เสียงกวนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับระบบเสียงรถยนต์ สามารถแก้ไขได้หากทราบสาเหตุที่แท้จริง
1. เสียงกวนจากสายไฟ
มักเกิดขึ้นโดยตรงจากสายไฟบวกที่ป้อนเข้าเครื่องเสียงการกำจัดเ สียงกวนแบบนี้ ในขั้นแรกให้ถอดสายไฟอื่นๆ ที่ต่ออยู่กับ วิทยุ/เทป ออกให้หมด เช่นสาย ACC ให้เหลือเฉพาะสายไฟตรงที่เข้าเครื่องและสายไฟกราวน์
จากนั้นให้ทดลองเปิดเครื่องเพื่อทดลองฟังว่ามีเสียงรบกวนหรือไม ่ ถ้ายังมีเสียงรบกวนอยู่ ให้นำฟิตเตอร์มาต่อแบบอนุกรมเข้ากับสายไฟตรง เมื่อไม่มีเสียงรบกวนแล้วให้ต่อสาย ACC จากวิทยุไปยังไฟบวก แล้วเปิดเครื่องทดลองฟังอีกครั้ง
2. เสียงกวนจากสายอากาศ
หากพบว่ามีเสียงรบกวนเข้ามาทางเสาอากาศหรือสายอากาศให้ถอดแจ็คส ายอากาศที่ต่ออยู่กับตัวเครื่องออกแล้วทำหัวแจ็คใหม่ มีคาปาซิเตอร์ ขนาดค่าความจุ 50 pF (ปิโคฟารัด ) มาต่ออนุกรมระหว่างแกนในของแจ็คสายอากาศ กับขอบรอบนอกของแจ็คสายอากาศ เพื่อตรวจสอบเสียงรบกวน
ขั้นที่ 1 ถอดแจ็คสายอากาศออก ใช้มัลติมิเตอร์-โอห์มมิเตอร์ วัดเปรียบเทียบระหว่างเส้นแกนในของสายอากาศกับตัวถังรถยนต์ หากสายอากาศเส้นนั้นมีสภาพดี ค่าที่วัดได้ต้องมีค่าเป็นอินฟินิตี้ หรือ วัดค่าไม่ได้ และหากมีค่าโอห์มปรากฎอยู่ แสดงว่าสายอากาศเส้นนั้นเกิดการรัดวงจร ให้ทำการแก้ไข
ขั้นที่ 2 ถ้ายังไม่หายให้ตรวจสอบขอบหนีบของแจ็ค สายอากาศว่า แนบสนิทหรือไม่ เพราะหลายครั้งที่แผ่นบางๆ นี้ไม่แนบสนิทกับสายชีล ทำให้เกิดเสียงกวนขึ้น
เสียงกวนจากการจุดระเบิด
อาจเกิดขึ้นในกรณีของเครื่องยนต์ระบบเก่า ที่ใช้คอยล์ได้ยินเสียงแต๊กๆ โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามรอบเครื่องยนต์ การลดเสียงรบกวนนี้ทำได้โดยติดตั้งคาปาซิเตอร์ขจัดเสียงกวนเข้า ไประหว่างขดลวดปฐมภูมิของคอยส์กับกราวน์ และติดตั้งรีซิสเตอร์เข้าไปบริเวณไฮเทนชัน คอร์ด และใช้คาปาซิเตอร์ ไมโคฟารัด คร่อมระหว่างไฟบวกทางด้านโลว์เทนชันกับกราวน์
ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรติดตั้งคาปาซิเตอร์เข้าไปที่ขั้วลบของคอยส์จุดระเบิด เพราะจะเป็นการเพิ่มค่าการเก็บประจุ เนื่องจากบริเวณนี้มีคาปาซิเตอร์อยุ่ภายในแล้ว อาจทำให้ระบบจุดระเบิดผิดพลาดได้
เสียงรบกวนจากไดชาร์จ
เสียงรบกวนจากไดชาร์จ หรือ อัลติเนเตอร์ จะมีลักษณะเป็นเสียงหวีดหวิว และจะมีความถี่สูงขึ้นเมื่อรอบเครื่องยนต์สูงขึ้น การขจัดเสียงรบกวนสามารถทำได้โดยการต่อคาปาซิเตอร์ 0.5 ไมโครฟารัดเข้าไประหว่างขั้ว A ของไดชาร์จกับ กราวด์ ถ้ายังไม่หายให้ติดตั้งคาปาซิเตอร์แบบขจัดเสียงกวนเข้าไปที่ขั้ ว N อีกชุดหนึ่ง (มีลักษณะ เหมือนลูกอมเม็ดสีเขียว)
ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรต่อคาปาซิเตอร์เข้าไปที่ขั้ว F ของไดชาร์จ เพราะจะมีผลในการเพิ่มค่าตัวเก็บประจุภายในไดชาร์จ
การแก้ปัญหาเครื่องเสียงรถยนต์เบื้องต้น
แนวทางการแก้ไขปัญหาที่สามารถกระทำได้ในเบื้องต้นสำหรับการดูแล ระบบเครื่องเสียงรถยนต์
1. เปิดเครื่องแล้วระบบไม่ทำงาน
ตรวจสอบ
จุดต่อไฟ 12 volt ที่ป้อนเข้า Power Amp , ไฟกราวน์ และ ไฟรีโมทคอนโทรล โดยใช้ Volt Meter
จุดต่อขั้วบวกที่ Battery
ฟิวส์ที่อยู่ในสายหลัก ถ้าหากฟิวส์ขาดให้เปลี่ยนใหม่ แต่ถ้ายังขาดอีกให้ตรวจสอบฟิวส์กับกระแสทำงาน หรืออาจมีความเสียหายเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งในระบบ
2. ระบบทำงานแต่ไม่มีเสียง
ตรวจสอบ
สายสัญญาณ RCA ว่าต่อเข้าจุด input/output ถูกต้องหรือไม่หรือภายในสายสัญญาณอาจขาด
ทดสอบลำโพงทุกตัวด้วย Volt Meter หรือทดลองนำไปต่อกับเครื่องเสียงบ้าน
3. ไม่มีเสียงเมื่อเปิดวิทยุ
ตรวจสอบ
หัวสายอากาศต่อเข้ากับตัววิทยุหรือไม่ บางทีอาจหลุด หรือหลวม
ปุ่มเลือกฟังวิทยุ ถูกเลือกไว้หรือไม่
4. ไม่มีเสียงเมื่อเล่นเทปหรือบางครั้งลำโพงดังแค่ข้างเดียว
ตรวจสอบ
ล้างหัวเทปให้สะอาดด้วยอุปกรณ์ล้างหัวเทป
5. ไม่มีเสียงจากลำโพงข้างใดข้างหนึ่ง
ตรวจสอบ
ปุ่มปรับสมดุลซ้าย/ขวา อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางหรือไม่
การเชื่อมต่อสายลำโพง
6. ได้ยินเสียงเบามากทั้งวิทยุและเทป
ตรวจสอบ
ปุ่มปรับ เฟดเดอร์ อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมหรือไม่
ปุ่มปรับเกนขยายที่เพาเวอร์แอมป์ ตั้งไว้เหมาะสมหรือไม่
7. เสียงที่ได้ดีแล้ว แต่ค่อนข้างจัดจ้านเกินไป
ตรวจสอบ
ปุ่มปรับเกนขยาย อาจถูกตั้งไว้มากเกินไป ให้ปรับตั้งเกนการขยายให้เหมาะสมอีกครั้ง
8. เพาเวอร์แอมป์ติดๆดับๆ สลับกัน
ตรวจสอบ
ขั้วต่อสายไฟหลักเข้ากับ แบตเตอรี่ แน่นหนาหรือไม่
ระดับแรงดันไฟของแบตเตอรี่ หากต่ำเกินไป ให้ประจุไฟใหม่ หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
สายไฟกราวน์จากเพาเวอร์แอมป์กับจุดเชื่อมกราวน์หลวมหรือไม่
9. มีเสียววี๊ดจากไดชาร์จขณะเร่งเครื่องยนต์ และเสียงเปลี่ยนไปตามรอบเครื่องยนต์ ระดับความดังของเสียงเพิ่มขึ้นเมื่อเร่งเสียงดังขึ้น
ตรวจสอบ
เดินสายไฟหลักของเครื่องเล่นตรงไปยังแบตเตอรี่
จุดเชื่อมสายไฟหลักเรียบร้อยดีหรือไม่
จุดต่อลงไฟกราวน์ ต้องให้แน่ใจว่าไฟกราวน์ลงถึงเนื้อตัวถังอย่างสมบูรณ์ หรือทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวอีกครั้งจนเห็นเนื้อเหล็ก
10. มีเสียงวี๊ดที่เปลี่ยนไปตามความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แต่เสียงรบกวนดังคงที่
ตรวจสอบ
วงจรกราวน์ โดยปิดเครื่องและถอดจุดกราวน์ของอุปกรณ์ต่างๆออก ยกเว้นกราวน์ของ เพาเวอร์แอมป์ จากนั้นให้เปิดเครื่องแล้วเปลี่ยนตำแหน่งของการลงกราวน์ เพื่อดูผลว่าบริเวณใดดีกว่ากัน
ข้อควรระวังไม่ควรถอดสายไฟกราวน์ของเพาเวอร์แอมป์ออกเพราะอาจทำ ให้เพาเวอร์แอมป์เสียหายได้
เปลี่ยนตำแหน่งลงกราวน์ของอุปกรณ์แต่ละตัว โดยลงกราวน์ร่วมกันหรือแยกกันลงในแต่ละจุด มีผลให้ทำให้เสียงรบกวนประเภทนี้ลดลง กรณีลงกราวน์ร่วมกันให้เอาเส้นที่กินกระแสมากที่ไว้ด้านล่าง ( 100-80-60) เป็นต้น
ต้องแน่ใจว่าจุดลงไฟกราวน์นั้น สัมผัสกับเนื้อโลหะอย่างสมบูรณ์
ตรวจดูผลของสายนำสัญญาณว่ามีผลกับเสียงรบกวนหรือไม่ โดยถอดสายสัญญาณออกจากเครื่องเล่น แล้วฟังว่ามีเสียงรบกวนอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มี ให้เดินสายสัญญาณออกนอกตัวถังรถยนต์เพื่อต รวจสอบอีกครั้งหากไม่ปรากฎเสียงรบกวน ให้หาวิธีเดินสายสัญญาณภายในรถยนต์ใหม่ หรืออาจเปลี่ยนสายสัญญาณเส้นใหม่ที่คุณภาพดีขึ้น
ตรวจขั้วลงกราวน์ที่แบตเตอรี่ ว่าสะอาดแน่หนาหรือไม่
Bookmarks