดิม ห้ามเพิ่มจำนวนหม้อน้ำ
4.9 ติดตั้งพัดลมไฟฟ้าหลังหม้อน้ำได้ไม่จำกัดจำนวน
4.10 ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ทุกชิ้นต้องเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆ และต้องหาซื้อได้ตามศูนย์บริการของรถยี่ห้อนั้นๆ ห้ามเปลี่ยนแปลง
4.11 ชุดสายไฟของเครื่องยนต์ต้องเป็นชุดที่ติดตั้งมาจากโรงงานสำหรับรถรุ่นนั้นๆ
4.12 ปริมาณไอเสียต้องอยู่ในมาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมายโดยจะมีการวัดปริมาณไอเสีย หลังการจับเวลารอบคัดเลือก และหลังการแข่งขันสิ้นสุดลง
วิธีการตรวจวัดควันดำ
1. การเตรียมรถยนต์ก่อนการตรวจวัด
1.1 จอดรถอยู่กับที่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง
1.2 ปิดระบบเครื่องปรับอากาศ และระบบเบรกไอเสีย (ถ้ามี)
1.3 เดินเครื่องยนต์ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งานปกติ
1.4 ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องยนต์ ถ้าพบอาการที่ทำให้เครื่องยนต์เสียหายหรือไม่ปลอดภัย ให้ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เสียก่อน
2. เครื่องมือตรวจวัดที่ถูกต้องจะต้องทำเครื่องสะอาดและปรับแต่งเครื่องมือตามคำแนะนำของผู้ผลิต
3. วิธีการตรวจวัดควันดำ ให้เร่งเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วจนสุดคันเร่ง พร้อมตรวจวัดควันดำขณะเริ่มเร่ง ให้ทำการวัดสองครั้ง ซึ่งค่าควันดำจะต้องแตกต่างกัน น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยให้ใช้ค่าสูงสุดที่วัดได้เป็นเกณฑ์ตัดสิน
4. มาตรฐานค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ ขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ (จอดอยู่กับที่) กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง) หรือไม่เกินร้อยละ 45 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง)
5. ถังน้ำมันและน้ำมัน
5.1 ห้ามเปลี่ยนตำแหน่งและขนาดของถังน้ำมัน
5.2 ต้องใช้น้ำมันดีเซลที่มีจำหน่ายทั่วไปเท่านั้น
6. ล้อและยาง
6.1 น้ำหนักของล้อเปล่า แต่ละล้อต้องไม่ต่ำกว่า 4.5 กก.
6.2 ยางที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเป็นยางประเภทเรเดียลที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย เท่านั้นและมีจำหน่ายทั่วไป โดยยางจะต้องมีตัวหนังสือกำกับชัดเจนว่า MADE IN THAILAND อยู่บนแก้มยางที่ใช้
6.3 ยางที่ใช้ในการแข่งขัน จะต้องเป็นขนาด 17 เท่านั้น โดยไม่จำกัดขนาดของยาง และขนาดของล้อ
6.4 อนุญาตให้ใช้ยางจำนวนไม่เกิน 5 เส้นต่อสนาม สำหรับการจับเวลารอบคัดเลือก จนจบการแข่งขัน ทั้งในสนามแห้งและสนามเปียก และจะต้องนำยางทั้งหมดที่จะ ใช้ไปทำการ MARK ยางก่อนการจับเวลารอบคัดเลือกเป็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
6.5 อนุญาตให้ใช้ยางจำนวน 8 เส้น สำหรับการจับเวลารอบคัดเลือก 1 หรือ 2 ครั้ง และการแข่งขัน 2 สนามในสัปดาห์เดียวกัน (ไม่อนุญาตให้มียางสำรองนอกจาก กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นความผิดพลาดจากผู้ผลิตยาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของนายสนามเท่านั้น) และจะต้องทำการ MARK ยางทั้งหมดก่อนการจับเวลารอบ คัดเลือกเป็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
7. ช่วงล่าง
7.1 ด้านหน้า สามารถเปลี่ยนโช็คและสปริงได้ แต่ต้องมีจุดยึดอยู่ในตำแหน่งเดิม ห้ามเพิ่มจำนวนโช็คอัพและสปริง
7.2 จุดยึดด้านบนของโช็คหน้า สามารถยืดจุดยึดได้ แต่ห้ามผ่าหรือเปิดช่องซุ้มล้อหน้า
7.3 ห้ามเปลี่ยนระบบการทำงานของช่วงล่าง
7.4 สามารถใช้โช็คที่มีซับแท็งค์ได้
7.5 ทอร์ชั่นบาร์ เหล็กกันโคลง เปลี่ยนได้ รถที่ไม่มีเหล็กกันโคลง อนุญาตให้ติดตั้งเพิ่มเติมได้
7.6 ด้านหลัง ต้องรักษาระบบการทำงานช่วงล่างหลังตามแบบมาตรฐานจากโรงงานของรถรุ่นนั้นๆ แต่สามารถเปลี่ยนโช็คอัพ และแหนบได้โดยต้องใช้จุดยึดเดิมเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนแปลง และห้ามเพิ่มจำนวนโช็คอัพด้านหลัง
7.7 จุดยึดด้านบนของโช็คอัพหลัง สามารถยืดจุดยึดได้ แต่ห้ามผ่าหรือเปิดช่องพื้นกระบะ
8. เกียร์
8.1 สามารถใช้เกียร์ต่างรุ่นกันได้ แต่ต้องเป็นเกียร์ที่มีจำหน่ายทั่วไป และต้องมีเกียร์เดินหน้า 5 เกียร์เท่านั้น และต้องมีเกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์ ( ในกรณีที่มี 6 เกียร์ ต้องเลือกให้เหลือการใช้งานได้เพียง 5 เกียร์เท่านั้น )
8.2 อัตราทดเฟืองเกียร์ สามารถเปลี่ยนได้
8.3 ต้องรักษารูปแบบการเปลี่ยนเกียร์ในรูปแบบ H PATTERN ไว้
9. ระบบส่งกำลัง
9.1 ระบบส่งกำลังหลัง ต้องเป็นแบบขับเคลื่อนด้วยเสื้อเพลาแข็งเท่านั้น
9.2 เปลี่ยนอัตราทดเฟืองท้ายได้
9.3 สามารถใส่ LIMITED SLIP ได้
9.4 แผ่นคลัทช์ และ COVER คลัทช์ ฟลายวีล สามารถเปลี่ยนได้
10. ระบบเบรก
10.1 อนุญาตให้เปลี่ยนคาลิปเปอร์หน้าได้ไม่เกิน 4 PORT
10.2 เบรกหลังจากระบบดรัมเบรก สามารถเปลี่ยนเป็นดิสเบรกได้ และคาลิปเปอร์ไม่เกิน 4 PORT
10.3 สามารถใช้ระบบเบรก ABS ได้
11. ระบบไฟ
11.1 อุปกรณ์ไฟส่องสว่าง ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ต้องมีครบถ้วนและทำงานได้ตลอดการแข่งขัน
11.2 ต้องมีสวิทช์ตัดไฟ ( CIRCUIT BREAKER) โดยมีสวิทช์อยู่ภายในรถ และภายนอกรถ ติดตั้งไว้ใต้กระจกบังลมหน้า พร้อมทำเครื่องหมาย (สายฟ้า) ไว้อย่างชัดเจน
12. ตัวถัง
12.1 ตัวถังและรูปทรงของรถ หัวเก๋ง ต้องเป็นรูปทรงเดิม ห้ามถอดออก และห้ามดัดแปลงหรือใช้วัสดุอื่นที่ต่างไปจากโรงงานผู้ผลิต
12.2 สามารถเปลี่ยนวัสดุของฝากระโปรงหน้า , ประตู , แก้มซ้ายขวา , กันชนหน้าได้แต่ต้องเป็นวัสดุที่มีคุณภาพใกล้เคียงวัสดุเดิม
12.3 กระจกบังลมหน้า ต้องเป็นแบบ 2 ชั้น (LAMINATED) เท่านั้น
12.4 ห้ามตัดต่อ CHASSIS ในช่วงระหว่างล้อหน้าถึงล้อหลัง ห้ามเปลี่ยนโครงสร้างของตัวถังที่สำคัญเพื่อการลดน้ำหนัก
12.5 สามารถตัดแต่งขนาดของกระบะบรรทุก และสามารถเปลี่ยนวัสดุได้
12.6 กันชนหลังต้องถอดออก
12.7 ฝาปิดท้ายกระบะสามารถถอดออกได้
12.8 ห้ามผ่าซุ้มล้อหน้า
13. อากาศพลศาสตร์
13.1 ต้องใส่สปอยเลอร์หน้า จะเป็นแบบเสริมใต้กันชนเดิม หรือเป็นแบบเปลี่ยนกันชนพร้อมสปอยเลอร์ก็ได้
13.2 ต้องใส่สปอยเลอร์หลัง ขนาดความยาวทั้งชิ้นต้องไม่เกิน 140 ซม. และกว้างไม่เกิน 25 ซม. ความสูงของสปอยเบอร์หลังต้องไม่เกินแนวหลังคาห้องโดยสาร
13.3 ในกรณีที่ล้อและยางยื่นออกมาเกินจากตัวถังรถ จะต้องทำโป่งคลุมล้อและยางโดยมองจากแนวดิ่ง วัสดุที่ใช้อิสระแต่ต้องมีความคงทนแข็งแรง
14 ท่อไอเสีย
14.1 ไอเสียต้องออกจากท่อด้านท้ายเท่านั้น และห้ามยื่นออกนอกตัวถังเกินกว่า 3 นิ้วในแนวดิ่งจากปลายกระบะ
14.2 ไม่มีการวัดระดับความดังเสียง
15 อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
15.1 SAFETY BELT ต้องเป็นแบบอย่างน้อย 5 จุด หรือจะเป็นแบบ 6 จุดก็ยิ่งดี และ จะต้องมีอายุการใช้งานตามที่กำหนดไว้เท่านั้น
15.2 ต้องมีถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งานได้โดยมีขนาดน้ำยาบรรจุอย่างน้อย 2 กิโลกรัม
15.3 เบาะที่นั่งคนขับ ต้องเป็นแบบที่มีกันกระแทกศรีษะด้านข้างเท่านั้น
15.4 ท่อต่าง ๆ ที่ผ่านบริเวณห้องคนขับ ต้องเป็นชนิดทนไฟ
15.5 รถแข่งทุกคัน ต้องมีโรลบาร์ไม่น้อยกว่า 6 จุด และประตูด้านคนขับต้องมีโรลบาร์ ขวางกันกระแทก
15.6 วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ติดไฟได้ภายในบริเวณห้องคนขับ ต้องถอดออกให้หมด
15.7 รถแข่งทุกคันต้องมีหูลากจูงติดไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยต้องยึดไว้อย่าง แน่นหนาขนาดของหูลากต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กสุดไม่ต่ำกว่า 80 มม. และสูงสุดไม่เกิน 100 มม.
16. อื่น ๆ
16.1 สำหรับการแข่งขัน 1 สนาม จะมีการจับเวลารอบคัดเลือก 1 ครั้ง และต้องมีเวลาต่อรอบอย่างน้อย 2 รอบในการจับเวลารอบคัดเลือก จึงจะใช้เวลาต่อรอบที่ดีที่สุดมาจัดอันดับสตาร์ท
16.2 สำหรับการแข่งขัน 2 สนามในสัปดาห์เดียวกัน ให้มีการจับเวลารอบคัดเลือก 1 ครั้ง และต้องมีเวลาต่อรอบอย่างน้อย 2 รอบในการจับเวลารอบคัดเลือก โดยนำเวลาต่อรอบที่ดีที่สุดมาจัดเป็นอันดับสตาร์ทสำหรับสนาม 1 และให้นำเวลาต่อรอบที่ดีที่สุดอันดับรองลงมา มาจัดเป็นอันดับสตาร์ทสำหรับสนาม 2
ที่มา http://www.supercarthailand.com/news...news4-Raw.html
Bookmarks