:: แก๊ส+ดีเซล
รถยนต์ดีเซลในปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่าคือหัวใจของภาคขนส่ง และภาคเกษตรกรรมจึงมีบุคลากรในวงการแก๊สจำนวนมากคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์แก๊สให้สามารถใช้กับเครื่องยนต์ชนิดนี้ได้อย่างเหมาะสม มีชื่อเรียกว่า ระบบเชื้อเพลิงร่วม(ดีเซล+LPG-NGV ) อีกด้านหนึ่งก็มีการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลให้สามารถใช้แก๊สเพียงอย่างเดียว มีชื่อเรียกว่า โมดิฟายดิดีเครส ทาง จี โอ แก๊ส เซ็นเตอร์ ได้มีการพัฒนาระบบดังกล่าวนี้ร่วมกับบุคลากรที่เชี่ยวชาญหลายท่านเพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานจริง
โดยที่90%ของอุปกรณ์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น รายละเอียดของอุปกรณ์ตลอดถึงความคุ้มค่า คุ้มทุน จีโอแก๊สเซ็นเตอร์ขอนำเสนอเพื่อประกอบตัดสินใจก่อนการติดตั้งดังต่อไปนี้
:: ระบบเชื้อเพลิงร่วม(DDF) ความสำคัญของระบบนี้ อยู่ที่การควบคุมการใหลของแก๊สให้เหมาะสมกับสถาพการขับขี่ เราจ่ายแก๊สให้กับระบบนี้ด้วยหัวฉีดแก๊สของ VALTEK จากอิตาลี ประมวลผลด้วย ECU ของAG ซึ่งมีฟังชั่นควบคุมเหมาะสมสามารถจ่ายแก๊สอย่างเสถียรในทุกสภาวะการใช้งาน มีการคำนวณค่าแรงดันในท่อไอดี คำนวณค่าอุณภูมิความร้อนเครื่องยนต์
และมีการหยุดจ่ายแก๊สในภาวะที่ไม่เหมาะสมเช่น เดินเบาอยู่กับที่ หรือภาวะที่ต้องการแรงบิดสูง ตลอดจนรับรู้ภาระ(โหลด)ของเครื่องยนต์ ทาง จี โอ แก๊ส จึงนำอุปกรณ์ชุดนี้มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในระบบเชื้อเพลิงร่วม ซึ่งมีอัตราส่วนของการจ่ายอยู่ที่ ดีเซล60 แก๊ส40 เป็น%เฉลี่ยของการใช้งานที่ได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งานในระบบนี้
:: ระบบเชื้อเพลิงเดี่ยวDedicated ระบบนี้ใช้วิธีการดัดแปลงเครื่องยนต์ ลดกำลังอัดห้องเผาไหม้ ใช้หัวเทียนและคอล์ยในการจุดระเบิด จี โอ แก๊ส เลือกใช้อุปกรณ์จากประเทศจีนทั้งชุดในระบบนี้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่และได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับระบบนี้โดยเฉพาะ เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานมามาก
เพื่อจะได้ถือโอกาศโอเวอร์ฮอล์ลเครื่องยนต์ในคราวเดียวโดยใช้งบในการใช้จ่ายก้อนเดียวกันจะคุ้มค่าใช้จ่ายมากที่สุดเพราะค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ถือว่าสูงมาก
อัตราการประหยัดเชื้อเพลิงของเครื่อง D4D 2500 ในรถโรงพยสบาลวิภาวดี
เครื่องยนต์ดีเซล D4D 2500cc ติดตั้งแก๊ส LPG แบบเชื้อเพลิงร่วม DDF 40:60 Tomasetto กล่องecu ES ถัง 25L. 2ใบ เก็บใต้ท้องรถอย่างมิดชิด สวยงาม
-วิ่งด้วยรอบสูงตลอด บรรทุกเต็มอัตรา เปรียบเทียบจากการเติมน้ำมันดังนี้
ครั้งแรกเติมเต็มถังที่ กรุงเทพไปเติมอีกคั้งที่ พิมาย จากนั้นวิ่งต่อไปจนถึง จ.ขอนแก่น แล้วจึงกลับมาเติมอีกครั้งที่ พิมาย วิ่งต่อมาเติมอีกครั้งที่ จ.สระบุรี และกลับถึง กรุงเทพ เหลือน้ำมันอยู่ในถัง 1/2 ของถัง คิดเป็น 800 กม.โดยประมาณ ใช้เงินเติมน้ำมันไป 6000 บาท
-วิ่งด้วยรอบสูงตลอด บรรทุกเต็มอัตรา เปรียบเทียบจากการเติมน้ำมัน+LPGระบบDDF ดังนี้
เติมLPG กับน้ำมันเต็มถังที่ กรุงเทพ วิ่งไปจนถึง จ.ขอนแก่นแล้วกลับมาเติมอีกครั้งที่ ปากช่อง ด้วยน้ำมัน 1500 บาท+LPG 300บาท จากนั้นวิ่งกลับมาจนถึง กรุงเทพ ยังคงเหลือน้ำมันในถัง 3/4 ของถัง และเหลือแก๊สLPG ประมาณ 20 ลิตร คิดเป็น 800 กม.โดยประมาณ ใช้เงินเติมน้ำมัน+LPG ไป 3300 บาท
และยังได้รับการยืนยันว่าอัตราเร่งในการใช้LPGดีกว่าเดิมด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิ้กตามนี้เลยครับ
www.g-o-gascenter.net
Bookmarks