ฝากไว้ครับ
ไปเจอมาอีกที
กระทู้นานแล้ว แต่น่าจะมีประโยชน์ ให้พิจารณาครับ
จากคุณ kaomoodang http://www.newviosclub.com/forums/vi...hp?f=3&t=61463
ขอสงวนสิทธิ์ในบทความนะครับ
เผยแพร่ในบอร์ดนี้เท่านั้น จะก๊อป หรือ เอาไปลงในลิงค์ตัวเอง ให้เครดิตกันหน่อย
---------------------------------------------------------------
สังเกตกันไหมครับว่า ในห้องเครื่องจะมีท่ออยู่เส้นนึง ทุกครั้งที่เปิดแอร์จะมีความเย็นที่ท่อนั้นอยู่ตลอดเวลา
บางคนคิดว่านั้นคือท่อส่งความเย็น เลยเอาผ้าไปพัน หรือ เอาท่อยางอ่อนสีดำที่ใช้กับแอร์บ้านไปพัน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า นั้นเป็นการทำลายคอมเพรสเซอร์ทางอ้อม
อธิบายเพิ่มเติมแล้วกัน เพราะพักหลังๆคนเข้าใจผิดอย่างมาก
-------------------------------
1. ท่อเย็นที่เห็นน้ำเกาะ เป็นท่อน้ำยาที่ออกมาจากตู้แอร์มาสู่ภายนอก เรียกว่าท่ออีวาปอเรเตอร์ หรือท่อ L (L = Low Pressure) ซึ่งมีการขยายตัวต่ำ จึงทำท่อให้มีขนาดใหญ่
โดยน้ำยาแอร์จะดูดซับความร้อนวนเวียนอยู่ตามท่อทางเดินที่ขดไปมาบนแผงคอยล์เย็นจนแปรสภาพเป็นก๊าซ ไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อ เข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง
แต่เพราะระหว่างทางกลับคอมเพรสเซอร์ ตัวน้ำยาเองยังไม่แปรสภาพเป็นก๊าซอย่างเต็มที่ จึงยังพอมีคุณสมบัติในการดูดซึมความร้อนหลงเหลืออยู่ เค้าถึงออกแบบท่อให้เดินผ่านห้องเครื่องเพื่อดูดซับความร้อน เพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดความดันของน้ำยาแอร์รอบใหม่วนเวียนไปจนกว่าคอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน
อีกอย่างคือ การดูดซับความร้อนจากท่อ = การเพิ่มแรงดันให้กับคอมเพรสเซอร์ไปในตัว
จากนั้นเข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดความดันของน้ำยาแอร์รอบใหม่
------------------------------
2. หลังจากคอมเพรสเซอร์ดูดกลับมา ก็ทำการอัดน้ำยา จากนั้นพออัดเสร็จก็จะส่งผ่านท่อซึ่งมีความร้อนอยู่
ท่อร้อนคือ เป็นท่อน้ำยา หรือ ท่อ H (H = High Pressure) ตัวท่อจะมีขนาดเล็กเพื่อสร้างแรงดัน โดยน้ำยาที่ผ่านการอัดจากคอมเพรสเซอร์เรียบร้อยแล้ว จะดันออกมาเข้าแผงระบายความร้อนหน้ารถ และสภาพน้ำยาแอร์นั้นยังเป็นก๊าซอยู่
จังหวะคอมเพรสเซอร์ทำงาน จะดูดน้ำยาแอร์ที่มีสภาพเป็นก๊าซเข้ามาอัดความดันและอุณหภูมิให้สูงขึ้น จากนั้นส่งไปตามท่อทางออกของเข้าสู่คอยล์ร้อนซึ่งพัดลมหม้อน้ำจะทำหน้าที่ระบายความร้อนก๊าซเหล่านี้ออกไปจากครีบระบายความร้อน กระทั่งก๊าซกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูงไหลออกจากคอยล์ร้อนผ่านท่อทางออกไป และน้ำยาจะไหลเข้ามาดรายเออร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอม และดูดความชื้นไปด้วย
จากนั้นน้ำยาแอร์ไปตามท่อเข้าสู่วาล์วปรับความดัน ซึ่งจะลดความดันของน้ำยาแอร์ให้อุณหภูมิลดต่ำลงอย่างมาก เพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น โดยเจ้าวาล์วนี้ก็จะทำหน้าที่ลดแรงดัน (หรือฉีดน้ำยาให้เป็นฝอย) อย่างรวดเร็วจนเกิดการควบแน่น และแทรกไปในคอยล์เย็นเพื่อไปดูดความร้อนที่บริเวณรอบๆตัวออกมา อาศัยพัดลมโบลว์เวอร์จะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสารผ่านแผงคอยล์เย็น ผ่านทางท่อลมจนออกไปจากช่องปรับอากาศด้านหน้าคอนโซล อากาศร้อนในห้องโดยสารจะถูกดูดซับออกไปด้วยวิธีนี้
จากนั้น.... ขั้นตอนก็จะย้อนไปที่ข้อแรกเหมือนเดิม
---------------------------
เพราะฉะนั้นแล้ว ห้ามเอาอะไรไปพันท่อ L หรือ ท่อเย็นที่มีน้ำเกาะโดยเด็ดขาดครับ เพราะจะทำให้แอร์กลับบ้านเร็วกว่าเวลาอันควร ซึ่งท่อ L จำเป็นต้องดูดซึมความร้อนในห้องเครื่องเพื่อส่งให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำการอัด
ถ้าเราเอาอะไรไปขวางทาง เช่น ไปหุ้มมัน จะทำให้สภาวะการเปลื่ยนแปลงจากของเหลวเป็นก๊าซผิดเพี้ยนไปอย่างมาก
เราจึงควรปล่อยมันไว้ อย่าไปยุ่งกับมันเกินเหตุ ถ้าเครื่องปรับอากาศในรถคุณเย็นดีอยู่แล้ว อย่าไปยุ่งกับมันเด็ดขาด
สิ่งที่จะช่วยยืดอายุคอมเพรสเซอร์ให้ยาวนานคือ
1. หมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อนหน้ารถ โดยการใช้น้ำฉีดเข้าไปทุกครั้งที่ล้างรถ (ถ้าใช้เครื่องฉีดน้ำ ระวังครีบล้ม)
2. เป็นไปได้ ใช้ลมเป่าบริเวณพัดลมหม้อน้ำหน้ารถ และเป่าย้อนแผงรังผึ้งออกมา
3. เป่าไส้กรองแอร์ หรือเปลื่ยนบ่อยๆ ก่อนกำหนดได้ยิ่งดี
4. บางคนขี้ร้อน เปิดสวิตช์ ON แต่ไม่ติดเครื่อง แล้วเปิดแอร์.. นั้นเป็นการทรมานคอมเพรสเซอร์แอร์อย่างที่สุด คอมจะพังอย่างรวดเร็ว
5. หมั่นดูช่องตาแมวว่า มีฟองสีขาว (ไม่ใช่ฟองสบู่เล็กๆ) โผล่ขึ้นมาหรือเปล่า
6. ตรวจสอบสาพานขับ อย่าให้หย่อน
7. สังเกตหัวข้อต่อน้ำยา ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่
เพียงเท่านั้น ระบบแอร์ก็จะอยู่คู่กับรถไปจนกว่าจะเบื่อ แล้วก็ขายทิ้ง
ปล. เพราะผมกำลังจะหุ้มพอดี แต่ยังหาท่อหุ้มไม่ได้ จะได้ไม่ต้องหุ้ม???
Bookmarks